Share to:

 

ตำรวจภูธรภาค 5

ตำรวจภูธรภาค 5
Provincial Police Region 5
อักษรย่อภ.5
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้งพ.ศ. 2494
โครงสร้างเขตอำนาจ
เขตอำนาจในการปฏิบัติการประเทศไทย
แผนที่เขตอำนาจของ ตำรวจภูธรภาค 5
เขตอำนาจตามกฎหมายตำรวจภูธรภาค 5, ประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป
สำนักงานใหญ่เลขที่ 311 ถนนมหิดล ตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50000

ผู้บริหารหน่วยงาน
  • พลตำรวจโท กฤตธาพล ยี่สาคร ​, ผู้บัญชาการ
หน่วยงานปกครอง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กองบังคับการ • 11 กองบังคับการ
 • 1 ศูนย์ฝึก
เว็บไซต์
police5.go.th
ตำแหน่งผู้บัญชาการ
รับใช้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ชั้นยศ พลตำรวจโท
หน่วยกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5
บังคับบัญชาตำรวจภูธรภาค 5

กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 เป็นส่วนราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดับกองบัญชาการ มีหน้าที่ดูแล 8 จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย[1]ได้แก่

  1. จังหวัดเชียงราย
  2. จังหวัดเชียงใหม่
  3. จังหวัดน่าน
  4. จังหวัดพะเยา
  5. จังหวัดแพร่
  6. จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  7. จังหวัดลำปาง
  8. จังหวัดลำพูน

ประวัติ

ในอดีตพื้นที่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยเคยเป็นอาณาจักรล้านนามาก่อน อันเป็นประเทศราชของสยามในอดีตที่มีอำนาจปกครองตนเอง แต่ขึ้นกับราชอาณาจักรสยาม (รัตนโกสินทร์) จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รวมอาณาจักรล้านนาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม[2] และถูกจัดการปกครองใหม่ให้เป็นสองมณฑล[3]อันได้แก่ มณฑลพายัพ และ มณฑลมหาราษฎร์ (ภายหลังในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการยุบมารวมกับมณฑลพายัพ)[4] เมื่อการปกครองมีลักษณะขึ้นอยู่กับส่วนกลางเป็นหลักแล้วจึงต้องมีการจัดตั้งหน่วยราชการจากส่วนกลาง

โดยในส่วนของตำรวจนั้นช่วงแรกเป็นหน้าที่ของกรมพลตระเวนหัวเมือง ภายหลังสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้นแทน โดยสังกัดกับกระทรวงมหาดไทย และมีการจัดตั้งกองตำรวจภูธรไปตามมณฑลต่าง ๆ[5] รวมถึงทมณฑลในภาคเหนือทั้งสองนี้ด้วย โดยเมื่อมีการจัดตั้งกองตำรวจภูธรในภาคเหนือแล้ว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ พลตำรวจตรี เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ้านายฝ่ายเหนือเป็นผู้บังคับบัญชาท่านแรก [4] โดยในช่วงแรกนี้เองก็ถูกเรียกว่ากองบัญชาการตำรวจภูธรเขต 3 ก็ได้ตั้งอยู่ในคุ้มเจ้าหลวงนครลำปางด้วยความอนุเคราะห์จาก พล.ต.ต.เจ้าราชวงศ์(เจ้าแก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) ภายหลังได้ย้ายไปอยู่ ณ ที่ตั้งเดิมของกงศุลอังกฤษในสมัยที่เป็นอาณาจักรล้านนา ริมแม่น้ำ ้วัง ใน อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง[4]

ในปี พ.ศ. 2494 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น กองบังคับการตำรวจภูธรเขต 5 และทำการสร้างตัวกองบัญชาการขึ้นใหม่ใกล้กับกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลำปาง และสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปาง[4] แต่ภายหลังในปี พ.ศ. 2519 ได้มีการออก พรฎ.การแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ พ.ศ. ๒๕๑๙​[6] ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนใหม่อีกครั้งโดยครั้งนี้ใช้ชื่อ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาคที่ ๓[7] โดยได้จัดตั้งกองบังคับการ 1-12 ขึ้น ในกองบัญชาการตำรวจภูธร 1-4[8] และกองบังคับการ 7 - 9 ขึ้นต่อกองบัญชาการตำรวจภูธร 3

หลังจากนั้นก็มีการปรับโครงสร้างใหม่ให้เป็นกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (บช.ภ.5) และสุดท้ายก็ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในครั้งสุดท้ายที่ยังใช้มาจนถึงปัจจุบันคือ พระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ก็ได้กำหนดให้เป็นตำรวจภูธรภาค 5 (ภ.5)[9] ในปัจจุบัน[10]

รายนามผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5[4]

1. พลตำรวจตรี เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง)
2. พันตำรวจโท หลวงอารักษ์ประชากร
3. พันตำรวจเอก หลวงนรสุขประเสริฐ
4. พันตำรวจเอก หลวงชาติตระการโกศล
5. พันตำรวจเอก หลวงพิชิตธุรการ
6. พันตำรวจเอก หลวงการุณธุระราษฎร์
7. พันตำรวจเอก ทวน จันทรทีประ
8. พันตำรวจเอก หลวงสรสิทธิ์เรืองเดช
9. พันตำรวจเอก บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข
10. พันตำรวจโท หลวงนิสสัย สรการ
11. พันตำรวจเอก บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข
12. พันตำรวจเอก หลวงจันทรบุรานุยุตต
13. พันตำรวจเอก จง วีรยุทธิ์
14. พันตำรวจเอก มงคล จีรเศรษฐ
15. พันตำรวจเอก สุข สกุลพร
16. พลตำรวจตรี กว้าง โรหิตรัตนะ
17. พันตำรวจเอก ปาน ปุณฑริก
18. พันตำรวจเอก พร้อม ณ ป้อมเพชร
19. พลตำรวจตรี ศิริชัย ไชยคุณา
20. พลตำรวจตรี บุญชัย เหราปัตย์
21. พลตำรวจตรี เทพ ศุภสมิต
22. พลตำรวจโท พงษ์ศักดิ์ ประนุทนรพาล
23. พลตำรวจตรี ชวรวย ปริยานนท์
24. พลตำรวจตรี สุภัทร์ วีณีน
25. พลตำรวจโท จิตต์ ลีลายุทธ
26. พลตำรวจโท ประสงค์ ศักดิ์สุภา
27. พลตำรวจโท สุรจิตร์ ปันยารชุน
28. พลตำรวจโท เดช ขัตพันธ์
29. พลตำรวจโท ผ่อน ปลัดรักษา
30. พลตำรวจโท องอาจ ผุดผาด
31. พลตำรวจโท นิยม กาญจวัฒน์
32. พลตำรวจโท สมบูรณ์ สมประเสริฐ
33. พลตำรวจโท วิชัย วิชัยธนพัฒน์
34. พลตำรวจโท นพเก้า ธัญญศิริ
35. พลตำรวจโท โกวิท ภักดีภูมิ
36. พลตำรวจโท ประสาน วงศ์ใหญ่
37. พลตำรวจโท มานิต พรประสิทธิ์
38. พลตำรวจโท อร่าม จันทร์เพ็ญ
39. พลตำรวจโท เจษฎางค์ พรหมสาขา ณ สกลนคร
40. พลตำรวจโท อินทเดช พรพิรพาน
41. พลตำรวจโท ปรุง บุญผดุง
42. พลตำรวจโท กิตติธัช เรือนทิพย์
43. พลตำรวจโท ธีรศักดิ์ ชูกิจคุณ
44. พลตำรวจโท สถาพร ดวงแก้ว
45. พลตำรวจโท สมคิด บุญถนอม
46. พลตำรวจโท ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล
47. พลตำรวจโท สุเทพ เดชรักษา
48. พลตำรวจโท วันชัย ถนัดกิจ
49. พลตำรวจโท ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์
50. พลตำรวจโท พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์
51. พลตำรวจโท มนตรี สัมบุณณานนท์
52. พลตำรวจโท ประจวบ วงศ์สุข
53. พลตำรวจโท ปิยะ​ ต๊ะวิชัย

กองบังคับการในสังกัต

ตำแหน่งผู้บังคับการ
รับใช้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ชั้นยศ พลตำรวจตรี
หน่วยกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5
บังคับบัญชากองบังคับการ

ตำรวจภูธรภาค 5 ประกอบไปด้วย 3 กองบังคับการ 8 ตำรวจภูธรจังหวัด[11] (สถานะเทียบเท่ากองบังคับการ แต่ไม่ต้องเรียกขึ้นต้นด้วยคำว่ากองบังคับการ) 1 ศูนย์ฝึก และ 1 กองกำกับการ ประกอบด้วย

  • กองบังคับการอำนวยการ (บก.อก.)
  • กองบังคับการกฎหมายและคดี (บก.กค.)
  • กองบังคับการสืบสวนสอบสวน (บก.สส.)
  • กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ (กก.ปพ.)
  • ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย (ภ.จว.เชียงราย)
  • ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ (ภ.จว.เชียงใหม่)
  • ตำรวจภูธรจังหวัดน่าน (ภ.จว.น่าน)
  • ตำรวจภูธรจังหวัดพะเยา (ภ.จว.พะเยา)
  • ตำรวจภูธรจังหวัดแพร่ (ภ.จว.แพร่)
  • ตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน (ภ.จว.แม่ฮ่องสอน)
  • ตำรวจภูธรจังหวัดลำปาง (ภ.จว.ลำปาง)
  • ตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน (ภ.จว.ลำพูน)

ศูนย์ฝึก

  • ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5 (ศฝร.)

อ้างอิง

  1. https://police5.go.th/p5/about-us/field
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-11. สืบค้นเมื่อ 2019-10-26.
  3. มณฑลพายัพ
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 มณฑลมหาราษฎร์
  5. http://www.ppr3.go.th/aboutus/history
  6. http://cuir.car.chula.ac.th/dspace/bitstream/123456789/32753/3/Noppadol_pe_ch4.pdf
  7. http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/29259
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-03. สืบค้นเมื่อ 2019-10-26.
  9. http://www.royalthaipolice.go.th/agencies_under.php
  10. https://www.sbpolice.go.th/news/%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%81%e0%b8%a4%e0%b8%a9%e0%b8%8e%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%b2-%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%a3/
  11. กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552

ที่มา

Kembali kehalaman sebelumnya