Share to:

 

จังหวัดน่าน

จังหวัดน่าน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Nan
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย:
คำขวัญ: 
แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์
แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดน่านเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดน่านเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดน่านเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2566)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด11,472.072 ตร.กม. (4,429.392 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 13
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[4][5]
 • ทั้งหมด472,722 [3] คน
 • อันดับอันดับที่ 57
 • ความหนาแน่น41.20 คน/ตร.กม. (106.7 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 75
รหัส ISO 3166TH-55
ชื่อไทยอื่น ๆ
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้กำลังเสือโคร่ง
 • ดอกไม้เสี้ยวดอกขาว
 • สัตว์น้ำปลาปากหนวด
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดน่าน เลขที่ 102 หมู่ที่ 11 ถนนน่าน-พะเยา ตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 55000
 • โทรศัพท์0 5471 0341
 • โทรสาร0 5471 0341
เว็บไซต์http://www.nan.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
จังหวัดน่าน
"น่าน" ในภาษาไทย (บน)
และในคำเมืองอักษรธรรมล้านนา (ล่าง)
ชื่อภาษาไทย
อักษรไทยน่าน
อักษรโรมันNan
ชื่อคำเมือง
อักษรธรรมล้านนาᨶᩣ᩠᩵ᨶ
อักษรไทยน๋าน

น่าน (ไทยถิ่นเหนือ: ᨶᩣ᩠᩵ᨶ) เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของภาคเหนือ เป็นที่ตั้งของเมืองที่สำคัญในอดีต เช่น เวียงวรนคร (เมืองพลัว) เวียงศีรษะเกษ (เมืองงั่ว) เวียงภูเพียงแช่แห้ง อีกทั้งยังเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำน่าน

ประวัติศาสตร์

มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกในพงศาวดารว่า นันทบุรี เมืองน่านในอดีตเป็นนครรัฐเล็ก ๆ ก่อตัวขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำสาขาในหุบเขาทางตะวันออกของภาคเหนือ

สมัยเมืองล่าง-วรนคร

เจ้าหลวงภูคา ปฐมเจ้าผู้ครองนครน่าน แห่งราชวงศ์ภูคา

ประวัติศาสตร์เมืองน่านเริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของพญาภูคาและนางพญาจำปาผู้เป็นชายา ซึ่งทั้งสองเป็นชาวเมืองเงินยาง ได้เป็นแกนนำพาผู้คนอพยพมาตั้งศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองล่าง ต่อมาเพี้ยนเป็นเมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่างบริเวณตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว เลยไปถึงลำน้ำบั่ว ใกล้ทิวเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว บ้านทุ่งฆ้อง บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอยชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน และกำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ เห็นชัดเจนที่สุดคือบริเวณข้างพระธาตุจอมพริกบ้านเสี้ยวมีกำแพงเมืองปรากฏอยู่ซึ่งเป็นปราการทิศใต้ และป้อมปราการทิศเหนือลักษณะที่ปรากฏเป็นสันกำแพงดินบนยอดดอยม่อนหลวง บ้านลอมกลาง เป็นกำแพงเมืองสูงถึง 3 ชั้น ในแต่ละชั้นกว้าง 3 เมตร สูง 5 เมตร ขนานไปกับยอดดอยม่อนหลวง ต่อมาพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คนไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่นผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว

ภายหลังขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานานและมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอยู่เมืองย่างและมอบให้ชายาคือนางพญาแม่ท้าวคำปินดูแลรักษาเมืองปัวแทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน ในช่วงที่เมืองปัวว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่นั้น พญางำเมืองเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองบ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปินพร้อมด้วยบุตรในครรภ์ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายชื่อว่าเจ้าขุนใส เติบใหญ่ได้เป็นขุนนางรับใช้พญางำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็นเจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราด ภายหลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพมาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับการสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมืองปัวอย่างอิสระระหว่างปี 1865-1894 รวม 30 ปีจึงพิราลัย

องค์พระบรมธาตุแช่แห้ง อนุสรณ์ความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต

ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัวได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมืองมาบูชา ณ เมืองปัว ด้วยพญาการเมืองได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาลจึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัวลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า ภูเพียงแช่แห้งในปี พ.ศ. 1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย โอรสคือพญาผากองขึ้นครองแทน อยู่มาเกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกบริเวณบ้านห้วยไค้ คือบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1911[8]

ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. 1950-1960 ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพระธาตุเขาน้อย วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน พญางั่วฬารผาสุมผู้เป็นหลานได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้างพระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

สมัยล้านนา

ในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์นครเชียงใหม่ มีความประสงค์จะครอบครองเมืองน่านและแหล่งเกลือบ่อมาง (เขตตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือปัจจุบัน) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยากทางภาคเหนือ จึงได้จัดกองทัพเข้ายึดเมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าวไม่อาจต้านทานได้จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา

ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปีที่เมืองน่านอยู่ในครอบครองของอาณาจักรล้านนา ได้ค่อย ๆ ซึมซับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนามาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัยอย่างชัดเจน เช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล (มวลสารจากวัดสวนตาลใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอดเปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2103-2328 เมืองน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอยู่หลายครั้งและต้องเป็นเมืองร้างไร้ผู้คนถึง 2 ครา คือ ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2247-2249 ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2321-2344

สมัยรัตนโกสินทร์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน อดีตเคยเป็นหอคำของเจ้าผู้ครองนครน่านในอดีต

ปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ ได้ลงมาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพื่อขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา หลังจากขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน เจ้าอัตถวรปัญโญก็ยังมิได้เข้าไปอยู่ในตัวเมืองน่านเสียทีเดียวเนื่องจากตัวเมืองน่านยังรกร้างอยู่ จึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ คือ บ้านตึ๊ดบุญเรือง เมืองงั้ว (ปัจจุบัน คือ บริเวณอำเภอนาน้อย) เมืองพ้อ (ปัจจุบัน คือ บริเวณอำเภอเวียงสา) จนกระทั่งหลังจากได้บูรณะซ่อมแซมตัวเมืองน่านพร้อมทั้งได้ขอพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงกลับเข้ามาอยู่ในตัวเมืองน่านในปี พ.ศ. 2344 ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นครน่านมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช เจ้าผู้ครองนครน่านในชั้นหลังทุกองค์ต่างปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเที่ยงธรรม มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญหลายครั้งหลายคราด้วยกัน นอกจากนี้เจ้าผู้ครองนครน่านต่างได้อุปถัมภ์ค้ำจุนและทำนุบำรุงกิจการพระพุทธศาสนาในนครน่านและหัวเมืองขึ้นต่างๆ เป็นสำคัญ ได้สร้างธรรมนิทานชาดก การจารพระไตรปิฎกลงในคัมภีร์ใบลาน นับเป็นคัมภีร์ได้ 335 คัมภีร์นับเป็นผูกได้ 2,606 ผูก ได้นำไปมอบให้เมืองต่างๆ เช่น นครลำปาง นครลำพูน นครเชียงใหม่ นครแพร่ และนครหลวงพระบาง

พระรูป พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63

ในปี พ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน เลื่อนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น พระเจ้านครเมืองน่าน มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า “พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี สุจริตจารีราชานุภาวรักษ์ วิบุลยศักดิ์กิตติไพศาล ภูบาลบพิตร์ สถิตย์ณนันทราชวงษ์ พระเจ้านครเมืองน่าน” นับเป็นพระเจ้านครน่านองค์แรกและองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 ได้โปรดให้สร้างหอคำ (คุ้มหลวง) ขึ้นแทนหลังเดิมซึ่งสร้างในสมัยของ เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 และด้านหน้าหอคำมีข่วงไว้ทำหน้าที่คล้ายสนามหลวง สำหรับจัดงานพิธีต่างๆ ตลอดจนเป็นที่จัดขบวนทัพออกสู้ศึก จัดขบวนนำเสด็จ หรือขบวนรับแขกบ้านแขกเมืองสำคัญ และในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 ถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครน่าน ก็ถูกยุบเลิกตั้งแต่นั้นมา ส่วนหอคำได้ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน จนปี พ.ศ. 2511 จังหวัดน่านได้มอบหอคำให้กรมศิลปากร ใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านจนกระทั่งปัจจุบัน

ในยุคประชาธิปไตย จังหวัดน่านยังมีตำนานการเป็นแหล่งกบดานของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะที่อำเภอทุ่งช้าง ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญอีกแห่งหนึ่ง โดยมีอนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งช้างเป็นพยานช่วยเตือนความจำให้แก่ชนรุ่นหลัง

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครน่าน

ดูเพิ่มที่ : รายพระนามเจ้าผู้ครองนครน่าน

ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศ

เส้นทางหมายเลข 1256 บนสันเขาใกล้กับดอยภูคา

จังหวัดน่าน ตั้งอยู่บริเวณเส้นรุ้งที่ 18 องศา 46 ลิปดา 30 ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 18 องศา 46 ลิปดา 44 ฟิลิปดาตะวันออก ระดับความสูงของพื้นที่อยู่สูง 2,112 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มีพื้นที่ 11,472.076 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,170,045 ไร่ โดยเฉพาะบริเวณชายแดนด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ ประมาณ 668 กิโลเมตร มีภูเข้ ในเขตอำเภอบ่อเกลือ เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัด คือมีความสูงถึง 2,079 เมตร[9] และมีดอยภูคา ในเขตอำเภอปัว เป็นยอดเขาที่สำคัญของจังหวัด มีความสูง 1,980 เมตร ส่วนพื้นที่ราบจะอยู่บริเวณตอนกลางของจังหวัด และตามลุ่มน้ำต่าง ๆ แหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดคือแม่น้ำน่าน ซึ่งมีต้นกำเนิดทางตอนเหนือของจังหวัด แล้วไหลลงไปยังเขื่อนสิริกิติ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และบรรจบกับแม่น้ำปิงที่จังหวัดนครสวรรค์เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสาขาต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำสา ลำน้ำว้า ลำน้ำสมุน ลำน้ำปัว ลำน้ำยาว ลำน้ำย่าง ลำน้ำแหง เป็นต้น มีพื้นที่กว้างใหญ่ พื้นที่เต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทั้งยังมีประชากรหลายชาติพันธุ์ นับว่าเป็นดินแดนของความหลากหลายอีกแห่งหนึ่งของประเทศ

ลักษณะพื้นที่

จังหวัดน่าน มีทิวเขาหลวงพระบางและทิวเขาผีปันน้ำ ซึ่งเป็นทิวเขาหินแกรนิต ที่มีความสูง 600 - 1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ทอดผ่านทั่วจังหวัด คิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด
 พื้นที่ของจังหวัดน่านโดยทั่วไป มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น ลอนชันเกิน 30 องศา ประมาณร้อยละ 85 ของพื้นที่จังหวัด ส่วนลูกคลื่นลอนลาด ตามลุ่มน้ำ จะเป็นที่ราบแคบๆ ระหว่างหุบเขาตามแนวยาวของลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำสา ลุ่มน้ำว้า ลุ่มน้ำปัว ลุ่มน้ำย่าง และลุ่มน้ำกอน

จังหวัดน่าน มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 7,170,045 ไร่ หรือ 11,472.07 ตารางกิโลเมตร จำแนกได้ ดังนี้

  1. พื้นที่ป่าไม้และภูเขา 3,437,500 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 47.94 %
  2. พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม 2,813,980 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 39.24 %
  3. พื้นที่ทำการเกษตร 876,043 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 12.22 %
  4. พื้นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ 43,522 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.60 %

ภูมิอากาศ

จังหวัดน่าน มีลักษณะภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนแบบ 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว โดยมีความแตกต่างของแต่ละฤดูอย่างชัดเจน

  • ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม มีอากาศร้อนถึงร้อนจัด (สถิติอุณหภูมิสูงสุด 44.1 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2502)
  • ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน - ตุลาคม มีฝนตกชุก จากอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (สถิติปริมาณฝนตกมากที่สุดใน 1 วัน วัดได้ 259.0 มิลลิเมตร ที่อำเภอทุ่งช้าง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2549)
  • ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ มีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณเทือกเขาและยอดดอย จากอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (สถิติอุณหภูมิต่ำสุด 1.0 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2517 ที่สถานีอุตุนิยมวิทยา (กลุ่มงานตรวจอากาศเกษตร) อำเภอเมืองน่าน)[10]
ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดน่าน
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.7
(87.3)
33.7
(92.7)
36.2
(97.2)
36.9
(98.4)
36.0
(96.8)
34.4
(93.9)
33.0
(91.4)
32.4
(90.3)
33.1
(91.6)
32.9
(91.2)
32.5
(90.5)
30.3
(86.5)
33.51
(92.32)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 23.1
(73.6)
25.6
(78.1)
28.4
(83.1)
30.1
(86.2)
30.0
(86)
29.5
(85.1)
28.5
(83.3)
28.0
(82.4)
28.0
(82.4)
27.4
(81.3)
26.0
(78.8)
23.2
(73.8)
27.32
(81.17)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 14.7
(58.5)
15.9
(60.6)
19.3
(66.7)
22.3
(72.1)
23.9
(75)
24.4
(75.9)
24.1
(75.4)
23.8
(74.8)
23.8
(74.8)
22.5
(72.5)
19.5
(67.1)
15.5
(59.9)
20.81
(69.46)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 2.7 1.3 3.3 8.5 14.0 16.7 19.8 21.7 18.4 10.8 3.2 1.7 122.1
แหล่งที่มา: Thai Meteorological Department[11]

อาณาเขต


ด่านพรมแดนบ้านห้วยโก๋น มองผ่านจากด่านไปยังฝั่งลาว

จังหวัดน่านมีด่านเข้าออกกับประเทศลาวหลายแห่งด้วยกัน เช่น จุดผ่านแดนถาวรสากลห้วยโก๋น-น้ำเงิน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ, จุดผ่อนปรนบ้านใหม่ชายแดน อำเภอสองแคว และจุดผ่อนปรนบ้านห้วยสะแตง อำเภอทุ่งช้าง

พื้นที่ป่า

ทะเลหมอกในอุทยานแห่งชาติขุนน่าน

จังหวัดน่าน มีจำนวนอุทยานแห่งชาติ 7 แห่ง, วนอุทยาน 1 แห่ง, เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง และสวนรุกขชาติ 2 แห่ง ได้แก่

  • อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของจังหวัดน่าน มีอาณาเขตกว้างขวางเป็นอันดับ 4 ของประเทศ โดยมีพื้นที่ประมาณ 1,065,000 ไร่ หรือ 1,704 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมในท้องที่ 8 อำเภอของจังหวัดน่าน ได้แก่ อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอบ่อเกลือ อำเภอสันติสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และ อำเภอแม่จริม ประกอบด้วยพรรณไม้ที่หลากหลาย มีการค้นพบพืชสำคัญหลายชนิด เช่น เต่าร้างยักษ์ภูคา ก่วมภูคา รางจืดภูคา ที่พบเฉพาะที่นี่เพียงแห่งเดียว รวมถึงต้นชมพูภูคา ซึ่งพบที่นี่เพียงแห่งเดียวเช่นกัน
  • อุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา ตามแนวสองฟากฝั่งลำน้ำน่าน จนไปสิ้นสุดที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ มีเนื้อที่ประมาณ 640,237.50 ไร่ หรือ 1,024.38 ตารางกิโลเมตร สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ ดอยเสมอดาว ผาหัวสิงห์ ผาชู้ เสาดิน แก่งหลวง หมู่บ้านประมงปากนาย เป็นต้น
  • อุทยานแห่งชาติแม่จริม อยู่ในอำเภอแม่จริม มีเนื้อที่ประมาณ 270,000 ไร่ หรือ 432 ตารางกิโลเมตร มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เด่นคือ การล่องแก่งลำน้ำว้า
  • อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน อยู่ในท้องที่อำเภอท่าวังผา อำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน และอำเภอเชียงคำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา มีพื้นที่ประมาณ 155,200 ไร่ หรือ 248.32 ตารางกิโลเมตร
  • อุทยานแห่งชาตินันทบุรี มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอท่าวังผา อำเภอเมืองน่าน อำเภอบ้านหลวง เนื้อที่ประมาณ 548,125 ไร่ หรือ 877 ตารางกิโลเมตร พื้นที่แห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ สำคัญแห่งหนึ่งในอดีต เคยอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มีการต่อสู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
  • อุทยานแห่งชาติขุนสถาน มีพื้นที่ครอบคลุมป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ในท้องที่อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น เนื้อที่ประมาณ 262,000 ไร่ หรือ 419.2 ตารางกิโลเมตร
  • อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ มีพรรณไม้และสัตว์ป่าที่น่าสนใจมากมาย มีพื้นที่ประมาณ 155,375 ไร่ หรือ 248.6 ตารางกิโลเมตร
  • วนอุทยานถ้ำผาตูบ อยู่ในท้องที่บ้านผาตูบ ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน มีเนื้อที่ประมาณ 528 ไร่
  • เขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูฟ้า อยู่ในท้องที่ตำบลบ่อเกลือใต้ ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ และตำบลหนองแดง ตำบลน้ำพาง ตำบลแม่จริม อำเภอแม่จริม มีเนื้อที่ประมาณ 74,553 ไร่
  • สวนรุกขชาติแช่แห้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง โดยมีอาณาเขตติดกับวัดพระธาตุแช่แห้ง มีเนื้อที่ประมาณ 72 ไร่
  • สวนรุกขชาติห้วยน้ำอุ่น อยู่ในท้องที่ตำบลอ่ายนาไลย อำเภอเวียงสา มีเนื้อที่ประมาณ 400 ไร่

การเมืองการปกครอง

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ตราประจำจังหวัดน่าน
(แบบลายเส้น)
(แบบมีสี)
ดอกไม้ประจำจังหวัดน่าน

หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

แผนที่อำเภอในจังหวัดน่าน

จังหวัดน่าน แบ่งการปกครองออกเป็น 15 อำเภอ 99 ตำบล 893 หมู่บ้าน ได้แก่

เลข ชื่ออำเภอ ตำบล หมู่บ้าน จำนวนประชากร
(2566)
พื้นที่ทั้งหมด
(ตร.กม.)
ห่างจากตัวจังหวัด
(กม.)
แผนที่แต่ละอำเภอ
ภาษาไทย ตัวเมือง ภาษาอังกฤษ
1. เมืองน่าน Mueang Nan 11 109 82,060 813.126 1.97
2. แม่จริม Mae Charim 5 38 16,348 998.152 44.17
3. บ้านหลวง Ban Luang 4 26 11,302 338.210 42.85
4. นาน้อย Na Noi 7 69 31,812 1,408.122 63.39
5. ปัว Pua 12 107 64,259 657.363 59.54
6. ท่าวังผา Tha Wang Pha 10 91 50,495 702.204 43.57
7. เวียงสา Wiang Sa 17 128 69,581 1,894.893 25.03
8. ทุ่งช้าง Thung Chang 4 40 18,935 760.811 76.99
9. เชียงกลาง Chiang Klang 6 60 27,097 277.115 65.65
10. นาหมื่น Na Muen 4 48 14,256 785.608 82.85
11. สันติสุข Santi Suk 3 31 15,681 416.837 39.93
12. บ่อเกลือ Bo Kluea 4 38 15,316 848.341 94.11
13. สองแคว Song Khwae 3 25 12,466 544.364 76.14
14. ภูเพียง Phu Phiang 7 61 35,929 508.236 11.32
15. เฉลิมพระเกียรติ Chaloem Phra Kiat 2 22 9,832 518.690 126.70
รวม 99 893 472,722 11,472.072 - -

การปกครองส่วนท้องถิ่น

จังหวัดน่าน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 99 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง (องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน), เทศบาลเมือง 1 แห่ง (เทศบาลเมืองน่าน), เทศบาลตำบล 18 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 80 แห่ง ได้แก่

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 พระยาพิชัยชาญฤทธิ์ พ.ศ. 2433-2435
2 พระยาสุนทรนุรักษ์ พ.ศ. 2435-2437
3 หลวงชาญภูเบศร์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์) พ.ศ. 2437-2439
4 จมื่นมหาดเล็ก (เรือง ภูมิรัตน์) พ.ศ. 2439-2444
5 พระยาบรมบาทบำรุง พ.ศ. 2444-2449
6 พระยาอุไทยมนตรี (พร จารุจินดา) พ.ศ. 2449-2450
7 พระยาอมรฤทธิ์ธำรง (ฉี่ บุนนาค) พ.ศ. 2450-2451
8 พระอาทรธนพัฒน์ (เจิม จารุจินดา) พ.ศ. 2451-2454
9 พระอารีราชการัณย์ (หม่อมราชวงศ์ปาน นพวงศ์) พ.ศ. 2454-2467
10 พระยาวรวิไชยวุฒิกรณ์ (เลื่อน สนธิรัตน์) พ.ศ. 2467-2470
11 พระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) พ.ศ. 2470-2471
12 พระยากรุงศรีสวัสดิ์การ (จำรัส สวัสดิ์-ชูโต) พ.ศ. 2471-2476
13 พระเกษตรสรรพกิจ (นุ่ม วรรณโกมล) พ.ศ. 2476-2480
14 พระบริหารทัณฑนิติ (ประเสริฐ เศวตกนิษฐ์) พ.ศ. 2480-2482
15 พระชาติตระการ (หม่อมราชวงศ์จิตร คเนจร) พ.ศ. 2482-2482
16 หลวงทรงประศาสน์ (ทองคำ นวลทรง) พ.ศ. 2482-2488
17 ขุนระดับคดี (ปัญญา รมยานนท์) พ.ศ. 2488-2488
18 ขุนอักษรสารสิทธิ์ (พินิจ อักษรสารสิทธิ์) พ.ศ. 2488-2489
19 ขุนวิศิษฐ์อุดรการ (กรี วิศิษฐ์อุดรการ) พ.ศ. 2489-2490
20 นายชลอ จารุจินดา พ.ศ. 2490-2490
21 นายนวล มีชำนาญ พ.ศ. 2490-2496
22 นายมานิต ปุรณพรรค์ พ.ศ. 2496-2500
23 หลวงอนุมัติราชกิจ (อั๋น อนุมัติราชกิจ) พ.ศ. 2500-2503
24 นายวิชาญ บรรณโศภิษฐ์ พ.ศ. 2503-2510
25 นายชิต ทองประยูร พ.ศ. 2510-2511
26 พลตำรวจตรี ศรีศักดิ์ ธรรมรักษ์ พ.ศ. 2511-2514
27 นายสุกิจ จุลละนันทน์ พ.ศ. 2514-2517
28 นายสวัสดิ์ ประไพพานิช พ.ศ. 2517-2518
29 นายโชดก วีรธรรมพูลสวัสดิ พ.ศ. 2518-2520
30 นายสายสิทธิ พรแก้ว พ.ศ. 2520-2521
31 พันโท นายแพทย์ อุดม เพ็ชรศิริ พ.ศ. 2521-2523
32 นายชัยวัฒน์ หุตะเจริญ พ.ศ. 2523-2526
33 นายประกอบ แพทยกุล พ.ศ. 2526-2528
34 นายเฉลิม พรหมเลิศ พ.ศ. 2528-2530
35 นายกาจ รักษ์มณี พ.ศ. 2530-2532
36 พันตรี ปรีดา นิสัยเจริญ พ.ศ. 2532-2533
37 นายอำนวย ยอดเพชร พ.ศ. 2533-2535
38 นายจิโรจน์ โชติพันธุ์ พ.ศ. 2535-2536
39 นายประวิทย์ สีห์โสภณ พ.ศ. 2536-2537
40 นายสุจริต นันทมนตรี พ.ศ. 2537-2539
41 นายจเด็จ อินสว่าง พ.ศ. 2539-2541
42 นายเชิดพงษ์ อุทัยสาง พ.ศ. 2541-2541
43 ร้อยตำรวจตรี ธนะพงษ์ จักกะพาก พ.ศ. 2541-2545
44 นายสุวัฒน์ โชคสุวัฒนสกุล พ.ศ. 2545-2548
45 นายปริญญา ปานทอง พ.ศ. 2548-2550
46 นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ พ.ศ. 2550-2551
47 นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต พ.ศ. 2551-2552
48 นายวีรวิทย์ วิวัฒนวณิช พ.ศ. 2552-2553
49 นายเสนีย์ จิตตเกษม พ.ศ. 2553-2554
50 นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ พ.ศ. 2554-2555
51 นายชุมพร แสงมณี พ.ศ. 2555-2556
52 นายอุกริช พึ่งโสภา พ.ศ. 2556-2558
53 นายสุวัฒน์ พรมสุวรรณ พ.ศ. 2558-2559
54 นายไพศาล วิมลรัตน์ พ.ศ. 2559-2561
55 นายวรกิตติ ศรีทิพากร พ.ศ. 2561-2563
56 นายนิพันธ์ บุญหลวง พ.ศ. 2563-2564
57 นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต พ.ศ. 2564-2566
58 นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน


การเลือกตั้ง

เขตเลือกตั้งของจังหวัดน่าน พ.ศ. 2566

จังหวัดน่าน แบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกเป็น 3 เขต (สำหรับการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2566)[15] และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือก 3 คน จากทั้งหมด 400 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย

รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2566

ประชากร

กลุ่มชาติพันธุ์

ประชากรในจังหวัดน่านมีอยู่อย่างเบาบางเป็นอันดับ 3 ของประเทศ (ประมาณ 41 คนต่อตารางกิโลเมตร)[ต้องการอ้างอิง] กระจัดกระจายไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ แบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

  1. ชาวไทยวน หรือ คนเมือง ส่วนใหญ่อพยพมาจากเชียงแสนและบริเวณต่าง ๆ ของล้านนา ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัด
  2. ชาวไทลื้อ (ไทลื้อ, ไทยอง) ส่วนใหญ่อพยพมาจากสิบสองปันนาและหัวเมืองต่าง ๆ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีทั้งอพยพมาด้วยความสมัครใจและอพยพมาเนื่องจากเกิดศึกสงครามทั้งภายในหัวเมืองลื้อเอง และอพยพมามากที่สุดยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมืองของเจ้ากาวิลละแห่งเชียงใหม่ และเจ้าอัตถวรปัญโญ ฯ แห่งนครน่าน และยุคของเจ้าสุมนเทวราช อีกทั้งมีการอพยพเข้ามาเรื่อย ๆ ครั้งเกิดการปฏิวัติการปกครองประเทศของจีน ชาวไทลื้ออาศัยตั้งบ้านเรือน อยู่กระจัดกระจายตามลุ่มน้ำต่าง ๆ ในจังหวัดน่านมีมากที่สุด คือ อำเภอปัวแทบทุกตำบล อำเภอท่าวังผา อำเภอสองแคว อำเภอเชียงกลาง และอำเภอทุ่งช้าง เลยไปถึงอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
    ภาษาไทลื้อในจังหวัดน่าน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
    (1) ไทลื้อฝั่งสิบสองปันนาตะวันออก ได้แก่ เมืองล้า เมืองมาง (อาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำน่าน บริเวณชุมชนบ้านหนองบัว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา และแถวตำบลยอด อำเภอสองแคว) สำเนียงพูดใกล้เคียงกับภาษาไทยอีสานปนลาวพวน
    (2) ไทลื้อฝั่งสิบสองปันนาตะวันตก ได้แก่ เมืองยู้ เมืองยอง เมืองเชียงลาบ เมืองเสี้ยว (อาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำย่าง บริเวณชุมชนตำบลยม ตำบลจอมพระ(บ้านถ่อน) อำเภอท่าวังผา แถบลุ่มแม่น้ำปัว ตำบลศิลาเพชร ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว ถึงตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ) สำเนียงพูดเหมือนสำเนียงคนยองในจังหวัดลำพูน-เชียงใหม่
  3. ชาวไทพวน หรือ ลาวพวน อยู่ที่บ้านฝายมูล อำเภอท่าวังผา และบ้านหลับมืนพวน อำเภอเวียงสา
  4. ชาวไทเขิน หรือ ชาวขึน อพยพมาจากเชียงตุง ปัจจุบันส่วนใหญ่จะถูกกลืนทางวัฒนธรรมจากคนเมือง ทั้งภาษาพูดและเครื่องแต่งกาย แต่บางหมู่บ้านยังมีการนับถือผีเจ้าเมืองของไทเขินอยู่ จึงรู้ว่าเป็นไทเขิน เช่นบ้านหนองม่วง อำเภอท่าวังผา ส่วนบ้านเชียงยืน ตำบลยม อำเภอท่าวังผา ถูกชาวไทลื้อกลืนวัฒนธรรมจนไม่เหลือเค้าของชาวไทเขิน
  5. ชาวไทใหญ่ หรือ เงี้ยว หรือ ไตโหลง มีถิ่นฐานในรัฐฉาน และเชียงตุง อาศัยอยู่บริเวณแถวอำเภอทุ่งช้าง ในปัจจุบันถูกกลืนวัฒนธรรมจนแทบแยกไม่ออกว่าเป็นชาวไทใหญ่ และยังพบได้ที่บ้านดอนแท่น อำเภอเวียงสาอีกด้วย

นอกจากนี้ในบริเวณที่สูงตามไหล่เขายังเป็นชุมชนของชนกลุ่มน้อยที่เรียกกันว่า "ชาวเขา" ได้แก่ ชาวม้ง, เมี่ยน, ลัวะหรือถิ่น, ขมุ รวมถึงชาวตองเหลืองหรือมาบลี ที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา

ผู้คนในจังหวัดน่านจึงมีภาษาพูดที่หลากหลายด้วยเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะพูดภาษาไทยถิ่นเหนือหรือคำเมืองสำเนียงน่าน[ต้องการอ้างอิง]

การขนส่ง

เนื่องด้วยภูมิศาสตร์ของจังหวัดน่านมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ ไม่มาก และเป็นจังหวัดชายแดนติดกับประเทศลาว ดังนั้นการเดินทางมาจังหวัดน่านจึงมีเส้นทางที่จำกัด ไม่มีทางรถไฟ แต่ก็มีท่าอากาศยานน่านนคร รวมทั้งมีถนนสายหลักที่ตัดผ่านตลอดความยาวตั้งแต่เหนือลงมาและมีสภาพผิวถนนที่ดี สามารถใช้งานได้ตลอดปี

ทางถนน

เครือข่ายถนนในจังหวัดประกอบด้วยแนวถนนในแนวเหนือ-ใต้ และแนวตะวันตก-ตะวันออก มีถนนลาดยางจากตัวจังหวัดไปยังอำเภอต่าง ๆ และจังหวัดใกล้เคียง ทางหลวงแผ่นดินที่สำคัญ ได้แก่

ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่าง ๆ

[บริษัทผู้ให้บริการ]

  • บริษัทขนส่ง (บขส) จำกัด มีรถโดยสารปรับอากาศชั้น 2 ,รถปรับอากาศชั้น 1 , รถนอนพิเศษ วีไอพี ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 สถานีขนส่งรังสิต
  • บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด มีรถโดยสารปรับอากาศชั้น 1(พิเศษ) รถโดยสารออกจาก ศูนย์บริการนครชัยแอร์ และ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ(จตุจักร)
  • บริษัท เทพสมบัติ จำกัด(สมบัติทัวร์) มีรถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 ,รถปรับอากาศชั้น 1(พิเศษ) , รถนอนพิเศษ วีไอพี รถโดยสารออกจาก ศูนย์บริการลูกค้าสมบัติทัวร์วิภาวดี และ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ(จตุจักร)
  • บริษัท บางกอกบัสไลน์ จำกัด รถนอนพิเศษ วีไอพี รถโดยสารออกจาก ศูนย์บริการลูกค้าสมบัติทัวร์วิภาวดี
  • บริษัท เชิดชัยทัวร์ รถโดยสารออกจาก สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ(จตุจักร)
  • บริษัท บุศราคัมทัวร์ รถโดยสารออกจาก สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ(จตุจักร)


[เส้นทาง]

  • สาย 910 กรุงเทพ-น่าน (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-เวียงสา-น่าน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ นครชัยแอร์ เชิดชัยทัวร์ บุศราคัมทัวร์
  • สาย 96 กรุงเทพ-น่าน (กรุงเทพ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-สุโขทัย-อุตรดิตถ์-แพร่-ร้องกวาง-เวียงสา-น่าน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส.
  • สาย 47 กรุงเทพ-ทุ่งช้าง (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-เวียงสา-น่าน-ท่าวังผา-ปัว-เชียงกลาง-ทุ่งช้าง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ เชิดชัยทัวร์ บางกอกบัสไลน์
  • สาย 660 ระยอง-แพร่-น่าน (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-สระบุรี-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-ร้องกวาง-เวียงสา-น่าน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์
  • สาย 587 อุบลราชธานี - น่าน (อุบลราชธานี-ศรีสะเกษ-สุรินทร์-บุรีรัมย์-ชัยภูมิ-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-ร้องกวาง-เวียงสา-น่าน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์
  • สาย 613 พิษณุโลก-น่าน-ทุ่งช้าง (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-น่าน-ทุ่งช้าง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์ และ นครน่านทัวร์
  • สาย 664 นครสวรรค์-น่าน (นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-เวียงสา-น่าน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครสวรรค์ยานยนต์ (ถาวรฟาร์มทัวร์)
  • สาย 169-2 เชียงใหม่-ทุ่งช้าง (เชียงใหม่-ลำปาง-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-น่าน-ท่าวังผา-ปัว-เชียงกลาง-ทุ่งช้าง) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
  • สาย 113 เชียงใหม่-น่าน (เชียงใหม่-แม่ขะจาน-วังเหนือ-พะเยา-ดอกคำใต้-ปง-เชียงม่วน-น่าน) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
  • สาย 612 พะเยา-น่าน (พะเยา-ดอกคำใต้-ปง-เชียงม่วน-น่าน) บริษัท พะเยาขนส่ง จำกัด
  • สาย 611 เชียงราย-น่าน (เชียงราย-เทิง-เชียงคำ-ท่าวังผา-น่าน) บริษัท ก.สหกิจเดินรถเชียงราย จำกัด
  • สาย 143 อ.เฉลิมพระเกียรติ-น่าน-อ.เด่นชัย (ห้วยโก๋น-เฉลิมพระเกียรติ-ทุ่งช้าง-เชียงกลาง-ปัว-ท่าวังผา-น่าน-เวียงสา-ร้องกวาง-แพร่-เด่นชัย) บริษัท นครน่านยานยนต์ขนส่ง จำกัด


[รถโดยสารระหว่างประเทศ]

  • สาย 15 น่าน-ไชยะบุรี-หลวงพระบาง (น่าน-ด่านชายแดนห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ-ไชยะบุรี(ลาว)-หลวงพระบาง(ลาว)) รถปรับอากาศชั้น 2 (มินิบัส) บริษัทเดินรถ บริษัทขนส่ง จำกัด , บริษัท นาหลวงขนส่งโดยสารและท่องเที่ยว (ลาว)


ทางราง

จังหวัดน่านไม่มีเส้นทางรถไฟผ่าน แต่สามารถเดินทางมาลงที่สถานีรถไฟเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ แล้วเดินทางด้วยถนนระยะทางประมาณ 140 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 มายังตัวจังหวัดได้

ทางอากาศ

มีท่าอากาศยานน่านนครซึ่งเป็นสนามบินพาณิชย์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของตัวเมืองห่างประมาณ 3 กิโลเมตร มีเที่ยวบินระหว่างท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มายัง ท่าอากาศยานน่านนคร สูงสุด 20 เที่ยวบินไปกลับต่อวัน

- สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย ให้บริการสูงสุด 3 เที่ยวบินต่อวัน
- สายการการบิน นกแอร์ ให้บริการสูงสุด 2 เที่ยวบินต่อวัน เริ่ม
- สายการการบิน ไทยไลอ้อนแอร์ ให้บริการสูงสุด 2 เที่ยวบินต่อวัน เริ่ม 25 มี.ค. 65
- สายการบิน การบินไทยสมายล์ ให้บริการสูงสุด 2 เที่ยวบินต่อวัน
- สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย ให้บริการสูงสุด 1 เที่ยวบินต่อวัน

แหล่งท่องเที่ยว

จังหวัดน่านอาจไม่มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้น ๆ ของสถานที่ท่องเที่ยว[ต้องการอ้างอิง] แต่ความจริงแล้ว ที่นี่มีแหล่งท่องเที่ยวให้ผู้สนใจได้ท่องเที่ยวมากมายไม่รู้จบ ทั้งสถานที่ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี แหล่งอารยธรรมโบราณ โดยที่เพิ่งค้นพบในเขตอำเภอเมืองน่าน ส่วนโบราณสถานโดยเฉพาะวัดเก่าแก่มีให้เห็นแทบทุกอำเภอ ได้แก่ วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดด้าน วัดภูมินทร์ หอคำ วัดหนองบัว วัดบุญยืน ซึ่งล้วนแต่มีอายุนับร้อย ๆ ปี มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามทั้งสิ้น

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติก็มีความหลากหลาย เช่น เส้นทางชมธรรมชาติหมู่บ้านมณีพฤกษ์ ในอำเภอทุ่งช้าง อุทยานแห่งชาติหลายแห่ง และเสาดินที่อำเภอนาน้อย บ่อเกลือโบราณในอำเภอบ่อเกลือ หรือการล่องแก่งน้ำว้าที่มีทัศนียภาพสวยงามตลอดเส้นทาง เป็นต้น

สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน สามารถท่องเที่ยวได้ทั่วทุกอำเภอ ด้วยมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีงานบุญประเพณีที่สำคัญ เช่น งานแข่งเรือ งานไหว้พระธาตุ ส่วนผู้ที่ชื่นชอบศิลปะการแสดงก็สามารถชมการแสดงนาฏศิลป์ที่งดงาม รวมทั้งดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ดนตรีวงปี่จุ้ม จ๊อยซอ ฟ้อนแง้น เป็นต้น

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

ทะเลหมอกในอุทยานแห่งชาติขุนน่าน

จังหวัดน่าน มีอุทยานแห่งชาติ 7 แห่ง, วนอุทยาน 1 แห่ง, เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง และสวนรุกขชาติ 2 แห่ง ได้แก่

อุทยานแห่งชาติ

  • อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
    ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 104 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2550 มีเนื้อที่ประมาณ 640,237.50 ไร่ หรือ 1,024.38 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมในท้องที่ 3 อำเภอของจังหวัดน่าน ได้แก่ อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย และอำเภอเวียงสา มีพื้นที่ตามแนวสองฟากฝั่งลำน้ำน่าน จนไปสิ้นสุดที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ สภาพป่าเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ เทือกเขาสูงสลับซับซ้อน วางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญของแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของประชาชนในจังหวัดน่าน มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญหลายอย่าง และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า มีจุดเด่นทางธรรมชาติ ที่มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ได้แก่ เสาดินและคอกเสือ หมู่บ้านประมงปากนาย แก่งหลวง จุดชมทิวทัศน์ดอยผาชู้ ทิวทัศน์ทั้งสองฝั่งแม่น้ำน่าน จุดชมวิวดอยเสมอดาว และผาหัวสิงห์ เป็นต้น
  • อุทยานแห่งชาติแม่จริม
    ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 106 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 มีเนื้อที่ประมาณ 270,000 ไร่ หรือ 432 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมในท้องที่ 2 อำเภอของจังหวัดน่าน ได้แก่ อำเภอแม่จริม และอำเภอเวียงสา อุทยานแห่งชาติแม่จริม มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นภูเขาสลับซับซ้อนทอดตัวจากทิศเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300 - 1,652 เมตร ความสูงของเทือกเขาจะค่อยลดหลั่นไปทางทิศตะวันตก โดยมีดอยขุนลาน เป็นจุดสูงสุดที่ความสูง 1,652 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีแม่น้ำว้าซึ่งไหลมาจากเทือกเขาหลวงพระบางผ่านทางทิศตะวันตกของพื้นที่ กิจกรรมการท่องเที่ยวที่โดดเด่น คือ การล่องแก่งลำน้ำว้าโดยใช้แพยาง
  • อุทยานแห่งชาติขุนน่าน
    ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 111 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 มีเนื้อที่ประมาณ 156,000 ไร่ หรือ 249 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมในท้องที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน อุทยานแห่งชาติขุนน่าน มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ต้นน้ำชั้น 1A มีเขาสูงชันสลับซับซ้อนติดต่อกัน โดยมีระดับความสูงตั้งแต่ 600-1,745 เมตรจากระดับน้ำทะเล มียอดดอยผีปันน้ำในเทือกเขาผีปันน้ำเป็นจุดสูงสุด ที่ความสูงประมาณ 1,745 เมตรจากระดับน้ำทะเล อุทยานแห่งชาติขุนน่านเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำว้า อันเป็นลำน้ำสายใหญ่และสำคัญ ไหลผ่านกลางพื้นที่ในแนวทิศเหนือไหลลงทิศใต้ มีระยะทางการไหลผ่านพื้นที่ประมาณ 25.5 กิโลเมตร และมีลำห้วยสำคัญที่ไหลลงลำน้ำว้า ได้แก่ น้ำปาด น้ำสะปัน เป็นต้น และมีพรรณไม้และสัตว์ป่าที่น่าสนใจมากมาย
  • อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน
    ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 116 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 มีเนื้อที่ประมาณ 155,200 ไร่ หรือ 248.32 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมในท้องที่ 2 จังหวัด ได้แก่ อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน ,อำเภอเชียงคำ และอำเภอปง จังหวัดพะเยา อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนวางตัวในแนว เหนือใต้ คล้ายรูปตัว T ตัวเขียนใหญ่ในภาษาอังกฤษ มีระดับความสูงเฉลี่ยประมาณ 300 - 1,752 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยมียอดดอยจี๋ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,752 เมตร เป็นจุดสูงสุด
  • อุทยานแห่งชาติขุนสถาน
    ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 130 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2560 มีเนื้อที่ประมาณ 227,921.56 ไร่ หรือ 364.67 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมในท้องที่ 2 จังหวัด ได้แก่ อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน และอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ครอบคลุมพื้นที่ป่าฝั่งขวาของแม่น้ำน่านตอนใต้ อุทยานแห่งชาติขุนสถาน มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีความสูงชันทอดตัวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ มีแนวสันเขาของดอยแปรเมืองเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างจังหวัดแพร่กับจังหวัดน่าน ความสูงตั้งแต่ 120-1,726 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีแม่น้ำน่านเป็นแนวกันระหว่างจังหวัดอุตรดิตถ์กับจังหวัดน่าน มีลำธารและลำห้วยซึ่งเป็นต้นน้ำน่านอยู่หลายสาย เช่น ห้วยน้ำแหง ห้วยน้ำอูน ห้วยน้ำลี เป็นต้น ดอยที่สำคัญ เช่น ดอยจวงปราสาท สูง 1,193 เมตร ดอยแม่จอก สูง 1,469 เมตร ดอยกู่สถาน(ดอยธง) สูง 1,634 เมตร และดอยที่สูงที่สุดคือยอดดอยภูคา มีความสูง 1,726 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
  • อุทยานแห่งชาตินันทบุรี
    มีเนื้อที่ประมาณ 548,125 ไร่ หรือ 877 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมในท้องที่ 3 อำเภอของจังหวัดน่าน ได้แก่ อำเภอท่าวังผา อำเภอเมืองน่าน และอำเภอบ้านหลวง อุทยานแห่งชาตินันทบุรี มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนวางตัวในแนวเหนือใต้ อยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดน่าน ระดับความสูงของพื้นที่ประมาณ 300-1,674 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยมี “ยอดดอยวาว” ความสูง 1,674 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นจุดสูงสุด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยหลายสาย ได้แก่ ลำน้ำสมุน ลำน้ำสะเนียน ลำน้ำวาว เป็นต้น พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งในอดีต เคยอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มีการต่อสู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์

วนอุทยาน

  • วนอุทยานถ้ำผาตูบ
    มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 528 ไร่ หรือ 0.8448 ตารางกิโลเมตร มีสถานที่น่าสนใจ ดังนี้ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ มีพรรณไม้ที่ควรศึกษาและหาดูได้ยาก เช่น ต้นจันทน์ผาและเอื้องผึ้งซึ่งจะผลิดอกประมาณปลายฤดูฝน มีทางเดินศึกษาธรรมชาติหลายเส้นทาง คือ เส้นทางเดินเท้าถึงถ้ำบ่อน้ำทิพย์ เส้นทางจากหน้าที่ทำการฯ ถึงจุดชมวิว และเส้นทางเดินรอบที่ทำการฯ ถ้ำพระ เป็นถ้ำใหญ่ ลานพื้นกว้าง เนื้อที่ราว 50 ตารางวา มีปล่องเพดานด้านหนึ่งซึ่งปล่อยให้ลมพัดเข้ามา และให้แสงสว่าง มีหินงอกหินย้อยงดงาม ห่างจากที่ทำการประมาณ 200 เมตร ถ้ำบ่อน้ำทิพย์ ภายในถ้ำเป็นห้องโถงกว้างประมาณ 30 ตารางวา มีปล่องเพดานให้แสงสว่างลอดเข้ามาได้ มีหินย้อยรอบผนังถ้ำด้านหนึ่ง มีซอกเว้าลึกเป็นโพรงมีแอ่งน้ำรูปไข่ น้ำขังตลอดปี ถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นสัญลักษณ์ของถ้ำนี้ ทางขึ้นถ้ำบ่อน้ำทิพย์ต้องปีนตามหน้าผาหิน อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 1,200 เมตร หน้าฝนมีน้ำในถ้ำ ทำให้เข้าไม่ได้ ถ้ำขอน เป็นถ้ำที่มีรูปลักษณะยาวคล้ายกับท่อนซุง ด้านในมีหินงอกหินย้อยงดงาม และด้านหน้าบริเวณปากทางขึ้นถ้ำมีหน้าผาเหมาะสำหรับพักผ่อน และมองเห็นทิวทัศน์บริเวณหนองน่าน ถ้ำเจดีย์แก้ว เป็นถ้ำขนาดเล็ก ด้านหน้าของถ้ำจะมีหินรูปร่างคล้ายเจดีย์ตั้งอยู่ จุดชมวิว ตั้งอยู่บนป่าซางติดกับเขาบ่อน้ำทิพย์ ทางด้านทิศใต้สามารถมองเห็นทิวทัศน์รอบๆ และมองเห็นอำเภอเมืองน่านได้ถนัด
    • สถานที่ติดต่อ ที่ทำการวนอุทยานถ้ำผาตูบ บ้านผาตูบ ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 55000 โทรศัพท์: 054-710136

เขตห้ามล่าสัตว์ป่า

สวนรุกขชาติ

พื้นที่อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า "เมืองเก่าน่าน"

ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2548 เห็นชอบมติที่ประชุมของคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า เรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ครั้งที่ 3/2548 วันที่ 24 มิถุนายน 2548 ดังนี้
  1. ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าน่าน และเวียงพระธาตุแช่แห้ง เป็นพื้นที่อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า (ข้อ 9(1) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. 2546 มีผลเมื่อได้รับการประกาศโดยคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า แล้ว และได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2549)
  2. แผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่าน
  3. การแต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่านดำเนินงานในพื้นที่เมืองเก่าน่าน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
ไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่านดำเนินงานในพื้นที่เมืองเก่าน่าน ตามมติของคณะรัฐมนตรี แต่คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาโกสินทร์ และเมืองเก่า ได้มีคำสั่งที่ 1/2549 เรื่อง การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 โดยจังหวัดน่านได้เสนอแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550 ซึ่งได้ยืนยันการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีอีกครั้งเมื่อ 14 กันยายน 2553 และมติที่ประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ครั้งที่ 1/2553 วันที่ 27 ธันวาคม 2553 มีมติไม่เห็นด้วยกับการแต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ตามมติของคณะรัฐมนตรีตามที่จังหวัดเสนอ

การศึกษา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน


ประถมศึกษา
ดูที่: รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดน่าน

บุคคลที่มีชื่อเสียง

ศิลปิน
วงการบันเทิง
นักกีฬา

อ้างอิง

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 318 ง หน้า 14 วันที่ 19 ธันวาคม 2566
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  3. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดน่าน ณ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  4. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2564. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2565.
  5. http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showProvinceData.php
  6. http://thainationhistory2.blogspot.com/p/blog-page_6789.html?m=1
  7. http://123.242.178.83/webjo/index.php?option=com_content&view=article&id=7&Itemid=28
  8. แสนหลวงราชสมภาร (2461). เรื่องราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมื่องน่าน. ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑๐. กรุงเทพ ฯ: หอพระสมุดวชิรญาณ. p. 83-84.
  9. “Phou Khe – Climbing, Hiking & Mountaineering”
  10. ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดภาคเหนือ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ. เข้าถึงได้จาก: http://www.cmmet.tmd.go.th
  11. "30 year Average (1961-1990) - CHIANG RAI". Thai Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-20. สืบค้นเมื่อ 2010-04-20.
  12. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นเทศบาลตำบลดู่ใต้[ลิงก์เสีย]
  13. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลกองควาย อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นเทศบาลตำบลกองควาย[ลิงก์เสีย]
  14. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน เป็นเทศบาลตำบลศีรษะเกษ[ลิงก์เสีย]
  15. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (14 ก): 38–42. 3 มีนาคม 2566.
  16. ข้อกำหนดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง การจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน พุทธศักราช ๒๕๕๕
  17. ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาของจังหวัดน่านประจำปีการศึกษา 2566

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

18°47′N 100°46′E / 18.78°N 100.77°E / 18.78; 100.77

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya