Share to:

 

จังหวัดพะเยา

จังหวัดพะเยา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Phayao
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
คำขวัญ: 
กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพะเยาเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพะเยาเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพะเยาเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ รัฐพล นราดิศร[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2566)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด6,335.060 ตร.กม. (2,445.980 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 34
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[3]
 • ทั้งหมด458,287 คน
 • อันดับอันดับที่ 58
 • ความหนาแน่น72.34 คน/ตร.กม. (187.4 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 65
รหัส ISO 3166TH-56
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้สารภี
 • ดอกไม้สารภี
 • สัตว์น้ำปลาบึก
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งหมู่ที่ 11 ถนนพหลโยธิน ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
 • โทรศัพท์0 5444 9599
 • โทรสาร0 5444 9588
เว็บไซต์http://www.phayao.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

พะเยา (ไทยถิ่นเหนือ: ᩕᨻᨿᩣ᩠ᩅ)[4] เป็นจังหวัดในภาคเหนือ บริเวณที่ตั้งของตัวเมืองพะเยาในปัจจุบันอยู่ติดกับกว๊านพะเยา เดิมเป็นที่ตั้งของเมือง ภูกามยาว หรือ พะยาว ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 โดยกษัตริย์องค์แรกคือ พญาจอมธรรม ซึ่งเป็นราชบุตรองค์หนึ่งจากเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน และเป็นบรรพบุรุษของกษัตริย์เมืองพะยาวอีกหลายองค์ เช่น พญาเจือง วีรบุรุษแห่งเผ่าไท-ลาวในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง และพญางำเมืองซึ่งได้กระทำสัตย์สาบานเป็นไมตรีต่อกันกับพญามังรายแห่งนครพิงค์เชียงใหม่ และพญาร่วงรามคำแหงแห่งสุโขทัย ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านนา ในสมัยพญาคำฟู

จังหวัดพะเยา
"พะเยา" ในภาษาไทย (บน)
และในคำเมืองอักษรธรรมล้านนา (ล่าง)
ชื่อภาษาไทย
อักษรไทยพะเยา
อักษรโรมันPhayao
ชื่อคำเมือง
อักษรธรรมล้านนาᩕᨻᨿᩣ᩠ᩅ
อักษรไทยพะเย๊า

เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ใน พ.ศ. 2386 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 เมืองพะเยาถูกตั้งขึ้นใหม่พร้อมเมืองเชียงรายและเมืองงาวเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านต่อตีกับกองทัพพม่าที่ตั้งอยู่ที่เมืองเชียงแสน โดยให้เมืองพะเยาขึ้นตรงต่อ นครลำปาง (พื้นที่บางส่วนของจังหวัดพะเยาปัจจุบัน ได้แก่ อำเภอเชียงม่วน อำเภอปง อำเภอเชียงคำ และอำเภอภูซางขึ้นตรงต่อนครน่าน) และในท้ายที่สุดก่อนที่พะเยาจะถูกยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด พะเยาอยู่ใต้การปกครองของจังหวัดเชียงรายในฐานะ อำเภอพะเยา และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 อำเภอพะเยาได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา นับเป็นจังหวัดที่ 72 ของประเทศไทย

ประวัติศาสตร์

จังหวัดพะเยาจัดตั้งเมื่อ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 โดยแยกออกจากจังหวัดเชียงราย[5]

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีเขตระหว่างเส้นรุ้งที่ 18 องศา 44 ลิปดาเหนือ ถึง 19 องศา 44 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 40 ลิปดาตะวันออก ถึง 100 องศา 40 ลิปดาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพะเยา เป็นที่ราบสูงและภูเขา มีระดับความสูงตั้งแต่ 300–1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีเทือกเขาอยู่ทางทิศตะวันตก ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้และตอนกลางของพื้นที่จังหวัด มีเนื้อที่ประมาณ 6,335.06 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,959,412 ไร่ มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นลำดับที่ 15 ของภาคเหนือ และมีพื้นที่ป่าไม้ (จากภาพถ่ายดาวเทียม ปี 2542) ประมาณ 1,503,174 ไร่ หรือร้อยละ 37.96 ของพื้นที่จังหวัด สภาพเป็นป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้ยาง ไม้เต็ง ไม้รัง ฯลฯ จังหวัดพะเยามีพื้นอยู่ทั้งในที่ลุ่มแม่น้ำโขงและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนที่อยู่ในลุ่มน้ำโขง คือพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอเชียงคำ และอำเภอแม่ใจ ส่วนที่อยู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือ อำเภอปง และ อำเภอเชียงม่วน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำยม

ภูมิอากาศ

จังหวัดพะเยาแบ่งฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดู คือ

  • ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม อากาศร้อน แห้ง ความชื้นน้อย อากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน อุณหภูมิสูง สุดเฉลี่ย 32 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน ระหว่าง เดือนมิถุนายน – ตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนมากพอสมควร ความชื้นสัมพัทธ์ ประมาณ 44–95 % ฝนจะตกชุกมากระหว่าง เดือน สิงหาคม – กันยายน ซึ่งเป็นฝนที่ได้รับอิทธิ พลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และพายุหมุน จากทะเลจีนใต้ ตอนต้นฤดูฝน จะมีลม กรรโชกแรง บางครั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ ทรัพย์สิน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 1,062 มิลลิเมตร
  • ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อากาศจะ เริ่มหนาวในเดือนพฤศจิกายน และจะหนาวมากในปลาย เดือนธันวาคม – ต้นเดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคม 0 องศาเซลเซียส

การเมืองการปกครอง

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัด

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง จำนวนปี
1 นายสัญญา ปาลวัฒน์วิไชย 28 ส.ค. 2520 - 30 ก.ย. 2524 4 ปี 1 เดือน
2 นายอรุณ รุจิกัณหะ 1 ต.ค. 2524 - 30 ก.ย. 2526 2 ปี
3 นายสุดจิตร คอวนิช 1 ต.ค. 2526 - 30 ก.ย. 2530 4 ปี
4 นายศักดา ลาภเจริญ 1 ต.ค. 2530 - 30 ก.ย. 2532 2 ปี
5 นายทองคำ เขื่อนทา 1 ต.ค. 2532 - 30 ก.ย. 2533 1 ปี
6 นายสวัสดิ์ ส่งสัมพันธ์ 1 ต.ค. 2533 - 30 ก.ย. 2536 3 ปี
7 นายวิจารณ์ ไชยนันทน์ 5 ต.ค. 2536 - 30 ก.ย. 2539 3 ปี
8 นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา 1 ต.ค. 2539 - 30 ก.ย. 2540 1 ปี
9 นายกำพล วรพิทยุต 20 ต.ค. 2540 - 29 ก.พ. 2543 2 ปี 5 เดือน
10 นายสันต์ ภมรบุตร 1 มี.ค. 2543 - 30 ก.ย. 2543 7 เดือน
11 นายพิพัฒน์ วงศาโรจน์ 1 ต.ค. 2543 - 30 ก.ย. 2545 2 ปี
12 นายสมศักดิ์ บุญเปลื้อง 1 ต.ค. 2545 - 30 ก.ย. 2546 1 ปี
13 นายบวร รัตนประสิทธิ์ 1 ต.ค. 2546 - 1 ธ.ค. 2548 2 ปี 2 เดือน
14 นายวิทยา ปิณฑะแพทย์ 2 ธ.ค. 2548 - 30 ก.ย. 2549 10 เดือน
15 นายธนเษก อัศวานุวัตร 13 พ.ย. 2549 - 5 พ.ค. 2551 1 ปี 6 เดือน
16 นางสาวเรืองวรรณ บัวนุช 6 พ.ค. 2551 - 30 ก.ย. 2552 1 ปี 5 เดือน
17 นายเชิดศักดิ์ ชูศรี 1 ต.ค. 2552 - 30 ก.ย. 2553 1 ปี
18 นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ 1 ต.ค. 2553 - 27 พ.ย. 2554 1 ปี 2 เดือน
19 นายไมตรี อินทุสุต 28 พ.ย. 2554 - 7 ต.ค. 2555 10 เดือน
20 นายชูชาติ กีฬาแปง 8 ต.ค. 2555 - 30 ก.ย. 2558 3 ปี
21 นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ 1 ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2559 1 ปี
22 นายณรงค์ศักดิ์ เฉลิมเกียรติ 1 ต.ค. 2559 - 30 ก.ย. 2560 1 ปี
23 นายประจญ ปรัชญ์สกุล 1 ต.ค. 2560 - 29 มิ.ย. 2561 9 เดือน
24 นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร 29 มิ.ย. 2561 - 30 ก.ย. 2562 1 ปี 3 เดือน
25 นายกมล เชียงวงค์ 1 ต.ค. 2562 - 12 ก.พ. 2564 1​ ปี​ 4​ เดือน
26 นายโชคดี​ อมรวัฒน์​ 25 พ.ค.​ 2564​ -​ 30 ก.ย. 2564 4​ เดือน
27 นายศักดิ์ฤทธิ์ สลักคำ 15 ธ.ค. 2564​ -​ 30 ก.ย. 2565 10 เดือน
28 ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร 1 ต.ค. 2565 - 30 ก.ย. 2566 1 ปี
29 นายรัฐพล นราดิศร 17 ธ.ค. 2566 - ปัจจุบัน

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 68 ตำบล 779 หมู่บ้าน 2 เทศบาลเมือง 33 เทศบาลตำบล 36 องค์การบริหารส่วนตำบล

การปกครองส่วนภูมิภาค

แผนที่อำเภอในจังหวัดพะเยา
ที่ ชื่ออำเภอ ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนตำบล จำนวนประชากร[6]
1. เมืองพะเยา Mueang Phayao 15 126,934
2. จุน Chun 7 50,984
3. เชียงคำ Chiang Kham 10 76,798
4. เชียงม่วน Chiang Muan 3 19,210
5. ดอกคำใต้ Dok Khamtai 12 71,403
6. ปง Pong 7 52,824
7. แม่ใจ Mae Chai 6 34,910
8. ภูซาง Phu Sang 5 31,492
9. ภูกามยาว Phu Kamyao 3 21,749

การปกครองส่วนท้องถิ่น

อำเภอเมืองพะเยา

อำเภอจุน

อำเภอเชียงคำ

  • เทศบาลตำบลเชียงคำ
  • เทศบาลตำบลบ้านทราย
  • เทศบาลตำบลฝายกวาง
  • เทศบาลตำบลหย่วน

อำเภอเชียงม่วน

  • เทศบาลตำบลเชียงม่วน

อำเภอดอกคำใต้

อำเภอปง

  • เทศบาลตำบลงิม
  • เทศบาลตำบลปง
  • เทศบาลตำบลแม่ยม

อำเภอแม่ใจ

  • เทศบาลตำบลแม่ใจ
  • เทศบาลตำบลบ้านเหล่า
  • เทศบาลตำบลรวมใจพัฒนา
  • เทศบาลตำบลป่าแฝก
  • เทศบาลตำบลเจริญราษฎร์
  • เทศบาลตำบลศรีถ้อย

อำเภอภูซาง

  • เทศบาลตำบลสบบง

อำเภอภูกามยาว

  • เทศบาลตำบลดงเจน

การคมนาคม

ทางถนน

โดยรถยนต์สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง เช่น

  • 1. ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านกำแพงเพชร ตาก ลำปาง แล้วเข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 969 กิโลเมตร
  • 2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 117 จนถึงพิษณุโลก แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 12 ไปจนถึงสุโขทัย เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 103 ผ่านอำเภอร้องกวาง เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภองาว เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 782 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง

บริษัทขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารปรับอากาศและธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2

พะเยา-ภาคกลาง

·        สาย 662 พิษณุโลก-เชียงราย-แม่สาย (พิษณุโลก-สุโขทัย-สวรรคโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์

·        สาย 663 นครสวรรค์-เชียงราย (นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ คิงส์ด้อมทัวร์

พะเยา-ภาคใต้

·        สาย 780 ภูเก็ต-เชียงราย (ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี-ชุมพร-ประจวบฯ-หัวหิน-ชะอำ-เพชรบุรี-อยุธยา-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 877 แม่สาย-ด่านนอก (แม่สาย-เชียงราย-พะเยา-แพร่-อุตรดิตถ์-พิษณุโลก-ทุ่งสง-พัทลุง-หาดใหญ่-ด่านนอก) ปิยะชัยพัฒนา จำกัด

พะเยา-ภาคตะวันออก

·        สาย 660 ระยอง-เชียงราย-แม่สาย (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-สระบุรี-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์

·        สาย 660 ระยอง-เชียงราย-แม่สาย (สายเก่า-รถด่วน) (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-นครสวรรค์-ตาก-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์

พะเยา-ภาคอีสาน

·        สาย 661 เชียงราย-นครพนม (นครพนม-สกลนคร-อุดรธานี-หนองบัวลำภู-เลย-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สมบัติทัวร์

·        สาย 633 ขอนแก่น-เชียงราย (ขอนแก่น-ชุมแพ-หล่มสัก-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ อีสานทัวร์ สมบัติทัวร์

·        สาย 651 นครราชสีมา-แม่สาย (นครราชสีมา-สระบุรี-โคกสำโรง-ตากฟ้า-เขาทราย-วังทอง-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยทัวร์

·        สาย 841 บึงกาฬ-แม่สาย (บีงกาฬ-หนองคาย-อุดรธานี-ขอนแก่น-ชุมแพ-หล่มสัก-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

.        สาย 587 อุบลราชธานี-เชียงราย (อุบลฯ-ศีรษะเกษ-สุรินทร์-บุรีรัมย์-ชัยภูมิ-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา-พาน-เชียงราย) บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด

พะเยา-ภาคเหนือ

·        สาย 671 เชียงใหม่-เชียงของ (เชียงใหม่-แม่ขะจาน-วังเหนือ-พะเยา-ดอกคำใต้-จุน-เชียงคำ-เทิง-เชียงของ) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 198 เชียงใหม่-พะเยา (เชียงใหม่-แม่ขะจาน-วังเหนือ-พะเยา) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 113 เชียงใหม่-น่าน (เชียงใหม่-แม่ขะจาน-วังเหนือ-พะเยา-ดอกคำใต้-ปง-เชียงม่วน-น่าน) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 148 เชียงใหม่-เชียงราย (เชียงใหม่-ลำพูน-ดอยติ-ลำปาง-งาว-พะเยา-พาน-เชียงราย) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 149 เชียงใหม่-แม่สาย (เชียงใหม่-ลำพูน-ดอยติ-ลำปาง-งาว-พะเยา-พาน-เชียงราย-แม่จัน-แม่สาย) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 150 เชียงใหม่-สามเหลี่ยมทองคำ (ข) (เชียงใหม่-ลำพูน-ดอยติ-ลำปาง-งาว-พะเยา-พาน-เชียงราย-แม่จัน-เชียงแสน-สามเหลี่ยมทองคำ) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 146 ลำปาง-เชียงราย (ลำปาง-งาว-พะเยา-แม่ใจ-พาน-เชียงราย) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 2160 พะเยา-เชียงคำ (พะเยา-ดอกคำใต้-จุน-เชียงคำ) บริษัท ดอกคำใต้เดินรถ จำกัด

·        สาย 197 พะเยา-ปง (พะเยา-ดอกคำใต้-จุน-ปง) บริษัท อารยะเดินรถ จำกัด

·        สาย 612 พะเยา-น่าน (พะเยา-ดอกคำใต้-จุน-ปง-เชียงม่วน-บ้านหลวง-น่าน) บริษัท พะเยาขนส่ง จำกัด

·        สาย 679 เชียงราย-จุน (เชียงราย-เทิง-ป่าแดด-จุน) บริษัท สหกิจเดินรถเชียงราย จำกัด

·        สาย 620 เชียงราย-เชียงคำ (เชียงราย-เทิง-เชียงคำ) บริษัท ก.สหกิจเดินรถเชียงราย จำกัด

·        สาย 686 เชียงราย-เชียงคำ (เชียงราย-แม่ลอยไร่-ร่องแมด-เชียงคำ) บริษัท บุญณัฐเดินรถ จำกัด

·        สาย 621 เชียงราย-พะเยา (เชียงราย-พาน-แม่ใจ-พะเยา) บริษัท ก.สหกิจเดินรถเชียงราย และ พะเยาขนส่ง จำกัด

·        สาย 144 เชียงราย-แพร่ (เชียงราย-พาน-พะเยา-แพร่) บริษัท แพร่ยานยนต์ขนส่ง (หนานคำทัวร์) จำกัด

·        สาย 672 แม่สาย-แม่สอด (แม่สาย-เชียงราย-พะเยา-งาว-ลำปาง-เถิน-ตาก-แม่สอด) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 1131 เชียงใหม่-เชียงม่วน (เชียงใหม่-แม่ขะจาน-วังเหนือ-พะเยา-ดอกคำใต้-จุน-ปง-เชียงม่วน) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

พะเยา-กรุงเทพฯ

  • กรุงเทพ-พะเยา (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-งาว-พะเยา) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ เชิดชัยทัวร์ นครชัยแอร์
  • กรุงเทพ-เชียงราย (ก) (กรุงเทพ-นครสวรรค์-ตาก-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สมบัติทัวร์ เชิดชัยทัวร์ นครชัยแอร์ อินทราทัวร์
  • กรุงเทพ-เชียงราย (ข) (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ เชิดชัยทัวร์
  • กรุงเทพ-แม่สาย (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. บุษราคัมทัวร์ เชิดชัยทัวร์
  • กรุงเทพ-เชียงของ (กรุงเทพ-นครสวรรค์-แพร่-ดอกคำใต้-เชียงคำ-เชียงของ) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ เชิดชัยทัวร์ 
  • กรุงเทพ-เชียงคำ-ภูซาง(บ้านฮวก) (กรุงเทพ-พิษณุโลก-แพร่-เชียงม่วน-ปง-เชียงคำ-ภูซาง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส.
การเดินทางจากพะเยาสู่อำเภอต่าง ๆ
การเดินทางจังหวัดพะเยากับจังหวัดภาคเหนือ

ทางรถไฟ

ทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ (กำลังก่อสร้าง)

  • สถานีพะเยา
  • สถานีมหาวิทยาลัยพะเยา
  • สถานีบ้านโทกหวาก
  • สถานีดงเจน
  • สถานีบ้านร้อง
  • สถานีบ้านใหม่(พะเยา)

ทางอากาศ

สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยว

อนุสาวรีย์พญางำเมือง
เทศบาลเมืองพะเยา
กว๊านพะเยายามเย็น
น้ำตกภูซาง

เศรษฐกิจ

ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของจังหวัดพะเยา ได้แก่

  • ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมมะลิของจังหวัดพะเยาจัดอยู่ในสินค้าระดับ Premium Grade เพราะจะมีเพียงฤดูนาปีเท่านั้น จังหวัดพะเยามีดินดีที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก กล่าวคือ ดินเหนียวใกล้เชิงภูเขาไฟและเป็นดินจากภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ทำให้ข้าวมีรวงแข็งแรง เมล็ดสมบูรณ์ใหญ่ยาว เมื่อสีข้าวแล้วจะได้ข้าวเมล็ดเรียวยาว ขาวเป็นมัน เมื่อหุงสุกแล้วจะเหนียวนุ่มกลิ่นหอมตามธรรมชาติคล้าย ๆ กับกลิ่นใบเตย แม้ทิ้งไว้นานก็ยังคงสภาพกลิ่นหอม หุงแล้วนุ่ม
  • ลำไย ลำไยส่วนใหญ่ที่ปลูกในจังหวัดพะเยา คือ พันธุ์อีดอ ลักษณะผลใหญ่ รูปทรงแป้นเบี้ยว เนื้อหวานสีขาวขุ่นค่อนข้างเหนียว รสหวาน มีปริมาณน้ำตาลประมาณร้อยละ 18.7 ผลจะแก่เร็วกว่าผลพันธุ์อื่น ต้นเดือนกรกฎาคมก็เก็บผลผลิตได้ นิยมปลูกในทุกอำเภอ แหล่งที่ปลูกมากคืออำเภอเชียงคำและอำเภอจุน ผลผลิตส่วนใหญ่จะผลิตเป็นลำไยอบแห้งทั้งเปลือก
  • ลิ้นจี่ เนื่องจากสวนลิ้นจี่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพะเยาปลูกอยู่ระหว่างหุบเขาที่มีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปีและปลูกในดินที่มีปริมาณธาตุโพแทสเซียมสูง ส่งผลให้ลิ้นจี่ของจังหวัดพะเยามีลักษณะเด่น คือ ลูกใหญ่ สีผิวสวยตามชนิดพันธุ์ รสชาติหวาน เนื้อแห้งกรอบ ไม่มีน้ำมาก เมื่อแกะรับประทานสด สามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ

การศึกษา

มหาวิทยาลัยพะเยา
สถาบันอาชีวศึกษารัฐ
สถาบันอุดมศึกษา
สถาบันอาชีวศึกษาเอกชน
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา
ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดพะเยา

สาธารณสุข

  • โรงพยาบาลพะเยา
  • โรงพยาบาลพะเยาราม (เอกชน )
  • โรงพยาบาลค่ายขุนเจืองธรรมิกราช
  • โรงพยาบาลเชียงคำ
  • โรงพยาบาลเชียงม่วน
  • โรงพยาบาลดอกคำใต้

กีฬา

บุคคลที่มีชื่อเสียง

พระเกจิอาจารย์
เจ้านายฝ่ายเหนือ
นักการเมือง
ข้าราชการ นักวิชาการ
แวดวงนักธุรกิจ
บุคคลในวงการบันเทิง
บุคคลในวงการกีฬา

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 318 ง หน้า 14 วันที่ 19 ธันวาคม 2566
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  3. ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564
  4. ชื่อเขียนตามที่ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับวัดพระงาม จ.ศ. 1216
  5. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. ๒๕๒๐" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-08-14.
  6. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดพะเยา ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  7. "พะเยาชวนเที่ยว "บ่อสิบสอง" จุดชมตะวันเช้าวันใหม่ เห็นวิวเมืองสวย-ชัด!". มติชน. 30 ตุลาคม 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2015. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

19°10′N 99°55′E / 19.17°N 99.91°E / 19.17; 99.91

Kembali kehalaman sebelumnya