เจ้านายฝ่ายเหนือเจ้านายฝ่ายเหนือ หมายถึง เจ้านายผู้สืบเชื้อสายในราชวงศ์ที่เคยปกครองอาณาจักรหัวเมืองเหนือ ซึ่งเข้ามาสวามิภักดิ์เป็นประเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้แก่ เจ้านายในทิพย์จักราธิวงศ์ที่ปกครองนครเชียงใหม่ นครลำปาง และนครลำพูน ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ที่ปกครองนครน่าน และราชวงศ์แสนซ้ายที่ปกครองนครแพร่ ในอดีตเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองดินแดนของตน แต่มีหน้าที่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการ ถวายราชสำนักสยามเพื่อแสดงความจงรักภักดีเท่านั้น อย่างไรก็ตามราชสำนักสยามได้เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในราชสำนักประเทศราชหลายครั้ง จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงยกเลิกการปกครองแบบประเทศราชเพื่อรวมศูนย์อำนาจการปกครองไว้ที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะ ตำแหน่งเจ้าประเทศราชก็ให้สิ้นสุดเมื่อเจ้าผู้ครองนครนั้นถึงแก่พิราลัย ปัจจุบันเจ้านายฝ่ายเหนือในทิพย์จักราธิวงศ์ยังคงมีการสืบทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น โดยคำว่า "เจ้า" เป็นเพียงการยกย่องอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มคนภาคเหนือเพื่อเป็นการให้เกียรติตามธรรมเนียมล้านนาเท่านั้น ไม่ใช่คำนำหน้าชื่ออย่างเป็นทางการตามกฎหมายเหมือนสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง เจ้านายฝ่ายเหนือปัจจุบันยังมีการรวมกลุ่มดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อปี พ.ศ. 2501[1] ในนาม มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ[2] เจ้าผู้ครองนครที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “พระเจ้าประเทศราช”รายพระนามเจ้าผู้ครองนครที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “พระเจ้าประเทศราช” มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้
เจ้าผู้ครองนครพระองค์สุดท้ายของแต่ละนครแห่งหัวเมืองล้านนาประเทศราชรายพระนามเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายของแต่ละนครแห่งหัวเมืองล้านนาประเทศราช มีรายพระนามเรียงตามการสิ้นสุดของแต่ละนคร ดังนี้
ฐานันดรศักดิ์บทบาทมีบทบาทที่ชัดเจนแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475[3] บทบาทก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475การปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือราชวงศ์ทิพย์จักร เป็นวงศ์ตระกูลในชนชั้นกษัตริย์ปกครองมาตั้งแต่ยุคของพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งปกครองนครลำปางในฐานะนครรัฐอิสระในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในชั้นพระราชนัดดาหรือเจ้าเจ็ดพระองค์พี่น้อง (เจ้าเจ็ดตน) ได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยกองทัพสยามสู้รบกับกองทัพพม่า และช่วยขยายพระราชอาณาเขตทั้งในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใน ปี พ.ศ. 2275 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระยากาวิละเป็นพระเจ้ากาวิละ พระเจ้าเชียงใหม่ ปกครอง 57 หัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราช ภายหลังการโปรดเกล้าฯ จากราชสำนักสยาม พระเจ้ากาวิละได้โปรดให้จัดพิธีเถลิงถวัลยราชสมบัติเข้าขึ้นครองอาณาจักรล้านนาตามราชประเพณีในราชวงศ์มังราย ในการนี้เจ้าเจ็ดพระองค์พี่น้องได้ทรงร่วมกันวางระบบการปกครองอาณาจักรฝ่ายเหนือ โดยแบ่งหัวเมืองฝ่ายเหนือออกเป็น 4 ระดับ (พ.ศ. 2275 - 2442) ดังนี้
เจ้านายเชื้อพระวงศ์เจ้าเจ็ดตนได้แยกย้ายกันเข้าปกครองหัวเมืองประเทศราช ในส่วนเมืองประเทศราชและเมืองบริวารหัวเมืองขึ้นชั้น 1 และ ชั้น 2 ที่โปรดให้เจ้านายราชวงศ์เดิมปกครองหรือตั้งสามัญชนขึ้นปกครองก็มักจะส่งพระธิดาหรือเจ้านายสตรีไปเสกสมรสหรือทูลขอพระธิดาและเจ้านายสตรีฝ่ายนั้นมาผูกสัมพันธ์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติเและผดุงความมั่นคงในราชอาณาจักรฝ่ายเหนือ [5] ในการปกครองอาณาจักรฝ่ายเหนือในช่วงแรกตอนที่เจ้าเจ็ดพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ราชสำนักล้านนายังได้รับความเกรงพระทัยจากราชสำนักสยามอยู่มาก เนื่องจากเป็นพระประยูรญาติของสมเด็จพระอนุชาธิราช การตั้งเจ้าฟ้า เจ้าเมือง พระราชทานยศบรรดาศักดิ์ พระยา ท้าว อำมาตย์ เป็นไปตามที่พระเจ้าประเทศราชเห็นควร ไม่มีการเข้าแทรกแซงจากราชสำนักสยามทั้งสิ้น นอกจากบางครั้งราชสำนักล้านนาเห็นควร จะทูลเสนอราชสำนักสยามเพื่อขอให้พระราชทานสัญญาบัตรในกรณีตั้งเมืองใหม่ซึ่งไม่ใช้ข้อบังคับแต่อย่างใด การปกครองล้านนาเป็นไปโดยเอกสิทธิ์ความเป็นพระเจ้าประเทศราชนั้น แต่ต่อมาด้วยความขัดแย้งภายในราชสำนักล้านนาเอง โดยเฉพาะเมื่อมีการผลัดเปลี่ยนเจ้าผู้ครองนครประเทศราชเอง มักขออ้างอาญาสิทธิ์จากราชสำนักสยามเข้ามาเป็นเครื่องชี้ขาด จึงเป็นเหตุหนึ่งให้ราชสำนักล้านนาอ่อนแอลง กอปรกับในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเจ้าประเทศราช คิดการกบฎ ทำให้ราชสำนักสยามเริ่มหวั่นเกรงพระทัยในราชสำนักล้านนา จึงพยายามทรงลดบทบาทของราชสำนักล้านนาลง ได้ทรงให้มีการจารึกราชอาณาเขตสยามขึ้น อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเห็นถึงคุณูปการณ์ของราชวงศ์ฝ่ายเหนือตั้งแต่อดีตกาลจึงทรงโปรดเกล้าฯ ถวายพระเกียรติสูงสุดอีกครั้ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงยุคล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก ทุกประเทศรอบสยามล้วนโดนคุกคาม พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้ปฏิรูปการปกครองสยามขึ้นใหม่ กอปรกับความทราบถึงพระเนตรพระกรรณที่พระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งอังกฤษจะมาทูลขอเจ้าดารารัศมีราชธิดาในพระเจ้าเชียงใหม่ไปเป็นพระราชธิดาบุญธรรม เพื่อแทรกแซงอาณาจักรฝ่ายเหนือของสยาม จึงทรงทูลขอเจ้าดารารัศมี พระราชธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ มารับราชการฝ่ายใน เมื่อเจ้าดารารัศมี ได้เข้ามาถวายตัวแล้ว ได้ทรงยกเลิกการปกครองแบบประเทศราช ถือให้สิ้นสุดเมื่อเจ้าประเทศราชพระองค์นั้นถึงพิราลัย กล่าวได้ว่าเจ้านายฝ่ายเหนือและกลุ่มพระประยูรญาติดำรงตนอยู่ในสถานะชนชั้นปกครองตลอดมา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2442 นครเชียงใหม่ให้รัฐบาลสยามได้เข้ามาบริหารจัดการการปกครองอย่างเต็มรูปแบบ โดยดำเนินนโยบายผนวกดินแดนและปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล เจ้านายฝ่ายเหนือจึงดำรงสถานะเป็นเสมือนข้าราชการที่มีเงินประจำตำแหน่งเท่านั้น เพราะมิเช่นนั้น ล้านนาจะถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของพม่า จากลัทธิจักรวรรดินิยม[3] ความสัมพันธ์กับราชสำนักสยาม
สายสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ทิพจักรกับราชวงศ์จักรี มีมาตั้งแต่ครั้งสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เพราะได้ช่วยขยายพระราชอาณาเขต และเจ้าศรีอโนชา พระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท มีบทบาทสำคัญยิ่งครั้งยังเป็นท่านผู้หญิง ในการช่วยหงายเมือง โดยได้ช่วยพระยาสุริยอภัยปราบพระยาสรรค์ช่วงเกิดความไม่สงบในปลายสมัยกรุงธนบุรี ขณะที่เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปสู้รบกับเขมรปี พ.ศ. 2324 ในการปราบพระยาสรรค์ เจ้าศรีอโนชาได้เกณฑ์ชาวลาวที่ปากเพรียว สระบุรี[7] เข้าผสมกับกองกำลังของพระยาสุริยอภัยจากนครราชสีมา รวมประมาณ 1,000 คน[8] ยกเข้ามาต่อสู้กับฝ่ายพระยาสรรค์ที่ธนบุรี การปะทะกันครั้งแรกฝ่ายพระยาสุริยอภัยได้เพลี่ยงพล้ำ เจ้าศรีอโนชาจึงบัญชากองทัพเรือชาวมอญเข้าช่วยตีขนาบจนฝ่ายพระยาสรรค์พ่ายแพ้[9] และในตำนานเจ้าเจ็ดตนเองก็กล่าวถึงบทบาทของเจ้าศรีอโนชาว่า "เจ้าครอกศรีอโนชาหงายเมืองได้ไว้แล้ว ก็ใช้ไปเชิญเอาเจ้าพระยาจักรี พระยาสุรสีห์ 2 องค์พี่น้องเข้ามาผ่านพิภพขึ้นเสวยราชย์ เจ้าพระยาจักรีเป็นพี่กษัตริย์องค์หลวง... พระยาสุรสีห์ คนน้องปรากฏว่า ล้นเกล้าล้นกระหม่อมกรมพระราชวังบวรสถานมงคลวังหน้า"[7] สายสัมพันธ์ระหว่างสองราชสำนักแน่นแฟ้นอีกครั้ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับเจ้าทิพเกสร ณ เชียงใหม่ มารับราชการฝ่ายในประสูติพระราชโอรส คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี และที่สำคัญคือการทรงทูลขอเจ้าดารารัศมี พระราชธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์[10] มารับราชการฝ่ายในต่อมาได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระราชชายา ซึ่งเจ้าดารารัศมี พระราชชายา ทรงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองราชสำนัก นอกจากนั้นยังมีเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือหลายท่าน ได้สมรสกับเจ้านายเชื้อพระวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายท่าน จึงทำให้มีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือเข้าไปมีบทบาทในราชสำนักสยามและราชการส่วนกลาง มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ
ความสัมพันธ์ระหว่างล้านนากับสยาม จึงไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศราชกับเจ้าประเทศราชที่ล้านนาถูกบีบบังคับ แต่เป็นความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ การกำหนดศักดินาแต่เดิมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินและแผ่นดินทั้งหมดถืออยู่ในพระราชอำนาจของเจ้าหลวง หรือ เจ้าผู้ครองนคร, พระเจ้าผู้ครองนคร ที่จะพระราชทานให้เจ้านายหรือราษฎรใดก้ได้ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ราชสำนักสยามได้พยายามเข้ามามีบทบาทเพื่อควบคุมการปกครองหัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานศักดินาแก่เจ้านายพระยาท้าวแสน หัวเมืองประเทศราช ให้มีกำหนดในกรมศักดิ์สืบไป ดังนี้[11]
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
การพระราชทานนามสกุลในปี พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการตราบัญญัติใช้นามสกุลขึ้น[12] แล้วได้พระราชทานนามสกุลให้กับเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เจ้าผู้ครองนครลำพูน เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเจ้าผู้ครองนครน่าน ให้ทายาทผู้สืบสกุลในเจ้าผู้ครองนครใช้นามสกุล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และ ณ น่าน ตามลำดับ ส่วนการใช้นามสกุลในพระญาติวงศ์ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของเจ้าผู้ครองนครเอง ต่อมาเจ้าผู้ครองนครได้อนุญาตให้ผู้มีเชื้อสายเจ้าในขณะนั้นเกือบทั้งหมดได้ใช้นามสกุลพระราชทานร่วมกัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการตราบัญญัติให้ใช้นามสกุลมีขึ้นภายหลัง 180 ปี จึงทำให้ปรากฏเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือโดยเฉพาะเชื้อสายเจ้านายที่ไปปกครองเมืองบริวารใช้นามสกุลนอกเหนือจากพระราชทานอีกหลายนามสกุล[13] ลำดับการพระราชทานนามสกุลแก่เจ้าผู้ครองนครประเทศราชล้านนา ดังนี้
บทบาทหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475ด้านการเมืองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทตามสถานการณ์บ้านเมือง หลายท่านได้เข้ามามีบทบาทสำคัญและมีส่วนช่วยเกื้อกูลเครือญาติ อาทิ
- ในส่วนของสายนครเชียงใหม่มีเชื้อสายหลายท่านได้เข้าสู่การเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น[3] ส่งผลให้ตระกูล ณ เชียงใหม่ เป็นตระกูลที่มีบทบาททางการเมืองของไทย โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ อาทิเช่น เจ้าบุญเลิศ ณ เชียงใหม่ - ในส่วนของสายนครน่านมีเชื้อสายที่เข้าสู่การเมือง คือ คำรณ ณ ลำพูน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ สมรสกับเจ้าสุกัญญา ณ น่าน (ธิดาในเจ้าผู้ครองนครน่าน) ทั้งสองท่านมีบทบาทสำคัญในฐานะอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในส่วนที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อาทิเช่น พลเอกจิรพงศ์ วรรณรัตน์ (ณ เชียงใหม่) พลเอกเลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์ (เชื้อเจ็ดตน) พลอากาศเอกณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ (ณ ลำพูน) - ในส่วนของสายเมืองแพร่ได้เชื้อสายหลายท่านที่เข้าสู่การเมืองทั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการเมืองท้องถิ่น อาทิ เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ (ราชบุตรในพระวิไชยราชา (หนานขัติ แสนศิริพันธุ์) พระวิไชยราชานครแพร่) คุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ (ธิดาในรองอำมาตย์ตรีเผือก (เจ้าเผือก ไชยประวัติ) ดุสิต รังคสิริ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (บุตรในคุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ) ณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร และรัฐมนตรีอีกหลายกระทรวง (บุตรในเจ้าแสน วงศ์วรรณ) อนุสรณ์ วงศ์วรรณ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง (บุตรของณรงค์ วงศ์วรรณ) ประกายพฤกษ์ ศรุตานนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (บุตรในเจ้าตาวคำ ศรุตานนท์ ราชนัดดาเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่) โอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (หลานในเจ้าฟอง บรรเลง ราชนัดดาพระยาพิมพิสารราชา เจ้าผู้ครองนครแพร่) ศาสตราจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร (หลานในเจ้ามหาชัย วังซ้าย) เกรน ประชาศรัยสรเดช อดีตนายกเทศมนตรีเมืองแพร่ (บุตรในคุณหญิงทิพย์เกษร เตมียานนท์ ราชนัดดาในเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่) อนุวัธ วงศ์วรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ และมโนพัศ หัวเมืองแก้ว อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ด้านสังคมเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายได้มาเข้ามีบททางสังคมและทางวัฒนธรรม ในฐานะชนชั้นนำ[3] อาทิ การสืบสานศิลปวัฒนธรรมฝ่ายเหนือในนามของมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ[18] และการเข้าร่วมกิจกรรมกับจังหวัดเชียงใหม่ และองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน[19] รวมถึงงานรัฐพิธี ราชพิธีต่างๆ ด้วย การจัดตั้งกองทุนเจ้าหลวงเชียงใหม่ในการส่งเสริมการศึกษาและการค้นคว้าวิจัย การบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ในเมืองเชียงใหม่ อาทิ การสร้างห้องรักษาผู้ป่วยโรงพยาบาล อุปกรณ์การแพทย์ การบริจาคสิ่งของจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์และหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่[20] และบทบาทในสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากบทบาททางสังคมในเมืองเชียงใหม่ ยังมีบทบาทในสังคมชั้นนำซึ่งมีเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายหลายคนเข้าไปมีบทบาทในวงธุรกิจ และวงสังคมชนชั้นนำในระดับชาติ อาทิ เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ ท่านผู้หญิงฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี หม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่ คุณหญิงระวีพันธุ์ สุจริตกุล เจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน คุณหญิงวิจันทรา บุนนาค คุณหญิงจิราภา สูตะบุตร และเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่[21] เจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายได้รับการยกย่องจากระบบราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ตลอดจนการรับเสด็จเพื่อแสดงความจงรักภักดี โดยเฉพาะการผูกข้อพระกรถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพิธีบายศรีทูลพระขวัญ นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อเจ้านายฝ่ายเหนือ โปรดให้เข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์เมื่อเสด็จแปรพระราชฐาน ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศ รวมทั้งพระราชทานดอกไม้เยี่ยมไข้เมื่อความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ ครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2501 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จไปเสวยพระกระยาหารที่คุ้มวงศ์ตวัน ของพลตรี เจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) และฉายพระรูปร่วมกับเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายเป็นการส่วนพระองค์[22] ในครานั้นเองทรงรับสั่งว่า “ถึงแม้บ้านเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรให้สามัคคีกัน ให้รวมกลุ่มกันรักษาความดีไว้ ในฐานะทายาทผู้ครองนคร” นับเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ แต่นั้นมา ด้านเศรษฐกิจมีเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายเข้าไปมีบทบาทหลายคนในด้านเศรษฐกิจ อาทิ เจ้าทิพย์สมาตย์ ณ เชียงใหม่ อดีตรองประธานกรรมการ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และ นายรพี สุจริตกุล อดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ นายไชยณรงค์ ณ ลำพูน ประธานบริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด เป็นต้น ในส่วนเมืองเชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายได้ริเริ่มธุรกิจในจังหวัดเชียงใหม่หลายประเภท อาทิ ธุรกิจโรงแรมแห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ ธุรกิจโรงภาพยนตร์แห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ ของเจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ [23] รายพระนาม/รายนามเจ้านายฝ่ายเหนือในพระราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ สมาชิกครอบครัวประธานเจ้านายฝ่ายเหนือ/ผู้นำราชตระกูล ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครฯเรียงตามลำดับชั้นยศในสายราชตระกูลฯ(ในสายตรงของผู้นำราชตระกูลเท่านั้น) คือรายนามเจ้านายฝ่ายเหนือที่ยังมีชีวิตอยู่ และมีบทบาททางสังคม[24][25] ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์สายสกุลวงศ์ ณ เชียงใหม่
สายสกุลวงศ์ ณ ลำพูน
สายสกุลวงศ์ ณ ลำปาง
ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
อ้างอิง
|