ต้มยำกุ้ง
ต้มยำกุ้ง เป็นอาหารไทยภาคกลางประเภทต้มยำ ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานไปทุกภาคในประเทศไทย เป็นอาหารที่รับประทานกับข้าว มีรสเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลักผสมเค็มและหวานเล็กน้อย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ต้มยำน้ำใส และ ต้มยำน้ำข้น เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศขึ้นทะเบียนต้มยำกุ้งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ประวัติไม่มีหลักฐานที่บอกถึงจุดกำเนิดของอาหารชนิดนี้อย่างแน่ชัด สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้เขียนถึงต้มยำกุ้งไว้ว่า "เมื่อรับ 'ข้าวเจ้า' จากอินเดียเข้ามาพร้อมกับการค้าทางทะเลอันดามัน และศาสนาพราหมณ์–พุทธ ทำให้ 'กับข้าว' เปลี่ยนไปเริ่มมี 'น้ำแกง' เข้ามาหลากหลาย ทั้งแกงน้ำข้นใส่กะทิแบบอินเดีย กับแกงน้ำใสแบบจีน" ใน ปะทานุกรม การทำของคาวหวานอย่างฝรั่งแลสยาม (พ.ศ. 2441) มีสูตร ต้มยำกุ้งทรงเครื่อง ซึ่งดูจะแตกต่างมากจากต้มยำกุ้งในปัจจุบัน ระบุว่า "…เนื้อหมูต้มแล้วฉีกหนักสามบาท ปลาใบไม้เผาแล้วทุบฉีกสองบาท ปลาแห้งเผาแล้วฉีกสองบาท กระเทียมดองปอกเอาแต่เนื้อซอยสามบาท แตงกวาปอกเปลือกแล้วซอยสามบาท มะดันซอยสามบาท พริกชี้ฟ้าหั่นหนึ่งบาท ผักชีเด็ดหนึ่งบาท…" ส่วนวิธีทำระบุว่า "เอากุ้งสดมาต้มกับน้ำท่า ใส่น้ำปลาหนักสองบาท ต้มไปจนเนื้อกุ้งสุก…ตักเอาน้ำต้มกุ้งสามสิบแปดบาทใส่ลงในชาม แล้วเอากุ้งปอกเอาแต่เนื้อฉีกเป็นฝอยหนักสี่บาท น้ำกระเทียมดองหนึ่งบาท น้ำปลาเจ็ดบาท น้ำตาลทรายหกสลึง ใส่ลงในน้ำต้มกุ้ง แล้วเอาของที่ชั่งไว้ใส่ลงด้วย…ถ้าไม่เปรี้ยว เอาน้ำมะนาวเติมอีกก็ได้ เมื่อรศดีแล้วเอาพริกชี้ฟ้ากับผักชีโรย เปนใช้ได้"[3] ส่วนในหนังสือ ของเสวย (พ.ศ. 2507) ตำรับอาหารจากหม่อมราชวงศ์กิตินัดดา กิติยากร มีลักษณะคล้ายคลึงกับสูตรต้มยำกุ้งที่รู้จักกันอยู่ในปัจจุบัน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 02:15 น. ตามเวลาประเทศไทย ในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intergovernmental Committee for the Safeguarding of Intangible Cultural Heritage) ครั้งที่ 19 ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ที่กรุงอาซุนซิออน ประเทศปารากวัย ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้ต้มยำกุ้งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม นับเป็นการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติรายการที่ 5 ของประเทศไทย[4][5] วัฒนธรรมสมัยนิยมชื่อ ต้มยำกุ้ง ปรากฏในสื่อบันเทิงและเหตุการณ์ร่วมสมัย ดังนี้
ดูเพิ่มหนังสืออ่านเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|