มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หรือ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) หมายถึงประเพณีและการปฏิบัติที่ไม่ใช่ทางกายภาพที่ดำเนินการโดยบุคคล ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรม ของประเทศ ซึ่งรวมถึงการเฉลิมฉลอง เทศกาล การแสดง ประเพณีมุขปาฐะ ดนตรี และการทำหัตถกรรม[ 1] ตามอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ซึ่งร่างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546[ 2] และมีผลบังคับใช้ใน พ.ศ. 2549[ 3] การขึ้นทะเบียนรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของยูเนสโกนั้นกระทำโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญานี้[ 4]
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ค.ศ. 2003 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) ในปัจจุบัน ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเทศไทย ทั้งสิ้น 6 รายการ ในชนิดรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity )
รายการที่ขึ้นทะเบียนแล้ว (inscribed )
หมายเหตุ: ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมฯ [ 5]
+ หลายประเทศร่วมลงนาม
รายการ
ภาพ
ประเภท
ปีขึ้นบัญชี (พ.ศ./ค.ศ.)
หมายเหตุ
อ้างอิง
โขน ละครรำสวมหน้ากากในไทย
RL
2561/2018
เป็นศิลปะการแสดงของไทย ที่ผสมผสานองค์ประกอบทางดนตรี การร้อง วรรณกรรม นาฏศิลป์ พิธีกรรม และงานฝีมือ
01385
นวดไทย การนวดแผนไทย
RL
2562/2019
เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะ วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของการดูแลสุขภาพแบบไทย ในฐานะการรักษาโดยไม่ใช้ยาและการบำบัดด้วยตนเอง เกี่ยวข้องกับการขยับร่างกายโดยผู้ประกอบวิชาชีพ ช่วยปรับสมดุลร่างกาย พลังงาน และโครงสร้างของผู้ป่วย เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย
01384
โนรา นาฏศิลป์ในภาคใต้ของไทย
RL
2564/2021
เป็นการแสดง เต้นรำ และการร้องเพลงสดที่มีชีวิตชีวาพร้อมกายกรรมจากภาคใต้ของไทย โดยปกติแล้ว การแสดงประกอบด้วยการกล่าวอัญเชิญด้วยวาจา ตามด้วยการนำเสนอโดยตัวละครหลักที่เต้นรำด้วยการเคลื่อนไหวของขา แขน และนิ้วอย่างมีพลังและซับซ้อน
01587 [ 6]
สงกรานต์ในไทย เทศกาลปีใหม่ไทยดั้งเดิม
RL
2566/2023
เป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ เป็นประเพณีที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และการให้เกียรติเคารพซึ่งกันและกัน สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน โดยใช้น้ำเป็นสื่อในการเชื่อมสัมพันธไมตรี
01719
ต้มยำกุ้ง
RL
2567/2024
เป็นอาหารที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชุมชนเกษตรกรรมริมแม่น้ำลำคลองในภาคกลางของไทย ที่มีวัฒนธรรมการบริโภคอาหารผ่านการสังเกตและเรียนรู้จากธรรมชาติ โดยนำกุ้งที่มีมากมายในท้องถิ่นมาต้มในน้ำเดือดที่มีสมุนไพรอย่างข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก และมะนาว ซึ่งนิยมปลูกไว้กินเองในครัวเรือน ต้มยำกุ้งจึงเป็นอาหารที่สะท้อนถึงความเรียบง่าย และวิถีชีวิตที่พึ่งพิงธรรมชาติ พึ่งพาตนเองและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
01879
เกอบายา : ความรู้ ทักษะ ประเพณี และแนวปฏิบัติ +[ a]
RL
2567/2024
เป็นเสื้อสตรีพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแต่งกายบาบ๋า-เปอรานากันในภาคใต้ของไทยซึ่งเป็นวัฒนธรรมร่วมของกลุ่มคนที่มีเชื้อสายจีนและมลายู กลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาจากปีนังและมะละกาที่ได้เดินทางเข้ามาค้าขายบริเวณคาบสมุทรมลายูและเข้ามาอยู่ในมณฑลภูเก็ตในสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทำให้เกิดการผสมผสานทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมระหว่างผู้เข้ามาและคนในท้องถิ่นดั้งเดิม อันแสดงถึงการอยู่ร่วมกันในความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างสันติสุข ทั้งนี้ การสวมใส่เกอบายาในวิถีชีวิตของผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากคุณค่าความสวยงามแล้วการเสนอเป็นมรดกร่วมที่สอดคล้องคล้ายคลึงกันยังบ่งบอกถึงความผูกพันและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศ
02090
รายการที่เสนอขึ้นทะเบียนแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของยูเนสโก (on-going nomination )
รายการที่เตรียมเสนอขึ้นทะเบียน หรือกำลังศึกษาความเป็นไปได้เพื่อขึ้นทะเบียน
ผีตาโขน [ 10]
ข้าวแกง – อาจเสนอขึ้นทะเบียนร่วมกับประเทศสิงคโปร์ ในรายการ "วัฒนธรรมอาหารริมทางของสิงคโปร์" ซึ่งขึ้นทะเบียนแล้วเมื่อ พ.ศ. 2563[ 11]
ข้าวเหนียวมะม่วง [ 12]
หนังใหญ่ [ 13] [กำลังศึกษาความเป็นไปได้เพื่อขึ้นทะเบียน โดยจะขอขึ้นทะเบียนในรายการมรดกที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการสงวนรักษา (Register of Good Safeguarding Practices )][ 14]
หมอลำ [ 15] (กำลังศึกษาความเป็นไปได้เพื่อขึ้นทะเบียน)
ประเพณีลอยกระทง [ 8] (กำลังดำเนินการศึกษาจัดทำข้อมูล เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี)
พิธีไหว้ครู[ 16] (กำลังศึกษาความเป็นไปได้เพื่อขึ้นทะเบียน)
กัญชาไทย [ 17] [ 18]
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
↑ ร่วมกับบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์
อ้างอิง
มรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมของมนุษยชาติ กำลังพิจารณา