ทุนธนชาต
บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) (THANACHART CAPITAL PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ TCAP) (“บริษัทฯ”) ดำเนินธุรกิจลงทุนและเป็นบริษัทแม่ (Holding Company) ของกลุ่มธนชาตที่ดำเนินธุรกิจทางการเงินที่หลากหลาย อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) (TMBThanachart Bank Public Company Limited ชื่อย่อ TTB) (“ธนาคารทหารไทยธนชาต”) ซึ่งบริษัทฯ มีรายได้หลักมาจากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในธนาคารทหารไทยธนชาต บริษัทฯ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลท.”) กลุ่มธุรกิจการเงิน (Financials) หมวดธุรกิจธนาคาร (Banking) โดยมีบริษัทลูกที่ดำเนินธุรกิจทางการเงิน ประกอบด้วยธุรกิจเช่าซื้อ ธุรกิจประกันภัย/ประกันชีวิต ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจการให้สินเชื่อที่มีหลักประกัน ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และธุรกิจการลงทุน นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังต้องการขยายการลงทุนไปในธุรกิจอื่นที่มีศักยภาพในการเติบโตเพิ่มเติม ไม่จำกัดเพียงแค่ธุรกิจการเงิน ดังที่เคยเป็นมาในอดีต เพื่อสร้างผลตอบแทนอย่างมั่นคงและยั่งยืน บริษัทฯ ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจ ประเภทเงินทุนและหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2517 ในชื่อ บริษัท ลีกวงมิ้ง ทรัสต์ จำกัด ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนชาติ จำกัด ในปี 2523 โดยมุ่งเน้นธุรกิจเงินทุนและบริการทางการเงินอื่น ๆ อย่างครบวงจรผ่านทางบริษัทในกลุ่ม ในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2536 บริษัทฯจดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้เปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนชาติ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาในปี 2540 ได้แยกธุรกิจหลักทรัพย์ออกจาก บริษัทฯ ไปดำเนินธุรกิจในนาม “บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาติ จำกัด” ตามนโยบายของทางการ และบริษัทฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัทเงินทุน ธนชาติ จำกัด (มหาชน)” การปรับโครงสร้างตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบของกระทรวงการคลัง ในปี 2548 บริษัทฯ ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลัง โดยผ่านทางธนาคารแห่งประเทศไทย (“ธปท.”) ให้ดำเนินการปรับโครงสร้างการประกอบธุรกิจของกลุ่มธนชาต ตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบของกระทรวงการคลัง โดยได้ทำการโอนธุรกรรมเงินฝากและสินเชื่อไปยัง ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) (“ธนาคารธนชาต”) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม ส่งผลให้ธนาคารธนชาตเป็นเพียงบริษัทแห่งเดียวในกลุ่มธนชาตที่ดำเนินธุรกิจสถาบันการเงิน โดยบริษัทฯ ได้คืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนให้แก่กระทรวงการคลังในปี 2549 ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯ เปลี่ยนสถานะจากบริษัทเงินทุนเป็นบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) พร้อมทั้งได้จดทะเบียน เปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน)” การจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน บริษัทฯ ได้ยื่นคำขอจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยธปท. ได้อนุญาตการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามหลักเกณฑ์การกำกับแบบรวมกลุ่มเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2549 มีบริษัทฯ เป็นบริษัทแม่ของบริษัทในกลุ่มธนชาตที่ประกอบธุรกิจทางการเงินและเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทในกลุ่ม ซึ่งต่อมา ในปี 2550 กลุ่มธนชาตได้ประกาศแผนปรับโครงสร้างการถือหุ้นบริษัทในกลุ่ม โดยให้ธนาคารธนชาตเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินในกลุ่มธนชาตแทนบริษัทฯ การนำธนาคารนครหลวงไทยมารวมกิจการกับธนาคารธนชาต ด้วยกลุ่มธนชาตได้เล็งเห็นความลงตัวของการรวมกิจการกับ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ("ธนาคารนครหลวงไทย") ทั้งในด้านทรัพยากรบุคคล ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่องทางจำหน่ายและการบริการ และการผสมผสานที่ลงตัวของสินทรัพย์ ในปี 2553 ธนาคารธนชาตจึงได้ทำการซื้อหุ้นธนาคารนครหลวงไทย จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พร้อมทำการเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของธนาคารนครหลวงไทยจากผู้ถือหุ้นรายอื่น จนทำให้ธนาคารธนชาตเป็น ผู้ถือหุ้นธนาคารนครหลวงไทยคิดเป็นร้อยละ 99.95 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และ ตลท. ได้ประกาศให้หุ้นธนาคารนครหลวงไทยออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนใน ตลท. โดยสมัครใจ ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2553 หลังจากนั้น ธนาคารนครหลวงไทยได้ทำการโอนกิจการทั้งหมดให้แก่ธนาคารธนชาต พร้อมหยุดการประกอบธุรกิจทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 การปรับโครงสร้างธุรกิจกลุ่มธนชาต บริษัทฯ ในฐานะ Bank Holding Company ได้ดําเนินการปรับโครงสร้างการถือหุ้นบริษัทในกลุ่ม และขายหุ้นธนาคารธนชาตที่บริษัทฯ ถืออยู่ทั้งหมดให้แก่ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (“ธนาคารทหารไทย”) เพื่อทำการรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทยกับธนาคารธนชาต ด้วยเล็งเห็นศักยภาพและจุดแข็งจากทั้งสองธนาคาร เมื่อรวมกันแล้วจะกลายเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เกือบเท่าตัว มีสินทรัพย์รวมกันเกือบ 2 ล้านล้านบาท มีโครงสร้างทางธุรกิจและความชํานาญ ซึ่งเสริมรับซึ่งกันและกัน ธนาคารใหม่ที่เกิดขึ้นจากการรวมกันมีฐานลูกค้าเพิ่มมากขึ้นเป็นประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งถือเป็นโอกาสทางการตลาดที่ใหญ่ขึ้น กว้างขวางขึ้น และมีโอกาสทางธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้นจากความเก่งและเชี่ยวชาญของทั้งสองธนาคารที่จะรวมเข้าด้วยกัน โดยเมื่อวันที่่ 3 ธันวาคม 2562 บริษัทฯ ได้ดำเนินการ 1) ซื้อหุ้นบริษัทในกลุ่มบางบริษัทตามแผนปรับโครงสร้างธุรกิจจากธนาคารธนชาต 2) ขายหุ้นสามัญของธนาคารธนชาตที่ บริษัทฯ ถืออยู่ทั้งหมดให้แก่ธนาคารทหารไทย และ 3) ซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารทหารไทยตามแผนการรวมกิจการระหว่างธนาคารธนชาตและธนาคารทหารไทย ทำให้บริษัทฯ ไม่ได้มีสถานะเป็นบริษัทแม่ของธนาคารธนชาตและกลุ่มธุรกิจการเงินธนชาตอีกต่อไป ปัจจุบัน บริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารทหารไทยธนชาต ซึ่งเป็นธนาคารที่เกิดจากการควบรวมกันระหว่างธนาคารทหารไทย และธนาคารธนชาต รวมถึงเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธนชาต ที่ดำเนินธุรกิจการเงินที่หลากหลาย และไม่จำกัดการลงทุนเพียงแค่ธุรกิจการเงินเพียงอย่างเดียว รายนามคณะกรรมการ ข้อมูล ณ ตุลาคม 2566 1. นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ 2. นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ รองประธานกรรมการ และประธานกรรมการบริหาร 3. นางศิริเพ็ญ สีตสุวรรณ ประธานกรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล 4. นายธีรพจน์ วัชราภัย ประธานกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล 5. ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ประธานกรรมการกำกับความเสี่ยง และกรรมการตรวจสอบ 6. นางสาลินี วังตาล กรรมการตรวจสอบ และกรรมการกำกับความเสี่ยง 7. นายวิชิต ญาณอมร กรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล และกรรมการกำกับความเสี่ยง 8. นางสาวสุวรรณภา สุวรรณประทีป รองประธานกรรมการบริหาร 9. นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
“ธนชาต” คำนี้มีความหมาย เริ่มแรกทุกบริษัทในกลุ่มธนชาต ใช้ชื่อว่า “ธนชาติ” ซึ่งตามรูปศัพท์หมายถึง การเกิดแห่งทรัพย์ ต่อมาเมื่อเปิดดำเนินการ ธนาคารธนชาต จึงใช้ชื่อว่า “ธนชาต” เนื่องจากติดข้อกำหนดของ ธปท. ที่ไม่อนุญาตให้ใช้คำว่า “ชาติ” เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อของธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น เพื่อเป็นการง่ายต่อการสร้างความจดจำในการสื่อสารเรื่องแบรนด์ ทุกบริษัทในกลุ่มธนชาตจึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ “ธนชาต” (ซึ่งเป็นคำพ้องเสียงกับ “ธนชาติ”) ตั้งแต่นั้นมา โดย “ธนชาต” ตามรูปศัพท์ หมายถึง ทรัพย์ที่เกิดแล้ว พัฒนาการสำคัญของกลุ่มธนชาต พ.ศ. 2502 กำเนิด บริษัท ลีกวงมิ้ง จำกัด ประกอบกิจการจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังต่างประเทศ ก่อนผันตัวเองเข้าสู่ธุรกิจด้านเงินทุนหลักทรัพย์เป็นรายแรก ๆ ของประเทศไทย ก่อนจะกลายเป็น ลีกวงมิ้ง ทรัสต์ และ เปลี่ยนชื่อเป็น แคปปิตอลทรัสต์ ในเวลาต่อมา ก่อนจะเผชิญวิกฤต ราชาเงินทุน และกลุ่มไทยพาณิชย์โดยความเห็นชอบของ ธปท. เข้าไปฟื้นฟูกิจการ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนชาติ จำกัด ในปี 2523 พ.ศ. 2523 ก่อตั้ง บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนชาติ จำกัด พ.ศ. 2532 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนชาติ จำกัด เข้าถือหุ้นใน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอกชาติ จำกัด พ.ศ. 2540 แยกกิจการหลักทรัพย์และกิจการเงินทุนออกจากกัน โดยบริษัทเงินทุน ธนชาติ จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจด้านเงินทุน และบริษัทหลักทรัพย์ ธนชาติ จำกัด ดำเนิน ธุรกิจด้านหลักทรัพย์ ก่อตั้ง บริษัท ธนชาติประกันชีวิต จำกัด และบริษัท ธนชาติประกันภัย จำกัด พ.ศ. 2541 บริษัทเงินทุน ธนชาติ จำกัด (มหาชน) เข้าถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมออมสิน จำกัด และเปลี่ยน ชื่อเป็น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ธนชาติ จำกัด พ.ศ. 2543 ก่อตั้ง บริษัทบริหารสินทรัพย์ แม๊กซ์ จำกัด และบริษัทบริหารสินทรัพย์ เอ็น เอฟ เอส จำกัด กลุ่มซูริค ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับธนชาติและได้เข้าถือหุ้นใน บริษัท ธนชาติประกันชีวิต และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ธนชาติซูริคประกันชีวิต จำกัด พ.ศ. 2545 กลุ่มธนชาติได้รับอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์จากกระทรวงการคลัง บริษัทเงินทุน เอกชาติ จำกัด (มหาชน) ได้เปลี่ยนการประกอบธุรกิจจากเงินทุนเป็นธนาคารพาณิชย์โดยใช้ชื่อว่า ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2548 บริษัทเงินทุน ธนชาติ จำกัด (มหาชน) ซื้อหุ้นบริษัท ธนชาติซูริคประกันชีวิต จำกัด คืนจากกลุ่มซูริค และเปลี่ยนชื่อ เป็น บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด พ.ศ. 2548 กระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบแผนการปรับโครงสร้างการประกอบธุรกิจสถาบันการเงินของ กลุ่มธนชาตให้เป็น สถาบันการเงิน 1 รูปแบบ ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2549 บริษัทเงินทุน ธนชาติ จำกัด (มหาชน) คืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุน พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินของกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2550 ปรับโครงสร้างการถือหุ้นบริษัทในกลุ่มธนชาตใหม่ โดย บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นเฉพาะในธนาคาร ธนชาตกับกลุ่มบริษัทบริหารสินทรัพย์ และธนาคารธนชาตถือหุ้นในบริษัทย่อย ที่ประกอบธุรกิจการเงินและธุรกิจ สนับสนุน ธนาคารแห่งโนวาสโกเทียเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับธนาคารธนชาต โดยเข้าถือหุ้นจำนวนร้อยละ 24.99 หลังจากนั้นได้ ถือเพิ่มเป็นร้อยละ 49 ในปี 2552 พ.ศ. 2553 ธนาคารธนชาต ซื้อหุ้นธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 47.58 จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา ระบบสถาบันการเงิน และซื้อจากผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่น (Tender offer) ทำให้ธนาคารธนชาต ถือหุ้นในธนาคารนครหลวงไทยรวมทั้งสิ้นร้อยละ 99.95 พ.ศ. 2554 ธนาคารนครหลวงไทยโอนกิจการทั้งหมดให้แก่ธนาคารธนชาตในวันที่ 1 ตุลาคม 2554 ทำให้ธนาคาร ธนชาตเติบโตเป็นธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ มีสินทรัพย์ ช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าทั้งสาขาและ ตู้เอทีเอ็ม รวมถึงฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น พ.ศ. 2556 ธนาคารธนชาต และพรูเด็นเชียล ประกันชีวิต ร่วมมือทางธุรกิจในการแนะนำผลิตภัณฑ์และบริการด้านประกันชีวิต ผ่านสาขาของธนาคารธนชาต มีกำหนดระยะเวลา 15 ปี และธนาคารธนชาตได้ดำเนินการโอนหุ้นที่ถืออยู่ใน ธนชาต ประกันชีวิต ทั้งหมดจำนวนร้อยละ 100 ให้แก่พรูเด็นเชียล พ.ศ. 2557 บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) จากธนาคารธนชาต และเปลี่ยนชื่อเป็น เอ็ม บี เค ไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2562 ธนาคารธนชาต และธนาคารทหารไทย บรรลุข้อตกลงในการรวมกิจการ เพื่อยกระดับขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์ขนาด ใหญ่ของประเทศ ให้บริการลูกค้ากว่า 10 ล้านราย พ.ศ. 2563 ธนาคารธนชาต และธนาคารทหารไทย รวมกิจการเสร็จสมบูรณ์ พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต หรือ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) พ.ศ. 2564 บริษัท ทุนธนชาต ได้เริ่มประกอบธุรกิจการให้สินเชื่อที่มีหลักประกัน (Asset-based Financing) ที่ บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญผ่านการถือหุ้น 100% ใน บริษัท ธนชาตพลัส จำกัด บริษัท ทุนธนชาต ได้ซื้อหุ้นทั้งหมดของ บริษัท เอ็ม บี เค ไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ที ไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2565 บริษัท ทุนธนชาต ได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมอย่างต่อเนื่องตามแผนกลยุทธ์โดยเพิ่ม สัดส่วนการถือหุ้นใน บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) เพื่อเป็นฐานในการสร้างผลตอบแทนที่เหมาะ สมอย่างยั่งยืนให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาวสอดรับกับการเป็น Diversified Investment Holding Company ที่ลงทุนใน บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลากหลายและเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ
|