ราช กรุ๊ป
บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Ratch Group Public Co., Ltd.; ย่อ: RATCH)[2] บริษัทดำเนินกิจการประกอบธุรกิจในรูปของบริษัทโฮลดิ้ง โดยบริษัทจะมุ่งลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และบริษัทมีรายได้หลักจากเงินปันผลของบริษัทย่อยและกิจการที่ควบคุมร่วมกัน[3] ประวัติในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 ตามมติคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนการระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี โดยการจัดตั้งบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด แล้วระดมทุนโดยเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไป และนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดย กฟผ.ได้จัดตั้ง บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2543 กฟผ.ถือหุ้นร้อยละ 100 ต่อมาในวันที่ 18 สิงหาคม 2543 บริษัทได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดและจดทะเบียนเพิ่มทุน และในวันที่ 11 ตุลาคม 2543 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ อนุญาตให้เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรกของบริษัทให้แก่ประชาชนทั่วไป และตลาดหลักทรัพย์ฯ รับหลักทรัพย์ของบริษัทให้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2543 และในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 หลักทรัพย์ของบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นวันแรก บริษัทลงทุนในธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า ปัจจุบันบริษัทมีสถานะเป็นบริษัทมหาชนและจดทะเบียนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วยสัญลักษณ์ “RATCH” โดยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วนร้อยละ 45 [3] 17 เมษายน 2562 บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทที่เป็นบริษัทชั้นนำด้านพลังงานและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน[4] การประกอบธุรกิจบริษัทมีลักษณะการประกอบธุรกิจในรูปของบริษัทโฮลดิ้ง โดยมีหน้าที่เป็นแกนนำของกลุ่มบริษัทในการกำหนดทิศทางการดำเนินงาน และแผนกลยุทธ์ต่างๆให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา และการขยายกิจการของบริษัทที่มุ่งลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยบริษัทมีรายได้หลักจากเงินปันผลของบริษัทย่อยและกิจการที่ควบคุมร่วมกัน สำหรับการจ่ายเงินปันผลของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยหลักจะเป็นไปตามเกณฑ์การจ่ายเงินปันผลของบริษัทจำกัด กล่าวคือ จะจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิหลังหักเงินสำรองตามกฎหมายแล้ว ทั้งนี้ จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาเงินกู้และจะต้องมีเงินสดคงเหลืออยู่ในบัญชีผู้กู้ยืมด้วย บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด มีลักษณะการประกอบธุรกิจเช่นเดียวกับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายอื่นๆ รายได้หลักจะมาจากการขายไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าซึ่งได้ลงนามกับ กฟผ. เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2543 จำนวน 2 สัญญา คือ สัญญาซื้อขายไฟฟ้าสำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อน และสัญญาซื้อขายไฟฟ้าสำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม สัญญาทั้ง 2 ฉบับมีอายุ 25 ปี ปัจจุบันบริษัทถือหุ้นในบริษัทย่อย 14 บริษัท และกิจการที่ควบคุมร่วมกันและบริษัทร่วม จำนวน 21 บริษัท รวมทั้งเงินลงทุนอื่นๆ 1 บริษัท[3] ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ข้อมูล ณ วันที่ 7 มีนาคม 2556[5]
อ้างอิง
|