Share to:

 

ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์

บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
SET:TIP
อุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน
ประกันภัยและประกันชีวิต
ก่อตั้ง9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494; 73 ปีก่อน (2494-11-09)
ผู้ก่อตั้งจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
สำนักงานใหญ่เลขที่ 1115 ถนนพระราม 3 แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลักสมใจนึก เองตระกูล (ประธานกรรมการ)
ประสิทธิ์ ดำรงชัย(รองประธานกรรมการ)
ดร.สมพร สืบถวิลกุล(กรรมการผู้จัดการใหญ่)
รายได้เพิ่มขึ้น 6,718.60 ล้านบาท (2563)[1]
สินทรัพย์ลดลง 40,900.31 ล้านบาท (2563)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 8,357.56 ล้านบาท (2563)[1]
เว็บไซต์www.dhipaya.co.th

ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือในอดีตคือ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทประกันภัยและประกันชีวิตในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2494 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เคยมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ในระหว่างปี พ.ศ. 2518 ถึงปี พ.ศ. 2537

ประวัติ

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้ก่อตั้งบริษัท

ทิพยประกันภัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ภายใต้ชื่อ บริษัท ประกันภัย เอเชียติ๊ก จำกัด (ต่อมาเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็นรัชตประกันภัย ในปี 2495)โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ด้วยเงินลงทุนจำนวน 2,000,000 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นบริษัทประกันภัยแก่กิจการและสินทรัพย์ของบริษัทหลายแห่งที่จอมพลสฤษดิ์กำกับดูแลอยู่ในขณะนั้น[2]ต่อมาในปี พ.ศ. 2507 ได้มีการโอนหุ้นบางส่วนของจอมพลสฤษดิ์ กับส่วนของท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ไปเป็นของกระทรวงการคลัง กระทั่งในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการโอนหุ้นบางส่วนให้กระทรวงการคลัง รวมจำนวนทั้งสิ้นร้อละ 55.6 จึงส่งผลให้ทิพยประกันภัย มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้แปรรูปบริษัทจากการเป็นรัฐวิสาหกิจมาเป็นบริษัทมหาชน เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 จากนั้นนับตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2538 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัทมหาชน" อย่างสมบูรณ์ โดยมีกระทรวงการคลัง ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่[3]

เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2564 บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นวันแรกที่ ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ เข้าซื้อขายแทนหุ้นบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)[4]ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ทิพย กรุ๊ป ได้รับการคัดเลือกเข้าดัชนี ดัชนีเซต 100

โครงสร้างผู้ถือหุ้น

บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2539[5]

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

ข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[6]
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 80,000,000 13.33%
2 ธนาคารออมสิน 67,200,000 11.20%
3 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 60,000,000 10.00%
4 บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด (มหาชน) 59,920,400 9.99%
5 กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 44,236,400 7.37%
6 นาย สิทธิรัชต์ ธนะรัชต์ 12,485,000 2.08%
7 น.ส. ศุภจิตรา ธนะรัชต์ 11,674,000 1.95%
8 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 11,351,715 1.89%
9 บริษัท ที ดับบลิว ดับบลิว ซี จำกัด 9,155,750 1.53%
10 นาย กิตติธัช ธนะรัชต์ 8,687,500 1.45%

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 งบการเงิน/ผลประกอบการ[ลิงก์เสีย] ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  2. หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ ดร.บรรเจิด ชลวิจารณ์
  3. "ความเป็นมาของบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-09. สืบค้นเมื่อ 2015-08-05.
  4. ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แทนทิพยประกันภัยแล้ว
  5. ข้อมูลหุ้นส่วนตัว TIP - บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
  6. ประดิษฐ์ ธรรมรังษีผู้ถือหุ้นรายใหญ่[ลิงก์เสีย] ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Kembali kehalaman sebelumnya