ปมประสาท
ปมประสาท[1] (อังกฤษ: ganglion) เป็นกลุ่มเซลล์ประสาท/นิวรอน[2] หรือเป็นกลุ่มตัวเซลล์ประสาทที่อยู่ในระบบประสาทอิสระและระบบประสาทรับความรู้สึก ซึ่งโดยมากอยู่นอกระบบประสาทกลางยกเว้นนิวเคลียสบางกลุ่ม[3][4] ปมประสาทมีตัวเซลล์ของเส้นใยประสาทนำเข้า (afferent nerve) และเส้นใยประสาทนำออก (efferent nerve) ส่วนปมประสาทเทียม (pseudoganglion) ดูเหมือนกับปมประสาท แต่มีเพียงใยประสาทโดยไม่มีตัวเซลล์. โครงสร้างปมประสาทโดยหลักประกอบด้วยตัวเซลล์ (soma) และเดนไดรต์ซึ่งอยู่รวมกันหรือเชื่อมกัน บ่อยครั้งเชื่อมกับปมประสาทอื่น ๆ โดยเป็นระบบปมประสาทที่ซับซ้อนซึ่งเรียกว่า nerve plexus เป็นสถานีส่งต่อ เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างโครงสร้างประสาทต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบประสาทนอกส่วนกลางกับระบบประสาทกลาง สัตว์มีกระดูกสันหลังมีปมประสาทหลัก ๆ 3 กลุ่ม คือ
ในระบบประสาทอิสระ ใยประสาทจากระบบประสาทกลางไปยังปมประสาทเรียกว่า preganglionic fiber และใยจากปมประสาทไปยังอวัยวะปฏิบัติงาน (effector organ) เรียกว่า postganglionic fiber Basal gangliaคำว่า ganglion มุ่งใช้ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง[5] แต่ในสมองซึ่งเป็นส่วนของระบบประสาทกลางก็มี "basal ganglia" ซึ่งเป็นกลุ่มนิวเคลียสที่เชื่อมต่อกับเปลือกสมอง ทาลามัส และก้านสมอง โดยมีหน้าที่ต่าง ๆ รวมทั้งการสั่งการ (motor control) ประชาน/การรับรู้ อารมณ์ และการเรียนรู้ เพราะความกำกวมเช่นนี้ มาตรฐานสากล Terminologia Anatomica จึงแนะนำให้ใช้คำว่า basal nuclei แทนคำว่า basal ganglia แต่นี่ก็ไม่ได้ยอมรับกันอย่างทั่วไป ปมประสาทเทียมปมประสาทเทียม (pseudoganglion) เป็นส่วนที่หนาขึ้นของเส้นประสาทที่ปรากฏเหมือนปมประสาท[6] แต่มีแค่ใยประสาท ไม่มีตัวเซลล์ ซึ่งพบได้ในกล้ามเนื้อ teres minor muscle ซึ่งเกี่ยวข้องกับแขน[7] และ radial nerve[ต้องการอ้างอิง] ดูเพิ่มเชิงอรรถและอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|