Share to:

 

ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต

ประธานาธิบดี
แห่งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
Президент Союза Советских Социалистических Республик
ผู้ดำรงตำแหน่งคนเดียว
มีฮาอิล กอร์บาชอฟ
15 มีนาคม ค.ศ. 1990 – 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991
การเรียกขานท่านประธานาธิบดี
(ไม่ทางการ)
ฮิสเอ็กเซลเลนซี
(การทูต)
จวนวุฒิสภาเครมลิน มอสโก[1]
ผู้แต่งตั้ง
ตำแหน่งก่อนหน้าPresidium of the Supreme Soviet (ในฐานะประมุขแห่งรัฐ)
สถาปนา15 มีนาคม 1990; 34 ปีก่อน (1990-03-15)
คนแรกมีฮาอิล กอร์บาชอฟ
คนสุดท้ายมีฮาอิล กอร์บาชอฟ
ยกเลิก25 ธันวาคม 1991; 32 ปีก่อน (1991-12-25)
ตำแหน่งที่มาแทนไม่มี (สหภาพโซเวียตล่มสลาย)
สภาประขุขแห่งรัฐของเครือรัฐเอกราช
ประธานาธิบดีรัสเซีย

ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต (รัสเซีย: Президент Советского Союза, อักษรโรมัน: Prezident Sovetskogo Soyuza) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ประธานาธิบดีแห่งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Президент Союза Советских Социалистических Республик) เป็นประมุขแห่งรัฐของสหภาพโซเวียตตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2533 ถึง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 มีฮาอิล กอร์บาชอฟเป็นบุคคลเดียวที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว นอกจากนี้กอร์บาชอฟยังเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534 เขาได้รับส่วนแบ่งอำนาจเพิ่มขึ้นจากตำแหน่งประธานาธิบดีกระทั่งเขาลาออกหลังความพยายามรัฐประหารในโซเวียตเมื่อปี พ.ศ. 2534

ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นตำแหน่งบริหาร โดยยึดตามระบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสผสมกัน

ก่อนหน้าการสถาปนาตำแหน่งประธานาธิบดี ประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียตโดยนิตินัยคือ ประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุด (Chairman of the Presidium of the Supreme Soviet) ซึ่งสื่อนอกโซเวียตมักเรียกว่า "ประธานาธิบดี" ทว่าเกือบระยะเวลาของสหภาพโซเวียต อำนาจการเมืองฝ่ายบริหารที่มีผลทั้งหมดอยู่ในมือของเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต โดยประธานคณะผู้บริหารสูงสุดใช้อำนาจในหน้าที่เชิงสัญลักษณ์และแต่ในนามเป็นส่วนมาก เลขาธิการพรรคสี่คนสุดท้ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เลโอนิด เบรจเนฟ, ยูรี อันโดรปอฟ, คอนสตันติน เชียร์เนนโคและกอร์บาชอฟดำรงตำแหน่งเป็นประมุขแห่งรัฐโดยนิตินัยร่วมกับเลขาธิการพรรคระหว่างสมัยดำรงตำแหน่งด้วย

เดิมประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยสมัชชาใหญ่ผู้แทนประชาชน (Congress of People's Deputies)[5] และประธานาธิบดีเป็นประธานของสภาดังกล่าวโดยตำแหน่ง ทว่าการเลือกตั้งครั้งถัดมาทั้งหมดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน[3]

รองประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต คือ เกนนาดี ยานาเยฟ ผู้ยึดอำนาจกอร์บาชอฟเป็นประธานาธิบดีในความพยายามรัฐประหารปี พ.ศ. 2534 เป็นคณะกรรมาธิการสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งรัฐ (State Committee of the State of Emergency)

รายนาม

ลำดับ ชื่อ
(เกิด-เสียชีวิต)
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง พรรคการเมือง การเลือกตั้ง รองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี
เริ่มต้น สิ้นสุด ระยะเวลา
1 มีฮาอิล กอร์บาชอฟ
(1931–2022)
15 มีนาคม 1990 25 ธันวาคม 1991 1 ปี 285 วัน พรรคคอมมิวนิสต์แห่ง
สหภาพโซเวียต
1990 ตำแหน่งว่าง
(จนถึง 27 ธันวาคม 1990)
Nikolai Ryzhkov
เกนนาดี ยานาเยฟ Valentin Pavlov
ยุบตำแหน่ง
(หลัง 21 สิงหาคม 1991)
Ivan Silayev
เกนนาดี ยานาเยฟ
(1937–2010)
รักษาการ, พิพาท
19 สิงหาคม 1991 21 สิงหาคม 1991 0 ปี 2 วัน พรรคคอมมิวนิสต์แห่ง
สหภาพโซเวียต
ตำแหน่งว่าง Valentin Pavlov

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. O’Clery, Conor (2011). Moscow, December 25, 1991: The Last Day of the Soviet Union. New York: Public Affairs. p. 120. ISBN 9781610390125. สืบค้นเมื่อ 15 August 2018.
  2. Remnick, David (March 15, 1990). "GORBACHEV ELECTED PRESIDENT". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ March 5, 2019.
  3. 3.0 3.1 1977 Soviet Constitution with amendments of 1989–1990. Chapter 15.1: President of the Soviet Union เก็บถาวร 16 กุมภาพันธ์ 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Soviet Law from 14 March 1990 N 1360-I "On establishment of the Presidency of the Soviet Union and amendments and additions to the Constitution (Basic Law) of the Soviet Union". Article III
  5. Soviet Law from 14 March 1990 N 1360-I "On establishment of the Presidency of the Soviet Union and amendments and additions to the Constitution (Basic Law) of the Soviet Union". Article III
Kembali kehalaman sebelumnya