พระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 แห่งเยอรมนี
พระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 แห่งเยอรมนี (เยอรมัน: Heinrich I) ทรงเป็นดยุกแห่งซัคเซินในปี ค.ศ. 912 และได้รับเลือกให้ขึ้นครองบัลลังก์แห่งอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก (เยอรมนี) ใน ค.ศ. 919 หลังครองบัลลังก์แฟรงก์ตะวันออกแล้วพระองค์จึงได้สถาปนาราชวงศ์ออทโทขึ้นถือเป็นผู้ปกครองรัฐเยอรมนีองค์แรกในสมัยกลาง พระองค์ยังมีฉายาเป็น พระเจ้าไฮน์ริชพรานนกเป็ดน้ำ (เยอรมัน: Heinrich der Finkler) เนื่องจากพระองค์กำลังซ่อมตาข่ายดักนกเป็ดน้ำอยู่ประจวบกับตอนที่มีคนมาแจ้งว่าพระองค์ได้ขึ้นครองบัลลังก์แฟรงก์ตะวันออก ตลอดรัชสมัยของพระองค์ต้องทำสงครามปกป้องแผ่นดินเยอรมนีจากการรุกรานของพวกมักยาร์ (ฮังการี) หลังจากพระองค์สวรรคตในค.ศ. 936 พระราชโอรสองค์ที่สองของพระองค์ก็ได้ขึ้นครองบัลลังก์สืบต่อเป็น พระเจ้าออทโทที่ 1 แห่งเยอรมนี ซึ่งต่อมาพระราชโอรสองค์นี้ได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในค.ศ. 962 วัยเยาว์และการสมรส
ไฮน์ริชเป็นบุตรชายของออทโทผู้ลือเลื่อง ดยุกแห่งซัคเซินและเป็นพระปนัดดาของของจักรพรรดิลุดวิจผู้ศรัทธา ทรงได้รับการศึกษาและได้รับการฝึกฝนเพื่อสืบทอดตำแหน่งเป็นดยุกแห่งซัคเซินต่อจากบิดา พระองค์สมรสครั้งแรกกับแฮเธอบวร์ค ธิดาของเอร์วิน เคานต์แห่งเมร์เซบวร์ค แต่การสมรสถูกประกาศให้เป็นโมฆะเนื่องจากเฮร์เธอบวร์คได้บวชเป็นชีหลังจากสามีคนแรกเสียชีวิต แฮเธอบวร์คกับไฮน์ริชมีบุตรด้วยกัน คือ
ในปี ค.ศ. 909 ไฮน์ริชสมรสกับมาทิลดา ธิดาของเคานต์ดีทริคผู้ครอบครองเวสต์ฟาเลีย ซึ่งช่วยให้ดยุกแห่งซัคเซินมีอำนาจในพื้นที่ดังกล่าวมากขึ้น ไฮน์ริชกับมาทิลดามีพระโอรสธิดาด้วยกัน คือ
ดยุกแห่งซัคเซินและกษัตริย์แห่งเยอรมนีปี ค.ศ. 912 หลังบิดาถึงแก่กรรม ไฮน์ริชขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นดยุกแห่งซัคเซิน พระองค์กับพระเจ้าค็อนราทที่ 1 มีความสัมพันธ์ที่ไม่สู้ดีนัก พระเจ้าค็อนราทพยายามปราบกบฏไฮน์ริชแต่ก็ไม่เป็นผล การต่อสู้แย่งชิงอำนาจเหนือทือริงเงิน อาณาเขตซึ่งตั้งอยู่ติดกับซัคเซินและฟรังโกเนีย (ดัชชีของค็อนราท) สงบลงด้วยสนธิสัญญาโกรนา ปี ค.ศ. 915 อย่างไรก็ดีก่อนหน้าที่จะสิ้นพระชนม์ไม่นาน ในปี ค.ศ. 918 พระเจ้าค็อนราทได้กำหนดให้ไฮน์ริชเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์ ไฮน์ริชได้รับการสดุดีเป็นกษัตริย์ที่ฟริตซลาร์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 919 พระองค์ไม่ยอมรับการสวมมงกุฎจากคณะบิชอปเพราะต้องการรักษาความเป็นเอกราชจากคริสตจักร ทรงปกครองสหพันธ์ดัชชีที่ต่างก็มีเอกราชเป็นของตัวเองซึ่งประกอบด้วยสี่ดัชชีสำคัญ คือ ซัคเซิน, ฟรังโกเนีย, บาวาเรีย และชวาเบิน พระองค์มีอำนาจเหนือซัคเซินและฟรังโกเนีย แต่ไม่ได้รับการยอมรับเป็นกษัตริย์จากบาวาเรียและชวาเบิน พระเจ้าไฮน์ริชมองเยอรมนีเป็นสหพันธ์ดัชชีมากกว่าประประเทศชาติ แม้พระองค์จะต้องการกอบกู้พระราชอำนาจที่ถูกดยุกของดัชชีต่างๆ ลิดรอนไป แต่ก็ทรงยินยอมให้ดยุกเหล่านั้นปกครองดัชชีของตนเอง ในปี ค.ศ. 919 ทรงบีบจนเบอร์ชาร์ด ดยุกแห่งชวาเบินยอมอยู่ใต้พระราชอำนาจ แต่ก็ยินยอมให้เบอร์ชาร์ดบริหารปกครองดัชชีของตนต่อไป ในปีเดียวกันขุนนางของบาวาเรียและราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกได้เลือกอาร์นูล์ฟ ดยุกแห่งบาวาเรียเป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนี พระเจ้าไฮน์ริชได้ทำการสู้รบกับดินแดนทั้งสองและบีบจนอาร์นูล์ฟยอมอยู่ภายใต้พระราชอำนาจในปี ค.ศ. 921 แต่ก็ยินยอมให้อาร์นูล์ฟบริหารปกครองดัชชีบาวาเรียของตนต่อไปเช่นกัน การขยายอำนาจพระเจ้าไฮน์ริชมุ่งมั่นกับการสร้างอำนาจในซัคเซินและขยายขอบเขตอำนาจของพระองค์เข้าสู่ลอแรน (โลธาริงเกีย) ทรงล้มเหลวในการพยายามที่จะปลดดยุกกีเซลเบิร์ตแห่งลอแรนที่มีพระเจ้าชาร์ลส์ผู้เรียบง่าย กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกคอยให้ความช่วยเหลือ แต่ได้รับการยอมรับเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกตามสนธิสัญญาโบนน์ ปี ค.ศ. 921 ในปี ค.ศ. 923 พระเจ้าไฮน์ริชพยายามเข้าสู่ลอแรนอีกครั้งแต่ก็ถูกรูดอล์ฟ ดยุกแห่งบูรกอญขับไล่จนต้องล่าถอยไป ในปี ค.ศ. 925 พระองค์พยายามเป็นครั้งที่สามด้วยการปิดล้อมกีเซลเบิร์ตที่ซูปิช บีบจนเขายอมอยู่ภายใต้พระราชอำนาจแต่ก็ยินยอมให้กีเซลเบิร์ตบริหารปกครองดัชชีของตนต่อไป ในปี ค.ศ. 928 กีเซลเบิร์ตได้สมรสกับเกร์เบร์กา พระธิดาของพระเจ้าไฮน์ริช
พระเจ้าไฮน์ริชได้คุ้มกันซัคเซินและทือริงเงินจากการรุกรานของชาวเดน, ชาวเวนด์ และชาวแมกยาร์ ในปี ค.ศ. 924 กลุ่มคนเถื่อนชาวแมกยาร์ได้รุกรานเยอรมนี พระเจ้าไฮน์ริชยอมจ่ายบรรณาการและคืนตัวผู้นำแมกยาร์ที่ถูกจับมาเป็นตัวประกันเพื่อแลกกับการให้ชาวแมกยาร์เลิกรุกรานดินแดนเยอรมนีเป็นเวลา 9 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 924 ถึง ค.ศ. 933 ในช่วงเวลาดังกล่าวพระองค์ได้ปฏิรูปการทหารในซัคเซินและทือริงเงิน ทหารซัคเซินถูกฝึกให้สู้รบบนหลังม้า กองทัพที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นทำให้พระองค์สามารถยึดบรันเดินบวร์คมาจากมาจากชาวเวนด์ พระองค์ได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางอำนาจในซัคเซินด้วยการสร้างป้อมปราการล้อมนครสำคัญอย่างเมร์เซอบวร์ค, เฮร์สเฟล์ด, กอสลาร์, กันเดร์ไซม์, เควดลินบวร์ค และพืลเดอ ที่กลายเป็นศูนย์กลางด้านการค้า, ตุลาการ, สังคม และการทหาร ดินแดนที่แย่งชิงมาจากชาวเวนด์ถูกแจกจ่ายเป็นที่ดินศักดินาให้แก่ผู้ติดตามและข้ารับใช้ ในช่วงปี ค.ศ. 928 ถึง ค.ศ. 932 พระเจ้าไฮน์ริชขยายอำนาจออกไปทางตะวันออกสู่ดินแดนของชาวสลาฟและได้ตั้งศูนย์กลางการบริหารราชการที่บรันเดินบวร์คและไมเซิน ในปี ค.ศ. 929 ทรงเข้าสู่โบฮีเมียและบีบจนพระเจ้าวาสลัฟยอมอยู่ใต้อำนาจของพระมหากษัตริย์เยอรมนีและยอมจ่ายบรรณาการรายปีให้ หลังการพักรบ 9 ปีกับชาวแมกยาร์สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 933 พระเจ้าไฮน์ริชไม่ยอมจ่ายบรรณาการต่อ การรุกรานของชาวแมกยาร์จึงเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง ครั้งนี้พระเจ้าไฮน์ริชสามารถบดขยี้ผู้รุกรานได้ที่เรียเดอในเดือนมีนาคม ค.ศ. 933 นับแต่นั้นการคุกคามเยอรมนีของชาวแมกยาร์ก็เป็นอันสิ้นสุดลง สงครามสุดท้ายของพระเจ้าไฮน์ริชคือการรุกรานอาณาเขตชเลสวิชของเดนมาร์กจนได้ดินแดนดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี การสิ้นพระชนม์หลังล้มป่วยด้วยโรคอัมพาตพระเจ้าไฮน์ริชได้กำหนดให้ออทโท พระโอรสคนโตเป็นกษัตริย์คนต่อไปและเรียกขุนนางที่ที่แอร์ฟวร์ทในช่วงต้นปี ค.ศ. 936 เพื่อให้เลือกเขาเป็นกษัตริย์ วันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 936 พระเจ้าไฮน์ริชสิ้นพระชนม์ที่เมมเลเบิน ร่างของพระองค์ถูกฝังที่โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ในเควดลินบวร์คที่พระองค์เป็นผู้ก่อตั้ง
อ้างอิง
|