Share to:

 

ภาษาเบลารุส

ภาษาเบลารุส
беларуская мова
biełaruskaja mova
ประเทศที่มีการพูดประเทศเบลารุส
ชาติพันธุ์ชาวเบลารุส
จำนวนผู้พูด
ผู้พูดเป็นภาษาที่สอง 6.3 ล้านคน (สำมะโน พ.ศ. 2552)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ระบบการเขียนอักษรซีริลลิก (อักษรเบลารุส)
อักษรเบรลล์เบลารุส
อักษรละตินเบลารุส
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศเบลารุส เบลารุส
ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์ (ในเทศบาลออร์ลา, เทศบาลนาแรฟกา, เทศบาลตชือแช, เทศบาลไคนุฟกา และเมืองไคนุฟกา)
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน เช็กเกีย[2]
ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย
ธงของประเทศยูเครน ยูเครน[3]
ผู้วางระเบียบบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งชาติเบลารุส
รหัสภาษา
ISO 639-1be
ISO 639-2bel
ISO 639-3bel
Linguasphere53-AAA-eb < 53-AAA-e
(วิธภาษา:
53-AAA-eba ถึง 53-AAA-ebg)
โลกที่พูดภาษาเบลารุส
คำอธิบาย: สีน้ำเงินเข้ม - ดินแดนที่พูดภาษาเบลารุสเป็นภาษาหลัก; สีน้ำเงินอ่อน - ขอบเขตในอดีต[4]
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาเบลารุส (เบลารุส: беларуская мова, ในอักษรละติน: biełaruskaja mova, ออกเสียง: [bʲɛɫaruskaja mɔva]) เป็นภาษากลุ่มสลาฟตะวันออกที่พูดโดยชาวเบลารุส และเป็นหนึ่งในภาษาทางการสองภาษาของประเทศเบลารุสคู่กับภาษารัสเซียตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (มาตรา 17) นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษานี้ในประเทศรัสเซีย, ลิทัวเนีย, ลัตเวีย, โปแลนด์ และยูเครน

ก่อนที่เบลารุสจะได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2534 ภาษานี้เคยเป็นที่รู้จักในภาษาอังกฤษว่า ภาษาเบียโลรัสเซีย (Byelorussian) หรือ ภาษาเบโลรัสเซีย (Belorussian) รวมทั้งในชื่อ ภาษารูธีเนียขาว (White Ruthenian) และ ภาษารัสเซียขาว (White Russian) หลังได้รับเอกราชแล้วจึงมีชื่อเรียกเพิ่มเติมว่า ภาษาเบลารุส[5][6]

ภาษาเบลารุส

จากสำมะโนประชากรครั้งแรกของเบลารุสใน พ.ศ. 2542 ภาษาเบลารุสถือเป็น "ภาษาที่พูดกันในบ้าน" ของพลเมืองเบลารุสประมาณ 3,686,000 คน (ร้อยละ 36.7 ของประชากรทั้งหมด)[7][8] และประมาณ 6,984,000 คน (ร้อยละ 85.6) ของชาวเบลารุสระบุว่าภาษาเบลารุสเป็น "ภาษาแม่" ในขณะที่ข้อมูลอื่นอย่างเอ็ทนอล็อกระบุว่าภาษานี้มีผู้พูดเชิงส่งสารประมาณ 2.5 ล้านคน[6][9]

งานวิจัยของรัฐบาลเบลารุสใน พ.ศ. 2552 พบว่าร้อยละ 72 ของชาวเบลารุสพูดภาษารัสเซียที่บ้าน ในขณะที่ชาวเบลารุสที่ใช้ภาษาเบลารุสอย่างสม่ำเสมอมีเพียงร้อยละ 11.9 ชาวเบลารุสประมาณร้อยละ 29.4 สามารถเขียน พูด และอ่านภาษาเบลารุสได้ ในขณะที่ร้อยละ 52.5 สามารถอ่านและเขียนได้เท่านั้น[10]

ใน แผนที่โลกว่าด้วยภาษาใกล้สูญของยูเนสโก ภาษาเบลารุสถูกจัดอยู่ในกลุ่มภาษาที่มีภาวะเสี่ยงใกล้สูญ (vulnerable)[11]

ชุดตัวอักษร

ชุดตัวอักษรเบลารุสเป็นรูปแบบหนึ่งของอักษรซีริลลิกซึ่งในครั้งแรกใช้เป็นชุดตัวอักษรสำหรับภาษาสลาวอนิกคริสตจักรเก่า ชุดตัวอักษรเบลารุสสมัยใหม่ได้รับการกำหนดไว้ใน พ.ศ. 2461 และประกอบด้วยตัวอักษร 32 ตัว ก่อนหน้านั้นภาษาเบลารุสยังเขียนด้วยชุดตัวอักษรละตินเบลารุส (Łacinka / лацінка) ชุดตัวอักษรอาหรับเบลารุส (โดยชาวตาตาร์ลิปกา) และชุดตัวอักษรฮีบรู (โดยชาวยิวเบลารุส)[12] มีการใช้อักษรกลาโกลิติกประปรายจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 หรือ 12

ระบบการเขียนข้อความภาษาเบลารุสเป็นอักษรละติน (โรมัน) มีหลายระบบ ชุดตัวอักษรละตินเบลารุสมีใช้กันน้อย

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Population classified by knowledge of the Belarusian and Russian languages by region and Minsk City". Belstat.gov.by. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-03. สืบค้นเมื่อ 2 December 2018. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "belstat.gov.by" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  2. Jan Jiřička. "Česko má nové oficiální národnostní menšiny. Vietnamce a Bělorusy - iDNES.cz". Zpravy.idnes.cz. สืบค้นเมื่อ 2017-01-10.
  3. "To which languages does the Charter apply?". European Charter for Regional or Minority Languages. Council of Europe. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-18. สืบค้นเมื่อ 2014-04-03.
  4. Yefim Karsky. «Belarusians. II. The language of Belarusian people». В. 1. — [S.l.], 1908.
  5. Belarusan English Dictionary เก็บถาวร ธันวาคม 5, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. 6.0 6.1 "Belarusan". Ethnologue.com. สืบค้นเมื่อ 2017-01-10.
  7. Data from 1999 Belarusian general census in English เก็บถาวร พฤษภาคม 5, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. ในจำนวนนี้ ประมาณ 3,370,000 คน (ร้อยละ 41.3)[โปรดขยายความ] เป็นชาวเบลารุส และประมาณ 257,000 คนอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์อื่น (ชาวรัสเซีย, ชาวโปแลนด์, ชาวยูเครน และชาวยิว)
  9. ในประเทศรัสเซีย ภาษาเบลารุสได้รับการระบุว่าเป็น "ภาษาในครอบครัว" โดยประชากรประมาณ 316,000 คน ในจำนวนนี้เป็นชาวเบลารุสประมาณ 248,000 คน ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 30.7 ของชาวเบลารุสอาศัยอยู่ในประเทศรัสเซีย (ข้อมูลจากสำมะโนรัสเซีย (พ.ศ. 2545) ในภาษารัสเซีย[ลิงก์เสีย]) ในประเทศยูเครน ภาษาเบลารุสได้รับการระบุว่าเป็น "ภาษาแม่" ของชาวเบลารุสประมาณ 55,000 คน ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 19.7 ของชาวเบลารุสที่อาศัยอยู่ในประเทศยูเครน (ข้อมูลจากสำมะโนยูเครน พ.ศ. 2544 ในภาษายูเครน) ในประเทศโปแลนด์ ภาษาเบลารุสได้รับการระบุว่าเป็น "ภาษาที่พูดกันในบ้าน" โดยประชากรประมาณ 40,000 คน (ข้อมูลจากสำมะโนโปแลนด์ทั่วไป พ.ศ. 2545 Table 34 (ในภาษาโปแลนด์) เก็บถาวร พฤษภาคม 25, 2005 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  10. https://core.ac.uk/download/pdf/214868912.pdf
  11. "Moseley, Christopher (ed.). 2010. Atlas of the World's Languages in Danger, 3rd edn. Paris, UNESCO Publishing. Online version". www.unesco.org. สืบค้นเมื่อ 2018-12-31.
  12. "Belarusian language, alphabet and pronunciation". Omniglot.com. สืบค้นเมื่อ 2017-01-10.

บรรณานุกรม

  • Карский Е. Ф. (1897). "Что такое древнее западнорусское наречие?". "Труды Девятого археологического съезда в Вильне, 1893". / под ред. графини Уваровой и С. С. Слуцкого, т. II. М. pp. 62–70. In edition: Карский Е. Ф. (2006). Белорусы: 3 т. Т. 1. / Уступны артыкул М. Г. Булахава, прадмова да першага тома і каментарыі В. М. Курцовай, А. У. Унучака, І. У. Чаквіна. Мн.: БелЭн. pp. 495–504. ISBN 985-11-0360-8. (T.1), ISBN 985-11-0359-4
  • Калита И. В. (2010). Современная Беларусь: языки и национальная идентичность. Ústí nad Labem. pp. 112–190. ISBN 978-80-7414-324-3.
  • [Lyosik 1917] [Язэп Лёсік] (1994). "Граматыка і родная мова : [Вольная Беларусь №17, 30.08.1917]". Язэп Лёсік. Творы: Апавяданні. Казкі. Артыкулы. (Уклад., прадм. і камент. А. Жынкіна. (Спадчына). Мн.: Маст. літ. ISBN 5-340-01250-6.
  • [Stank 1939] Ян Станкевіч (2002). "Гісторыя беларускага языка [1939]". Ян Станкевіч. Збор твораў у двух тамах. Т. 1. Мн.: Энцыклапедыкс. ISBN 985-6599-46-6.
  • [Zhur 1978] А. И. Журавский (1978). "Деловая письменность в системе старобелорусского литературного языка". Восточнославянское и общее языкознание. М. pp. 185–191.
  • [Halyen 1988] Галенчанка Г. Я. (1988). "Кнігадрукаванне ў Польшчы". Францыск Скарына і яго час. Энцыклапед. даведнік. Мн.: БелЭн. ISBN 5-85700-003-3.
  • [AniZhur 1988] Анічэнка У. В., Жураўскі А. І. (1988). "Беларуская лексіка ў выданнях Ф. Скарыны". Францыск Скарына і яго час. Энцыклапед. даведнік. Мн.: БелЭн. ISBN 5-85700-003-3.
  • Жураўскі А. І. (1993). "Беларуская мова". Энцыклапедыя гісторыі Беларусі. У 6 т. Т. 1. Мн.: БелЭн.
  • Яскевіч А. А. (2001). Старабеларускія граматыкі: да праблемы агульнафілалагічнай цэласнасці (2-е выд. ed.). Мн.: Беларуская навука. ISBN 985-08-0451-3.
  • Браніслаў Тарашкевіч (1991). Выбранае: Крытыка, публіцыстыка, пераклады / Укладанне, уступ, камент. А. Ліса. (Спадчына). Мн.: Маст. літ. ISBN 5-340-00498-8.
  • Арсень Ліс (1966). Браніслаў Тарашкевіч. Мн.: Навука і Тэхніка.
  • Тарашкевіч, Б. (1991). Беларуская граматыка для школ. [факсімільн.] Выданьне пятае пераробленае і пашыранае. Мн.: «Народная асвета».
  • Ян Станкевіч (2002). "Правапіс і граматыка [1918]". Ян Станкевіч. Збор твораў у двух тамах. Т. 1. Мн.: Энцыклапедыкс. ISBN 985-6599-46-6.
  • Ян Станкевіч (2002). "Беларуская Акадэмічная Конфэрэнцыя 14.–21.XI.1926 і яе працы дзеля рэформы беларускае абэцэды й правапісу (агульны агляд) [1927]". Ян Станкевіч. Збор твораў у двух тамах. Т. 1. Мн.: Энцыклапедыкс. ISBN 985-6599-46-6.
  • Ігар Бараноўскі (2004). "Помнік сьвятару-беларусу (120-ыя ўгодкі з дня нараджэньня а. Баляслава Пачопкі)". Царква. Грэка-каталіцкая газета. Vol. 4 no. 43. Брэст: ПП В.Ю.А.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya