มานะ มหาสุวีระชัย
มานะ มหาสุวีระชัย (เกิด 31 มีนาคม พ.ศ. 2498) เป็นสมาชิกวุฒิสภา อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง อดีตหัวหน้าพรรคแทนคุณแผ่นดิน และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[1] สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ประวัติเกิดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2498 ที่ตำบลทุ่ม อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรของนายประวิทย์ และนางสุชา มหาสุวีระชัย การศึกษามานะ มหาสุวีระชัย หรือ ดร.มานะ มหาสุวีระชัย จบการศึกษาประถมศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลวัดพระโต จบมัธยมศึกษา ม.ศ.1-2 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จังหวัดศรีสะเกษ ม.ศ.3โรงเรียนศรีวิกรม์ ม.ศ.4-5โรงเรียนอำนวยศิลป์ จบปริญญาตรีวิศวกรรมโยธา จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สอบได้ที่ 1) ปริญญาโทวิศวกรรมโครงสร้าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (A.I.T.) ทุนรัฐบาลเยอรมัน (สอบได้ที่ 1) และปริญญาเอกทางด้านวิศวกรรมโครงสร้าง (Ph.D. Structural Engineering) จาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ สหรัฐอเมริกา การทำงานรับราชการดร.มานะ มหาสุวีระชัย เริ่มรับราชการสังกัดกรมโยธาธิการ ชั้นพิเศษ (ระดับ 7) โดยทำงานอยู่ 6 ปี เป็นผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างสะพานพระราม 7 เป็นกรรมการวิชาการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ งานการเมืองก่อนจะเข้าสู่การเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ เขต 1 เป็นโฆษกคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร กรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาคราบน้ำมันในอ่าวไทย เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในปี พ.ศ. 2537[2] และเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจรัส พั้วช่วย) เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ลงสมัคร ส.ส. ศรีสะเกษ เขต 1 อีกครั้งในสังกัด พรรคพลังธรรม ในการเลือกตั้ง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2539, เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2539, เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นางพิมพา จันทร์ประสงค์) เมื่อ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2539, ลงสมัคร ส.ส. ศรีสะเกษ เขต 1 อีกครั้งในสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 และได้ลงสมัคร ส.ส. ศรีสะเกษ เขต 1 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 แต่แพ้ให้กับนายบุญชง วีสมหมายไปเพียง 138 คะแนน[3] และการเลือกตั้งซ่อม 3 มีนาคม พ.ศ. 2545, ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2546 สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2547 ดร.มานะ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้หมายเลข 5 และไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใด โดยได้รับการสนับสนุนจาก พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อดีตผู้ว่ากรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง การเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองในช่วงของการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ดร.มานะได้ขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วย เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2549 ที่หน้าอาคารศรีจุลทรัพย์ ที่ทำการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) การสมัครรับเลือกตั้งหลังปี พ.ศ. 2549ในปี พ.ศ. 2550 ดร.มานะได้เข้าเป็นหัวหน้าพรรคแทนคุณแผ่นดินอยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนจะเข้าร่วมกับพรรคประชาราชของนายเสนาะ เทียนทอง โดยลงเลือกตั้งในระบบสัดส่วน เขต 4 ของพรรคประชาราช ลำดับที่ 1[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2567 เขาลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา และได้รับเลือกเข้ามาในอันดับที่ 9 ของกลุ่มที่ 13 ผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม[5] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|