Share to:

 

พิมพา จันทร์ประสงค์

พิมพา จันทร์ประสงค์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 สิงหาคม พ.ศ. 2496
อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย
เสียชีวิต14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 (64 ปี)
สถาบันโรคทรวงอก จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังธรรม (2535–2539)
ความหวังใหม่ (2539–2543)
ไทยรักไทย (2543–2550)
ประชาธิปัตย์ (2556–2561)
คู่สมรสถวิล จันทร์ประสงค์

พิมพา จันทร์ประสงค์ (16 สิงหาคม พ.ศ. 2496 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี 5 สมัย และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ต่อมาได้เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ

นางพิมพา จันทร์ประสงค์ เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2496[1] สำเร็จการศึกษา สาขาการจัดการทั่วไป จากมหาวิทยาลัยเกริก[2] สมรสกับนายถวิล จันทร์ประสงค์ มีบุตร ได้แก่ นายธรรมศักดิ์ จันทร์ประสงค์ นางสาวจิตรา จันทร์ประสงค์ นางสาวสุภาวดี จันทร์ประสงค์ นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ นางสาวทิวลิป จันทร์ประสงค์ และนายวันชนะ จันทร์ประสงค์

การทำงาน

นางพิมพา จันทร์ประสงค์ เข้าสู่การเมืองครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2535 จากนั้นก็ได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันเรื่อยมา รวมทั้งสิ้น 5 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ในปี พ.ศ. 2537 หรือคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 50[3] ซึ่งได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีเดียวกันกับผู้เป็นสามี คือ ถวิล จันทร์ประสงค์ และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้งในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา หรือคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 51 ในปี พ.ศ. 2539 ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[4]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ภายหลังจากพ้นโทษถูกตัดสิทธิทางการเมืองแล้ว พิมพาพร้อมกับนายมานะศักดิ์ บุตรชาย ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ [5] และได้รับการทาบทามจากทางพรรค เพื่อวางตัวให้เป็นผู้สมัคร ส.ส.ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ในนามพรรคประชาธิปัตย์ แต่ได้ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน [6]

ถึงแก่อนิจกรรม

นางพิมพาถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ด้วยโรคไตวายขณะอายุได้ 64 ปี [7] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ณ วัดศรีเรืองบุญ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
  2. "ข้อมูลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-24. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
  4. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  5. อดีตส.ส.'พิมพา'ควงลูกชายซบเข้า'ประชาธิปัตย์'
  6. https://www.matichon.co.th/politics/news_955343
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-20. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
Kembali kehalaman sebelumnya