Share to:

 

จรัส พั้วช่วย

จรัส พั้วช่วย
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
12 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
ก่อนหน้าถวิล ไพรสณฑ์
ถัดไปสุธรรม แสงประทุม
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
นายกรัฐมนตรีพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าอำนวย ยศสุข
ถัดไปศาสตราจารย์พิเศษ วิเชียร วัฒนคุณ
ดำรงตำแหน่ง
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าสุรินทร์ พิศสุวรรณ
ถัดไปตนเอง
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 – 1 กรกฎาคม พ.ศ 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าตนเอง
ถัดไปประชา คุณะเกษม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 12 ตุลาคม พ.ศ. 2537
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าหม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู
ถัดไปคุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 กันยายน พ.ศ. 2492
อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
เสียชีวิต10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (60 ปี)
ประเทศลาว
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองมัชฌิมาธิปไตย
คู่สมรสสุชาดา พั้วช่วย

จรัส พั้วช่วย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงคมนาคม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ 9 สมัย

ประวัติ

จรัส พั้วช่วย เกิดเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2492 ที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จรัส พั้วช่วย เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุตกจากรถไถในฟาร์มของตนเอง ที่ประเทศลาว เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553[1]

จรัส พั้วช่วย มีพี่สาวเป็นนักการเมืองคนหนึ่ง คือ ฐิตินันท์ พั้วช่วย อดีตนายกเทศมนตรีเมืองหล่มสัก ซึ่งเป็นมารดาของ จักรัตน์ พั้วช่วย ส.ส.เพชรบูรณ์

การทำงาน

จรัส พั้วช่วย เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเพชรบูรณ์ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกตั้งติดต่อกันมาหลายสมัยและหลายพรรคการเมือง อาทิ พรรคกิจประชาคม พรรคเอกภาพ พรรคพลังธรรม และพรรคประชาธิปัตย์ตามลำดับ นอกจากนี้ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใน พ.ศ. 2526 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ใน พ.ศ. 2533[2] เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ใน พ.ศ. 2535[3] ต่อมาใน พ.ศ. 2537 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2538 และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัยที่ 2 ใน พ.ศ. 2539

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัคร ส.ส.ในสังกัดพรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

Kembali kehalaman sebelumnya