Share to:

 

มารี หลุยส์ ดัชเชสแห่งปาร์มา

มารี ลูซิอา
เคาน์เตสแห่งไนป์ปูร์ก
เคาน์เตสแห่งบอมแบลลส์
พระฉายาลักษณ์หายากจากกระบวนการดาแกโรไทป์ของพระนางมารี ลูซิอา ฉายในปี ค.ศ. 1847 ปีที่สิ้นพระชนม์
ดัสเชสแห่งปาร์มา ปิอาเซนซา และกูแอสตัลลา
ครองราชย์11 เมษายน 1814 – 17 ธันวาคม 1847
ก่อนหน้าฌ็อง-ฌัก-เรฌิส (ปาร์มา)
ชาร์ล-ฟร็องซัว (ปิอาเซนซา)
โปลีน (กูแอสตัลลา)
ถัดไปการ์โลที่ 3 (ปาร์มาและปิอาเซนซา)
ฟรานเซสโกที่ 5 (กูแอสตัลลา)
จักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส
สมเด็จพระราชินีแห่งอิตาลี
ดำรงพระยศ18 พฤษภาคม 1804 – 10 มกราคม 1810
ก่อนหน้าโฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน
ถัดไปมารี-เตแรซแห่งฝรั่งเศส (ในฐานะราชินีแห่งฝรั่งเศส)
เออเฌนี เดอ มอนตีโค (ในฐานะจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส)
มาร์เกรีตาแห่งซาวอย (ในฐานะราชินีแห่งอิตาลี)
ประสูติ12 ธันวาคม ค.ศ. 1791(1791-12-12)
พระราชวังโฮฟบวร์ค เวียนนา อาร์ชดัชชีออสเตรีย จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
สิ้นพระชนม์17 ธันวาคม ค.ศ. 1847(1847-12-17) (56 ปี)
ปาร์มา ดัชชีปาร์มา
ฝังพระศพวัดคาปูชิน
คู่อภิเษกจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 (สมรส 1810; แยก 1814)
เคานต์อดัม อัลแบร์ทแห่งไนปปูร์ก (สมรส 1821; เสียชีวิต 1829)
ชาร์ล-เรเน เดอ บอมแบลล์ (สมรส 1834)
พระราชบุตรจักรพรรดินโปเลียนที่ 2 แห่งฝรั่งเศส
เคาน์เตสอัลแบร์ทีนแห่งไนปปูร์ก
เจ้าชายวิลเฮล์ม อัลแบร์ทที่ 1 แห่งมอนเตนูโอโว
เคาน์เตสมาธิลด์แห่งไนปปูร์ก
พระนามเต็ม
มารีอา ลูโดวิกา เลโอพ็อลดินา ฟรันซิสกา เทเรซ โยเซฟา ลูซิอา
ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
พระราชบิดาจักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2
พระราชมารดาจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธย
ธรรมเนียมพระยศของ
มารี หลุยส์ ดัชเชสแห่งปาร์มา
ตราประจำพระอิสริยยศ
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลHer Imperial Majesty
(ใต้ฝ่าละอองพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับYour Imperial Majesty
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)

อาร์ชดัชเชสมารี ลูซิอา แห่งออสเตรีย (เยอรมัน: Erzherzogin Maria Lucia von Österreich) ทรงเป็นเจ้าหญิงออสเตรียในราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ก่อนที่จะทรงอภิเษกสมรสกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจักรวรรดิฝรั่งเศส และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระนางเป็นมเหสีองค์ที่สองของนโปเลียน จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศสในพระนาม มารี หลุยส์ (ฝรั่งเศส: Marie Louise)

ในปี 1817 หลังจากนโปเลียนสิ้นอำนาจอย่างถาวรและถูกเนรเทศไปเกาะเซนต์เฮเลนา พระนางยังคงได้รับคำนำหน้าเป็นสมเด็จจักรพรรดินี นอกจากนี้ เนื่องจากพระนางเป็นเชื้อพระวงศ์ออสเตรียฝ่ายผู้ชนะ ทำให้ทรงได้รับพระยศเป็นดัชเชสผู้ครองปาร์มา ปิอาเซนซา และกูแอสตัลลา สามนครรัฐในคาบสมุทรอิตาลี

พระราชประวัติ

อาร์ชดัชเชสมาเรีย ลูเซียทรงประสูติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2334กรุงเวียนนา ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระราชธิดาองค์โตในจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) และพระมเหสีองค์ที่ 2 ของพระองค์ มาเรีย เทเรซา แห่งเนเปิลส์และซิซิลี เมื่อทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงได้รับการศึกษาด้านภาษาจากครูผู้สอนชาวเยอรมัน ตามพระบัญชาของพระราชชนกและพระราชชนนี ดังนั้น พระองค์จึงทรงสามารถตรัสและทรงอักษรเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาละติน และภาษาสเปน เป็นต้น

สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2353 อาร์ชดัชเชสมาเรีย ลูเซีย ซึ่งขณะนั้นมีพระชันษา 18 ชันษา ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส โดยพระองค์ทรงเป็นตัวแทนของการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างจักรวรรดิออสเตรีย และจักรวรรดิฝรั่งเศส พระราชพิธีอภิเษกสมรสถูกจัดขึ้น ณ มหาวิหารพระราชวังลูฟว์ กรุงปารีส โดยจักรพรรดินโปเลียนทรงให้เหตุผลในการอภิเษกสมรสกับอาร์ชดัชเชสแห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่เก่าแก่ที่สุดราชวงศ์หนึ่ง เพื่อในการเพิ่มศักยภาพและความยิ่งใหญ่ทัดเทียมราชวงศ์ต่าง ๆ ในยุโรป โดยก่อนหน้านี้ นโปเลียนเคยทรงทูลขออภิเษกสมรสกับแกรนด์ดัชเชสแอนนา พาฟลอฟนา ซึ่งเป็นพระขนิษฐาในจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย โดยพระองค์ทรงปฏิเสธที่จะอภิเษกสมรสกับนโปเลียน

หลังจากทั้ง 2 พระองค์ทรงอภิเษกสมรสแล้ว อาร์ชดัชเชสมารี ลูเซีย ก็ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีมารี หลุยส์แห่งฝรั่งเศส (The Empress Marie Louise of the French) และเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2354 พระองค์ทรงให้ประสูติกาลพระราชโอรส 1 พระองค์ จักรพรรดินโปเลียนทรงพระราชทานพระนามพระราชโอรสองค์เดียวของพระองค์ว่า นโปเลียน ฟรองซัวส์ โจเซฟ ชาร์ลส์ โบนาปาร์ต

สมเด็จพระจักรพรรดินีมารี หลุยส์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2355 ขณะที่พระราชสวามีของพระองค์ทรงนำกองทัพไปรบกับจักรวรรดิรัสเซีย และทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีกครั้งเมื่อพระราชสวามีทรงนำกองทัพไปรบกับปรัสเซีย รวมทั้งกลุ่มในประเทศเยอรมัน เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2356 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2357 หลังจากสงครามเสร็จสิ้นแล้ว ผลปรากฏว่าฝรั่งเศสพ่ายแพ้สงครามทั้งหมด นโปเลียนจึงทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่6 เมษายน พ.ศ. 2357 และทรงอพยพไปที่เกาะเอลบา ประเทศอิตาลี ส่วนสมเด็จพระจักรพรรดินีมารี หลุยส์ก็เสด็จกลับประเทศออสเตรีย แล้วก็ไม่ทรงเห็นพระราชสวามีของพระองค์อีกเลย

ดัชเชสแห่งปาร์มา

หลังจากที่นโปเลียนสละราชสมบัติเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2357 แล้ว สมเด็จพระจักรพรรดินีมารี หลุยส์และพระราชโอรสองค์เดียวก็ทรงอพยพจากกรุงปารีสไปยังเมืองบลอยส์ จากนั้นก็อพยพต่อไปยังกรุงเวียนนา ในการประชุมสนธิสัญญาฟอนเท็นเนอโบลว์ เมื่อวันที่11 เมษายน พ.ศ. 2357 ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ว่า อนุญาตให้พระองค์ใช้พระราชอิสริยยศสมเด็จพระจักรพรรดินีได้ และยังให้พระองค์เป็นองค์พระประมุขแห่งแคว้นปาร์มา ปิอาเซนซ่า และกูแอสตาลล่า และให้พระราชโอรสของพระองค์เป็นองค์รัชทายาทอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อปี พ.ศ. 2358 การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา ได้นำพระราชอิสริยยศของดัชเชสแห่งปาร์มา มาเป็นหัวข้อในการประชุม ในการประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า หลังจากที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์แล้ว จะทำการคัดเลือกพระบรมวงศานุวงศ์ที่เหมาะสมแก่การสืบราชบัลลังก์ต่อ โดยเมื่อปีพ.ศ. 2360 มีการทำสนธิสัญญาว่า จะยกแคว้นทั้งหมดให้กับพระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์บูร์บง อย่างในปี พ.ศ. 2387 แคว้นกูแอสตาลล่าได้ถูกผนวกเข้ากับแคว้นโมเดน่า

อภิเษกสมรสครั้งใหม่

เมื่อปี พ.ศ. 2364 ซึ่งหลังจากที่นโปเลียนสิ้นพระชนม์ 4 เดือน สมเด็จพระจักรพรรดินีมารี หลุยส์ก็ทรงอภิเษกสมรสอีกครั้งกับ เคานต์อดัม อัลเบิร์ตแห่งไนปเปร์ก โดยทั้ง 2 มีพระโอรส 1 พระองค์ และพระธิดา 2 พระองค์ ซึ่งพระโอรสและพระธิดา 2 พระองค์แรกได้ประสูติก่อนที่ทั้ง 2 พระองค์จะทรงอภิเษกสมรสกัน

  • เคานเตสอัลเบอร์ไทน์แห่งมอนเตนูโว (พ.ศ. 2330พ.ศ. 2410) สมรสกับเคานต์ลุยกิ ซานวิเทลแห่งฟอนทาเนลลาโต
  • เคานต์วิลเฮล์ม อัลเบรชท์แห่งมอนเตนูโว (พ.ศ. 2362พ.ศ. 2438) ภายหลังได้รับเลื่อนพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งมอยเตนูโว (The Prince of Montenuovo) สมรสกับเคานเตสจูเลียนา บัธเธียนาแห่งเนเมทูยาร์
  • เคานเตสมาธิลด์แห่งมอนเตนูโว (พ.ศ. 2365พ.ศ. 2443) ไม่ทรงอภิเษกสมรส

และเมื่อปี พ.ศ. 2377 พระองค์ทรงอภิเษกสมรสอีกครั้งกับ มาร์ควิสมาร์ค มารีแห่งบอมแบลล์ โดยทั้ง 2 ทรงไม่มีพระบุตรด้วยกัน

สิ้นพระชนม์

พระสาทิสลักษณ์ของพระนางมารีหลุยส์ราว ค.ศ. 1812

มารี หลุยส์ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2390 ณ แคว้นปาร์มา สิริพระชนมพรรษาได้ 56 พรรษา พระศพของพระองค์ถูกย้ายจากปาร์มามายังเวียนนา เพื่อทำการฝังพระศพไว้ที่วิหารฮาพส์บวร์ค ซึ่งเป็นที่ฝังพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ออสเตรียมาช้านาน

พระราชอิสริยยศ

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงได้รับพระยศเป็น เคานเตสแห่งไนป์เปิร์ก (Countess of Neipperg) และ เคานเตสแห่งบอมแบลลส์ (Countess of Bombelles) จากการอภิเษกสมรสทั้ง 2 ครั้งด้วย

ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของอาร์ชดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย
อาร์ชดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย พระชนก:
จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
(จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย)
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
เจ้าหญิงมาเรีย ลุยซา แห่งสเปน
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
เจ้าหญิงมาเรีย อมาเลียแห่งแซ็กโซนี
พระชนนี:
เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซ่าแห่งทู ซิชิลีส์
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งทู ซิชิลีส์
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าหญิงมาเรีย อมาเลียแห่งแซ็กโซนี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
อาร์ชดัชเชสมารี แคโรไลน์แห่งออสเตรีย
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา

อ้างอิง

  • Schom, Alan. Napoleon Bonaprate
  • Markham, Felix, Napoleon

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า มารี หลุยส์ ดัชเชสแห่งปาร์มา ถัดไป
โฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส
Empress of the French

(ค.ศ. 1810 - 1815)
เจ้าหญิงมารี-เทเรส ชาร์ลอตแห่งฝรั่งเศส
ไม่มี ดัชเชสแห่งปาร์มา ปิอาเซนซ่า และกูแอสตาลล่า
Duchess of Parma, Piacenza, and Guastalla

(ค.ศ. 1814 - 1847)
ดยุคชาร์ลส์ที่ 2 แห่งปาร์มา
Kembali kehalaman sebelumnya