มูจิ
บริษัท เรียวฮิน เคอิคะคุ จำกัด (ญี่ปุ่น: 株式会社良品計画) (TYO: 7453), หรือที่เรียกกันโดยง่ายว่า มูจิ (ญี่ปุ่น: 無印良品) เป็นบริษัทค้าปลีกแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นซึ่งขายสินค้าเครื่องใช้ในบ้านและอื่นๆ อีกมากมาย มูจิโดดเด่นทั้งในเรื่องของการออกแบบแบบจุลนิยม เน้นการรีไซเคิล หลีกเลี่ยงกระบวนการผลิตและการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำให้เกิดของเสีย และนโยบายไม่มียี่ห้อ ชื่อของมูจินั้นมามากส่วนต้นของชื่อ มูจิรุชิ เรียวฮิน, ซึ่งแปลว่า สินค้าคุณภาพ ไม่มียี่ห้อ[3] ผลิตภัณฑ์และธุรกิจในช่วงก่อตั้งแรกๆ มูจิเริ่มต้นจำหน่าย 40 ผลิตภัณฑ์แรก คือตั้งแต่เครื่องเขียนไปจนถึงเสื้อผ้า รวมถึงอาหารและอุปกรณ์เครื่องครัวอีกมากมาย นอกจากนี้ในจำนวนดังกล่าว ยังจำหน่ายรถยนต์อีกด้วย ธุรกิจหลักของมูจิประกอบด้วย คาเฟ่ มูจิ (Café Muji), มีล มูจิ (Meal Muji), มูจิ แคมป์ไซต์ (Muji Campsite), ดอกไม้และของตกแต่งบ้าน (florist and home furnishing) นอกจากนี้ บริษัทยังดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงการทางสถาปัตยกรรมอีกด้วย เช่น มูจิ เฮาส์ (Muji houses) ในปลายยุค 2000 มูจิวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์มากกว่า 7,000 ผลิตภัณฑ์ และได้ชื่อว่าเป็นแบรนด์ที่วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใน "ราคาที่เหมาะสม" ทำให้ราคาขายปลีกของผลิตภัณฑ์ "ต่ำกว่าปกติ" เป็นเพราะวัสดุที่ใช้ในการผลิต ซึ่งลดขั้นตอนกระบวนการผลิตให้ซับซ้อนน้อยลง และการใช้บรรจุภัณฑ์อย่างประหยัด[4] ประวัติ
Mujirushi (ไม่มีแบรนด์) Ryōhin (สินค้าคุณภาพ) เริ่มต้นเป็นตราสินค้าของซุปเปอร์มาร์เก็ตในเครือ The Seiyu, Ltd. ในเดือนธันวาคมปี 1980 ผลิตภัณฑ์ของ Mujirushi Ryōhinได้รับการพัฒนาเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพราคาไม่แพงและทำการตลาดโดยใช้สโลแกน“ ราคาถูก ด้วยเหตุผล” ผลิตภัณฑ์ถูกห่อด้วยกระดาษแก้วใสฉลากกระดาษสีน้ำตาลล้วนและการเขียนสีแดง Mujirushi Ryōhinขับรถเพื่อลดราคาขายปลีกสำหรับผู้บริโภคเห็น บริษัท ตัดขยะด้วยเช่นขายรูปตัวยูสปาเก็ตตี้ส่วนที่เหลือจะถูกตัดออกไปขายตรง - ปาเก็ตตี้ ในปี 1983 เปิดร้าน Mujirushi Ryōhinแห่งแรกที่ดำเนินการโดยตรง ในปี 1985 Mujirushi Ryōhinเริ่มผลิตจากต่างประเทศและเริ่มจัดหาสั่งซื้อจากโรงงานโดยตรงในปี 1986 และในปี 1987 Muji เริ่มพัฒนาวัสดุทั่วโลก ในปี 1989 Ryohin Keikaku Ltd ได้กลายเป็นผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกสำหรับผลิตภัณฑ์และการดำเนินงานของ Mujirushi Ryōhinรวมถึงการวางแผนการพัฒนาการผลิตการจัดจำหน่ายและการขาย ในปี 1991 Mujirushi Ryōhinเปิดร้านสาขานานาชาติแห่งแรกในลอนดอน ในปี 1995 หุ้นใน "Muji Tsunan Campsite" ได้รับการจดทะเบียนเป็นหุ้นที่ขายตามเคาน์เตอร์ของสมาคมผู้ค้าหลักทรัพย์ญี่ปุ่น ในปี 1998 Ryōhin Keikaku อยู่ในรายการที่สองของตลาดหลักทรัพย์โตเกียว 2544 จากเป็นต้นไปมันถูกระบุไว้ในส่วนแรกในเดือนเมษายน 2544 พวกเขาออก Muji Car 1000 (ムジ ・ カー 1,000) ออก จำกัด จำนวน 1,000 badgeless และ decontented Nissan Marches ออนไลน์เท่านั้น มีไว้เพื่อเป็นแบบฝึกหัดในการทดสอบระบบการตลาดออนไลน์ที่พัฒนาร่วมกับนิสสัน รถเล็ก ๆ ที่มีความพร้อมอย่างสปาร์ตัน (ที่เบาะหลังหุ้มด้วยไวนิลเป็นต้น) เป็นเพียง "หินอ่อนสีขาว" เท่านั้น [10] ร้าน Muji ใน Olympian City, Hong Kong ดูเหมือนว่าชื่อแบรนด์ "Muji" จะใช้งานมาตั้งแต่ประมาณปี 2542 มูจิในประเทศไทยมูจิเริ่มมีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2549 โดยห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลได้ซื้อแฟรนไชส์มูจิจาก เรียวฮิน เคอิคะคุ มาเปิดให้บริการในประเทศไทย โดยเปิดร้านแห่งแรกขึ้นที่ เซ็นทรัล ชิดลม ก่อนขยายสาขาไปตามห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลทั่วประเทศและห้างสรรพสินค้าโรบินสันในบางสาขา เวลาผ่านไป 7 ปี ใน พ.ศ. 2556 เรียวฮิน เคอิคะคุ ได้เล็งเห็นถึงการลงทุนอย่างจริงจังในประเทศไทยจากผลตอบรับของลูกค้าต่อสินค้ามูจิที่เข้าถึงได้ง่าย รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การลงทุนในประเทศไทยของทุนต่างด้าวให้สามารถเข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้ง่ายขึ้น เรียวฮิน เคอิคะคุ จึงได้ยกเลิกแฟรนไชส์กับห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล และเปลี่ยนมาจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในชื่อ บริษัท มูจิ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เพื่อให้ เรียวฮิน เคอิคะคุ มีบทบาทในการบริหารมูจิในประเทศไทยในฐานะหนึ่งในประเทศสำคัญสูงลำดับต้น ๆ ของภูมิภาครองจากสิงคโปร์ได้มากขึ้น[5] หลังจากนั้น มูจิ เริ่มมีการขยายสาขานอกศูนย์การค้าในกลุ่มเซ็นทรัลมากขึ้น โดยเริ่มจากสาขาสยามดิสคัฟเวอรี ใน พ.ศ. 2560 (ขยายพื้นที่ร้านในปี พ.ศ. 2567)[6], สาขาสามย่านมิตรทาวน์ ใน พ.ศ. 2562[7] โดยถือเป็นสาขาแรกที่มีโซนร้านกาแฟและพื้นที่เปิดให้บริการ และสาขาไอคอนสยาม ใน พ.ศ. 2564[8] นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับกลุ่มเดอะมอลล์ในการขยายสาขาไปยังสาขาของกลุ่มเดอะมอลล์หลายสาขา อาทิ เอ็มไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน[9] และเอ็มควอเทียร์ ใน พ.ศ. 2565 ถือเป็นสาขาที่ใหญ่อันดับสามในประเทศไทย[10] รวมถึงสาขาในเอ็มไลฟ์สโตร์ บางกะปิ กับเอ็มไลฟ์สโตร์ บางแค[11] ในเวลาต่อมา และใน พ.ศ. 2567 มูจิได้เปลี่ยนรูปแบบสาขาในประเทศไทยอีกครั้งโดยย้ายสาขาเรือธงไปเปิดให้บริการที่ ศูนย์การค้าพาเหรด แอท วัน แบงค็อก โดยมีจุดเด่นคือเป็นร้านสาขาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยบนพื้นที่ 3,040 ตารางเมตร และมีสินค้าครบทุกรายการเท่าที่มูจิมีจำหน่าย รวมถึงมีพื้นที่โชว์รูมจัดแสดงสินค้าขนาดใหญ่ในสาขา มีแผนกเบเกอรี่เป็นครั้งแรก และมีสินค้าอุปโภค-บริโภคที่ผลิตในประเทศไทยวางจำหน่ายร่วมด้วย[12] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ มูจิ
|