Share to:

 

ยาซูฮิโระ นากาโซเนะ

ยาซูฮิโระ นากาโซเนะ
中曽根康弘
ภาพถ่ายทางการใน ค.ศ. 1982
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 – 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1987
กษัตริย์จักรพรรดิโชวะ
รองชิง คาเนมารุ
ก่อนหน้าเซ็นโก ซูซูกิ
ถัดไปโนโบรุ ทาเกชิตะ
หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 – 31 ตุลาคม ค.ศ. 1987
รองประธานาธิบดีซูซูมุ นิไกโด
เลขาธิการซูซูมุ นิไกโด
โรกูซูเกะ ทานากะ
ชิง คาเนมารุ
โนโบรุ ทาเกชิตะ
ชินตาโร อาเบะ
ก่อนหน้าเซ็นโก ซูซูกิ
ถัดไปโนโบรุ ทาเกชิตะ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
26 เมษายน ค.ศ. 1947 – 10 ตุลาคม ค.ศ. 2004
เขตเลือกตั้งกุมมะ เขต 3 (1947–1996)
คันโตเหนือ PR (1996–2004)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 พฤษภาคม ค.ศ. 1918(1918-05-27)
ทากาซากิ จังหวัดกุมมะ จักรวรรดิญี่ปุ่น
เสียชีวิต29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019(2019-11-29) (101 ปี)
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พรรคการเมืองพรรคเสรีประชาธิปไตย
คู่สมรสสึตาโกะ นากาโซเนะ (สมรส 1945; เสียชีวิต 2012)
บุตรฮิโรฟูมิ นากาโซเนะ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจักรวรรดิโตเกียว
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้จักรวรรดิญี่ปุ่น
สังกัดกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
ประจำการ1941–1945
ยศนาวาตรี (ในฐานะ Naval Paymaster)
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่สอง

ยาซูฮิโระ นากาโซเนะ (ญี่ปุ่น: 中曽根 康弘โรมาจิNakasone Yasuhiro; 27 พฤษภาคม 1918 – 29 พฤศจิกายน 2019) เป็นนักการเมืองชาวญี่ปุ่นที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตยใน ค.ศ. 1982 ถึง 1987 เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่นเป็นเวลากว่า 50 ปี นโยบายทางการเมืองของเขาเป็นที่รู้จักดีที่สุดคือการผลักดันการโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชนของบริษัทภาครัฐ และการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เข้มงวดและสนับสนุนสหรัฐ

ชีวิตช่วงต้น

นากาโซเนะตอนอายุหนึ่งขวบ (ค.ศ. 1919)

นากาโซเนะเกิดที่ทากาซากิ จังหวัดกุมมะทางตะวันตกเฉียงเหนือของโตเกียว ในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1918[1][2] โดยเป็นบุตรคนที่สองของนากาโซเนะ มัตสึโงโระที่ 2 พ่อค้าไม้ กับนากามูระ ยูกุ เขามีพี่น้อง 5 คน ได้แก่ พี่ชายชื่อคิจิตาโร พี่สาวชื่อโชโกะ น้องชายชื่อเรียวซูเกะ และน้องชายกับน้องสาวที่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก[3] ครอบครัวนากาโซเนะมาจากชนชั้นซามูไรในยุคเอโดะ แลแะอ้างว่าสืบเชื้อสายโดยตรงจากตระกูลมินาโมโตะผ่านมินาโมโตะ โนะ โยชิมิตสึผู้มีชื่อเสียง และผ่านมินาโมโนะ โนะ โยชิกิโยะ บุตรของเขา (เสียชีวิต ค.ศ. 1149) ตามบันทึกของครอบครัว สึนาโยชิ (ถูกสังหารใน ค.ศ. 1417) เจ้าบริวารของตระกูลทาเกดะและลูกหลานรุ่นที่สิบของโยชิกิโยะ ใช้ชื่อนากาโซเนะ จูโระและถูกฆ่าในยุทธการที่ซางามิงาวะ[4] เมื่อประมาณ ค.ศ. 1590 ซามูไรนากาโซเนะ โซเอมง มิตสึนางะ เข้าอาศัยที่เมืองซาโตมิมูระ [ja] ที่แคว้นโคซูเกะ ลูกหลานของเขากลายเป็นพ่อค้าผ้าไหมและนายหน้ารับจำนำ พ่อของนากาโซเนะ เดิมมีชื่อเกิดว่านากาโซเนะ คานิจิ ตั้งรกรากที่เมืองทากาซากิใน ค.ศ. 1912 และก่อตั้งธุรกิจไม้และโรงเลื่อยไม้ ซึ่งประสบความสำเร็จจากการก่อสร้างที่เฟื่องฟูหลังสงครามโลกครั้งที่ 1[4]

ชีวิตส่วนตัวและเสียชีวิต

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 นากาโซเนะแต่งงานกับสึตาโกะ นากาโซเนะ (30 ตุลาคม ค.ศ. 1921 – 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012)[5][6][7][8] ฮิโรฟูมิ นากาโซเนะ บุตรของนากาโซเนะ ก็เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ เขาเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[9] ยาซูตากะ นากาโซเนะ [jp] หลานชายของเขา เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่น[10]

นากาโซเนะเสียชีวิตที่โตเกียวในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 ด้วยอายุ 101 ปี 186 วัน[11][12] นากาโซเนะเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่มีอายุมากที่สุดอันดับ 2 เป็นรองเพียงนารูฮิโกะ ฮิงาชิกูนิ ผู้มีชีวิตถึง 102 ปี 48 วัน[13]

เกียรติยศ

โยชิฮิเดะ ซูงะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวสุนทรพจน์ในงานศพของยาซูฮิโระ นากาโซเนะอย่างเป็นทางการ ที่โรงแรมแกรนด์พรินซ์ชิง ทากานาวะในย่านมินาโตะ มหานครโตเกียวเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2020

ในประเทศ

ต่างประเทศ

อ้างอิง

  1. Lentz, Harris M. (4 February 2014). Heads of States and Governments Since 1945. Routledge. p. 464. ISBN 978-1-134-26490-2.
  2. Fackler, Martin (29 January 2010). "Japan's Elder Statesman Is Silent No Longer". The New York Times. p. A11. สืบค้นเมื่อ 30 January 2010.
  3. The Making of the New Japan. Curzon Press. 6 March 2015. p. 14. ISBN 978-0-7007-1246-5.
  4. 4.0 4.1 The Making of the New Japan. Curzon Press. 2015. pp. 1–2. ISBN 978-0-7007-1246-5.
  5. IPS Chiyoda-ku; Leslie Connors; Yasuhiro Nakasone (6 December 2012). The Making of the New Japan: Reclaiming the Political Mainstream. ISBN 9781136116506. สืบค้นเมื่อ 29 November 2019.
  6. 中曽根弘文 公式ブログ/中曽根蔦子との別れ - GREE. Gree.jp. สืบค้นเมื่อ 29 November 2019.
  7. 誕生日データベース. Tisen.jp. สืบค้นเมื่อ 29 November 2019.
  8. 朝日新聞デジタル:中曽根蔦子さん死去 康弘元首相の妻 - おくやみ・訃報. Asahi.com. 7 November 2012. สืบค้นเมื่อ 29 November 2019.
  9. "Nakasone Hirofumi" 中曽根 弘文. jimin.jp. สืบค้นเมื่อ 30 November 2019.
  10. "LDP Members NAKASONE Yasutaka". jimin.jp. สืบค้นเมื่อ 11 July 2023.
  11. "Ex-Japanese Prime Minister Yasuhiro Nakasone dies at 101". Kyodo News+. English.kyodonews.net. 29 November 2019. สืบค้นเมื่อ 29 November 2019.
  12. Norimitsu Onishi (28 November 2019). "Yasuhiro Nakasone, Assertive Prime Minister of Japan, Dies at 101". New York Times. สืบค้นเมื่อ 29 November 2019.
  13. "Ex-Japan PM Nakasone to turn 100 on May 27". Mainichi Daily News. 26 May 2018.
  14. จากบทความในวิกิพีเดียภาษาญี่ปุ่น[การอ้างอิงวกเวียน]
  15. 15.0 15.1 "故中曽根元首相に従一位 最高勲章贈る". The Nikkei. 27 December 2019. สืบค้นเมื่อ 16 April 2020.
  16. 䝪䞊䜲䝇䜹䜴䝖日本連盟 きじ章受章者 [Recipient of the Golden Pheasant Award of the Scout Association of Japan] (PDF). Reinanzaka Scout Club (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-05-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-08-11.

ข้อมูล

  • Robert Harvey, The Undefeated: The Rise, Fall and Rise of Greater Japan (London: Macmillan, 1994).
  • Karel van Wolferen, The Enigma of Japanese Power: People and Politics in a Stateless Nation (New York: Vintage, 1990).
  • The Making of the New Japan. Curzon Press. 6 March 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

อ่านเพิ่ม

ข้อมูลทุติยภูมิ

  • Hatta, Tatsuo. "The Nakasone-Takeshita tax reform: a critical evaluation". American Economic Review 82.2 (1992): 231–236. JSTOR 2117406.
  • Hebbert, Michael, and Norihiro Nakai. "Deregulation of Japanese planning in the Nakasone era". Town Planning Review 59.4 (1988): 383.
  • Hood, Christopher P. (2001). Japanese Education Reform: Nakasone's Legacy. London: Routledge. ISBN 0-415-23283-X.
  • Muramatsu, Michio. "In search of national identity: The politics and policies of the Nakasone administration". Journal of Japanese Studies 13.2 (1987): 307–342. JSTOR 132472.
  • Pharr, Susan J. "Japan in 1985: The Nakasone Era Peaks". Asian Survey 26.1 (1986): 54–65. JSTOR 2644093.
  • Pyle, Kenneth B. "In pursuit of a grand design: Nakasone betwixt the past and the future". Journal of Japanese Studies 13.2 (1987): 243–270. JSTOR 132470.
  • Hofmann, Reto. "The Conservative Imaginary: Moral Re-armament and the Internationalism of the Japanese Right, 1945–1962," Japan Forum, (2021) 33:1, 77-102, DOI:10.1080/09555803.2019.1646785
  • Thayer, Nathaniel B. "Japan in 1984: the Nakasone Era continues". Asian Survey 25.1 (1985): 51–64. JSTOR 2644056.

ข้อมูลปฐมภูมิ

  • Carter, Jimmy, and Yasuhiro Nakasone. "Ensuring alliance in an unsure world: The strengthening of US‐Japan partnership in the 1990s". Washington Quarterly 15.1 (1992): 43–56.
  • Nakasone, Yasuhiro. "Reflections on Japan's past". Asia‐Pacific Review 2.2 (1995): 53–71.
  • Nakasone, Yasuhiro. "Pitchers and catchers: Politicians, bureaucrats, and policy‐making in Japan". Asia‐Pacific Review 2.1 (1995): 5–14.
  • Nakasone, Yasuhiro. "Japan and the China Problem: A Liberal-Democratic View". Japan Quarterly 8.3 (1961): 266–273.


Kembali kehalaman sebelumnya