Share to:

 

รัฐอะแลสกา

รัฐอะแลสกา
สมญา: 
The Last Frontier
คำขวัญ: 
North to the Future
แผนที่สหรัฐเน้นรัฐอะแลสกา
แผนที่สหรัฐเน้นรัฐอะแลสกา
ประเทศสหรัฐ
เข้าร่วมสหรัฐ3 มกราคม 1961 (49)
เมืองหลวงจูโน
เมืองใหญ่สุดแองคอเรจ
การปกครอง
 • ผู้ว่าการบิล วอล์กเกอร์ (I)
สมาชิกวุฒิสภาลิซา เมอร์โคว์สกี (R)
แดน ซัลลิแวน (R)
พื้นที่
 • ทั้งหมด663,268 ตร.ไมล์ (1,717,856 ตร.กม.)
 • พื้นดิน571,951 ตร.ไมล์ (1,481,346 ตร.กม.)
 • พื้นน้ำ91,316 ตร.ไมล์ (236,507 ตร.กม.)  13.77%
อันดับพื้นที่1
ประชากร
 • ทั้งหมด626,932[1] คน
 • อันดับ48
 • ความหนาแน่น1.29 คน/ตร.ไมล์ (0.49 คน/ตร.กม.)
 • อันดับความหนาแน่น50
ภาษา
 • ภาษาทางการภาษาอังกฤษ
เขตเวลาUTC-9/-8
อักษรย่อไปรษณีย์AK
รหัส ISO 3166US-AK
เว็บไซต์www.alaska.gov

อะแลสกา (อังกฤษ: Alaska, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /əˈlæs kə/) รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับสหรัฐอเมริกา นับเป็นรัฐที่ 49 มีจำนวนประชากร 626,932 คน (ค.ศ. 2000) ชื่อ อะแลสกา นั้นน่าจะเพี้ยนมาจากคำในภาษาอะลิวต์ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น แปลว่า "ดินแดนที่ไม่ใช่เกาะ"

ประวัติศาสตร์

18 ตุลาคม ค.ศ. 1867 หรือเมื่อประมาณ 145 ปีที่แล้ว เป็นวันที่อะแลสกาของรัสเซียเข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของสหรัฐโดยสมบูรณ์ โดยในวันนั้น ที่เมือง โนวา - อาร์คานเกลสค์ เมืองหลวงอะแลสกาของรัสเซีย ที่ต่อมาถูกเปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อเดิมคือ ซิทกา ได้มีพิธีส่งมอบคาบสมุทรแห่งนี้ให้กับสหรัฐ

ตามประวัติเชื่อว่าคนเชื้อสายเอเชียอพยพข้ามช่องแคบเบริง เข้ามาลงหลักปักฐานที่อะแลสการาวเมื่อ 1 หมื่น 2 พันปีก่อน การเข้าไปติดต่อกับคนที่นี่ของชาวยุโรป เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1741 เมื่อ วิตุส เบริง เดินทางไปที่นั่นกับเรือเซ็นต์ปีเตอร์ เพื่อทำการสำรวจให้กับกองทัพเรือรัสเซีย และเมื่อคณะสำรวจกลับออกมา ขนสัตว์จากที่นั่นก็ได้รับการยกย่องว่ามีคุณภาพดีเยี่ยม คณะนักค้าขนสัตว์เล็ก ๆ จึงเริ่มมาที่อะแลสกา โดยหลักฐานการตั้งหลักฐานของชาวยุโรปที่นี่ว่าเกิดขึ้นในปี 1784

ตั้งแต่ช่วงต้นจนถึงช่วงกลางทศวรรษที่ 1800 รัสเซียและสหรัฐเริ่มเข้ามาสำรวจอะแลสกาเพื่อโครงการขยายอาณานิคม แต่รัสเซียไม่เคยผนวกอะแลสกาเป็นอาณานิคมโดยสมบูรณ์ และก็ไม่ได้หาประโยชน์จากดินแดนแห่งนี้มากนัก ผิดกับฝ่ายสหรัฐที่ได้แสดงความสนใจในดินแดนแห่งนี้

ข้อตกลงเรื่องการขายอะแลสกา ลงนามโดยนายวิลเลียม เอช. ซูเวิร์ด รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐเมื่อ 30 มีนาคม ค.ศ. 1867 ฝ่ายสหรัฐต้องจ่ายเป็นค่าดินแดนขนาด 1 ล้าน 5 แสนตารางกิโลเมตรเพียง 7 ล้าน 2 แสนดอลลาร์ หรือเทียบเท่ากับ 11 ล้านรูเบิลทองคำ

นักประวัติศาสตร์ในยุคปัจจุบันหลายคนตำหนิการตัดสินพระทัยของจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซียว่ามองการณ์ใกล้และไม่รักชาติ เนื่องจากในพื้นที่มีประชากรชาวรัสเซียอยู่เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งมองว่าในสมัยที่ตัดสินพระทัยขายนั้นมีชาวรัสเซียในพื้นที่อะแลสกาเพียงไม่กี่ร้อยคน และยังไม่มีการค้นพบทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ

ส่วนทางฝ่ายสหรัฐ หลายคนในยุคนั้นมองไม่เห็นประโยชน์ของการซื้ออะแลสกาซึ่งอยู่ห่างไกลและไม่มีผู้อยู่อาศัย สื่อมวลชนในยุคนั้นก็ล้อเลียนรัฐบาลว่าเสียเงินไปมากมายเพื่อซื้อก้อนน้ำแข็ง ถึงขั้นมีข่าวลือว่านักการทูตรัสเซียติดสินบนข้าราชการสหรัฐเดินเรื่องเพื่อให้มีการซื้อขาย เพิ่งจะปลายศตวรรษที่ 19 เท่านั้นที่เริ่มมีการค้นพบทองคำ ต่อมาก็ยังพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอีกมากมายมหาศาล

ตอนแรกเมื่อมาอยู่กับสหรัฐนั้น อะแลสกาอยู่ในการดูแลของกระทรวงการทหาร ต่อมาก็ถูกยกระดับสถานะเรื่อยมา จนได้เป็นรัฐที่ 49 ของสหรัฐ เมื่อปี 1959

ภูมิประเทศ

รัฐอะแลสกามีพื้นที่ทางตะวันออกติดต่อกับดินแดนยูคอนและรัฐบริติชโคลัมเบียของแคนาดา ทางใต้ติดต่อกับอ่าวอะแลสกาและมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกติดกับทะเลเบริง ช่องแคบเบริง และทะเลชุกชี ส่วนทางเหนือติดกับทะเลโบฟอร์ตและมหาสมุทรอาร์กติก อะแลสกาเป็นรัฐที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา แต่ไม่มีเขตแดนติดกับอเมริกาแผ่นดินใหญ่โดยสิ้นเชิง

อะแลสกามีภูเขาไฟอยู่ 41 ลูก ที่อันตรายที่สุดคือภูเขาออกัสติน [2]

การเมืองการปกครอง

คล้ายกับรัฐอื่น ๆ ของสหรัฐอเมริกา รัฐอะแลสกาปกครองแบบสาธารณรัฐ ด้านการปกครองแบ่งเป็นสามส่วน คือ ด้านการบริหารประกอบด้วยผู้ว่าการรัฐและเจ้าหน้าที่ที่มาจากการเลือกตั้ง ด้านกฎหมายประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และด้านศาลปกครองประกอบด้วยศาลสูงและศาลล่าง

ภาษี

รายได้หลักของอะแลสกามาจากน้ำมันและเงินอุดหนุนของรัฐ ทำให้รัฐกำหนดให้รัฐอะแลสกามีฐานภาษีรายได้ต่ำมากที่สุดรัฐหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ในขณะที่อะแลสกาไม่มีการคิดภาษีจากการขายสินค้า แต่เมือง 89 เมืองของรัฐมีการเก็บภาษีสินค้าในอัตรา 1-7.5% ซึ่งเมืองในรัฐอื่นเก็บภาษีที่ 3-5% สินค้าที่มีการเก็บภาษี ได้แก่ ปลาสด โรงแรม ที่พัก ภาษีจากจำนวนเตียงของการบริการที่พักแบบ bed-and-breakfast ภาษีจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานไม่หมุนเวียน (severance taxes) เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ยาสูบ เกม pull tab ยางรถยนต์ และการขนถ่ายน้ำมัน นอกจากนี้รายได้บางส่วนยังเก็บจากภาษีของรัฐและค่าลิขสิทธิ์รวมกันร่วมกับเมืองต่างๆ ในรัฐอะแลสกา

เมือง Fairbanks มีการเก็บภาษีที่ดินที่แพงที่สุดในรัฐอะแลสกา ขณะที่ไม่มีการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือภาษีเงินได้

ในปี 2008 องค์กรด้านภาษี (Tax Foundation) ได้จัดอันดับรัฐอะแลสกาให้เป็นอันดับที่ 4 ของการมีนโยบายด้านภาษีที่ "เป็นมิตรต่อธุรกิจ" ส่วนรัฐอันดับอื่นๆ ที่มีความเป็นมิตร คือ รัฐไวโอมิ่ง รัฐเนวาดา และรัฐเซาธ์ดาโกต้า

เศรษฐกิจ

ในปี 2007 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของรัฐ (gross state product) เท่ากับ 44.9 พันล้านเหรียญสหรัฐนับเป็นอันดับที่ 45 ของประเทศ รายได้ส่วนบุคคลเป็น 40,042 เหรียญสหรัฐจัดเป็นอันดับที่ 15 ของประเทศ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นอุตสาหกรรมหลักของรัฐอะแลสกา และมากกว่า 80% ของรายได้ของรัฐมาจากการกลั่นนํ้ามัน ส่วนผลิตภัณฑ์การส่งออกอื่นๆ (นอกเหนือจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) คือ อาหารทะเล แซลมอน ปลาคอด ปลา pollock และปู

การเกษตรมีผลต่อเศรษฐกิจถือเป็นอัตราส่วนที่น้อย การเกษตรกรรมส่วนใหญ่เพื่อการบริโภคภายในรัฐเอง รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม ผัก และปศุสัตว์ ด้านโรงงานการผลิตสินค้ามีไม่มาก อาหารสัตว์ส่วนใหญ่และอาหารทั่วไปถูกนำเข้าจากที่อื่น

การจ้างงานโดยหลักแล้วอยู่ในองค์กรของรัฐและอุตสาหกรรรม ตัวอย่างเช่น การกลั่นน้ำมัน การเดินเรือ และการขนส่ง มีการตั้งเขตทหารในบริเวณ Fairbanks และ Anchorage นอกจากนี้ เงินอุดหนุนจากรัฐบาลถือเป็นส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจของอะแลสกา โดยมีกฎหมายของรัฐในระบบการจัดเก็บภาษีที่ต่ำ มีการเติบโตของด้านการบริการและการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวบางส่วนได้มีการสร้างที่พักชุมชนเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของรัฐ

วัฒนธรรม

ส่วนใหญ่จะมีการรวบรวมวัฒนธรรมของทุกรัฐในสหรัฐอเมริกากับวัฒนธรรมชาวพื้นเมืองอะแลสกา โดยมีงาน Alaska Native Heritage Center จัดทุกปีมีจุดประสงค์ของงานคือเพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของชาวพื้นเมืองและเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรมของคนทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีเทศกาล เป็นการแข็งความแข็งแรงของสุนัขในเมืองหนาว โดยเริ่มที่เมือง Achorage และสิ้นสุดที่เมือง Nome และยังมีการแข่งขัน World Ice Art Championships เป็นการแข่งขันทำศิลปะจากหิมะจากทั่วทุกมุมโลก

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya