Share to:

 

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2532

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2532
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว15 มกราคม พ.ศ. 2532
ระบบสุดท้ายสลายตัว28 ธันวาคม พ.ศ. 2532
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อกอร์ดอน และ เอลซี
 • ลมแรงสูงสุด185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด915 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด55 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด32 ลูก
พายุไต้ฝุ่น20 ลูก
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น6 ลูก (ไม่เป็นทางการ)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมดทั้งหมด 3,328 คน
ความเสียหายทั้งหมดไม่ทราบ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก
2530, 2531, 2532, 2533, 2534

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2532 เป็นฤดูกาลที่ไม่การกำหนดขอบเขตอย่างเป็นทางการ โดยดำเนินอยู่ภายในปี พ.ศ. 2532 แต่พายุหมุนเขตร้อนส่วนใหญ่มีแนวโน้มก่อตัวขึ้นภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน[1] วันเหล่านี้ถือเป็นธรรมเนียมในการกำหนดขอบเขตของแต่ละฤดูกาล เมื่อพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ

ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากล ส่วนพายุใดที่ก่อตัวขึ้นทางฝั่งตะวันออกของเส้นดังกล่าวจะเรียกว่า พายุเฮอร์ริเคน (ดูที่ ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2532) ในช่วงเวลานี้ พายุใดที่ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในมหาสมุทรตะวันตกจะได้รับชื่อจากศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ส่วนพายุดีเปรสชันเขตร้อนใดที่ก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้จะได้รับการกำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียก ส่วนพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกใดที่ก่อตัวขึ้นหรือเคลื่อนตัวเข้าไปภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ พายุลูกนั้นจะได้รับชื่อจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ หรือ PAGASA ด้วย ด้วยเหตุนี้พายุเพียงหนึ่งลูก อาจมีชื่อถึงสองชื่อก็ได้

ภาพรวมฤดูกาล

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (คณะกรรมการไต้ฝุ่น)
  พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (118–156 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (157–193 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (≥194 กม./ชม.)

ตลอดปี พ.ศ. 2532 ปัจจัยขนาดใหญ่หลายประการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ทำให้เกิดคุณลักษณะที่ผิดปกติและเฉพาะตัวขึ้น ซึ่งยากต่อการพยากรณ์ จากรายงานพายุหมุนเขตร้อนประจำปี พ.ศ. 2532 ของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ถือว่าฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลหนึ่งที่ท้าทาย และมีลักษณะเฉพาะตัวของตัวเองในประวัติการทำงานของศูนย์ฯ ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของปี มีร่องมรสุมขนาดกว้างเกิดขึ้นและส่งผลให้เกิดความผันผวนในกิจกรรมการพาความร้อนในแต่ละวันขึ้น ซึ่งไปยับยั้งการก่อตัวอย่างรวดเร็วของความแปรปรวน (disturbances) หลายลูก ส่วนสันกลางโทรโพสเฟียร์ที่แคบผิดปกติ และก่อให้เกิดความยากลำบากในการพยากรณ์เส้นทางเดินพายุทางตรงขึ้น นอกจากนี้ ร่องความกดอากาศต่ำระดับสูงในเขตร้อน (TUTT) ยังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาของระบบพายุเป็นจำนวนมาก ดังเช่น พายุไต้ฝุ่นกอร์ดอน ซึ่งก่อตัวขึ้นจากเมฆพายุฝนฟ้าคะนองเดี่ยว ที่แฝงตัวอยู่ภายใต้เซลล์ของร่องความกดอากาศต่ำระดับสูงในเขตร้อน[2]

ฤดูกาลนี้เริ่มต้นด้วยการก่อตัวขึ้นอย่างผิดปกติของพายุโซนร้อนวีโนนา ทางด้านตะวันออกของเส้นแบ่งเขตวันสากลในช่วงต้นเดือนมกราคม ระบบมีพลังอยู่เป็นเวลาสองสัปดาห์ ก่อนจะเคลื่อนตัวข้ามเข้ามาในแอ่ง และสลายตัวลงเหนือบริเวณประเทศฟิลิปปินส์ นับจากนั้นเป็นเวลาถึงสามเดือน แอ่งนี้ไม่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนเลย กระทั่งพายุหมุนเขตร้อนลูกหนึ่งก่อตัวขึ้นในช่วงกลางเดือนเมษายน และถือเป็นพายุไต้ฝุ่นลูกที่สองในรอบเก้าปี ที่เป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น ต่อมาในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ร่องมรสุมขนาดกว้างได้ก่อตัวชึ้นตั้งแต่ในอ่าวเบงกอล ทอดตัวยาวไปทางตะวันออกเข้าสู่ทะเลจีนใต้ พายุไต้ฝุ่นเบรนดา ก่อตัวขึ้นจากร่องดังกล่าวภายในทะเลจีนใต้ และเคลื่อนตัวเข้าหาแผ่นดินในบริเวณภาคใต้ของประเทศจีน ก่อนจะสลายตัวไป พายุไต้ฝุ่นลูกดังกล่าวทิ้งบริเวณของการไหลเวียนฝ่ายใต้ระดับต่ำไว้ ซึ่งไปกระตุ้นให้เกิดการก่อตัวของพายุไต้ฝุ่นซีซิลขึ้นในช่วงปลายเดือน และยังมีพายุอีกสองลูกที่ก่อตัวในเดือนมิถุนายน นั่นคือ พายุไต้ฝุ่นด็อต และ พายุโซนร้อนเอลลิส ลูกแรกเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีกำลัง ก่อตัวขึ้นใกล้กับหมู่เกาะแคโรไลน์ จากนั้นเคลื่อนตัวทางตะวันตก จนขึ้นฝั่งและสลายตัวเหนือบริเวณประเทศเวียดนาม ส่วนลูกที่สองเป็นระบบพายุที่การจัดระบบไม่ดีพอ โดยเคลื่อนตัวโดยทั่วไปไปทางเหนือ และพัดขึ้นฝั่งประเทศญี่ปุ่น[2]

ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของร่องมรสุมที่ปกคลุมอยู่ในแอ่ง เป็นผลให้เกิดการก่อตัวของพายุโซนร้อนเฟย์ขึ้น โดยในขณะที่พายุลูกนี้ปกคลุมอยู่เหนือบริเวณประเทศฟิลิปปินส์นั้น พายุไต้ฝุ่นกอร์ดอนได้ก่อตัวขึ้นภายใต้เซลล์ร่องความกดอากาศต่ำระดับสูงในเขตร้อนที่อยู่ทางตะวันออก จากการทวีกำลังขึ้นอย่างรวดเร็วของกอร์ดอน ทำให้พายุโซนร้อนอีกลูกก่อตัวขึ้นภายในบริเวณไดเวอร์เจนซ์ที่ถูกเร่ง ที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ TUTT เดียวกัน หลายวันต่อมา ร่องมรสุมมีกิจกรรมที่ดีเป็นพิเศษ และก่อให้เกิดพายุหมุนเขตร้อนเป็นลำดับจำนวนหลายลูกในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ได้แก่ พายุเออร์วิงในทะเลจีนใต้ พายุจูดีใกล้กับหมู่เกาะมาเรียนา พายุดีเปรสชันเขตร้อน 12W ใกล้กับประเทศไต้หวัน และพายุเคน–ลอลา ใกล้กับหมู่เกาะรีวกีว การก่อตัวขึ้นของพายุหมุนเขตร้อนของพายุหมุนเขตร้อนทั้งเจ็ดลูกในเดือนกรกฎาคม ทำให้เดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2532 เป็นเดือนกรกฎาคมที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนมากที่สุด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 กิจกรรมของพายุที่สุดขีดนี้ยังต่อเนื่องมาในเดือนสิงหาคมด้วย โดยมีการก่อตัวขึ้นของพายุแม็ค, แนนซี, เพ็กกี้ และ 19W ทั้งหมดเป็นการก่อตัวขึ้นภายในร่องมรสุม การก่อตัวขึ้นมาตามต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วของพายุแนนซี, โอเวน และ เพ็กกี้ นำไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์แบบสองลูก (binary interaction) ระหว่างระบบพายุแต่ละลูกทางใต้ของประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลาหลายวัน ต่อมาพายุโซนร้อนโรเจอร์ก่อตัวขึ้นใกล้กับหมู่เกาะรีวกีว หลายวันหลังจากที่ 19W สลายตัวไปและเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือผ่านประเทศญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นพายุเพียงลูกเดียวในเดือนดังกล่าว ที่ไม่ได้ก่อตัวขึ้นภายในร่องมรสุม ส่วนพายุลูกสุดท้ายของเดือนสิงหาคม คือ 12W ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะกวม และสลายตัวไปเนื่องจากลมเฉือนที่มีกำลังแรง[2]

ฝนที่ตกหนักจากพายุไต้ฝุ่นหลายลูก ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน ทำให้เกิดอุทกภัยที่ีมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากในมณฑลอานฮุย มณฑลหูเป่ย์ มณฑลเจียงซู มณฑลเจียงซี มณฑลจี๋หลิน มณฑลเสฉวน และมณฑลเจ้อเจียงของประเทศจีน โดยมีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยประมาณ 3,000 คน และสร้างตวามเสียหายขึ้นรวมถึง 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่นเกย์ ก่อตัวขึ้นเป็นพายุลูกแรกของเดือน และกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในพื้นที่คาบสมุทรมาเลย์ในรอบ 35 ปี พายุเกย์ก่อตัวขึ้นในอ่าวไทย ก่อนจะเคลื่อนตัวผ่านประเทศไทยในระดับพายุไต้ฝุ่น และเคลื่อนตัวออกนอกแอ่งเข้าสู่แอ่งพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ และมีผลกระทบกับประเทศอินเดียต่อ นับเป็นพายุที่มีลักษณะเฉพาะตัวมาก ทำให้ยากแก่การพยากรณ์[2] จากเหตุการณ์นี้ ในจังหวัดชุมพรมีผู้เสียชีวิตถึง 446 คน และรวมทั้งหมดถึง 833 คน[4] ประชาชนได้รับผลกระทบกว่าหนึ่งแสนห้าหมื่นคน สร้างความเสียหายถึงประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท[5]

พายุ

พายุโซนร้อนวีโนนา

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 15 (เข้ามาในแอ่ง) – 21 มกราคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
991 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.26 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นแอนดี้

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 24 เมษายน
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.17 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเบรนดา (บีนิง)

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 14 – 21 พฤษภาคม
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงซีซิล

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 22 – 26 พฤษภาคม
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นด็อต (กูริง)

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 12 มิถุนายน
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
955 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.2 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงเอลลิซ (ดาลิง)

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 24 มิถุนายน
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงเฟย์ (เอลัง)

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 11 กรกฎาคม
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นกอร์ดอน (โกริง)

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 9 – 19 กรกฎาคม
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.02 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนโฮป (ฮูลิง)

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 21 กรกฎาคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงเออร์วิง (อีเบียง)

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 24 กรกฎาคม
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นจูดี้

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 20 – 29 กรกฎาคม
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 12W (มีลิง)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 27 – 31 กรกฎาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงเคน–ลอลา

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 29 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นแม็ก

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 30 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นแนนซี

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 16 สิงหาคม
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นโอเวน

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 18 สิงหาคม
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนเพ็คกี้

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
Counterclockwise vortex
ระยะเวลา 16 – 18 สิงหาคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 19W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 19 สิงหาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงโรเจอร์ (นาร์ซิง)

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 24 – 28 สิงหาคม
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อน 21W

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 23 – 29 สิงหาคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นซาราห์ (โอเปง)

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 14 กันยายน
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงทิป

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 8 – 14 กันยายน
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงเวรา (ปีนิง)

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 16 กันยายน
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเวย์น

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 20 กันยายน
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นแอนเจลา (รูบิง)

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 28 กันยายน – 10 ตุลาคม
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นไบรอัน

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 28 กันยายน – 3 ตุลาคม
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นคอลลีน

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 1 – 8 ตุลาคม
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นแดน (ซาลิง)

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 13 ตุลาคม
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเอลซี (ตาซิง)

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 22 ตุลาคม
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.02 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นฟอร์เรสต์

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 30 ตุลาคม
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเกย์

8929 (JMA)・32W (JTWC)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 1 พฤศจิกายน – 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)

วันที่ 1 พฤศจิกายน ความแปรปรวนเขตร้อนก่อตัวขึ้นเหนือทะเลอ่าวไทย ระบบดังกล่าวมีการพัฒนาได้อย่างดี หย่อมความกดอากาศต่ำจึงก่อตัวขึ้นได้อย่างรวดเร็วภายในความแปรปรวนนั้น ในวันที่ 2 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ต่อมาได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากตัวพายุอยู่เหนือบริเวณน้ำอุ่น วันต่อมาพายุไต้ฝุ่นเกย์ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น และมีตาพายุก่อตัวขึ้นภายในบริเวณศูนย์กลางการพาความร้อน (ศูนย์กลางพายุ) ซึ่งลักษณะแบบนี้ดำเนินไปจนกระทั่งพายุพัดขึ้นฝั่งที่จังหวัดชุมพร ด้วยความเร็วลมประมาณ 235 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.) โดยหลังจากที่พายุพัดขึ้นฝั่งแล้ว พายุไต้ฝุ่นเกย์ได้เคลื่อนตัวข้ามเส้นเมริเดียนที่ 100 องศาตะวันออก และเข้าสู่แอ่งมหาสมุทรอินเดียเหนือ[6]

ในขณะที่พายุปกคลุมอยู่ในอ่าวไทย เรือหลายร้อยลำไม่ทันได้ระวังพายุที่ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้อัปปางลงอย่างรวดเร็วในทะเลที่ลึกประมาณ 11 ถึง 14 เมตร[6] มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุนอกชายฝั่งอย่างน้อย 275 คน และมีรายงานผู้สูญหายอีกกว่าหนึ่งร้อยคน[7][8] ในประเทศไทย ภัยพิบัติจากน้ำท่วมฉับพลันได้ทำลายบ้านเรือนประชาชนนับหมื่นหลัง โดยจังหวัดชุมพรได้รับความเสียหายอย่างหนัก มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ในประเทศไทยรวม 833 คน[4] และความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท[9] หรือประมาณ 496.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]

พายุไต้ฝุ่นฮันต์ (อุนซิง)

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 23 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเออร์มา (วัลดิง)

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 21 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 35W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 1 – 9 ธันวาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นแจ็ก

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 21 – 27 ธันวาคม
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ

ในฤดูกาลนี้มีชื่อถูกใช้ไปทั้งสิ้น 32 ชื่อ โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมเป็นผู้ตั้งชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อนเหล่านี้ เมื่อระบบดังกล่าวมีความรุนแรงถึงระดับพายุโซนร้อนแล้ว รายชื่อเหล่านี้เป็นชุดรายชื่อฉบับแก้ไข เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 อย่างไรก็ตาม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้เปลี่ยนการใช้ชุดรายชื่อในระหว่างกลางปี 2532 โดยเริ่มต้นที่ แอนเจลา เป็นต้นไป

ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนสากลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในฤดูกาล 2532
รหัสเรียก ชื่อพายุ รหัสเรียก ชื่อพายุ รหัสเรียก ชื่อพายุ รหัสเรียก ชื่อพายุ รหัสเรียก ชื่อพายุ
8901
(01W)
วีโนนา
(Winona)
8908
(08W)
กอร์ดอน
(Gordon)
8914
(17W)
แนนซี
(Nancy)
8922
(25W)
เวย์น
(Wayne)
8929
(32W)
เกย์
(Gay)
8902
(02W)
แอนดี้
(Andy)
8909
(09W)
โฮป
(Hope)
8915
(16W)
โอเวน
(Owen)
8923
(26W)
แอนเจลา
(Angela)
8930
(33W)
ฮันต์
(Hunt)
8903
(03W)
เบรนดา
(Brenda)
8910
(10W)
เออร์วิง
(Irving)
8916
(18W)
เพ็คกี้
(Peggy)
8924
(27W)
ไบรอัน
(Brian)
8931
(34W)
เออร์มา
(Irma)
8904
(04W)
ซีซิล
(Cecil)
8911
(11W)
จูดี้
(Judy)
8917
(20W)
โรเจอร์
(Roger)
8925
(28W)
คอลลีน
(Colleen)
8932
(36W)
แจ็ก
(Jack)
8905
(05W)
ด็อต
(Dot)
8912
(13W)
เคน
(Ken)
8919
(22W)
ซาราห์
(Sarah)
8926
(29W)
แดน
(Dan)
8906
(06W)
เอลลิซ
(Ellis)
8912
(14W)
ลอลา
(Lola)
8920
(23W)
ทิป
(Tip)
8927
(30W)
เอลซี
(Elsie)
8907
(07W)
เฟย์
(Faye)
8913
(15W)
แม็ก
(Mac)
8921
(24W)
เวรา
(Vera)
8928
(31W)
ฟอร์เรสต์
(Forrest)

ฟิลิปปินส์

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[10] โดย PAGASA จะตั้งชื่อพายุให้กับพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นภายในพื้นที่รับผิดชอบของตน และพายุหมุนเขตร้อนใดก็ตามที่เคลื่อนตัวผ่านพื้นที่ดังกล่าว โดยชื่อที่ใช้ถูกนำมาจากรายชื่อที่เป็นรายชื่อเดียวกับที่ถูกใช้ไปในฤดูกาล ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528) ซึ่งชื่อใดในชุดนี้ที่ไม่ถูกถอนจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งในปี ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) โดย PAGASA ใช้รูปแบบการตั้งชื่อของตัวเองแบบเรียงตามตัวอักษรฟิลิปิโน (A, B, K, D เป็นต้น) เป็นชื่อผู้หญิงในภาษาฟิลิปิโน ซึ่งลงท้ายด้วยอักษร "ng" โดยชื่อที่ไม่ถูกใช้จะทำเป็น อักษรสีเทา

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนท้องถิ่นฟิลิปปินส์ในฤดูกาล 2532
อาตริง (Atring) โกริง (Goring) นาร์ซิง (Narsing) ตาซิง (Tasing)
บีนิง (Bining) ฮูลิง (Huling) โอเปง (Openg) อุนซิง (Unsing)
กูริง (Kuring) อีเบียง (Ibiang) ปีนิง (Pining) วัลดิง (Walding)
ดาลิง (Daling) ลูมิง (Luming) รูบิง (Rubing) เยเยง (Yeyeng)
เอลัง (Elang) มีลิง (Miling) ซาลิง (Saling)
รายชื่อเพิ่มเติม
อันดิง (Anding) (ไม่ถูกใช้) บีนัง (Binang) (ไม่ถูกใช้)
กาเดียง (Kadiang) (ไม่ถูกใช้) ดีนัง (Dinang) (ไม่ถูกใช้) เอปัง (Epang) (ไม่ถูกใช้) กุนดัง (Gundang) (ไม่ถูกใช้)

ผลกระทบ

ตารางนี้รวมเอาทั้งหมดของระบบพายุที่ก่อตัวภายใน หรือ เคลื่อนตัวเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งวันสากล ภายในปี พ.ศ. 2532 ตารางนี้ยังมีภาพรวมของความรุนแรงของระบบ ระยะเวลา บริเวณที่มีผลกระทบกับแผ่นดิน และจำนวนความเสียหายหรือจำนวนผู้เสียชีวิตใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบพายุ ส่วนตัวเลขมูลค่าความเสียหายถูกปรับเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532)

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
วีโนนา 15 – 21 มกราคม พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) เกาะเวก, หมู่เกาะมาเรียนา, หมู่เกาะแคโรไลน์ &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 26 – 28 มกราคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ &00000000050000000000005 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 61
แอนดี้ 17 – 25 เมษายน พายุไต้ฝุ่น 185 กม./ชม. 920 hPa (27.17 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, หมู่เกาะมาเรียนา ไม่มี ไม่มี
เบรนดา
(บีนิง)
15 – 21 พฤษภาคม พายุไต้ฝุ่น 120 กม./ชม. 970 hPa (28.64 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ภาคใต้ของจีน &00000000028600000000002.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 104
ซีซิล 22 – 26 พฤษภาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. 975 hPa (28.79 นิ้วปรอท) เวียดนาม, ลาว, ไทย &000000007170000000000071.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 751
TD 3 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
ด็อต
(กูริง)
4 – 12 มิถุนายน พายุไต้ฝุ่น 150 กม./ชม. 955 hPa (28.20 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ภาคใต้ของจีน, เวียดนาม &000000004510000000000045.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 8
เอลลิซ
(ดาลิง)
20 – 24 มิถุนายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ไม่มี ไม่มี
TD 25 – 26 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
เฟย์
(เอลัง)
6 – 11 กรกฎาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 100 กม./ชม. 980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ภาคใต้ของจีน ไม่มี ไม่มี
กอร์ดอน
(โกริง)
11 – 19 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 185 กม./ชม. 915 hPa (27.02 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา, ฟิลิปปินส์, ภาคใต้ของจีน &0000000381000000000000381 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 306
โฮป
(ฮูลิง)
15 – 22 กรกฎาคม พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) หมู่เกาะรีวกีว, ภาคตะวันออกของจีน &0000000340000000000000340 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 198
เออร์วิง
(อีเบียง)
19 – 24 กรกฎาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 100 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, เวียดนาม ไม่ทราบ 104
จูดี้ 11 – 19 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 155 กม./ชม. 940 hPa (27.76 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น, คาบสมุทรเกาหลี &000000003070000000000030.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 46
12W
(มีลิง)
27 – 31 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) ไต้หวัน ไม่มี ไม่มี
เคน-ลอลา 28 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 100 กม./ชม. 980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) หมู่เกาะรีวกีว, จีน ไม่ทราบ 9
แม็ก 30 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 150 กม./ชม. 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ไม่มี ไม่มี
TD 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
โอเวน 9 – 19 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 140 กม./ชม. 960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, หมู่เกาะมาเรียนา ไม่มี ไม่มี
TD 10 – 11 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) เวียดนาม, ภาคใต้ของจีน ไม่มี ไม่มี
แนนซี 11 – 16 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 130 กม./ชม. 965 hPa (28.50 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ไม่มี ไม่มี
เพ็คกี้ 15 – 19 สิงหาคม พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา ไม่มี ไม่มี
19W 16 – 20 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) หมู่เกาะรีวกีว, ไต้หวัน, ภาคตะวันออกของจีน ไม่มี ไม่มี
TD 18 – 23 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) หมู่เกาะรีวกีว ไม่มี ไม่มี
TD 19 – 11 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
TD 19 – 23 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
TD 22 – 25 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ภาคใต้ของจีน, เวียดนาม ไม่มี ไม่มี
TD 23 – 25 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
โรเจอร์ 23 – 28 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 100 กม./ชม. 980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) ไต้หวัน ไม่ทราบ 3
21W 24 – 28 สิงหาคม พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
TD 29 – 30 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1016 hPa (30.01 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
TD 31 สิงหาคม – 2 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
TD 3 – 4 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
TD 3 – 5 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ไม่มี ไม่มี
TD 4 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ไม่มี ไม่มี
ซาราห์
(โอเปง)
5 – 14 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 150 กม./ชม. 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, หมู่เกาะรีวกีว, จีน &0000000175300000000000175 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 71
ทิป 8 – 14 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
TD 8 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) เวียดนาม ไม่มี ไม่มี
TD 8 – 9 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
เวรา
(ปีนิง)
11 – 16 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 100 กม./ชม. 980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) หมู่เกาะรีวกีว, ไต้หวัน, ภาคตะวันออกของจีน &0000000351500000000000352 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 500
TD 16 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
เวย์น 17 – 20 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 120 กม./ชม. 975 hPa (28.79 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ ไม่มี 8
TD 17 – 19 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ภาคใต้ของจีน ไม่มี ไม่มี
แอนเจลา
(รูบิง)
28 กันยายน – 10 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 175 กม./ชม. 925 hPa (27.32 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, เวียดนาม &00000000080000000000008 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 119
ไบรอัน 28 กันยายน – 4 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 120 กม./ชม. 970 hPa (28.64 นิ้วปรอท) ภาคใต้ของจีน, เวียดนาม &0000000222000000000000222 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 40
คอลลีน 1 – 8 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 150 กม./ชม. 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, หมู่เกาะมาเรียนา ไม่มี ไม่มี
แดน
(ซาลิง)
8 – 14 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 140 กม./ชม. 960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, ภาคใต้ของจีน &000000005920000000000059.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 109
เอลซี
(ตาซิง)
13 – 22 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 185 กม./ชม. 915 hPa (27.02 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ภาคใต้ของจีน, เวียดนาม &000000003540000000000035.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 47
ฟอร์เรสต์ 21 – 29 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 155 กม./ชม. 940 hPa (27.76 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์ ไม่มี ไม่มี
เกย์ 31 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่น 165 กม./ชม. 935 hPa (27.61 นิ้วปรอท) ไทย &0000000496500000000000497 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 833
ฮันต์
(อุนซิง)
15 – 24 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่น 140 กม./ชม. 960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, ฟิลิปปินส์ &0000000000350000000000350 พันดอลลาร์สหรัฐ 11
เออร์มา
(วัลดิง)
20 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม พายุไต้ฝุ่น 175 กม./ชม. 925 hPa (27.32 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์ ไม่มี ไม่มี
35W 5 – 9 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์ ไม่มี ไม่มี
เยเยง 9 – 12 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
แจ็ก 21 – 28 ธันวาคม พายุไต้ฝุ่น 175 กม./ชม. 925 hPa (27.32 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, หมู่เกาะมาเรียนา ไม่มี ไม่มี
สรุปฤดูกาล
55 ลูก 15 มกราคม – 28 ธันวาคม   185 กม./ชม. 915 hPa (27.02 นิ้วปรอท)   &00000022248100000000002.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 3,328


ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Gary Padgett. May 2003 Tropical Cyclone Summary. เก็บถาวร 2010-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved 2006-08-26.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Joint Typhoon Warning Center (1990). Western North Pacific Tropical Cyclones (PDF) (1989 Annual Tropical Cyclone Report). United States Navy. pp. 22–26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ February 21, 2013. สืบค้นเมื่อ June 13, 2012.
  3. "Weather Catastrophes in China 1980 – 2010" (PDF). Munich Reinsurance Company. January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 18, 2013. สืบค้นเมื่อ February 28, 2013.
  4. 4.0 4.1 4.2 Vipa Rungdilokroajn (February 1990). Natural Disasters in Thailand (PDF) (Report). Bangkok, Thailand: Universidad Nacional Autónoma de Nicaragua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 26, 2012. สืบค้นเมื่อ December 16, 2011.
  5. "จาก ไต้ฝุ่นเกย์ สู่ ปาบึก บนเส้นทางที่เหมือนเดินตามรอยกัน". Springnews. January 2, 2019. สืบค้นเมื่อ January 31, 2019.
  6. 6.0 6.1 Lt. Dianne K. Crittenden (1990). "1989 Annual Tropical Cyclone Report: Typhoon Gay (32W)" (PDF). Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. pp. 166–172. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ February 21, 2013. สืบค้นเมื่อ December 15, 2011.
  7. "Unocal may scuttle Seacrest; only six survive". Oil & Gas Journal. November 20, 1989. p. 43.  – โดยทาง LexisNexis (ต้องรับบริการ)
  8. Neil Kelly (November 6, 1989). "Typhoon in Thailand claims 250 victims". The Times. London, England.  – โดยทาง LexisNexis (ต้องรับบริการ)
  9. "จาก ไต้ฝุ่นเกย์ สู่ ปาบึก บนเส้นทางที่เหมือนเดินตามรอยกัน". Springnews. January 2, 2019. สืบค้นเมื่อ January 31, 2019.
  10. Staff Writer (2010-09-22). "Philippine Tropical cyclone names". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services. Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-30. สืบค้นเมื่อ 2010-09-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya