วัชระ เพชรทอง
วัชระ เพชรทอง (เกิด 14 มกราคม พ.ศ. 2508) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 11 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 1 สมัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ 1 สมัย ประวัติวัชระ เพชรทอง มีชื่อเล่นว่า แจ็ค เกิดวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2508 ที่ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย แต่ต่อมาครอบครัวได้ย้ายลงไปปักหลักที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี บิดาชื่อ ถวิล เพชรทอง อดีตข้าราชการครูโรงเรียนทวีธาภิเศก และ มารดาชื่อ รัชนี แซ่เฮง (ติวุตานนท์) วัชระจบประถมศึกษาโรงเรียนมานิตานุเคราะห์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-4 ที่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี (สมัยที่เรียนหนังสือในชั้นมัธยม วัชระเป็นประธานนักเรียน) และได้ย้ายมาเรียนต่อจนจบระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่โรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม กรุงเทพมหานคร (หรือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้ากุนนที ในปัจจุบัน) จากนั้นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยสมัยเรียนปริญญาตรีนั้นเป็นแกนนำนักศึกษาที่มีบทบาทในการประท้วงในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 เมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษาอยู่คณะนิติศาสตร์ จนในเวลาต่อมา ได้เริ่มก่อตั้งพรรคสัจธรรม[1] ซึ่งเป็นพรรคที่รวมตัวของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหงที่วัชระดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนแรก นอกจากบทบาทต่อต้านคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ยังมีบทบาทเป็นแกนนำขบวนการนักศึกษารามคำแหงในการเคลื่อนไหวอื่นๆ เช่น คัดค้านการขึ้นราคาตำราเรียนจนสำเร็จ, คัดค้านการขึ้นค่าโดยสารรถเมล์ ขสมก. เป็นต้น ภายหลังสำเร็จการศึกษาวัชระยังคงมีบทบาททางการเมืองมาโดยตลอด โดยมักจะแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์พร้อมกับออกหนังสือมาหลายเล่มและดำเนินกิจกรรรมทางการเมืองในแง่มุมของกฎหมายพร้อมกัน เคยเป็นประธานทนายความรุ่นที่ 16 ของสภาทนายความ (ประเทศไทย) หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาถูกฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาทโดยชัชวาล อภิบาลศรี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[2] งานการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี พ.ศ. 2544 วัชระได้ลงสมัคร ส.ส. สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขต 37 ซึ่งประกอบด้วยเขตหนองแขม แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 ได้ลงในเขตเดิม พื้นที่เดิม โดยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง แม้จะไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่เมื่อพิจารณาคะแนนที่ได้รับ พบว่าได้รับคะแนนมากที่สุดในบรรดาผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ใน กรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 วัชระได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อลงรับสมัคร ส.ว. หรือวุฒิสมาชิกในเขตกรุงเทพมหานคร ได้เบอร์ 54 แต่ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้งอีก วัชระเคยดำรงตำแหน่งเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาและคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์แนวหน้า อีกทั้งยังจัดรายการวิทยุท้องถิ่นในรายการชื่อ ปากเสียงชาวบ้าน ทางคลื่น A.M.873 KHz และยังคงทำกิจกรรมทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 วัชระลงรับสมัครอีกครั้ง ในเขต 11 กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ เขตบางแค และ เขตหนองแขม พรรคประชาธิปัตย์ คู่กับ โกวิทย์ ธารณา และ อรอนงค์ คล้ายนก ซึ่งโกวิทย์และอรอนงค์ได้รับเลือกตั้งทั้งคู่ แต่วัชระไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยมีคะแนนน้อยกว่าผู้ได้ลำดับที่ 3 คือ สุธา ชันแสง จาก พรรคพลังประชาชน เพียง 539 คะแนน (นายวัชระได้ 94,407 คะแนน) วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เมื่อสุธา ชันแสง ลาออกไปเนื่องจากปัญหาสุขภาพ และยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด วัชระลงเลือกตั้งเขตเดิมอีกครั้ง ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเคย และได้รับเลือกตั้งไปด้วยคะแนน 49,346 ชนะคู่แข่งคือ แสวง ฤกษ์จรัล จาก พรรคพลังประชาชน ที่ได้ 42,537 คะแนน ปลายปี พ.ศ. 2552 สื่อมวลชนประจำรัฐสภา ได้ตั้งฉายานักการเมืองให้วัชระ-จตุพร ว่าเป็น "คู่กัดแห่งปี" แม้ว่าทั้งคู่จะจบการศึกษาจากสถาบันเดียวกัน แต่ก็มีการวิวาทะกันบ่อยครั้งในสภาฯ[3] ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 วัชระได้ย้ายจากแบบแบ่งเขตไปลงแบบบัญชีรายชื่อ โดยหลีกทางให้ เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ลงแทน[4]ซึ่งวัชระก็ได้ลงในลำดับที่ 45[5] ได้รับเลือกตั้งไปแบบเฉียดฉิว อันเนื่องจากสุวโรช พะลัง ผู้สมัครของพรรคลำดับที่ 24 เสียชีวิตลงระหว่างการเลือกตั้ง วัชระจึงได้รับเลือกตั้งแทน[6] ในปี 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 46[7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในปี 2566 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ และพลเรือเอก บรรณวิทย์ เก่งเรียน ให้การสนับสนุน[8] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรวัชระ เพชรทอง ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย
การดำรงตำแหน่งทางสังคม
รางวัลเกียรติยศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |