วีระกานต์ มุสิกพงศ์
วีระกานต์ มุสิกพงศ์ หรือชื่อเดิม วีระ มุสิกพงศ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) อดีตประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย มีฉายาว่า ไข่มุกดำ เป็นผู้นำเคลื่อนไหวต่อต้านเผด็จการทหาร เมื่อปี พ.ศ. 2550 และอดีตผู้ดำเนินรายการ ความจริงวันนี้ ทางเอ็นบีที ประวัติวีระ มุสิกพงศ์ เกิดเมื่อ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของเคล้า (บิดา) และส่อง (มารดา) มุสิกพงศ์ จบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2515 มีบุตรชาย 3 คน คนที่สองคือ ประชาธิป มุสิกพงศ์ (6 เมษายน พ.ศ. 2527 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558) มือกีตาร์ของวงดนตรี สควีซ แอนิมอล บทบาทการเมืองนายวีระ เคยเป็นนักเขียนและนักข่าวของหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เริ่มเส้นทางการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ พ.ศ. 2518 เป็น ส.ส. เขตพญาไท ได้เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เมื่อ พ.ศ. 2519 แต่กลับร่วมมือกับฝ่ายค้าน ลุกขึ้นอภิปรายนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคของตัวเอง เนื่องจากไม่พอใจที่รัฐบาลยินยอมให้จอมพลถนอม กิตติขจร เดินทางเข้าประเทศ จนเป็นเหตุให้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา [1] ช่วง พ.ศ. 2519–2522 เกิดความขัดแย้งกับนายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อนร่วมพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งต่อมาลาออกไปตั้งพรรคประชากรไทย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายสมัครเขียนหนังสือชื่อ "สันดานนักหนังสือพิมพ์" ส่วนนายวีระได้เขียนหนังสือโต้ตอบนายสมัคร ชื่อว่า "สันดานรัฐมนตรี" พิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2521 พร้อมกับได้ลงทุนสร้างภาพยนตร์ไทย ชื่อเรื่อง "ไอ้ซ่าส์...จอมเนรคุณ" กำกับโดย ชุมพร เทพพิทักษ์ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกเซ็นเซอร์ไม่ให้ออกฉาย เพราะมีเนื้อหาเสียดสีนายสมัคร ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในขณะนั้น [2] ร่วมกลุ่มกบฏ 2520ในเหตุการณ์กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 โดย พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ เพื่อโค่นล้มรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร แต่ไม่สำเร็จ [3] นายวีระเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และถูกจำคุกด้วยข้อหากบฏ ภายหลังจากได้รับอิสรภาพ ในปี พ.ศ. 2522 นายวีระได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตดุสิต ซึ่งเป็นเขตที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็น ส.ส.เก่าอยู่ และพ่ายแพ้อย่างยับเยิน ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายวีระได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี 3 สมัย คือ
การต้องคดีหมิ่นพระบรมราชานุภาพปี พ.ศ. 2529 นายวีระได้ตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ จนปี พ.ศ. 2531 และต้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในการปราศรัยหาเสียงที่จังหวัดบุรีรัมย์ ต้องโทษจำคุก 4 ปี ที่เรือนจำจังหวัดบุรีรัมย์ [7] ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2531 เมื่อจำคุกได้ประมาณหนึ่งเดือน ก็ได้รับการปล่อยตัวเนื่องจากได้รับพระราชทานอภัยโทษ โดยคำขอพระราชทานอภัยโทษ ลงนามเสนอโดยพลเอกประจวบ สุนทรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ กลุ่ม 10 มกราต่อมาพรรคประชาธิปัตย์เกิดการแตกแยก มีขั้วของนายชวน หลีกภัย กับขั้วของนายวีระ ซึ่งเรียกว่า "กลุ่ม 10 มกรา" โดยนายวีระต้องการนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค ขณะที่กลุ่มนายชวน ต้องการนายพิชัย รัตตกุล เป็นหัวหน้าพรรค โดยมีพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นเลขาธิการพรรค ครั้งนั้น กลุ่มนายวีระ พ่ายแพ้ ต้องนำทีมออกจากประชาธิปัตย์ไปตั้งพรรคประชาชน และเขารับตำแหน่งเลขาธิการพรรค[8] แต่ยุบในเวลาต่อมา และกลายไปเป็นคนสนิทของ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ในพรรคความหวังใหม่เมื่อพรรคความหวังใหม่ ควบรวมกับพรรคไทยรักไทย นายวีระ กลับมาเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทย เหตุการณ์พฤษภาทมิฬในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ นายวีระ ได้เข้าร่วมปราศรัยต่อต้านรัฐบาล ต่อมานายวีระถูกรัฐบาลออกหมายจับ โดยเข้ามอบตัวและไม่ขอประกันตัว และถูกฝากขังที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน เช่นเดียวกับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และน.ส.จิตราวดี วรฉัตร ลูกสาวของ ร.ต.ฉลาด วรฉัตร ต่อมาถูกปล่อยตัวหลังจากเหตุการณ์สงบ และพล.อ.สุจินดา คราประยูร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[9] ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 นายวีระเคยจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาชื่อ "พรรคดำรงไทย" โดยมีตนเองเป็นหัวหน้าพรรค แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง แกนนำแนวร่วม นปช.ในปี พ.ศ. 2550 นายวีระ ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[10] จึงได้เข้าร่วมเป็นแกนนำคนหนึ่งของ แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) จัดเวทีปราศรัยที่สนามหลวงโจมตีรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ รวมทั้งบางครั้งยังพาดพิงไปถึงประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการรัฐประหารด้วย ในปี พ.ศ. 2551 นายวีระได้เป็นหนึ่งในพิธีกรรายการ ความจริงวันนี้ ทาง NBT โดยร่วมกับนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายจตุพร พรหมพันธุ์ เพื่อตอบโต้และวิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ชุมนุมขับไล่รัฐบาลในขณะนั้น ในวันที่ 15 ธันวาคม 2551 พ.ต.ท.สุเมธ จิตต์พานิชย์ รอง ผกก.สส.สน.ชนะสงคราม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินคดีต่อนายวีระ กรณีปราศรัยที่ท้องสนามหลวง เข้าข่ายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี และองค์รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่า ภายในสัปดาห์นี้พนักงานสอบสวนจะส่งสรุปสำนวนการสอบสวนทั้งหมดให้คณะกรรมการกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พิจารณาส่งต่อไปยังคณะกรรมการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ระดับ ตร. พิจารณาเห็นชอบให้อัยการสั่งฟ้องหรือไม่ต่อไป นายวีระ รวมกับพวกอีก 7 คน ถูกแจ้งข้อหาหมิ่นประมาทโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จากกรณีร่วมกันจัดรายการความจริงวันนี้ เมื่อวันที่ 20 - 21 สิงหาคม กล่าวอ้างถึงนายสนธิ ว่าเป็นบุคคลล้มละลาย เป็นหนี้แล้วไม่ยอมใช้แต่อยากมากู้ชาติ โดยศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณาและนัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 15 ธันวาคม เวลา 09.00 น. ซึ่งต่อมาได้รับการตัดสินว่ามีความผิด และถูกจับกุมในเวลาต่อมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[11] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 34[12] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 25 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[13] รางวัลและเกียรติยศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
|