Share to:

 

อนันต์ อนันตกูล

อนันต์ อนันตกูล
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
17 กันยายน พ.ศ. 2543 – 20 เมษายน พ.ศ. 2546
ก่อนหน้าสนั่น ขจรประศาสน์
ถัดไปประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (92 ปี)
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2520–ปัจจุบัน)

อนันต์ อนันตกูล (เกิด 22 ธันวาคม พ.ศ. 2475) อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตกรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย[2] และเป็นราชบัณฑิต วิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ประวัติ

อนันต์ อนันตกูล เกิดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ที่ตำบลบ้านโขด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี[3] จบการศึกษาปริญญาตรี สาขารัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2497 ระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ปี 2525

อนันต์ ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากสถาบันต่าง ๆ ได้แก่ รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2529 การศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการพัฒนศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี 2530 นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี 2531 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาองค์การ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

การทำงาน

อนันต์ เริ่มรับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จนได้รับแต่งตั้งเป็นนายอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ในปี 2505 จากนั้นย้ายไปเป็นนายอำเภอปักธงชัย นายอำเภอปากช่อง

อนันต์ ได้รับแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในปี 2516 ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ และเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ปี พ.ศ. 2518 - 2520 จากนั้นย้ายไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2528-2532 เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2532- ก.พ. 2534[4] จากนั้นถูกย้ายไปเป็นที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อนจะกลับมาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยอีกครั้ง ในปี 2534 จนเกษียณอายุราชการในเดือนกันยายน 2536

อนันต์ อนันตกูล เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ เขายังเคยดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงปี พ.ศ. 2543-2546 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ปี พ.ศ. 2544

ในปี พ.ศ. 2561 นายอนันต์ ได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค เก็บถาวร 2018-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ สืบค้นวันที่ 16 มีนาคม 2561
  2. ประสบการณ์นักปกครอง เก็บถาวร 2024-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สถาบันดำรงราชานุภาพ
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง
  4. ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๑ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการรับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ)
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิต (รวม ๓ ราย ๑. นายอนันต์ อนันตกูล ฯลฯ)
  6. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่อราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชชั้นสายสะพาย ๕ ธันวาคม ๒๕๒๘)
  7. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐ เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๙ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษเล่ม ๑๐๗ ตอน ๒๐๐ ง ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ หน้า ๘๑๕๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 110 ตอนที่ 57 วันที่ 3 พฤษภาคม 2536

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya