โครงการวิกิวรรณศิลป์ เป็นโครงการของ สถานีย่อย:โลกวรรณศิลป์ มีเป้าหมายเพื่อช่วยกำหนดทิศทางการเขียนบทความทางด้าน วรรณคดีและวรรณกรรม ให้เป็นไปในทางเดียวกัน และมีคุณภาพพอสำหรับใช้ศึกษาค้นคว้าหรืออ้างอิง
ข้อหารือ
มีรายละเอียดหลายประการในการร่วมสร้างโครงการวิกิวรรณศิลป์ ซึ่งต้องการความเห็นของเราทุกคนในการปรับปรุงหรือหาข้อสรุป ร่วมแสดงความเห็นหรือเสนอข้อแนะนำที่ ห้องประชุม
วิธีการเขียนโดยสังเขป
ต่อไปนี้เป็นแนวทางคร่าว ๆ สำหรับช่วยให้การพัฒนาบทความวรรณศิลป์เป็นไปในทางเดียวกัน ซึ่งไม่ได้เป็นข้อบังคับ แนวคิดหรือคำแนะนำใด ๆ ย่อมเป็นประโยชน์ในการสร้างสารานุกรมวรรณศิลป์ทั้งสิ้น การปรับแก้แนวทางใด ๆ สามารถทำได้ทันทีที่หน้านี้ หรือแสดงความเห็นเพื่อหาข้อสรุปที่ ห้องประชุม
สำหรับแม่แบบที่ช่วยในการเขียนบทความ ดูที่หน้าแม่แบบ
บทความประเภทวรรณกรรม
บทความวรรณกรรม ควรประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญดังนี้
- ระบุชื่อผู้ประพันธ์ และผู้แปล (ถ้ามี)
- วันเดือนปีที่ตีพิมพ์/แปล ครั้งแรก (ถ้ามี)
- โครงเรื่อง/เรื่องย่อ/ตัวละครโดยสังเขป
- ประวัติ/แนวคิดในการประพันธ์
- ผลตอบรับ/คำวิจารณ์/รางวัล/การยกย่องโดยทั่วไป
- การดัดแปลง (ถ้ามี)
บทความเกี่ยวกับตัวละคร สถานที่ หรือสิ่งของต่าง ๆ ในวรรณกรรม
ควรมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
- ระบุว่าเป็นตัวละครหรือสถานที่ หรือสิ่งของที่อยู่ในวรรณกรรมเรื่องอะไร
- ประวัติความเป็นมา
- บทบาทในวรรณกรรม ทั้งในส่วนของวรรณกรรมต้นฉบับ และที่ปรากฏในงานดัดแปลงต่าง ๆ เช่น ในภาพยนตร์ ละคร หรือเพลง (ถ้ามี)
ทั้งนี้ควรเป็นบทความเกี่ยวกับตัวละครหลัก สถานที่สำคัญ หรือสิ่งของที่มีบทบาทสำคัญต่อเนื้อเรื่อง ซึ่งผู้ประพันธ์ได้พรรณนารายละเอียดและความสำคัญเอาไว้มากพอควร หากเป็นตัวละครประกอบ สถานที่ปลีกย่อย หรือรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ ซึ่งมักจะมีเนื้อหาความเป็นมาค่อนข้างน้อย ควรพิจารณาเขียนรวมกันเป็นบทความเดียว ตัวอย่างเช่น ตัวละครในพระอภัยมณี หรือ ภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ หรือ รายชื่อเวทมนตร์คาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นต้น
บทความเกี่ยวกับนักเขียน นักแปล
ควรมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
- ชีวประวัติ
- แรงบันดาลใจ หรืออิทธิพลที่มีในงานเขียน
- แนวทางของงานประพันธ์ที่โดดเด่น
- ชื่อเสียงและคำวิจารณ์ ตลอดจนรางวัลที่ได้รับ และเกียรติคุณ/อนุสรณ์ต่าง ๆ
- รายชื่อผลงาน
- การดัดแปลงผลงานที่สำคัญ (ถ้ามี)
การอ้างอิง
การอ้างอิงแหล่งที่มาของเนื้อหาในบทความ โดยพื้นฐานให้ดำเนินตามนโยบายการอ้างอิงแหล่งที่มาของวิกิพีเดียภาษาไทย โดยควรต้องระมัดระวังเรื่องความเป็นกลาง โดยเฉพาะในหัวข้อเกี่ยวกับการวิจารณ์ ชื่อเสียง และผลตอบรับของวรรณกรรม ซึ่งมีทั้งด้านบวกและด้านลบ แหล่งอ้างอิงที่มีส่วนได้เสียกับบทความนั้น ๆ เช่น เป็นสำนักพิมพ์ผู้จัดพิมพ์หนังสือ อาจนำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นกลาง เนื่องจากพยายามเชิดชูแต่ด้านที่ดีของหนังสือนั้น ๆ เพื่อผลทางการโฆษณา ทำให้ไม่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ จึงควรใช้แหล่งอ้างอิงที่เป็นกลาง เช่นสำนักข่าว บทความวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิชาการ รวมถึงสถาบันต้นสังกัดผู้มอบรางวัลต่าง ๆ เช่น รางวัลเนบิวลา รางวัลฮิวโก เป็นต้น
การจัดหมวดหมู่
บทความที่เป็นงานวรรณกรรม
ประเภทของวรรณกรรม
โลกวรรณศิลป์ประกอบด้วยงานวรรณกรรมหลายประเภท (genre) ซึ่งประกอบด้วย
บางบทความใน หมวดหมู่:วรรณกรรมเด็ก หรือ วรรณกรรมเยาวชน อาจเป็นบทความที่อยู่ในหมวดหมู่อื่นด้วยก็ได้ เช่น นิทาน นิยาย หรือ นวนิยายแฟนตาซี
สำหรับ เรื่องสั้นไทย นวนิยายไทย และ วรรณคดีไทย ให้จัดหมวดหมู่ต่างหากเป็น หมวดหมู่:เรื่องสั้นไทย หมวดหมู่:นวนิยายไทย และ หมวดหมู่:วรรณคดีไทย เพื่อความสะดวกในการจัดบทความของโครงการประเทศไทย
วรรณกรรมแบ่งตามประเทศ
สำหรับวรรณกรรมต่างประเทศ ควรจัดหมวดหมู่ วรรณกรรม+ชื่อประเทศ เพื่อจัดเรียงบทความวรรณกรรมตามประเทศต้นฉบับ และใส่หมวดหมู่ประเทศเจ้าของภาษาต้นฉบับ ในกรณีที่มีการแปลผลงานเรื่องนั้นเป็นภาษาไทยแล้ว ให้ใส่ หมวดหมู่:วรรณกรรมแปล เอาไว้ด้วย การจัดหมวดหมู่วรรณกรรมตามประเทศต้นฉบับและภาษาที่ใช้ สามารถจัดได้ดังนี้
สรุป
ช่วยกันจัดหมวดหมู่โดยใส่กรอบหมวดหมู่ 3 ประเภทดังต่อไปนี้
- ใส่ประเภทของงานวรรณกรรม เช่น หมวดหมู่:นวนิยายไทย หรือ หมวดหมู่:นวนิยายแฟนตาซี
- ใส่หมวดหมู่แบ่งตามประเทศ เช่น หมวดหมู่:วรรณกรรมไทย หรือ หมวดหมู่:วรรณกรรมภาษาอังกฤษ
- ใส่หมวดหมู่แบ่งตามชื่อผู้ประพันธ์ เช่น หมวดหมู่:งานเขียนของกิมย้ง หรือ หมวดหมู่:งานเขียนของอีนิด ไบลตัน
บทความที่เป็นผู้ประพันธ์
บทความที่เป็นตัวละคร สถานที่ หรือส่วนประกอบต่างๆ ในวรรณกรรม
การจัดระดับคุณภาพของบทความ
เป็นการประเมินและจัดกลุ่มคุณภาพของบทความทางด้านวรรณกรรม รวมถึงบทความเกี่ยวกับผู้ประพันธ์ ผู้แปล และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระดับคุณภาพของบทความในปัจจุบันให้ดูตามสถิติบทความในตารางทางด้านขวามือ
วิธีการจัดระดับคุณภาพ
บทความที่จะรับการจัดระดับคุณภาพ จะต้องเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในสารานุกรมวรรณศิลป์เสียก่อน โดยการติดป้าย {{บทความวรรณศิลป์}} ที่ส่วนบนสุดของหน้าพูดคุยของบทความนั้น
จากนั้นจึงพิจารณาระดับคุณภาพของบทความดังตารางที่แสดงในหัวข้อถัดไปนี้ แล้วใส่ระดับของบทความลงไปในตอนท้ายของแม่แบบบทความวรรณศิลป์ เช่น {{บทความวรรณศิลป์|ระดับ = โครง}} หรือ {{บทความวรรณศิลป์|ระดับ = พอใช้}} รายละเอียดในการใช้งานแม่แบบให้ดูในหน้า แม่แบบช่วยเขียน
ระดับของบทความอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามความเคลื่อนไหวและความคืบหน้าในการพัฒนาบทความ โดยสมาชิกทุกคนสามารถร่วมเป็นผู้จัดระดับบทความได้ ยกเว้นระดับ "คุณภาพ" และ "คัดสรร" จะต้องผ่านการพิจารณาคัดเลือกใน โครงการคัดเลือกบทความคุณภาพ และ โครงการคัดเลือกบทความคัดสรร เสียก่อน รายละเอียดการคัดเลือกดูในหน้าโครงการตามลิงก์ที่ให้ไว้
แนวทางการจัดระดับคุณภาพ
ระดับ
|
ความหมาย
|
ลักษณะ
|
ข้อแนะนำการแก้ไข
|
ตัวอย่าง
|
คัดสรร {{บทความคัดสรร}}
|
บทความคัดสรร
|
โดดเด่น ละเอียดละออและมีการเรียบเรียงอย่างดี มีแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการอ้างอิงในสารานุกรม
|
มีเนื้อหาครบถ้วนมากพอโดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มหัวข้อใหม่นอกจากมีข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาบทความนี้ยังสามารถทำได้เพื่อให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
|
เพชรพระอุมา
|
คุณภาพ {{บทความคุณภาพ}}
|
บทความคุณภาพ
|
มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านโดยทั่วไป ไม่มีเนื้อหาที่ยังไม่มีข้อยุติอยู่ในบทความ มีการเรียบเรียงที่ดีตามลักษณะของสารานุกรม
|
อาจมีการเพิ่มหัวข้อใหม่หรือเพิ่มเนื้อหาบางส่วนที่เฉพาะเจาะจง การให้รายละเอียดในทางวรรณศิลป์อย่างลึกซึ้ง เพื่อให้บทความมีความโดดเด่นพอสำหรับการเป็นบทความคัดสรร
|
เชอร์ล็อก โฮมส์
|
ดี {{ระดับดี}}
|
บทความระดับดี คือมีความสมบูรณ์ในเนื้อหาใหญ่ที่สำคัญ แต่ยังขาดการวิเคราะห์วิจารณ์หรือข้อมูลโดยละเอียดที่จะเป็นบทความคุณภาพ
|
จะต้องไม่มีเนื้อหาสำคัญขาดหายไป แม้บทความอาจยังมีรายละเอียดไม่มากนักและวิธีการเรียบเรียงอาจยังไม่สมบูรณ์ตามลักษณะของสารานุกรม
|
เน้นที่การเพิ่มเติมข้อมูลระดับผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงให้แหล่งข้อมูลที่ดีมากพอ จัดระเบียบของบทความให้ได้มาตรฐานของวิกิพีเดีย
|
ตำนานทอง
|
พอใช้ {{ระดับพอใช้}}
|
บทความระดับพอใช้ คือบทความที่อยู่ระหว่างการพัฒนา มีเนื้อหายังไม่สมบูรณ์ ขาดแหล่งอ้างอิง
|
มีการให้รายละเอียดเพิ่มเติมบ้าง แต่ผู้อ่านทั่วไปอาจยังไม่เข้าใจและต้องการข้อมูลมากกว่านั้น
|
เพิ่มเติมแหล่งข้อมูลเพื่อให้บทความมีความน่าเชื่อถือ รวมถึงการพัฒนาเนื้อหาของบทความเพิ่มเติมให้มีสาระสำคัญครบถ้วน
|
เบวูล์ฟ
|
โครง {{ระดับโครง}}
|
บทความระดับโครง คือมีเพียงคำอธิบายโดยคร่าวๆ เท่านั้น
|
ให้รายละเอียดค่อนข้างน้อย อาจเป็นเพียงคำจำกัดความเท่านั้น
|
เพิ่มเติมเนื้อหา สาระสำคัญ แหล่งข้อมูล โดยเน้นที่เนื้อหาของบทความก่อน
|
ซอนเน็ต
|
บทความวรรณศิลป์คุณภาพในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ
- กวีนิพนธ์ (en) • เทพนิยาย (en) • วรรณกรรมอียิปต์โบราณ (en) • สตาร์ชิป ทรูเปอร์ส (en) • กระท่อมน้อยของลุงทอม (en) • เจ. เค. โรว์ลิ่ง (en) • Sir Gawain and the Green Knight (en) • ก็องดิด (en) • Starship Troopers (en) • เอนไซโคลปิเดียบริเทนนิกา (en) • ไอแซก อสิมอฟ (en) • โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์ (en) • รัดยาร์ด คิปลิง (en)
- A-Class แฟรงเกนสไตน์ (en) • ฮอบบิท (หนังสือ) (en) • เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) (en) • มิดเดิลเอิร์ธ (en) • ภาพยนตร์ไตรภาคลอร์ดออฟเดอะริงส์ (en) • ตารางเวลาแห่งอาร์ดา (en) • ออร์ค (มิดเดิลเอิร์ธ) (en)
- อัศวินเขียว (en) • อาร์ทิมิส ฟาวล์ (en) • ซี. เอส. ลิวอิส (en) • เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ (en) • เกมพลิกโลก (en) • ออสการ์ ไวลด์ (en) • เอรากอน เล่มสอง (en) • แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) (en) • เฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ (en) • ยุทธการทุ่งวอเตอร์ชิป (en) • เกาะมหาสมบัติ (en) • The Sword of Shannara (en)
- B-Class เจ้าหญิงน้อย (en) •ประตูที่สาบสูญ (en) • พ่อมดแห่งเอิร์ธซี (en) • เอรากอน (en) • Howl's Moving Castle (en) • ปีเตอร์ แพน กับเวนดี้ (en) • ฟิลิป พูลแมน (en) • มีดนิรมิต (en) • สู่เส้นทางมรณะ (en) • ตำนานแห่งนาร์เนีย (en) • ตู้พิศวง (en) • แรงพยาบาท (en) • อลิซท่องแดนมหัศจรรย์ (en) • ชาลีกับโรงงานช็อกโกแลต (en) • เทวากับซาตาน (en) • รหัสลับดาวินชี (en) • ล่ารหัสมรณะ (en) • แผนลวงสะท้านโลก (en) • Discworld (en) • ดอน กิโฆเต้ (en) • พ่อมดมหัศจรรย์แห่งออซ (en) • ทวิดารา (en) • แดรกคูล่า (en) • เอรากอน (en) • ดอกไม้ของอัลเจอร์นอน (en) • สถาบันสถาปนา (en) • โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ (en) • Leaf by Niggle (en) • สี่ดรุณี (en) • มาดามโบวารี (en) • โมบิดิก (en) • โอลิเวอร์ ทวิสต์ (en) • พันหนึ่งราตรี (en) • พาราไดซ์ ลอสท์ (en) • ปีเตอร์ แพน (en) • สาวทรงเสน่ห์ (en) • ดุจดั่งอวตาร (en) • พิน็อคคิโอ (en) • พี่น้องคารามาซอฟ (en) • ตำนานบุตรแห่งฮูริน (en) • The Magicians' Guild (en) • จันทราปฏิวัติ (en) • เฒ่าผจญทะเล (en) • ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์ (en) • พูห์ (en) • หอคอยคู่พิฆาต (en) • กษัตริย์คืนบัลลังก์ (en) • The Wheel of Time (en) • สงครามและสันติภาพ (en)
บทความวรรณศิลป์คุณภาพในวิกิพีเดียภาษาจีน
- สามก๊ก (zh) • ไซอิ๋ว (zh)
อ้างอิง
โครงการที่เกี่ยวข้อง
|
---|
|
โครงการเฉพาะทาง |
---|
วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี | |
---|
สุขภาพ | |
---|
ธรรมชาติ | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
สังคม | |
---|
ศาสนา | |
---|
ศิลปะและบันเทิง | |
---|
กีฬา | |
---|
คมนาคม | |
---|
ประเทศและภูมิภาค | ยุโรป | |
---|
อเมริกาใต้ | |
---|
อเมริกาเหนือ | |
---|
อาเซียน | |
---|
ส่วนอื่นของเอเชีย | |
---|
แอฟริกา | |
---|
โอเชียเนีย | |
---|
|
---|
|
|