วิกิพีเดีย:โครงการศึกษาและวิจัยการก่อกวน
จุดประสงค์เพื่อศึกษาการก่อกวนที่เกิดขึ้นบนวิกิพีเดียไทย ถึงรูปแบบและสาเหตุการก่อกวน โดยความรู้จากการศึกษานี้อาจนำไปพัฒนาบอตตรวจสอบและย้อนการก่อกวนอย่าง ผู้ใช้:JBot รวมถึงรวบรวมสถิติจากการก่อกวนที่น่าสนใจอย่างระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่ชาววิกิพีเดียใช้ในการย้อนการก่อกวน จำนวนการก่อกวนต่อวัน หรือต่อเดือน บทความที่ถูกก่อกวนบ่อยที่สุด ผู้ใช้ที่ย้อนการก่อกวนมากที่สุด จำนวนการแก้ไขก่อกวนที่บอตย้อนกลับ เป็นต้น ขอบเขตการดำเนินงานการศึกษา วิจัย และรวบรวมสถิติเฉพาะการก่อกวนในเนมสเปซหลัก (บทความ) และเฉพาะหน้าที่มีอยู่แล้ว ซึ่งไม่รวมถึงการสร้างหน้าใหม่ สิ่งที่ได้เริ่มทำโปรแกรมบอตคุงได้เพิ่มงานรายนาที โดยหากพบการแก้ไขที่มีคำอธิบายอย่างย่อเริ่มต้นด้วย "ย้อนการก่อกวนของ" บอตคุงจะทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวข้องกับการก่อกวนดังกล่าวโดยอัตโนมัติไปในฐานข้อมูล ซึ่งคำอธิบายอย่างย่อจะถูกใส่ให้โดยอัตโนมัติเมื่อผู้ใช้ ใช้ความสามารถย้อนก่อกวนในสคริปต์จัดให้ นอกจากนั้นในกรณีที่บอตคุงย้อนการแก้ไขผ่านผู้ใช้เจบอต ข้อมูลการก่อกวนดังกล่าวก็จะบันทึกไปในฐานข้อมูลโดยอัตโนมัติ คุณช่วยเราได้
กรณีศึกษา (วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ)โดยเฉลี่ยวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีการก่อกวนอยู่ที่ระดับ 4-7%[1] และหากประเมินว่ามีการแก้ไขอยู่ที่ประมาณ 6,000 ครั้งต่อชั่วโมงนั้น หมายความว่ามีการแก้ไขที่นับเป็นการก่อกวนสูงกว่า 250 ครั้งต่อชั่วโมงหรือประมาณ 4-5 ครั้งต่อนาที ในกรณีที่มีการก่อกวนระดับสูงอาจมีการก่อกวนมากกว่า 20 ครั้งต่อนาทีเลยทีเดียว[2] โดยผู้ใช้ที่ไม่ได้ล็อกอินก่อกวนวิกิพีเดียกว่า 97% ในสถิติที่ได้เคยรวบรวม บอตตรวจสอบและย้อนกลับการก่อกวนบนวิกิพีเดียภาษาอังกฤษช่วยได้โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 34% ของการก่อกวนทั้งหมด และที่เหลือ 66% ถูกย้อนกลับโดยชาววิกิพีเดีย[1] วิกิพีเดียภาษาอังกฤษได้ประสบปัญหาดังกล่าว ชาววิกิพีเดียบางกลุ่มจึงเสียเวลาในการต้องคอยตรวจสอบและย้อนการแก้ไขที่เป็นการก่อกวนแทนที่จะใช้เวลาในการพัฒนาและแก้ไขบทความ หลังจากนั้นจึงมีการพยายามหาทางเพื่อพัฒนาระบบตรวจสอบและย้อนการก่อกวนของบอตในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจากการสุ่มเลือกศึกษากว่า 668 การแก้ไขพบว่าค่ามัชฌิม (median) อยู่ที่ 12.63 ชั่วโมงและค่ามัธยฐาน (mean) อยู่ที่ 14 นาทีกระทั่งการก่อกวนจะถูกย้อนกลับ[3] ในขณะที่ระบบตรวจสอบและย้อนการก่อกวกวนอัตโนมัติส่วนใหญ่ที่ใช้งานบนวิกิพีเดียอังกฤษนั้นจะคอยตรวจสอบตลอดเวลาและสามารถย้อนการก่อกวนที่พบเจอได้ไม่เกิน 1 นาที ขณะนี้วิกิพีเดียภาษาไทยได้เริ่มงานพัฒนาระบบตรวจสอบ ย้อนกลับ และแจ้งเตือนการก่อกวนโดยอัตโนมัติโดยใช้โปรแกรมบอตคุง ผ่านผู้ใช้ JBot เพื่อเริ่มศึกษาและวิจัยในวิกิพีเดียไทย โดยมีเป้าหมายช่วยย้อนการก่อกวนให้ได้ถึง 75% โดยเฉลี่ยจากการก่อกวนทั้งหมด ข้อมูลสถิติที่น่าสนใจล่าสุดโปรดทราบว่าข้อมูลเกี่ยวข้องกับการก่อกวนจะมีการบันทึกเฉพาะช่วงเวลาที่บอตคุงทำงานตามปกติเท่านั้น จึงทำให้ข้อมูลบางส่วนอาจตกหล่นได้ในช่วงที่บอตคุงไม่ได้รัน ข้อมูลวิเคราะห์ กันยายนจากการรวบรวมข้อมูลการแก้ไขบทความทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงประมาณวันที่ 17 สิงหาคมถึง 16 กันยายนจากกว่า 16,639 การแก้ไขจาก 2,351 ผู้ใช้ หรือคิดเป็น 550 การแก้ไขโดยเฉลี่ยต่อวัน โดยได้พบกว่าประมาณ 2/3 ของการแก้ไขทั้งหมดมาจากผู้ใช้ที่ไม่ล็อกอิน และกว่าครึ่งของผู้ใช้ทั้งหมดแก้ไขเพียงครั้งเดียว ซึ่งการแก้ไขมากกว่า 50 ครั้งเป็นสมาชิกมากกว่า 96% และการแก้ไขมากกว่า 100 ครั้งเป็นสมาชิกประมาณ 99 ถึง 100% ในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการก่อกวนทั้งหมด 222 ครั้งจากประมาณ 170 บทความ หรือประมาณ 7.4 ครั้งโดยเฉลี่ยต่อวัน โดยวันที่ 16/09/2008 มีการก่อกวนมากที่สุดในช่วงเวลานี้ซึ่งมีการแก้ไขก่อกวนทั้งหมด 16 ครั้งในวันเดียว จากข้อมูลดังกล่าว สามารถสรุปคร่าว ๆได้ว่าวิกิพีเดียไทยมีจำนวนการก่อกวนอยู่ที่ 1-3% จากการแก้ไขทั้งหมด 3 อันดับบทความที่ถูกก่อกวนมากที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว
3 อันดับผู้ใช้ที่ไม่ใช่บอตที่ย้อนก่อกวนมากที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว
10 อันดับบทความที่แก้ไขมากที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว
10 อันดับผู้ใช้ที่แก้ไขมากที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว
10 อันดับผู้ใช้ที่ไม่ล็อกอินแก้ไขมากที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว
ข้อมูลวิเคราะห์ กรกฎาคมจากการรวบรวมข้อมูลการแก้ไขบทความทั้งหมดที่เกิดขึ้นในตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 00:00:00 จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 11:10:59 ตามเวลาประเทศไทย ทั้งหมด 4,089 การแก้ไขซึ่งกว่า 72% ด้วยกันเป็นการแก้ไขโดยผู้ใช้ที่ล็อกอิน ซึ่งผู้ที่แก้ไขบทความมากที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าวคือ Shalom503 เป็นอันดับหนึ่งกว่า 202 การแก้ไขตามด้วย 2T (200) และ Octahedron80 (188) ส่วนผู้ใช้ที่ไม่ได้ล็อกอินที่แก้ไขมากที่สุดคือ 124.120.244.132 (อันดับที่ 16, 47 ครั้ง), 61.90.230.223 (37) และตามด้วย 131.111.16.20 (27) บทความที่แก้ไขมากที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าวคือ
ข้อมูลดังกล่าวเป็นผลจากการรันเก็บข้อมูล และทำสถิติรอบทดสอบเพื่อแสดงว่าสามารถนำมาวิเคราะห์และแสดงสถิติที่เป็นประโยชน์ได้ รวมถึงสถิติอย่างดังข้างต้นสามารถนำไปเพื่อทำสถิติด้านอื่นที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับการก่อกวนโดยตรง ซึ่งเป็นผลดีที่เกิดขึ้นจากงานเก็บสถิติการก่อกวน โดยปัจจุบันมีแผนที่จะคอยเก็บข้อมูลทุกวัน โปรดทราบว่าข้อมูลที่นำมาทำสถิติไม่รวมผู้ใช้ที่มีสถานะเป็นบอตและการแก้ไขเฉพาะหน้าที่เป็นบทความเท่านั้น ซึ่งจำนวนการแก้ไขไม่รวมการแก้ไขที่เป็นการสร้างบทความใหม่ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับการก่อกวนเพียงพอที่สามารถนำมาทำสถิติได้ ข้อมูลวิเคราะห์ ภาพรวมปี 2552
10 อันดับบทความที่แก้ไขมากที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว
เลขดัชนีคุณภาพบทความหนึ่งในปัจจัยที่ใช้วิเคราะห์ว่าการแก้ไขดังกล่าวเป็นการก่อกวนหรือไม่ คือการใช้สูตรเพื่อคำนวณตัวเลขดัชนีคุณภาพบทความ เพื่อใช้วัดคุณภาพของการแก้ไขล่าสุดอย่างคร่าวๆ ซึ่งปัจจุบันสูตรการคำนวณได้รับการปรับเปลี่ยนตลอดการใช้งาน และจึงมีความสนใจที่จะใช้ทดสอบกับ บทความคัดสรร บนวิกิพีเดียภาษาไทย ซึ่งเป็นกลุ่มบทความที่ได้ชื่อว่าดีที่สุดในวิกิพีเดียภาษาไทย โดยผลลัพธ์จากการวิเคราะห์นี้ จะถูกนำไปใช้ปรับและใช้ต่อเป็นมาตรฐานในส่วนอื่น โปรดทราบว่าตัวเลขดัชนีคุณภาพบทความนั้นเป็นการคำนวณโดยโปรแกรมทั้งหมด ไม่สามารถใช้ได้จริงในการวัดคุณภาพเนื้อหาของบทความได้หรือเกี่ยวข้องกับคุณภาพของเนื้อหาแต่อย่างใด และเป็นเพียงแค่หนึ่งในหลายๆปัจจัยอื่นที่ใช้เท่านั้น ค่ามัธยฐานความยาวบทความอยู่ที่ประมาณ 51,008 และค่ามัธยฐานดัชนีคุณภาพอยู่ที่ประมาณ 960 ข้อมูลชุด 2 ดึงจากบทความวิดีโอเกมระดับโครงจำนวนทั้งหมด 60 บทความ: ค่ามัธยฐานความยาวบทความอยู่ที่ประมาณ 2,826 และค่ามัธยฐานดัชนีคุณภาพอยู่ที่ประมาณ 113 ข้อมูลทั้งหมดเรียกและประมวลผลวันที่ 22 เมษายน 2552 สมาชิกกรุณาเพิ่มชื่อที่นี่หากคุณสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ และต้องการรับข่าวสาร
อ้างอิงดูเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่น
|