ศาสนาในประเทศภูฏานศาสนาในประเทศภูฏาน มีความโดดเด่นด้านวัฒนธรรมของประเทศ โดยรัฐธรรมนูญภูฏานได้ประกาศให้ศาสนาพุทธนิกายวัชรยานเป็นศาสนาประจำชาติ ถือเป็นมรดกของชาติและเป็นอัตลักษณ์ของประชาชน พระมหากษัตริย์เป็นอัครศาสนูปถัมภก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธราว 770,000 คน คิดเป็นร้อยละ 75 นับถือนิกายกาจูสายดรุกปา, นิกายญิงมา และอื่น ๆ ส่วนชาวโลซัมปา (ชาวภูฏานเชื้อสายเนปาล) โดยมากนับถือศาสนาฮินดู[1][2] ศาสนาหลักศาสนาพุทธศาสนาพุทธนิกายวัชรยานแพร่หลายในกลุ่มชาติพันธุ์ที่สืบมาจากชาวทิเบต กลุ่มแรกคือชาวงาล็อป เป็นชาติพันธุ์ที่อาศัยทางภาคตะวันตกและภาคกลาง โดยมากนับถือนิกายกาจูสายดรุกปา[3] อีกกลุ่มคือชาวชาร์ช็อปซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของประเทศ อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออก พวกเขานับถือศาสนาพุทธปะปนกับลัทธิบอน บางส่วนเป็นวิญญาณนิยมและฮินดู รัฐบาลภูฏานให้การสนับสนุนอารามของนิกายกาจูและญิงมา (ซึ่งเป็นนิกายย่อยของนิกายวัชรยานอีกที) เจ้านายพระราชวงศ์ภูฏานเองก็ทรงปฏิบัติศาสนกิจผสมสองนิกายด้วยกัน แม้แต่ประชาชนจำนวนมากเชื่อในแนวคิดที่ว่า "สองนิกายรวมเป็นหนึ่ง"[3] ศาสนาฮินดูผู้นับถือศาสนาฮินดูส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ มีศาสนิกชนราว 200,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์โลซัมปา (ชาวภูฏานเชื้อสายเนปาล) ถือเป็นศาสนาใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศรองจากศาสนาพุทธ มีการก่อตั้งศาสนสถานในศาสนาฮินดูแห่งแรกในทิมพูชื่อฮินดูธรรมสมุทยะ เมื่อ พ.ศ. 2555 เพื่อรองรับศาสนิกชนขนาดกลางจนถึงขนาดย่อมในเมืองหลวง[3] ศาสนาย่อยลัทธิบอนลัทธิบอนเป็นลัทธิที่มีคติความเชื่อแบบวิญญาณนิยม เชมัน การบูชาธรรมชาติ มีมาก่อนศาสนาพุทธจะเข้ามาถึง กลุ่มนักบวชลัทธิบอนมักร่วมประกอบพิธีกรรมในงานเทศกาลทางศาสนาพุทธ แต่มีประชากรจำนวนไม่มากนักที่ยังนับถือลัทธิบอนอยู่[3] ศาสนาคริสต์มีคริสต์ศาสนิกชนจำนวนน้อยในประเทศ ทั้งหมดเป็นกลุ่มชนเชื้อสายเนปาล จากรายงานเมื่อ พ.ศ. 2550 ระบุว่าไม่มีคณะมิชชันนารีเข้าไปเผยแผ่ศาสนา แม้ว่าจะมีองค์กรบรรเทาทุกข์ของศาสนาคริสต์ และคณะนักบวชเยสุอิตคอยให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาและมนุษยธรรมก็ตาม[3] ศาสนาคริสต์เผยแผ่สู่ภูฏานครั้งแรกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยนักบวชเยสุอิตชาวโปรตุเกส ทว่าการเผยแผ่นั้นล้มเหลว เพราะชาวภูฏานมีศรัทธาในพุทธศาสนาแรงกล้า ศาสนาอิสลามสำนักวิจัยพิวให้ข้อมูลว่ามีชาวภูฏานร้อยละ 0.1 นับถือศาสนาอิสลาม และศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐธรรมนูญภูฏาน[4][1] อ้างอิง
|