Share to:

 

ศาสนาในประเทศอิรัก

ศาสนาในประเทศอิรัก (ค.ศ. 2015)[1]

  ซุนนี (34%)
  อื่น ๆ (2%)

ศาสนาในประเทศอิรักส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ซึ่งแบ่งออกเป็นสองลักธิหลักคือ ชีอะฮ์และซุนนี รายงานจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊กของซีไอเอ ร้อยละ 95 ถึง 98 ของประชากรเป็นมุสลิม[2]

รองจากนี้คือศาสนาคริสต์, การผสานความเชื่อทางศาสนาแบบลัทธิยาซีดี, ศาสนามันดาอี, ลัทธิชะบัก และลัทธิยาร์ซาน

อิสลาม

เมืองกัรบะลาอ์

มุสลิมในประเทศอิรักนับถือศาสนาอิสลามสองแบบคือ ชีอะฮ์และซุนนี รายงานจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊กของซีไอเอ ร้อยละ 99 ของชาวอิรักเป็นมุสลิม: อิรักเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางศาสนาหลายแห่งทั้งซุนนีและชีอะฮ์ แบกแดดเคยเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสนาอิสลามเป็นเวลาหลายศตวรรษและทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ เมืองกัรบะลาอ์โดดเด่นในกลุ่มชีอะฮ์จากผลของยุทธการที่กัรบะลาอ์ ซึ่งเริ่มในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 680 เช่นเดียวกันกับนาจาฟที่โดดเด่นจากการเป็นที่ฝังศพของอะลี อิบน์ อะบีฏอลิบ (หรือ"อิหม่ามอะลี") ที่ชาวกูฟะฮ์ทรยศและฆ่าท่าน ชีอะฮ์ถือว่าอะลีเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่เที่ยงธรรมและเป็นอิหม่ามคนแรก ปัจจุบันตัวเมืองเป็นศูนย์กลางขนาดใหญ่สำหรับผู้แสวงบุญจากทั่วโลกชีอะฮ์ แม้ว่าจะมีการโต้แย้งเรื่องสุสานของท่าน และมีการประมาณการว่ามีแค่มักกะฮ์และมะดีนะฮ์เท่านั้นที่สามารถรับผู้แสวงบุญได้ เมืองกูฟะฮ์เป็นบ้านเกิดของอะบูฮะนีฟะฮ์ นักวิชาการซุนนี เช่นเดียวกันกับซามัรรออ์ที่เป็นที่ตั้งของมัสยิดอัลอัสกะรี ซึ่งมีสุสานของอะลี อัลฮาดีกับฮะซัน อัลอัสกะรี อิหม่ามคนที่ 10 กับ 11 ตามลำดับ กับศาลเจ้ามุฮัมมัด อัลมะฮ์ดี ซึ่งเป็น"อิหม่ามซ่องเร้น" ผู้เป็นอิหม่ามคนที่ 12 และคนสุดท้ายของชีอะฮ์มัซฮับญะอ์ฟารี นอกจากนี้ ญาติฝ่ายหญิงของศาสดามุฮัมมัดถูกฝังที่ซามัรรออ์ด้วย ทำให้ตัวเมืองมีสถานที่สำคัญทั้งฝ่ายชีอะฮ์กับซุนนี

นอกจากนี้ยังมีลัทธิขนาดเล็กนประเทศนี้ด้วย เช่นชัยคียะฮ์ของชีอะฮ์ในบัสรากับกัรบะลาอ์

เคิร์ด

ร้อยละ 98 ของชาวอิรักเชื้อสายเคิร์ดเป็นมุสลิม โดยเป็นชีอะฮ์เฟย์ลีร้อยละ 2[3] ส่วนใหญ่อาศัยอยูทางเหนือของประเทศ ชาวอิรักเชื้อสายเคิร์ดส่วนใหญ่นับถือมัซฮับชะฟิอี ในขณะที่บางส่วนนัับถือมัซฮับกอดิรียะฮ์หรือนักชะบันดี[4]

เติร์กเมน/เตอร์โกแมน

ชาวอิรักเชื้อสายเติร์กเมนประมาณร้อยละ 75 เป็นมุสลิมนิกายซุนนี ส่วนประมาณร้อยละ 25 เป็นชีอะฮ์[5][6] โดยรวมแล้ว ชาวอิรักเชื้อสายเติร์กเมนส่วนใหญ่เป็นฆราวาส[5] ปัจจัยทางศาสนาและชนเผ่าในวัฒนธรรมการเมืองอิรักไม่ส่งผลทั่งฝ่ายซุนนีและชีอะฮ์[7]

คริสต์

โบสถ์ลาตินในแบกแดด
อาสนวิหารซัยยิดะตุนนิญาตที่แบกแดด

ศาสนาคริสต์เริ่มเข้ามาในประเทศอิรักใน ค.ศ. 40 โดยโธมัสอัครทูต, ธัดแดอุสแห่งเอเดซซา กับอักกากีและมารี ศิษย์ของท่าน โธมัสกับธัดแดอุสเป็นสองในสิบสองอัครทูตของพระเยซู[8] ชาวอัสซีเรียมีเกือบร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด (แฟกต์บุ๊กของซีไอฉบับแรก ๆ) ส่วนใหญ่อยู่ในอิรักตอนเหนือ ปัจจุบันไม่มีการบันทึกสถิติทางการ โดยใน ค.ศ. 1950 มีชาวคริสต์ร้อยละ 10–12 ของประชากร 5.0 ล้านคน จนกระทั่งมีชาวคริสต์ 1.5 ล้านคนจากประชากร 26 ล้านคนใน ค.ศ. 2003 นับตั้งแต่สงครามอิรักใน ค.ศ. 2003 ก็ไมมีการทำสำมะโนอีกเลย โดยมีชาวคริสต์ในอิรักประมาณ 1.2–2.1 ล้านคน

ปัจจุบันชาวคริสต์ในประเทศอิรักมีอยู่ 4 นิกาย:

ลัทธิยาซีดี

ผู้นำยาซีดีพบกับอัครบิดรแคลเดียน เอาดิชูที่ 5 ค็อยยาฏที่โมซูล, ป. ค.ศ. 1895

ยาซีดีเป็นกลุ่ม[9]ที่มีผู้นับถือมากกว่า 650,000 คน โดยมีเมืองโมซูลเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ ศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์ของยาซีดีคือชัยค์อะดีที่เนโครโปลิส ลาลิช

โซโรอัสเตอร์

ศาสนาโซโรอัสเตอร์เคยเป็นหนึ่งในศาสนาที่มีผู้นับถือมากในเคอร์ดิสถานก่อนที่ศาสนาอิสลามจะมาที่นี่ ปัจจุบัน[10] ศาสนาโซโรอัสเตอร์เป็นศาสนาที่ได้รับการยอมรับในเคอร์ดิสถานในประเทศอิรักและประเทศอิหร่าน

โซโรอัสเตอร์เป็นศาสนาเติบโตเร็วสุดในชาวเคิร์ด โดยเฉพาะในภาคเหนือของประเทศอิรัก[11] เพราะพันธะทางศาสนากับวัฒนธรรมเคิร์ด และในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 รัฐบาลภูมิภาคเคอร์ดิสถานยอมรับศาสนาโซโรอัสเตอร์เป็นศาสนาในเคอร์ดิสถานส่วนประเทศอิรัก[12] รายงานจากยัสนา สมาคมที่สนับสนุนศาสนาโซโรอัสเตอร์ในเคอร์ดิสถาน ตั้งแต่ ค.ศ. 2014 มีผู้เข้าร่วมมูลนิธิประมาณ 15,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวเคิร์ดที่เคยนับถือศาสนาอิสลาม[13][14][15] ชาวอิรักในเคอร์ดิสถานเริ่มเข้ารีตจากอิสลามไปนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ตั้งแต่ ค.ศ. 2015 ้เป็นต้นมา โดยมีการสร้างวิหารไฟแรกที่เปิดตัวใน ค.ศ. 2016[16]

ชาวเคิร์ดหลายคนหันไปนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ โดยเฉพาะหลังจากการโจมตีเคอร์ดิสถานของไอซิล[17][18] การที่มุสลิมชาวเคิร์ดเปลี่ยนมานับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์มากขึ้น ความเชื่อจากบรรพบุรุษของพวกเขา ส่วนใหญ่มาจากความหมดหวังต่อศาสนาอิสลามหลังจากการก่อความรุนแรงและความป่าเถื่อนที่เตรียมการโดยกลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์เป็นเวลาหลายปี[19][20]

ในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2016 มีการเปิดตัววิหารไฟของเคอร์ดิสถานในประเทศอิรักแห่งแรกที่อัซซุลัยมานียะฮ์ ผู้เข้าร่วมฉลองด้วยการจุดไฟพิธีและตีกลอง[21]

ไม่มีการนับจำนวนผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์อย่างถูกต้อง เพราะเอกสารรัฐบาลมักใส่ชื่อพวกเขาเป็น"มุสลิม"แทน[22]

ศาสนามันเดอี

ศาสนามันดาอีเป็นศาสนาที่นับถือโดยชาวมันดาอีทางใต้ของอิรัก รายงานจากฮาวัน กาไวตา มีข้อความกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของชาวมันดาอี โดยพวกเขามาที่จักรวรรดิพาร์เธียในรัชสมัยอาร์ธาบานุสที่ 2 และต่อมาค่อยอพยพไปที่บาบิโลเนียใต้[23][24] อย่างไรก็ตาม ชาวมันดาอีเชื่อว่าศาสนาของตนมีมาก่อนศาสนายูดาห์และคริสต์ โดยสามารถสืบไปได้ถึงศาสดาอาดัม[25] มีชาวมันดาอีอาศัยอยู่ในประเทศอิรักประมาณ 60,000 คนก่อนสงครามอิรักใน ค.ศ. 2003 [26][27]

ยูดาห์

ศาสนายูดาห์เริ่มมาที่อิรักในรัชสมัยของกษัตริย์บาบิโลน พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 หลังสงครามหกวันในประเทศอิสราเอล การก่อกบฏทำให้ชาวยิวเริ่มอพยพออกไป ปัจจุบันมีชาวยิวในแบกแดดประมาณ 8 คน (2007),[28] 7 คน (2008)[29] และ 5 คน (2013) [ต้องการอ้างอิง] ในสถานีกองทัพสหรัฐที่ประเทศอิรัก มีอนุศาสนาจารย์ยิวเพียงแค่ 3 คนเท่านั้น[30]

อ้างอิง

  1. https://www.cia.gov/the-world-factbook/countries/iraq/
  2. "The World Factbook". CIA.
  3. Szanto, Edith (2020), Lukens-Bull, Ronald; Woodward, Mark (บ.ก.), "Islam in Kurdistan: Religious Communities and Their Practices in Contemporary Northern Iraq", Handbook of Contemporary Islam and Muslim Lives (ภาษาอังกฤษ), Cham: Springer International Publishing, pp. 1–16, doi:10.1007/978-3-319-73653-2_88-1, ISBN 978-3-319-73653-2, สืบค้นเมื่อ 2020-12-09
  4. Szanto, Edith (2020), Lukens-Bull, Ronald; Woodward, Mark (บ.ก.), "Islam in Kurdistan: Religious Communities and Their Practices in Contemporary Northern Iraq", Handbook of Contemporary Islam and Muslim Lives (ภาษาอังกฤษ), Cham: Springer International Publishing, pp. 1–16, doi:10.1007/978-3-319-73653-2_88-1, ISBN 978-3-319-73653-2, สืบค้นเมื่อ 2020-12-09
  5. 5.0 5.1 Oğuzlu, Tarik H. (2004), "Endangered community:The Turkoman identity in Iraq", Journal of Muslim Minority Affairs, Routledge, 24 (2): 313
  6. Jawhar, Raber Tal'at (2010), "The Iraqi Turkmen Front", ใน Catusse, Myriam; Karam, Karam (บ.ก.), Returning to Political Parties?, The Lebanese Center for Policy Studies, pp. 313–328, ISBN 1-886604-75-4
  7. Oğuzlu 2004, 314.
  8. Suha Rassam. Christianity in Iraq. Gracewing Publications. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-21.
  9. "Yezidi Identity Politics and Political Ambitions in the Wake of the ISIS Attack". Journal of Balkan and Near Eastern Studies. 20 (5): 427. 2018. doi:10.1080/19448953.2018.1406689.
  10. Stewart, Sarah; Hintze, Almut; Williams, Alan (2016). The Zoroastrian Flame: Exploring Religion, History and Tradition. London: I.B Tauris. ISBN 9781784536336.
  11. Szanto, Edith (2018-05-15). ""Zoroaster was a Kurd!": Neo-Zoroastrianism among the Iraqi Kurds". Iran and the Caucasus. 22 (1): 96–110. doi:10.1163/1573384X-20180108. ISSN 1609-8498.
  12. PS21 (2015-11-26). "The curious rebirth of Zoroastrianism in Iraqi Kurdistan". PS21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-17. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.
  13. www.israelhayom.com https://www.israelhayom.com/2020/10/02/zoroastrians-make-comeback-in-northern-iraq-but-still-face-stigma/. สืบค้นเมื่อ 2020-10-20. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  14. "Zoroastrian faith returns to Kurdistan in response to ISIS violence". Rudaw. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-17. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.
  15. "Hamazor Issue #2 2017: "Kurdistan reclaims its ancient Zoroastrian Faith" (PDF). Hamazor. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-30.
  16. "Converts must die: Kurdistan's Zoroastrians outraged by Islamic preacher". Rudaw. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-17. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.
  17. "Head of Zoroastrian temple says people are returning to their roots". Rudaw. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-27.
  18. "Zoroastrianism in Iraq seeks official recognition - Al-Monitor: the Pulse of the Middle East". Al-Monitor. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-16.
  19. "Iraqi Kurds turn to Zoroastrianism as faith, identity entwine". France24. 23 October 2019.
  20. Fatah, Lara. "The curious rebirth of Zoroastrianism in Iraqi Kurdistan". Projects 21. สืบค้นเมื่อ 14 October 2020.
  21. "Hopes for Zoroastrianism revival in Kurdistan as first temple opens its doors". Rudaw. 2016-09-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-26. สืบค้นเมื่อ 2016-10-08.
  22. "Zoroastrianism in Iraq seeks official recognition". Al-Monitor (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-02-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-08. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.
  23. Buckley, Jorunn Jacobsen. The Mandaeans: Ancient Texts and Modern People. Oxford University Press, 2002.p4
  24. Buckley, Jorunn Jacobsen(2010). Turning the Tables on Jesus: The Mandaean View. In Horsley, Richard (March 2010). Christian Origins. ISBN 9781451416640.(pp94-11). Minneapolis: Fortress Press
  25. "The People of the Book and the Hierarchy of Discrimination".
  26. Iraqi minority group needs U.S. attention เก็บถาวร 2007-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Kai Thaler, Yale Daily News, 9 March 2007.
  27. "Save the Gnostics" by Nathaniel Deutsch, 6 October 2007, New York Times.
  28. "The Last Jews of Baghdad". Time. July 27, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2011.
  29. Baghdad Jews Have Become a Fearful Few เก็บถาวร 2017-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The New York Times
  30. "American Soldiers in Iraq Enlist in a Different Kind of Service". Jewish Daily Forward. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-12.
Kembali kehalaman sebelumnya