Share to:

 

สมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์

สมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 มกราคม พ.ศ. 2482 (85 ปี)
จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองรวมไทย (2530–2531)
เอกภาพ (2531–2534)
สามัคคีธรรม (2534–2535)
ชาติพัฒนา (2535–2538)
ชาติไทย (2538–2539)
ความหวังใหม่ (2539–2545)
ไทยรักไทย (2545–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2554, 2561–2565)
ภูมิใจไทย (2554–2561, 2565—ปัจจุบัน)
คู่สมรสอำพล วันไชยธนวงศ์
บุตร

สมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์ (เกิด 15 มกราคม พ.ศ. 2482) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวม 8 สมัย โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 6 สมัย

ประวัติ

สมบูรณ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เขามีบุตร-ธิดา 4 คน ประกอบไปด้วย

  • นิมิต วันไชยธนวงศ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี
  • อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย[1]
  • อัครเดช วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • สุธีระพงศ์ วันไชยธนวงศ์ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย[2]

นอกจากนี้ นายสมบูรณ์ มีศักดิ์เป็นอาของ อดุลย์ วันไชยธนวงศ์ อดีต สส.แม่ฮ่องสอน และ รังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ สส.เชียงราย[3]

การเมือง

สมบูรณ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงรายครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 สังกัดพรรครวมไทย (ต่อมายุบรวมเป็นพรรคเอกภาพ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคชาติพัฒนา

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 ได้รับเลือกตั้งในนามพรรคชาติไทย และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคความหวังใหม่ หลังจากนั้นได้มีการยุบพรรคคความหวังใหม่เข้ารวมกับพรรคไทยรักไทย ของ ทักษิณ ชินวัตร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 นายสมบูรณ์จึงได้ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งในนามพรรคไทยรักไทย

ต่อมาเมื่อมีการยุบพรรคไทยรักไทย เขาและสมาชิกส่วนใหญ่จึงย้ายไปร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบสัดส่วน แทนสมาชิกที่ลาออกไปเป็นรัฐมนตรี[4] เมื่อปี พ.ศ. 2551

ในปี พ.ศ. 2554 นายสมบูรณ์ได้เข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย และลงสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ[5] ลำดับที่ 17 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

สมบูรณ์ เคยได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองในหลายตำแหน่ง อาทิ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2538[6] ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (อนุสรณ์ วงศ์วรรณ) ในปี พ.ศ. 2539

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย คนใหม่ ที่ทาง กกต.ได้รับรองผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3
  2. กล้าท้าชน “ทักษิณ” บ้านใหญ่ “วันไชยธนวงศ์” ป่วน พท.เชียงราย
  3. เชียงรายเละ 'สะใภ้สมพงษ์' ปะทะ 'วันไชยธนวงศ์'
  4. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง
  5. 2 พี่น้องตระกูล “วันไชยธนวงศ์” เปิดใจศึกสายเลือดเขต 4 เชียงราย
  6. คำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ ๒๙๖/๒๕๓๘ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายกันตธีร์ ศุภมงคล, นายเรวัต สิรินุกูล, นายสมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
Kembali kehalaman sebelumnya