Share to:

 

สมัยกลางตอนปลาย

สมัยกลางตอนปลาย
ภูมิภาคยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน
ภูมิภาคยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน ค.ศ. 1328

ยุโรปตะวันตก/กลาง
  จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
  ฝรั่งเศส
  กัสกอญ
  โบฮีเมีย
ยุโรปตะวันออก
  คณะอัศวินท็อยโท
  โกลเดนฮอร์ด
  เมืองขึ้นของโกลเดนฮอร์ด
  ฟีโอโดซียา
  รูทีเนีย/กาลิเซีย
  โปแลนด์
  มาโซเวีย
  วอลเลเกีย
  ฮาพส์บวร์ค
  ฮังการีและโครเอเชีย
  ลิทัวเนีย
คาบสมุทรอิตาลี
  ซิซิลี
  นาโปลี
  รัฐสันตะปาปา
  ซาร์ดิเนีย
  เวนิส
  เจนัว

คาบสมุทรไอบีเรีย
  อารากอน
  โปรตุเกส
  กัสติยา
  นาวาร์
  กรานาดา
ภูมิภาคนอร์ดิก
  เดนมาร์ก
  ไอซ์แลนด์
  นอร์เวย์
  สวีเดน
หมู่เกาะอังกฤษ
  อังกฤษและเวลส์
  ไอร์แลนด์
  สกอตแลนด์

คาบสมุรบอลข่าน/เอเชียตะวันตก
  รากูซา
  Cataro
  อะเคีย
  ดัชชีเอเธนส์
  จักรวรรดิไบแซนไทน์
  จักรวรรดิมัมลุก
  เซอร์เบีย
  รัฐเตอร์กิก
  บอสเนีย
  ครีต
  คณะอัศวินบริบาล
  วีดิน
  บัลแกเรีย
  ไซปรัส
  Ilkhan Empire
  จอร์เจีย
  เทรบิซอนด์
แอฟริกาเหนือ
  ตูนิส
  ราชวงศ์มารินิด
  Zayyanids
  ราชวงศ์ฮาฟซิด

สมัยกลางตอนปลาย คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรปที่กินเวลาระหว่าง ค.ศ. 1250 จนถึง ค.ศ. 1500 โดยเป็นยุคสมัยที่ต่อเนื่องมาจากสมัยกลางตอนกลาง และเป็นยุคสมัยก่อนสมัยใหม่ตอนต้น (ซึ่งในยุโรปส่วนใหญ่นั้นเรียกว่าสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา)[1]

ในราว ค.ศ. 1300 ยุคสมัยความรุ่งเรื่องและเติบโตในยุโรปนั้นดำเนินมาจนถึงจุดหยุดนิ่ง โดยเกิดทั้งเหตุการณ์ขาดแคลนอาหารและโรคระบาดต่าง ๆ รวมถึงทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ ค.ศ. 1315–1317 และกาฬมรณะ อันเป็นเหตุให้ประชากรในยุโรปนั้นลดลงกว่าครึ่งหนี่งจากสมัยก่อนหน้า[2] ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบต่าง ๆ และการติดพันในสงครามต่าง ๆ ด้วย

ฝรั่งเศสและอังกฤษประสบกับเหตุความไม่สงบอย่างรุนแรงจากชาวนา เช่น สงคราวชาวนาฝรั่งเศส สงคราวชาวนาอังกฤษ รวมทั้งความไม่สงบสืบเนื่องจากการสงครามต่าง ๆ กินเวลาต่อเนื่องกว่าศตวรรษ (สงครามร้อยปี) นอกจากนี้แล้วคริสตจักรคาทอลิกยังถูกท้าทายด้วยศาสนเภทตะวันตก โดยมักเรียกเหตุการณ์สำคัญต่างๆ นี้รวมกันว่าวิกฤติกาลของปลายสมัยกลางของยุโรป[3]

นอกเหนือจากวิกฤติกาลต่างๆ นั้น ศตวรรษที่ 14 ยังเป็นช่วงเวลาของความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ด้วย อันสืบเนื่องมาจากการกลับมาสนใจในบันทึกโบราณในสมัยกรีกและโรมันโดยมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงสมัยกลางตอนเฟื่องฟู จึงทำให้เกิดสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีขึ้น การเริ่มกลับมาศึกษาบันทึกภาษาลาตินได้เริ่มขึ้นก่อนหน้าในช่วงสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาในศตรวรรษที่ 12 ผ่านทางการติดต่อค้าขายกับชาวอาหรับในช่วงสงครามครูเสด ส่วนที่มาของบันทึกกรีกอันสำคัญนั้นมาจากการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลโดยจักรวรรดิออตโตมันซึ่งในเหตุการณ์นี้เหล่านักปราชญ์ชาวไบแซนไทน์ได้ลี้ภัยสงครามมายังตะวันตกโดยเฉพาะในอิตาลีเป็นสำคัญ[4]

ประกอบกับแนวคิดสมัยคลาสสิกต่างๆ ที่มีอิทธิพลมากขึ้นรวมถึง การคิดค้นเครื่องพิมพ์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเผยแพร่แนวคิดด้านประชาธิปไตยผ่านทางงานพิมพ์ ซึ่งนำไปสู่การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ในที่สุด และในช่วงปลายสมัยนี้ ยุคแห่งการค้นพบ ก็ได้อุบัติขึ้น โดยการขยายอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันได้ตัดขาดการพาณิชย์ระหว่างยุโรปกับประเทศตะวันออกอย่างสิ้นเชิง ชาวยุโรปจึงต้องแสวงหาเส้นทางการค้าใหม่ๆ ซึ่งทำให้เกิดการสำรวจเส้นทางเดินเรือโดยชาวสเปนภายใต้การนำของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสที่ค้นพบทวีปอเมริกาในปีค.ศ. 1492 และวัชกู ดา กามาที่เดินทางไปยังแอฟริกาและอินเดียในปีค.ศ. 1498 การค้นพบใหม่ๆ นี้ทำให้เศรษฐกิจและอำนาจของชาติต่างๆ ในยุโรปนั้นมีความเข้มแข็งขึ้น

ประวัติศาสตร์

ยุโรปเหนือ

ยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ

ยุโรปตะวันตก

ยุโรปกลาง

ยุโรปตะวันออก

ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้

ยุโรปตะวันตกเฉียงใต้

ประวัติศาสตร์สงคราม

ความขัดแย้งและการปฎิรูปทางศาสนา

ศาสนเภทพระสันตะปาปา

การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์

การค้าและพาณิชย์

ศิลปะและวิทยาศาสตร์

ปรัชญา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

ทัศนศิลป์ และสถาปัตยกรรม

วรรณกรรม

ดนตรี

การแสดง

อ้างอิง

  1. Wallace K. Ferguson, Europe in transition, 1300-1520 (1962) online.
  2. Austin Alchon, Suzanne (2003). A pest in the land: new world epidemics in a global perspective. University of New Mexico Press. p. 21. ISBN 0-8263-2871-7.
  3. Norman Cantor, The Civilization of the Middle Ages (1994) p. 480.
  4. Cantor, p. 594.
Kembali kehalaman sebelumnya