โกลเดนฮอร์ด
โกลเดนฮอร์ด (มองโกเลีย: Алтан Орд, Altan Ord; ตาตาร์: Алтын Урда, Altın Urda; รัสเซีย: Золотая Орда, Zolotaya Orda, อังกฤษ: Golden Horde หรือ Ulus of Jochi) เป็นคำที่สลาฟตะวันออกใช้เรียกมองโกล[1][2][3]—ที่ต่อมากลายเป็นกลุ่มชนเติร์ก[4]—มุสลิม[5] อาณาจักรข่านก่อตั้งขึ้นทางตะวันตกของจักรวรรดิมองโกลหลังจากการรุกรานของมองโกลในรุสในคริสต์ศตวรรษ 1240: ปัจจุบันคือบริเวณรัสเซีย, ยูเครน, มอลโดวา, คาซัคสถาน, และ คอเคซัส โกลเดนฮอร์ดบางครั้งก็เรียกว่า Jochi Ulus[4] หรือ อาณาจักรข่านคิพชัค (Kipchak Khanate) (คนละอาณาจักรข่านคิพชัคก่อนหน้านั้นที่ถูกพิชิตโดยมองโกล) อาณาบริเวณของโกลเดนฮอร์ดในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดครอบคลุมดินแดนเกือบทั้งหมดของยุโรปตะวันออกตั้งแต่เทือกเขายูรัลไปจนถึงแม่น้ำดานูบ ทางตะวันออกลึกเข้าไปในไซบีเรีย ทางตอนใต้จรดทะเลดำ, เทือกเขาคอเคซัส และดินแดนของราชวงศ์มองโกลที่เรียกว่าจักรวรรดิข่านอิล (Ilkhanate)[4] ที่มาของคำว่า “โกลเดนฮอร์ด” ไม่เป็นที่ทราบแน่นอน นักวิชาการบางคนเชื่อว่าเป็นชื่อที่หมายถึงแค้มพ์บาตูและต่อมาประมุขของกลุ่มฮอร์ด ในมองโกเลีย “Altan Orda” หมายถึงแค้มพ์ทอง หรือ วัง (มองโกเลีย: Алтан Ордон, Altan Ordon = สุวรรณปราสาท) นอกจากนั้นคำว่า “Altan” ที่แปลว่าทองก็ยังเป็นสีที่สงวนสำหรับพระมหากษัตริย์ แหล่งข้อมูลอื่นกล่าวถึงบาตูว่ามีเต้นท์สีทอง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “โกลเดนฮอร์ด” ในข้อมูลร่วมสมัย “โกลเดนฮอร์ด” หมายถึง “อาณาจักรข่านแห่งคิพชัค” (Khanate of the Qipchaq) เช่นคิพชัคเติร์กที่ส่วนใหญ่เป็นชนเร่ร่อนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น (Ulus Jochid)[3] อ้างอิง
ดูเพิ่ม |