หมาบ้านช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อย่างน้อย 14,200 ปีก่อน - ปัจจุบัน[ 1]
สถานะการอนุรักษ์
สัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน:
ยูแคริโอตา Eukaryota
อาณาจักร:
สัตว์ Animalia
ไฟลัม:
สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata
ชั้น:
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia
อันดับ:
สัตว์กินเนื้อ Carnivora
วงศ์:
Canidae
สกุล:
Canis Linnaeus , 1758[ 2]
สปีชีส์:
Canis familiaris
ชื่อทวินาม
Canis familiaris Linnaeus , 1758[ 2]
ชื่อพ้อง [ 3]
C. aegyptius Linnaeus, 1758
C. alco C. E. H. Smith , 1839,
C. americanus Gmelin , 1792
C. anglicus Gmelin, 1792
C. antarcticus Gmelin, 1792
C. aprinus Gmelin, 1792
C. aquaticus Linnaeus, 1758
C. aquatilis Gmelin, 1792
C. avicularis Gmelin, 1792
C. borealis C. E. H. Smith, 1839
C. brevipilis Gmelin, 1792
C. cursorius Gmelin, 1792
C. domesticus Linnaeus, 1758
C. extrarius Gmelin, 1792
C. ferus C. E. H. Smith, 1839
C. fricator Gmelin, 1792
C. fricatrix Linnaeus, 1758
C. fuillus Gmelin, 1792
C. gallicus Gmelin, 1792
C. glaucus C. E. H. Smith, 1839
C. graius Linnaeus, 1758
C. grajus Gmelin, 1792
C. hagenbecki Krumbiegel, 1950
C. haitensis C. E. H. Smith, 1839
C. hibernicus Gmelin, 1792
C. hirsutus Gmelin, 1792
C. hybridus Gmelin, 1792
C. islandicus Gmelin, 1792
C. italicus Gmelin, 1792
C. laniarius Gmelin, 1792
C. leoninus Gmelin, 1792
C. leporarius C. E. H. Smith, 1839
C. lupus familiaris Linnaeus,1758
C. major Gmelin, 1792
C. mastinus Linnaeus, 1758
C. melitacus Gmelin, 1792
C. melitaeus Linnaeus, 1758
C. minor Gmelin, 1792
C. molossus Gmelin, 1792
C. mustelinus Linnaeus, 1758
C. obesus Gmelin, 1792
C. orientalis Gmelin, 1792
C. pacificus C. E. H. Smith, 1839
C. plancus Gmelin, 1792
C. pomeranus Gmelin, 1792
C. sagaces C. E. H. Smith, 1839
C. sanguinarius C. E. H. Smith, 1839
C. sagax Linnaeus, 1758
C. scoticus Gmelin, 1792
C. sibiricus Gmelin, 1792
C. suillus C. E. H. Smith, 1839
C. terraenovae C. E. H. Smith, 1839
C. terrarius C. E. H. Smith, 1839
C. turcicus Gmelin, 1792
C. urcani C. E. H. Smith, 1839
C. variegatus Gmelin, 1792
C. venaticus Gmelin, 1792
C. vertegus Gmelin, 1792
หมา หรือคำสุภาพว่า สุนัข (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canis familiaris [ 4] หรือ Canis lupus familiaris ) เป็นสัตว์ที่สืบเชื้อสายมาจากหมาป่า ที่ปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง ที่มักชูหางขึ้นสูง หมาสืบสายพันธุ์ จากหมาป่าโบราณ ที่สูญพันธุ์แล้ว[ 6] [ 7] และญาติใกล้ชิดกับหมาที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่คือหมาป่า สมัยใหม่[ 8] หมาเป็นสัตว์สปีชีส์ แรกที่ถูกปรับเป็นสัตว์เลี้ยง [ 9] [ 8] ให้กับคนเก็บของป่าล่าสัตว์ เมื่อมากกว่า 15,000 ปีก่อน[ 7] ซึ่งอยู่ก่อนหน้าการพัฒนาด้านเกษตรกรรม[ 1]
เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์เป็นเวลายาวนาน ทำให้หมากลายเป็นสัตว์เลี้ยงของคนจำนวนมาก[ 10] และสามารถเจริญเติบโตด้วยอาหารที่อุดมไปด้วยแป้ง ซึ่งสำหรับวงศ์สุนัข อื่น ๆ ถือว่าไม่เพียงพอ[ 11] หลายสหัสวรรษถัดมา หมาเริ่มปรับพฤติกรรมให้เข้ากับพฤติกรรมของมนุษย์โดยเฉพาะ และพันธะระหว่างมนุษย์-วงศ์สุนัข ยังคงเป็นหัวข้องานวิจัย[ 12]
หมาถูกคัดเลือกผสมพันธุ์ มาเป็นเวลาพันปีจนมีพฤติกรรม การรับรู้ทางประสาทสัมผัส และลักษณะทางกายภาพที่หลากหลาย[ 13] พันธุ์หมา มีรูปร่าง ขนาด และสีต่างกัน โดยมีบทบาทต่อมนุษย์หลายแบบ เช่น ล่าสัตว์ , ไล่ต้อน , ลากสิ่งของ , ป้องกันสถานที่ , ช่วยเหลือตำรวจ และทหาร , เพื่อนมิตร , รักษา และช่วยเหลือคนพิการ อิทธิพลต่อสังคมมนุษย์เหล่านี้ทำให้มันได้รับฉายา "เพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์"
บรรพบุรุษและที่มาของความเชื่อง
วิวัฒนาการด้านโมเลกุล ของหมาชี้ให้เห็นว่าหมาเลี้ยงนั้น (Canis lupus familiaris ) สืบทอดมาจากจำนวนประชากร หมาป่า (Canis lupus ) เพียงตัวเดียวหรือหลายตัว สะท้อนให้เห็นถึงการตั้งชื่อพวกมัน หมาสืบทอดจากหมาป่าและหมาธรรมดาสามารถผสมข้ามพันธุ์กับหมาป่าได้ด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับหมานั้นถูกฝังลึกในด้านโบราณคดีและหลักฐานที่ตรงกันชี้ให้เห็นช่วงเวลาของการทำให้หมาเชื่องในยุคหินใหม่ ใกล้ ๆ กับขอบเขตของช่วงเพลสโตซีน และโฮโลซีน ในระหว่าง 17,000 - 14,000 ปีมาแล้ว ซากกระดูกฟอสซิล และการวิเคราะห์ยีน ของหมาในยุคอดีตกับปัจจุบัน และประชากรหมาป่ายังไม่ถูกค้นพบ หมาทั้งหมดสืบอายุอาจเกิดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เชื่องด้วยตัวเองหรือไม่ก็ได้ถูกทำให้เชื่องด้วยตัวมันเองในพื้นที่มากกว่าหนึ่งพื้นที่ หมาที่ถูกเลี้ยงให้เชื่องแล้วอาจจะผสมข้ามพันธุ์กับประชากรหมาป่าที่อยู่ในถิ่นนั้น ๆ ในหลาย ๆ โอกาส กระบวนการนี้รู้จักในทางทางพันธุศาสตร์ ว่า อินโทรเกรสชัน (Introgression)
ในยุคแรก ๆ ฟอสซิลหมา กะโหลก 2 จากรัสเซีย และขากรรไกรล่างจากเยอรมนี พบเมื่อ 13,000 ถึง 17,000 ปีมาแล้ว บรรพบุรุษของมันเป็นหมาป่าโฮลาร์กติก (Canis lupus lupus ) ซากศพของหมาตัวเล็กจากถ้ำของสมัยวัฒนธรรมนาทูเฟียน ของยุคหินได้ถูกเก็บไว้ในแถบตะวันออกกลาง มีอายุราว 12,000 ปีมาแล้ว เข้าใจว่าเป็นทายาท มาจากหมาป่าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาพศิลปะบนหินและซากกระดูกชี้ให้เห็นว่า เป็นเวลากว่า 14,000 ปีมาแล้วที่หมาในที่นี้กำเนิดจากแอฟริกาเหนือข้ามยูเรเชีย ไปถึงอเมริกาเหนือ หลุมฝังศพหมาที่สุสานยุคหินของเมืองสแวร์ดบอร์กในประเทศเดนมาร์ก ทำให้นึกไปถึงในยุคยุโรปโบราณว่าหมามีค่าเป็นถึงเพื่อนร่วมทางของมนุษย์
การวิเคราะห์ ทางยีนได้ให้ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่เหมือนกันมาจนถึงทุกวันนี้ วิล่า ซาโวไลเนน และเพื่อนร่วมงาน พ.ศ. 2540 สรุปว่าบรรพบุรุษของหมาได้แยกออกจากหมาป่าชนิดอื่น ๆ มาเป็นเวลาระหว่าง 75,000 ถึง 135,000 ปีมาแล้ว เมื่อผลการวิเคราะห์ที่ตามมาโดยซาโวไลเนน พ.ศ. 2545 ชี้ให้เห็น เผ่าพันธุ์ดั้งเดิมจากกลุ่มยีนสำหรับประชากรหมาทั้งหมด ระหว่าง 40,000 ถึง 15,000 ปีมาแล้ว ในเอเชียตะวันออก เวอร์จีเนลลี่ พ.ศ. 2548 แนะนำว่าอย่างไรก็ดี ช่วงเวลาของทั้งคู่จะต้องถูกประเมินผลอีกครั้งในการค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นว่า นาฬิกาโมเลกุล แบบเก่าที่ใช้วัดเวลานั้นได้กะเวลายุคสมัยของเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา เกินความจริง โดยในความจริง และในการเห็นพ้องกันว่าด้วยเรื่องหลักฐานทางโบราณคดี เป็นเวลาเพียง 15,000 ปีเท่านั้นที่ควรจะเป็นช่วงชีวิตสำหรับความหลากหลายของของหมาป่า
สหภาพโซเวียต เคยพยายามนำหมาจิ้งจอก มาเลี้ยงให้เชื่อง เช่นในหมาจิ้งจอกเงิน และสามารถนำมันมาเลี้ยงได้เพียงแค่ 9 ชั่วอายุของมันหรือน้อยกว่าอายุขัยของมนุษย์ นี่ยังเป็นผลในการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น เช่น สี ที่จะกลายเป็นสีดำ สีขาว หรือสีดำปนขาว พวกมันได้พัฒนาความสามารถในการขยายพันธุ์ตลอดปี หางที่โค้งงอมากขึ้น และหูที่ดูเหี่ยวย่นเหมือน อวัยวะเพศชาย
ชีววิทยา
กายวิภาคศาสตร์
หมาถูกคัดเลือกผสมพันธุ์มาเป็นเวลาพันปีเพื่อให้มีพฤติกรรมหลากหลาย การรับรู้ความรู้สึก และลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน[ 13] หมาสายพันธุ์ ต่าง ๆ ในสมัยใหม่มีขนาด รูปร่าง และพฤติกรรมหลากหลายกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น[ 13] หมาเป็นทั้งนักล่า และสัตว์กินซาก และมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง กระดูกข้อเท้าเชื่อมกัน และระบบหมุนเวียนเลือดที่ช่วยในการวิ่งและความอดทน และมีฟันที่ใช้จับและฉีกให้ขาด เช่นเดียวกับสัตว์นักล่าที่เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น
ขนาดและส่วนสูง
หมามีขนาดและน้ำหนักแตกต่างกัน หมาตัวเล็กที่สุดที่รู้จักกันคือหมาพันธุ์ยอร์กเชอร์เทร์เรียร์ เมื่อยืนอยู่จะสูง 6.3 เซนติเมตร ยาว 9.5 เซนติเมตร ตลอดทั้งหัวและลำตัว และหนัก 113 กรัม หมาตัวใหญ่ที่สุดที่รู้จักคือหมาพันธุ์อิงลิชมาสติฟ หนัก 177.6 กิโลกรัม และความยาวจากจมูกถึงหาง 250 เซนติเมตร[ 14] หมาที่สูงที่สุดคือหมาพันธุ์เกรตเดน เมื่อยืนอยู่สูง 195.7 เซนติเมตร[ 15]
ประสาทสัมผัส
ประสาทสัมผัสของหมา ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การรับรู้รสชาติ การสัมผัสและการตอบสนองไวต่อสนามแม่เหล็กของโลก
หาง
หมามีหางหลายรูปร่าง ได้แก่ ตรง ตรงตั้งขึ้น โค้งคล้ายเคียว ม้วนเป็นวง หรือหมุนเป็นเกลียว หน้าที่หลักของหางหมาคือสื่อสารอารมณ์ของมัน เป็นสิ่งสำคัญกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ในหมานักล่าบางตัวถูกกุดหางเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ[ 16] หมาบางสายพันธุ์ เช่น Braque du Bourbonnais ลูกหมาอาจเกิดมามีหางสั้นหรือไม่มีหางเลยก็ได้[ 17]
สุขภาพ
พืชที่ปลูกตามบ้านเรือนหลายชนิดเป็นพิษกับร่างกายของหมา เช่น ต้นคริสต์มาส เบโกเนีย และว่านหางจระเข้ [ 18]
หมาบางสายพันธุ์มีแนวโน้มเจ็บป่วยเป็นโรคบางโรค เช่น ศอกและสะโพกเจริญผิดปกติ ตาบอด หูหนวก หลอดเลือดแดงตีบ ปากแหว่งเพดานโหว่ และกระดูกสะบ้าเคลื่อน
สติปัญญาและพฤติกรรม
หมาแต่ละตัวและแต่ละสายพันธุ์ มีสัญชาตญาณของตนเอง นับตั้งแต่เริ่มกระบวนการเปลี่ยนแปลง จากหมาป่ามาเป็นหมาเลี้ยง ได้มีการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์หมาสืบทอดกันมามากกว่า 4,000 ชั่วอายุ ทำให้ลักษณะร่างกายของหมาหลายสายพันธุ์ เปลี่ยนแปลงไปจากบรรพบุรุษของพวกมันอย่างมาก แต่หมาแต่ละสายพันธุ์ยังคงรักษาลักษณะพฤติกรรมของหมาป่าที่มันเคยเป็นไว้ได้ไม่มากก็น้อย ทั้งหมาป่าและหมาเลี้ยงมีวิธีสื่อสารโดยการเห่า การใช้ภาษากาย และสัญชาตญาณในการรวมกลุ่ม ทั้งนี้หมามีพฤติกรรมให้การสร้างอาณาเขตของมัน เช่น การฉี่รดตามที่ต่าง ๆ เพื่อบอกว่าตรงนี้เป็นเจ้าของ และการเดินเป็นวงกลมก่อนนอนเพื่อกระจายกลิ่นตัวไปรอบ ๆ และกำหนดอาณาเขตไม่ให้สัตว์ตัวอื่นเข้ามารบกวน
บทบาทกับมนุษย์
วัฒนธรรมของการเลี้ยงสุนัขนั้นมีมาตั้แต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยเดิมทีนั้นจะเป็นสุนัขป่า และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อมาอาศัยกับมนุษย์ ซึ่งสุนัขสั้นเป็นสัตว์ที่ถูกเอาไว้ใช้งาน เช่น เลี้ยงสุนัขไว้เพื่อออกล่าสัตว์ร่วมกับมนุษย์ เลี้ยงไว้เพื่อควบคุมหรือต้อนสัตว์ เลี้ยงไว้เพื่อเฝ้าบ้าน เป็นต้น
อาหาร
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 Thalmann, Olaf; Perri, Angela R. (2018). "Paleogenomic Inferences of Dog Domestication". ใน Lindqvist, C.; Rajora, O. (บ.ก.). Paleogenomics . Population Genomics. Springer, Cham. pp. 273–306. doi :10.1007/13836_2018_27 . ISBN 978-3-030-04752-8 .
↑ Linnæus, Carl (1758). Systema naturæ per regna tria naturæ, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis. Tomus I (ภาษาละติน) (10 ed.). Holmiæ (Stockholm): Laurentius Salvius. pp. 38–40. สืบค้นเมื่อ 11 February 2017 .
↑ Wozencraft, W. C. (2005). "Order Carnivora" . ใน Wilson, D. E. ; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 575–577. ISBN 978-0-8018-8221-0 . OCLC 62265494 . url=https://books.google.com/books?id=JgAMbNSt8ikC&pg=PA576
↑ Alvares, Francisco; Bogdanowicz, Wieslaw; Campbell, Liz A.D.; Godinho, Rachel; Hatlauf, Jennifer; Jhala, Yadvendradev V. ; Kitchener, Andrew C.; Koepfli, Klaus-Peter; Krofel, Miha; Moehlman, Patricia D.; Senn, Helen; Sillero-Zubiri, Claudio ; Viranta, Suvi; Werhahn, Geraldine (2019). "Old World Canis spp. with taxonomic ambiguity: Workshop conclusions and recommendations. CIBIO. Vairão, Portugal, 28th - 30th May 2019" (PDF) . IUCN/SSC Canid Specialist Group . สืบค้นเมื่อ 6 March 2020 .
↑ Bergström, Anders; Frantz, Laurent; Schmidt, Ryan; Ersmark, Erik; Lebrasseur, Ophelie; Girdland-Flink, Linus; Lin, Audrey T.; Storå, Jan; Sjögren, Karl-Göran; Anthony, David; Antipina, Ekaterina; Amiri, Sarieh; Bar-Oz, Guy; Bazaliiskii, Vladimir I.; Bulatović, Jelena; Brown, Dorcas; Carmagnini, Alberto; Davy, Tom; Fedorov, Sergey; Fiore, Ivana; Fulton, Deirdre; Germonpré, Mietje; Haile, James; Irving-Pease, Evan K.; Jamieson, Alexandra; Janssens, Luc; Kirillova, Irina; Horwitz, Liora Kolska; Kuzmanovic-Cvetković, Julka; Kuzmin, Yaroslav; Losey, Robert J.; Dizdar, Daria Ložnjak; Mashkour, Marjan; Novak, Mario; Onar, Vedat; Orton, David; Pasaric, Maja; Radivojevic, Miljana; Rajkovic, Dragana; Roberts, Benjamin; Ryan, Hannah; Sablin, Mikhail; Shidlovskiy, Fedor; Stojanovic, Ivana; Tagliacozzo, Antonio; Trantalidou, Katerina; Ullén, Inga; Villaluenga, Aritza; Wapnish, Paula; Dobney, Keith; Götherström, Anders; Linderholm, Anna; Dalén, Love; Pinhasi, Ron; Larson, Greger; Skoglund, Pontus (2020). "Origins and genetic legacy of prehistoric dogs" . Science . 370 (#6516): 557–564. doi :10.1126/science.aba9572 . PMC 7116352 . PMID 33122379 . S2CID 225956269 .
↑ 7.0 7.1 Frantz, Laurent A. F.; Bradley, Daniel G.; Larson, Greger; Orlando, Ludovic (2020). "Animal domestication in the era of ancient genomics" . Nature Reviews Genetics . 21 (#8): 449–460. doi :10.1038/s41576-020-0225-0 . PMID 32265525 . S2CID 214809393 .
↑ 8.0 8.1 Freedman, Adam H; Wayne, Robert K (2017). "Deciphering the Origin of Dogs: From Fossils to Genomes". Annual Review of Animal Biosciences . 5 : 281–307. doi :10.1146/annurev-animal-022114-110937 . PMID 27912242 .
↑ Larson G, Bradley DG (2014). "How Much Is That in Dog Years? The Advent of Canine Population Genomics" . PLOS Genetics . 10 (#1): e1004093. doi :10.1371/journal.pgen.1004093 . PMC 3894154 . PMID 24453989 .
↑ Ostrander, Elaine A.; Wang, Guo-Dong; Larson, Greger; Vonholdt, Bridgett M.; Davis, Brian W.; Jagannathan, Vidyha; Hitte, Christophe; Wayne, Robert K.; Zhang, Ya-Ping (2019). "Dog10K: An international sequencing effort to advance studies of canine domestication, phenotypes, and health" . National Science Review . 6 (#4): 810–824. doi :10.1093/nsr/nwz049 . PMC 6776107 . PMID 31598383 .
↑ Axelsson, E.; Ratnakumar, A.; Arendt, M.L.; Maqbool, K.; Webster, M.T.; Perloski, M.; Liberg, O.; Arnemo, J.M.; Hedhammar, Å.; Lindblad-Toh, K. (2013). "The genomic signature of dog domestication reveals adaptation to a starch-rich diet" . Nature . 495 (#7441): 360–364. Bibcode :2013Natur.495..360A . doi :10.1038/nature11837 . ISSN 0028-0836 . PMID 23354050 . S2CID 4415412 .
↑ Berns, G.S.; Brooks, A.M.; Spivak, M. (2012). Neuhauss, Stephan C.F (บ.ก.). "Functional MRI in Awake Unrestrained Dogs" . PLOS ONE . 7 (#5): e38027. Bibcode :2012PLoSO...738027B . doi :10.1371/journal.pone.0038027 . PMC 3350478 . PMID 22606363 .
↑ 13.0 13.1 13.2 Dewey, T. and S. Bhagat. 2002. "Canis lupus familiaris , Animal Diversity Web.
↑ "World's Largest Dog" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-11-19. สืบค้นเมื่อ 7 January 2008 .
↑ "Guinness World Records – Tallest Dog Living" . Guinness World Records. 31 August 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 11 July 2011. สืบค้นเมื่อ 7 January 2009 .
↑ "The Case for Tail Docking" . Council of Docked Breeds. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-04-14. สืบค้นเมื่อ 22 October 2008 .
↑ "Bourbonnais pointer or 'short tail pointer' " . Braquedubourbonnais.info. สืบค้นเมื่อ 19 December 2012 .
↑ "Plants poisonous to dogs – Sunset" . Sunset .
บรรณานุกรม
Coppinger, Raymond ; Schneider, Richard (1995). "Evolution of working dogs". ใน Serpell, James (บ.ก.). The domestic dog: its evolution, behaviour, and interactions with people . Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-42537-7 .
HarperCollins (2021). "Collins Dictionary" . HarperCollins Publishers L.L.C.
Cunliffe, Juliette (2004). The encyclopedia of dog breeds . Bath: Paragon Books. ISBN 978-0-7525-8018-0 .
Fogle, Bruce (2009). The encyclopedia of the dog . New York: DK Publishing. ISBN 978-0-7566-6004-8 .
Jones, Arthur F.; Hamilton, Ferelith (1971). The world encyclopedia of dogs . New York: Galahad Books. ISBN 978-0-88365-302-9 .
Miklósi, Adám (2007). Dog Behaviour, Evolution, and Cognition . Oxford University Press. doi :10.1093/acprof:oso/9780199295852.001.0001 . ISBN 978-0-19-929585-2 .
Wang, Xiaoming ; Tedford, Richard H. (2008). Dogs: Their Fossil Relatives and Evolutionary History . Columbia University Press , New York. pp. 1–232. ISBN 978-0-231-13529-0 . OCLC 502410693 .
Smith, Bradley, บ.ก. (2015). The Dingo Debate: Origins, Behaviour and Conservation . CSIRO Publishing, Melbourne, Australia. ISBN 978-1-4863-0030-3 .
Boitani, Luigi; Mech, L. David (2003). Wolves: Behavior, Ecology, and Conservation . Chicago: University of Chicago Press . p. 482. ISBN 978-0-226-51696-7 . OCLC 904338888 .
แหล่งข้อมูลอื่น
Canis lupus familiaris Canis familiaris