Share to:

 

อาเลียช เบียเลียตสกี

อาเลียช เบียเลียตสกี
เบียเลียตสกีเมื่อปี 2011
เกิด (1962-09-25) 25 กันยายน ค.ศ. 1962 (62 ปี)
เวียร์ตซีเลีย สาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียตคาเรเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สหภาพโซเวียต (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐคาเรเลีย ประเทศรัสเซีย)
ชื่ออื่นอาเลียกซันดร์ เบียเลียตสกี
การศึกษามหาวิทยาลัยรัฐโฆเมียล (ศิลปศาสตรบัณฑิต)
นายจ้างศูนย์สิทธิมนุษยชนเวียสนา
คู่สมรสนาตัลเลีย ปินชุก
รางวัล

อาเลียช วิกตาราวิช เบียเลียตสกี (เบลารุส: Але́сь Ві́ктаравіч Бяля́цкі, อักษรโรมัน: Alieś Viktaravič Bialiacki;[] เกิดวันที่ 25 กันยายน 1962) เป็นนักเคลื่อนไหวสนับสนุนประชาธิปไตยและนักโทษจากความคิดชาวเบลารุส เป็นที่รู้จักจากกิจกรรมที่ทำกับศูนย์สิทธิมนุษยชนเวียสนา เขาเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชและประชาธิปไตยของเบลารุสมาตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 และเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์เวียสนาและแนวหน้าประชาชนเบลารุสซึ่งเขาเป็นผู้นำระหว่างปี 1996 ถึง 1999 นอกจากนี้เขายังเป็นสมาชิกของสภาบริหารจัดการของฝ่ายค้านเบลารุส เขาได้รับการขนานนามจาก เดอะนิวยอร์กไทมส์ ว่าเป็น "เสาหลักแห่งการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนในยุโรปตะวันออก"[1] และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติว่าเป็นหนึ่งในนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยคนสำคัญที่สุดของเบลารุส[2]

เบียเลียตสกีเป็นเลขานุการของแนวหน้าประชาชนเบลารุสระหว่างปี 1996–1999 และเป็นรองประธานของกลุ่มระหว่างปี 1999–2001[3] ในปี 1996 เขาได้ก่อตั้งศูนย์สิทธิมนุษยชนเวียสนาขึ้นเพื่อดำเนินการด้านประชาธิปไตยในเบลารุส ในช่วงการประท้วงใหญ่ทั่วประเทศในปี 2020 เขากลายมาเป็นสมาชิกของศูนย์บริหารจัดการที่ชเวียตลานา ชีคาโนว์สกายา จัดตั้งขึ้น[4]

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2011 เบียเลียตสกีถูกจับกุมในข้อหาการหลีกหนีการจ่ายภาษีตามมาตรา 243 วรรค 2[5] และในวันที่ 24 ตุลาคม 2011 เขาถูกตัดสินจำคุกสี่ปีครึ่งและริบสินทรัพย์ เขายื่นอุทธรณ์โดยระบุว่าเงินจำนวนมากที่เขาได้รับในบัญชีส่วนตัวเป็นไปเพื่อทำกิจกรรมของศูนย์เวียสนา และได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 21 มิถุนายน 2014[6] และเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2021 บ้านพักของพนักงานประจำศูนย์เวียสนาทั่วประเทศถูกตำรวจเบลารุสตรวจค้น ส่วนสำนักงานใหญ่ขอบศูนย์ก็ถูกตำรวจบุกเข้าตรวจค้น เบียเลียตสกีและเพื่อนร่วมงาน Vladimir Stephanovich กับ Vladimir Labkovich ถูกจับกุม[7][8] ในวันที่ 6 ตุลาคม 2021 เบียเลียตสกีถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีและต้องโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี[9] ข้อมูล ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2022 เขายังคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ[2]

ในปี 2022 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพร่วมกับองค์การเมมอเรียลของรัสเซีย และศูนย์เสรีภาพพลเมืองของยูเครน[10] ก่อนหน้านี้เขาเคยได้รับการเสนอชื่อรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพมาแล้วห้าครั้ง[11]

หมายเหตุ

  1. ปรากฏการปริวรรตชื่อเป็นอักษรโรมันว่า: Ales Viktaravich Bialiatski, Ales Bialacki, Ales Byalyatski, Alies Bialiacki และ Alex Belyatsky

อ้างอิง

  1. Higgins, Andrew (2022-10-07). "The Belarusian laureate is a longtime pillar of Eastern Europe's human rights movement". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2022-10-08.
  2. 2.0 2.1 "Ales Bialiatski: Who is the Nobel Peace Prize winner?". BBC. 2022-10-07. สืบค้นเมื่อ 2022-10-08.
  3. A. Tamkovich (2014) Contemporary History in Faces. р.165-173. ББК 84 УДК 823 Т 65
  4. "Члены Координационного Совета". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2020. สืบค้นเมื่อ 19 August 2020.
  5. [] Ales Bialiatski: Two years since politically motivated verdict]
  6. "Belarus: Human Rights Defender Freed" (ภาษาอังกฤษ). HRW. 23 June 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2022. สืบค้นเมื่อ 8 January 2022.
  7. Perunovskaya, A. (2021-10-22). "100 дней ареста. О чем пишет Алесь Беляцкий из тюрьмы?" [100 Days in Prison: What Does Ales Bialiatski Write from His Cell?] (ภาษารัสเซีย). Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 2022-01-08.
  8. "Belarus: arbitrarily detained for over a month, Viasna's members must be released". FIDH. 2021-08-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-08. สืบค้นเมื่อ 8 January 2022.
  9. Kruope, A. (7 October 2021). "Belarus Authorities 'Purge' Human Rights Defenders" (ภาษาอังกฤษ). HRW. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2022. สืบค้นเมื่อ 8 January 2022.
  10. "The Nobel Peace Prize 2022". NobelPrize.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 7 October 2022.
  11. ["Ales Bialiatski nominated for Nobel Peace Prize again". spring96.org. Retrieved 20 April 2016.]
Kembali kehalaman sebelumnya