Share to:

 

คิม แด-จุง

คิม แด-จุง
김대중
ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คนที่ 8
ดำรงตำแหน่ง
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
ก่อนหน้าคิม ย็อง-ซัม
ถัดไปโน มู-ฮย็อน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 มกราคม พ.ศ. 2467
เกาะฮาอึย อำเภอซินอัน จังหวัดช็อลลาใต้ เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น
เสียชีวิต18 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (85 ปี)
โซล  เกาหลีใต้
เชื้อชาติ เกาหลีใต้
ศาสนาโรมันคาทอลิก
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปไตย (2499 ~ 2504)
พรรคประชาธิปไตย (2506 ~ 2508)
พรรคประชาธิปไตยใหม่ (2510 ~ 2523)
พรรคประชาธิปไตยเพื่อการรวมชาติ (2530)
พรรคสันติภาพประชาธิปไตย (2530 ~ 2534)
พรรคประชาธิปไตย (2534 ~ 2535)
พรรคสมัชชาเพื่อการเมืองใหม่ (2538 ~ 2543)
พรรคประชาธิปไตย
คู่สมรสชา ยง-แอ (2488-2502(ถึงแก่กรรม))
อี ฮี-โฮ (2505-2552)
ลายมือชื่อ
ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Gim Daejung
เอ็มอาร์Kim Taejung
นามปากกา
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Hugwang[1]
เอ็มอาร์Hugwang

คิม แด-จุง (เกาหลี: 김대중, อักษรโรมัน: Kim Dae-jung) (6 มกราคม พ.ศ. 246718 สิงหาคม พ.ศ. 2552) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 8 ของประเทศเกาหลีใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ถึงปี พ.ศ. 2546 และในปี พ.ศ. 2543 เขาได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในบางครั้งคิมได้รับการยกย่องว่าเป็นเนลสัน แมนเดลา แห่งเอเชีย[2]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

คิม แด-จุง ตอนวัยรุ่น

คิมเกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2467[3] แต่ต่อมาเขาได้บันทึกในทะเบียนว่าเกิดวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2468 เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเกณฑ์ทหารในช่วงระหว่างที่เกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น คิมเป็นบุตรคนที่สองในบรรดาเจ็ดคนในครอบครัวชาวนาชั้นกลาง คิมเกิดที่เมืองซินอัน ซึ่งขณะนั้นอยู่จังหวัดช็อลลา ซึ่งปัจจุบันอยู่ในจังหวัดช็อลลาใต้ ต่อมาครอบครัวของคิมย้ายมาอยู่ใกล้เมืองท่าม็อกโป ซึ่งจะทำให้เขาสามารถสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คิมสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพาณิชย์ม็อกโป ในปี พ.ศ. 2486 ด้วยคะแนนสูงสุดของชั้น ภายหลังจากทำงานเป็นเสมียนในบริษัทขนส่งทางเรือของญี่ปุ่นในช่วงเกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ต่อมาเขาได้กลายมาเป็นเจ้าของธุรกิจ และร่ำรวยขึ้นเป็นอย่างมาก คิมจึงต้องหลบหนีการจับกุมของคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามเกาหลี[4]

คิมเริ่มเข้าสู่วงการการเมืองในปี พ.ศ. 2497 ระหว่างภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีคนแรก อี ซึง-มัน ถึงแม้ว่าเขาจะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาในปี พ.ศ. 2504 แต่การรัฐประหารที่นำโดยนายพลพัก ช็อง-ฮี ผู้ซึ่งเป็นผู้นำเผด็จการในเวลาต่อมาได้ทำให้การเลือกตั้งดังกล่าวเป็นโมฆะ[4] ต่อมาคิมสามารถเอาชนะเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาได้ในปี พ.ศ. 2506 และปี พ.ศ. 2510 และได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำฝ่ายค้าน จึงทำให้เขาได้เป็นผู้แทนฝ่ายค้านในการลงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2514 ไปโดยปริยาย โดยเขาเกือบเอาชนะพัก ช็อง-ฮี ถึงแม้ว่าเขาจะเสียเปรียบเนื่องคู่แข่งของเขา พัก ช็อง-ฮี เป็นผู้กุมอำนาจทางการเมืองในขณะนั้น[5]

คิมเป็นผู้มีความสามารถด้านวาทศิลป์ คิมสามาถสื่อสามารถกับผู้สนับสนุนที่ภักดีกับเขาได้อย่างมั่นคง โดยผู้สนับสนุนที่จงรักภักดีของเขาอยู่ในภูมิภาคช็อลลา โดยเขาได้รับคะแนนิยมถึง 95% ในภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดที่ไม่มีผู้ใดทำลายได้ในวงการการเมืองเกาหลีใต้

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2516 คิมเกือบถูกลอบสังหารเมื่อเขาถูกลักพาตัวจากโรงแรมในโตเกียวโดยสายลับของสำนักข่าวกรองกลางเกาหลี (เคซีไอเอ) เพื่อตอบโต้การที่เขาวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญยูซิน ของประธานาธิบดีพัก ซึ่งรัฐธรรมนูญดังกล่าวทำให้ประธานาธิบดีพักเข้าใกล้สู่ความเป็นเผด็จการ โดยหลายปีผ่านไป คิมได้กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวในปี พ.ศ. 2543 ในการปาฐกถาในการรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

ผมต้องมีชีวิต และต้องมีชีวิตอยู่ต่อไป ผมเชื่อว่าพระเจ้าจะอยู่ข้างผมเสมอ ผมรู้ในสิ่งนี้จากประสบการณ์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2516 ขณะที่ผมลี้ภัยอยู่ญี่ปุ่น ผมถูกลักพาตัวโดยสายลับหน่วยข่าวกรองของรัฐบาลทหารเกาหลีใต้จากห้องพักโรงแรมในโตเกียว ข่าวจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความตกใจไปทั่วโลก พวกสายลับพาผมไปไว้ที่บริเวณสมอเรือที่เลียบอยู่กับชายหาด มัดตัว มัดมือ และเอาสิ่งของอุดปากผม หลังจากนั้นไม่นานพวกเขาโยนผมจากเรือลงน้ำ พระเยซูปรากฏพระองค์ต่อหน้าผมด้วยความสดใส ผมกอดพระองค์และอ้อนวอนให้พระองค์ช่วยชีวิตผม ทันใดนั้นไม่นาน เครื่องบินบินลงมาจากท้องฟ้าเพื่อมาช่วยผมในวินาทีแห่งความตาย

— คิม แด-จุง[6]

ฟิลลิป ฮาบิบ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำเกาหลีใต้ ได้เป็นผู้ไกล่เกลี่ยให้เขากับรัฐบาลเกาหลีใต้[7]

ถึงแม้ว่าคิมจะกลับมาเกาหลีใต้ เขาก็ถูกห้ามมิให้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และถูกจำคุกในปี พ.ศ. 2519 สำหรับการเข้าร่วมโดยเป็นผู้ประกาศแถลงการณ์ต่อต้านรัฐบาล โดยถูกตัดสินจำคุกห้าปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ได้รับการลดโทษเป็นการคุมขังในบ้านพัก[5] โดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้จัดให้เขาเป็นนักโทษทางความคิด[8]

คิมได้รับการฟื้นฟูสิทธิทางารเมืองอีกครั้งในปี พ.ศ. 2522 ภายหลังจากที่ประธานาธิบดีพักถูกลอบสังหาร อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2523 คิมถูกจับกุมและถูกพิพากษาให้ประหารชีวิตในข้อหาปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง และสมรู้ร่วมคิดในการปลุกเร้าผู้คนที่ควังจู ซึ่งเป็นฐานสนับสนุนทางการมืองของเขาในเหตุการณ์ขบวนการการทำให้เป็นประชาธิปไตยควังจู โดยช็อน ดู-ฮวัน ผู้นำที่มาจากการรัฐประหาร[9]

ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2523 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ได้มีจดหมายไปถึงช็อน ดู-ฮวัน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในขณะนั้น เพื่อขออภัยโทษแก่คิม ซึ่งนับถือโรมันคาทอลิก โดยได้รับโทษประหารชีวิตหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้านั้น โดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติเกาหลีได้เปิดเผยเนื้อหาของจดหมายจากการร้องขอของ ควังจูอิลโบ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในเมืองควังจู[10]

ภายใต้การแทรกแซงของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา[11] โทษของเขาลดลงเพียงเหลือจำคุก 20 ปี และต่อมาเขาได้ลี้ภัยไปยังสหรัฐอเมริกา คิม อาศัยอยู่ที่บอสตันชั่วคราว โดยเป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะ ในศูนย์กิจการระหว่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด[12]

ระหว่างช่วงเวลาที่เค้าใช้ชีวิตที่ต่างประเทศ เขาได้เขียนความคิดเห็นของเขาลงในหนังสือพิมพ์ตะวันตกชั้นนำ ซึ่งวิจารณ์รัฐบาลเกาหลีใต้อย่างรุนแรง ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2526 คิมได้แสดงสุนทรพจน์ในเรื่องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยที่มหาวิทยาลัยเอมโมรี, แอตแลนตา และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในสาขากฎหมายจากสถาบันดังกล่าว สองปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2528 เขาได้กลับสู่เกาหลีใต้

เส้นทางสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี

คิม แด-จุง, คิม ย็อง-ซัมและคิม จ็อง-พิล ซึ่งเป็นนักการเมืองที่อิทธิพลทางการเมืองเกาหลีใต้อย่างสูง จนได้รับการขนานนามว่าสามคิมผู้ยิ่งใหญ่

คิมถูกคุมขังที่บ้านพักอีกครั้งหนึ่งหลังจากกลับมาโซล แต่การกลับมาครั้งนี้ของเขาก็กลับมาเป็นผู้นำฝ่ายค้านอีกครั้ง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2530 ช็อน ดู-ฮวัน พ่ายแพ้ต่อความต้องการของสาธารณชน และอนุญาตให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีแบบทางตรงได้ คิม แดง-จุง และผู้นำฝ่ายค้านคนอื่นๆ เช่น คิม ย็อง-ซัม นั้นในขั้นต้นได้มีการตกลงกันว่าจะร่วมกันส่งผู้สมัครลงเพียงคนเดียว อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างผู้นำฝ่ายค้านสองคน ทำให้คิม แด-จุง แยกตัวออกจากพรรคประชาธิปไตยเพื่อการรวมชาติ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านหลัก และก่อตั้งพรรคสันติภาพและประชาธิปไตยขึ้น เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ผลจากการนี้ทำให้พรรคฝ่ายค้านเกิดการตัดคะแนนกันเองในสองพรรค เป็นผลให้อดีตนายพล โน แท-อู ผู้สืบทอดอำนาจของ ช็อน ดู-ฮวัน ชนะคะแนนเสียงด้วยคะแนนเพียง 36.5% โดย คิม ย็อง-ซัม ได้ไป 28% และคิม แด-จุง ได้ไป 27%

ในปี พ.ศ. 2535 คิมพลาดตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง โดยครั้งนี้คู่แข่งของเขาคือ คิม ย็อง-ซัม เพียงผู้เดียว ซึ่งคิม ย็อง-ซัม ได้รวมพรรคประชาธิปไตยเพื่อการรวมชาติกับพรรคยุติธรรมประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลในขณะนั้นเข้าด้วยกัน เป็นพรรคเสรีประชาธิปไตย (ซึ่งในท้ายที่สุดก็กลายมาเป็นพรรคแซนูรี หรือพรรคขอบแดนใหม่)[4] ต่อมา คิม แด-จุง ได้หยุดพักบทบาททางการเมืองและเดินทางไปยังสหราชอาณาจักร เพื่อดำรงตำแหน่งศาสตาจารย์อาคันตุกะ ที่คณะแคลร์ฮอลล์, มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์[12] อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2538 คิมได้เดินทางกลับมายังเกาหลีและประกาศว่าจะกลับมาทำงานการเมืองต่อและลงสมัครรับเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นครั้งทีสี่ในชีวิตของเขา

สถานการณ์ในช่วงเวลาดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นใจให้คิม เมื่อประชาชนต่อต้านและไม่พอใจรัฐบาลในขณะนั้นจากเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจของประเทศล่มสลาย ซึ่งเกิดขึ้นเพียงหนึ่งสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี จากการเป็นพันธมิตรกับคิม จ็อง-พิล ทำให้เขาเอาชนะ อี เฮว-ชัง ผู้สืบทอดที่คิม ย็อง-ซัง วางตัวไว้ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จัดขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เมื่อเขาสาบานตัวเพื่อรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่แปดแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ถือเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในวงารการเมืองของเกาหลีใต้ ที่พรรครัฐบาลถ่ายโอนอำนาจตามวิถีทางประชาธิปไตยมาสู่ผู้ชนะการเลือกตั้งซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย[4][13] การเลือกตั้งในครั้งนี้มีข้อโต้แย้ง โดยผู้สมัครสองคนจากฝ่ายรัฐบาล ซึ่งเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้แข่งกัน ทำให้คะแนนเลือกตั้งของผู้มีสิทธิกลุ่มนี้แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ 38.7% and 19.2% ตามลำดับ จึงทำให้คิม แด-จุง ชนะการเลือกตั้งไปด้วยคะแนนเพียง 40.3%[14] คู่แข่งหลักของเขา อี เฮว-ชัง เป็นอดีตผู้พิพากษาศาลสูง สำเร็จการศึกษาด้วยคะแนนระดับสูงจาก โรงเรียนกฎหมาย, มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล อีถูกมองโดยทั่วไปว่าเป็นกลุ่มชนชั้นสูง และสิ่งที่ทำให้ความนิยมของเขาตกลงเนื่องจากข้อกล่าวหาว่าลูกชายของเขาหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร ส่วนในด้านของคิมนั้นตรงกันข้าม คิมจบการศึกษาระดับอาชีวศึกษา และชาวเกาหลีใต้จำนวนมากรู้สึกเห็นใจจากการที่เขาถูกพิจารณาในศาลหลายรอบและความยากลำบากในช่วงเวลาที่ผ่านมา

ประธานาธิบดีคนก่อนของเกาหลีใต้เช่น พัก ช็อง-ฮี, ช็อน ดู-ฮวัน, โน แท-อู และคิม ย็อง-ซัม มีพื้นเพมาจากภูมิภาคจังหวัดคย็องซัง ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มั่งคั่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลพัก, ช็อนและโน คิม แด-จุง เป็นประธานาธิบดีที่อยู่เต็มวาระคนแรกที่มาจากภูมิภาคจังหวัดช็อลลา ซึ่งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ โดยภูมิภาคจังหวัดช็อลลาเป็นส่วนที่ถูกเพิกเฉยและละเลยจากการพัฒนาของภาครัฐในเกาหลีใต้ สาเหตุหลักเนื่องมาจากการเลือกปฏิบัติทางนโยบายของประธานาธิบดีคนก่อน ดังนั้นการบริหารงานของคิมจึงเน้นมาที่ภูมิภาคจังหวัดช็อลลา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางนโยบาย แต่อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีและผู้บริหารในรัฐบาลของคิมก็ไม่ได้มีบุคคลที่มาจากภูมิภาคจังหวัดช็อลลาเท่าใดนัก

การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

ความสำเร็จทางเศรษฐกิจ

การพบปะกับประธานาธิบดีบิล คลินตัน (ซ้าย) ในการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ที่ออกแลนด์ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2542
คิม แด-จุง ในปี พ.ศ. 2542

คิม แด-จุง ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีท่ามกลางวิกฤตทางเศรษฐกิจที่โจมตีเกาหลีใต้ในปีสุดท้ายของสมัยประธานาธิบดี คิม ย็อง-ซัม การผลักดันการปฏิรูปทางเศรษฐกิจอย่างแน่วแน่และการปรับโครงสร้างตามคำแนะนำของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้[4] หลังจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร่วงลง 5.8 เปอร์เซ็นต์ ในปี พ.ศ. 2541 และโตขึ้น 10.2 เปอร์เซ็นต์ ในปี พ.ศ. 2542[2] นโยบายของเขาส่งผลให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในตลาด โดยมีการจัดการกับอำนาจของกลุ่มแชร์โบล (กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ในเกาหลีใต้) เช่น ทำให้เกิดความโปร่งใสกับกลุ่มแชร์โบลในการดำเนินการทางบัญชี การตัดลดการสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มแชร์โบล

นโยบายเกี่ยวกับเกาหลีเหนือ

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน ร่วมรับประทานอาหารค่ำกับคิม แด-จุง

นโยบายของคิมเกี่ยวกับเกาหลีเหนือ มีชื่อว่านโยบายอาทิตย์ฉายแสง[2] เขาเริ่มผ่อนคลายความตึงเครียดกับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเกาหลีเหนือ ซึ่งนโยบายดังกล่าวนำไปสูงการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ในการประชุมของผู้นำทั้งสองในปี พ.ศ. 2543 ที่เปียงยาง ระหว่างคิม แด-จุง กับคิม จ็อง-อิล ถือเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างสองเกาหลี และเป็นการติดต่อกันโดยตรงของสองเกาหลีครั้งแรกนับแต่เกาหลีแยกออกจากกัน ผลจากการพยายามในครั้งนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่การประชุมครั้งนี้ก็มีรอยด่างพร้อย เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีการใช้เงินหลายร้อยล้านดอลลาร์ในการจ่ายให้กับทางเปียงยาง ในปี พ.ศ. 2546 พัก จี-ว็อน หัวหน้าคณะทำงาน ถูกตัดสินจำคุกสิบสองปี สำหรับข้อกล่าวหานี้ และในข้อกล่าวหาอื่นๆ โดยเขาใช้บทบาทของเขาในฮุนได จ่ายให้กับทางเกาหลีเหนือในการประชุมสุดยอดผู้นำของทั้งสองเกาหลี[15] เพื่อชักจูงใจให้เกาหลีเหนือเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ นักโทษที่จงรักภักดีกับเกาหลีเหนือที่ถูกจำคุกอยู่ที่เกาหลีใต้ได้ถูกปล่อยไปเกาหลีเหนือ[16] ผลกระทบจากนโยบายอาทิตย์ฉายแสงทำให้ถูกตั้งคำถามโดยหนังสือพิมพ์ของสหรัฐอเมริกา วิลลาจวอยส์ ว่าเงินที่โอนไปนั้นไปใช้ปกปิดความชั่วร้ายของรัฐบาลเกาหลีเหนือ[17]

ความสัมพันธ์กับอดีตประธานาธิบดีคนอื่น ๆ

ภายหลังจากคิมชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีและย้ายเข้าพำนักในทำเนียบสีน้ำเงิน ไม่มีใครทราบว่าเขาจะจัดการอย่างไรกับตำแหน่งใหม่ของเขา เขาเคยถูกตัดสินประหารชีวิตโดยช็อน ดู-ฮวัน ช็อนและผู้สืบทอดของเขา โน แท-วู ได้ถูกตัดสินจำคุกในสมัยประธานาธิบดีคิม ย็อง-ซัม ก่อนที่จะได้รับอภัยโทษในสมัยคิม แด-จุง

ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี คิมได้ดำเนินการให้เกาหลีใต้เป็นรัฐสวัสดิการร่วมสมัย[18][19] ความสำเร็จดงกล่าวผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัว และนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมภาพลักษณ์ของเกาหลีใต้ในเวลาระดับโลกให้ดียิ่งขึ้น เช่น การเป็นเจ้าภาพร่วมกับญี่ปุ่น ในฟุตบอลโลก 2002 คิมครบวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2546 และโน มู-ฮย็อน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากเขา ห้องสมุดประธานาธิบดีที่มหาวิทยาลัยย็อนเซ สร้างขึ้นก็รักษามรดกของคิมให้คงอยู่ต่อไป และศูนย์ประชุมคิม แด-จุง ก็สร้างตามชื่อของเขา ณ เมืองควังจู

ชีวิตหลังจากพ้นจากตำแหน่งประธานาธิบดี

คิมร้องขอให้ควบคุมการต่อต้านเกาหลีเหนือ สำหรับกรณีอาวุธนิวเคลียร์ และปกป้องการดำเนินนโยบายอาทิตย์ฉายแสงต่อทางเปียงยางเพื่อลดความรุนแรงต่อวิกฤติการณ์ เขาสัญญากับชาวเกาหลีว่าเขาจะแสดงความรับผิดชอบถ้าเกาหลีเหนือพยายามที่จะทำอันตรายพวกเขาด้วยอาวุธนิวเคลียร์ แต่สิ่งที่ยังโต้เถียงต่อไปว่านโยบายอาทิตน์ฉายแสงได้สร้างความสะดวกแก่โครงการอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือหรือไม่ ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551 เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยพอร์ตแลนด์ ซึ่งเขาได้แสดงสุนทรพจน์ในหัวข้อ "ความท้าทาย, การขานรับและพระเจ้า"[20]

ข้อมูลจากวิกิลีกส์ เปิดเผยว่าสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำโซลได้อธิบายถึงคิมว่า "เป็นประธานาธิบดีฝ่ายซ้ายคนแรกของเกาหลีใต้" โดยส่งถึงรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในวันที่เขาถึงแก่อสัญกรรม[21]

ถึงแก่อสัญกรรม

พิธีไว้อาลัยคิม แด-จุง

คิมถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 13.43 น. ตามเวลาในประเทศเกาหลีใต้ ณ โรงพยาบาลเซเวอร์แรนซ์, มหาวิทยาลัยย็อนเซ, โซล[22] จากภาวะอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ[23] รัฐพิธีศพจัดขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ตรงหน้าอาคารรัฐสภา โดยมีขบวนแห่เพื่อเดินทางไปยังสุสานแห่งชาติโซล เพื่อฝังศพตามธรรมเนียมคาทอลิค โดยคิมเป็นบุคคลที่สองที่มีการจัดรัฐพิธีศพต่อจากประธานาธิบดีพัก ช็อง-ฮี[24] ทางเกาหลีเหนือได้ส่งตัวแทนมาในงานพิธีศพด้วย[25] คิมถึงแก่อสัญกรรมได้สามเดือนภายหลังจากประธานาธิบดีโน มู-ฮย็อน กระทำอัตวินิบาตกรรม ในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

อ้างอิง

  1. "Former South Korean President Kim Dae-jung Dies at 85". Jakarta Globe. 18 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-14. สืบค้นเมื่อ 24 October 2009.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Kim Dae-jung: Dedicated to reconciliation". CNN. 14 June 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 22, 2006. สืบค้นเมื่อ 22 September 2006.
  3. "DJ 생일은 1924년 1월 6일". The Dong-a Ilbo. 19 August 2009.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "Kim Dae Jung". Encyclopædia Britannica. 2009. สืบค้นเมื่อ 18 August 2009.
  5. 5.0 5.1 "Kim Dae-jung – Biography". The Nobel Foundation. 2000. สืบค้นเมื่อ 18 August 2009.
  6. "Kim Dae-jung – Nobel Lecture". The Nobel Foundation. 2000. สืบค้นเมื่อ 21 June 2012.
  7. Oberdorfer, Don; Carlin, Robert (2014). The Two Koreas: A Contemporary History. Basic Books. p. 35. ISBN 9780465031238.
  8. "Kim Dae-jung, human rights champion and former South Korean president, dies". Amnesty International. 19 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-11. สืบค้นเมื่อ 11 May 2012.
  9. Choe, Sang-hun (18 August 2009). "Kim Dae-jung, 83, Ex-President of South Korea, Dies". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 18 August 2009.
  10. "John Paul II's appeal saved future Korean president from death sentence". Catholic News Agency. 21 May 2009. สืบค้นเมื่อ 25 June 2012.
  11. ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 คิมอธิบายว่า "การแทรกแซง" ณ การประชุมสามัญระหว่างแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลและทางสหรัฐอเมริกาเขาเปลือยอยู่บริเวณขอบห้อง กับผู้ต่อต้านคนอื่นๆ ขณะรอเฮลิคอปเตอร์ที่จะบินไปเหนือ ทะเลญี่ปุ่นที่ซึ่งพวกเขาจะ"หายสาบสูญ" เจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐอเมริการเดินเข้ามาพร้อมชี้ไปที่เขาและพูดว่า "เขา ยังไม่ไปอยู่เหรอ"
  12. 12.0 12.1 "Board of Advisors – Kim Dae-jung". The Oxford Council on Good Governance. n.d. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-15. สืบค้นเมื่อ 18 August 2009.
  13. "Opposition boycott shadows South Korea's new president". CNN. 25 February 1998. สืบค้นเมื่อ 18 August 2009.
  14. "1997 South Korean Presidential Election". University of California, Los Angeles – Center for East Asian Studies. 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-08. สืบค้นเมื่อ 2016-11-02.
  15. Ginsburg, Tom (2004). Legal Reform in Korea. Psychology Press. ISBN 9780203479384. สืบค้นเมื่อ 25 June 2012.
  16. Ahn, Mi-young (2000-09-05). "Spies' repatriation causes unease in Seoul". Asia Times Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-05. สืบค้นเมื่อ 2010-06-25{{cite news}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  17. Cathy Hong (18 November 2003). "Fine Young Communists". The Village Voice. สืบค้นเมื่อ 25 June 2012.
  18. Takegawa, Shogo (December 2005). "Japan's Welfare State Regime: Welfare Politics, Provider and Regulator" (PDF). Development and Society. 34 (2): 169–190. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-17. สืบค้นเมื่อ 25 June 2012.
  19. Muthu, Rajendran (2006). "Social Development in Japan: A Focus on Social Welfare Issues" (PDF). Journal of Societal & Social Policy. 5 (1): 1–20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ 25 June 2012.
  20. [1]
  21. Lee (이), Seong-gi (성기) (2011-09-06). ""DJ, 좌파 첫 대통령" 위키리크스 외교전문". Hankook Ilbo (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-07. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
  22. "Kim Dae-jung". The Economist. 27 August 2009.
  23. "Former S. Korean President Kim Dae-Jung Dies". The Seoul Times. 18 August 2009. สืบค้นเมื่อ 18 August 2009.
  24. Barbara Demick (19 August 2009). "Kim Dae-jung dies at 85; former South Korean president and Nobel laureate". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 25 June 2012.
  25. Oberdorfer, Don; Carlin, Robert (2014). The Two Koreas: A Contemporary History. Basic Books. pp. 437–438. ISBN 9780465031238.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya