อำเภอกุดบาก
กุดบาก เป็นอำเภอหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ในจังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นอำเภอที่แฝงไปด้วยวัฒนธรรมและความเชื่อจากหลากหลายชนเผ่าที่มีอายุนับร้อยปี โดยอำเภอกุดบากมีคำขวัญประจำอำเภอว่า “ดินแดนแห่งที่ราบหุบเขา แหล่งปลูกข้าวปลูกหวาย หลากหลายวัฒนธรรมชุมชนผู้นำเสรีไทย ระบือไกลหมูกี้ ถิ่นผู้ดีเผ่ากะเลิง” ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอกุดบากตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ประวัติไม่มีประวัติเขียนไว้เป็นหลักฐานแน่นอนแต่จากการบอกเล่าของคนท้องถิ่นทราบว่าเกิดขึ้นจากการที่ เผ่ากะเลิงหรือชาวกะเลิงเดิมเป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณทิศตะวันตกของเทือกเขาในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้มีการเคลื่อนย้ายครั้งใหญ่ของชาวกะเลิงเกิดขึ้นเมื่อคราวเกิดสงครามปราบจีนฮ่อ เมื่อ พ.ศ. 2426นอกจากนี้กรมการเมืองสกลนครนำไพร่พลจำนวนหนึ่ง ไปปักหลักเขตแดนสยามเมื่อ พ.ศ. 2428ทำให้ชนชาวกะเลิงติดตามเข้ามาอาศัยในเมืองสกลนครโดยเลือกที่ตั้งบ้านเรือนเลือกทำเลหากินตามเทือกเขาภูพาน เดิมกุดบากเป็นตำบลหนึ่งในเขตปกครองของอำเภอเมืองสกลนครต่อมาวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2507 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศ ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอกุดบาก จนถึง วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 มีพระราชกฤษฎีกาประกาศยกฐานะเป็นอำเภอกุดบาก ชื่อจากการบอกเล่าของคนท้องถิ่นทราบว่าเป็นภาษาท้องถิ่น “กุด” หมายถึงหนองน้ำส่วนคำว่า“บาก” หมายถึงต้นไม้กะบากซึ่งคนท้องถิ่นเรียกว่าไม้บากเมื่อรวมกันจึงหมายถึงหนองน้ำที่มีไม้กะบากขึ้นล้อมรอบต่อมาได้มีการตั้งชุมชนอยู่ริมหนองน้ำจึงเรียกชุมชนแห่งนี้ว่ากุดบาก"เรื่อยมาถึงปัจจุบัน ลักษณะเด่น1. ชนเผ่า อำเภอกุดบาก เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านเผ่า "กะเลิง" ซึ่งเป็น 1 ใน 6 เผ่าของจังหวัดสกลนคร ประกอบไปด้วย - ชนเผ่าไทญ้อ - ชนเผ่าภูไท - ชนเผ่าไทโย้ย - ชนเผ่าไทกะโส้ - ชนเผ่าไทลาว - ชนเผ่าไทกะเลิง กลุ่มชาติพันธ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอกุดบากมี ดังนี้ 1) ชาติพันธ์กะเลิง ร้อยละ 95 2) ชาติพันธ์ภูไท ร้อยละ 3 3) ชาติพันธ์ญ้อ ร้อยละ 1 4) ชาติพันธ์ไทลาว ร้อยละ 1 โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง ซึ่งมีมานานนับร้อยปี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในแต่ละปีอำเภอกุดบาก ได้มีการจัดกิจกรรมประเพณีไทกะเลิงขึ้นทุกปี ในช่วงเดือนมกราคม วันที่ ๗ – ๙ ของทุกปี เพื่อสืบสานวัฒนธรรมและประเพณี 2. สิ้นค้า OTOP อำเภอกุดบากมี ผ้าฝ้ายย้อมคราม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีชื่อเสียงและบ่งบอกวิถีชีวิตของชาวอำเภอกุดบากซึ่งดำเนินการเองตั้งแต่การปลูกต้นคราม การทำน้ำคราม การย้อมผ้าคราม การทอผ้าคราม ตลอดจนการจำหน่ายโดยมีการตั้งกลุ่ม คือ - กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าย้อมคราม บ้านเชิงดอย หมู่ที่ ๖ ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร (โทร. 089-596-2743) - กลุ่มทอผ้าย้อมคราม บ้านหนองสะไน หมูที่ ๑๑ ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร (โทร. 081-176-5044) - วิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามและผ้าไหม บ้านกุดแฮด หมู่ที่ ๗ ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร (โทร. 087-234-7212) นอกจากนี้ยังมี ผลิตภัณฑ์จากเม่า (น้ำเม่า ไวน์เม่า) โดยการนำผลเม่ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างอาชีพให้ชุมชนมีคุณภาพ มีรายได้ โดยมีการตั้งกลุ่ม คือ - กลุ่มแปรรูปหมากเม่า บ้านกุดแฮด หมู่ที่ ๙ ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร (โทร. 087-006-7292) - กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนอินแปง บ้านบัว หมู่ที่ ๘ ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร (โทร. 087-863-3621) 3. วิถีชีวิต ชาวอำเภอกุดบากมี สมุนไพรเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต ซึ่งได้มาจากป่าแม้จะปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ไว้บ้างก็ตาม แต่พืชผักที่เป็นอาหารประจำวันก็มักจะไปหาจากป่า โดยเข้าป่า เข้าภู หลังรับประทานอาหารแล้วจะกลับในเวลาเย็น ปัจจัยในเรื่องนี้แตกต่างจากชาวภูไท ซึ่งเปลี่ยนมาปลูกผักไว้เป็นอาหารในบ้าน เช่น หวาย ผักหวาน เป็นต้น และที่สำคัญพื้นที่ในหมู่บ้านบัว บ้านทรายแก้ว บ้านกุดแฮด บ้านกุดบาก ตำบลกุดบากมีชนเผ่าพื้นเมืองกะเลิงมากมีพื้นที่เชิงเขาน้อย พื้นที่ทำมาหากินไม่มากแต่ประชากรในหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้น ชาวกะเลิงนิยมเลี้ยงหมูพันธุ์พื้นเมือง (หมูกี้) โดยปล่อยให้หมูหาอาหารกินเองเป็นลักษณะเด่นชัดกว่ากลุ่มย้อ กลุ่มภูไท นิยมเลี้ยงหมูพันธุ์ ซึ่งการเลี้ยงสลับซับซ้อนกว่า นอกจากนี้ยังไม่นิยมปลูกพืชผลไม้ต่างถิ่น แต่ยังนิยมพืชป่า เช่น มะไฟ มะม่วงป่า หมากแงว เป็นต้น 4. ความเชื่อ ชาวกะเลิงยังเชื่อในเรื่องภูตผีวิญญาณเชื่อว่าภูตผีวิญญาณทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือประสบโชคได้ชาวกะเลิงยังให้ความสำคัญกับบุคคลที่เป็นสื่อกลางของระบบความเชื่อ เช่น จ้ำ หรือเฒ่าจ้ำ ที่ช่วยดูแลศาลปู่ตา รวมทั้งการบนบานขอพรจากศาลปู่ตาให้ช่วยปัดเป่าความเดือดร้อนของชาวบ้าน หมอเหยาหรือแม่ครูไม่เพียงแต่ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากผีเป็นผู้กระทำเท่านั้นแต่ผู้ที่รักษาหายแล้วที่เรียกว่า “ลูกแก้ว” จะยังคงผูกพันกับแม่ครู เสมือนญาติให้การดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในวันเลี้ยงผีแม่ครูบรรดาลูกแก้วทุกคนจะมาร่วมในงานนี้ด้วย ฉะนั้น หมอเหยายังนับว่าเป็นบุคคลที่มีบทบาทในการรักษาพยาบาล เช่นเดียวกับจ้ำหรือล่ามที่ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างคนกับภูตผีวิญญาณ มเหศักดิ์ ศาลปู่ตา ชาวกะเลิงยังให้ความเคารพนับถือ การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคอำเภอกุดบากแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 3 ตำบล 40 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่อำเภอกุดบากประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยว
ภูถ้ำพระนั้นเป็นโบราณสถานของกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานอยู่ในเขตพื้นที่นี้ โดยมีอายุตั้งแต่พุธศตวรรษที่ 16 ลงมา และเป็นพุทธสถานในลัทธิหินยานที่มีการสืบเนื่องมาจนถึงสมัยล้านช้าง ราวพุทธศตวรรษที่ 22-23 ซึ่ง เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับโบราณสถานในวัฒนธรรมเขมรที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ปราสาท (พระธาตุ)ภูเพ็ก ปราสาทหินองค์ในของพระธาตุเชิงชุม ปราสาทนารายณ์เจงเวง พระธาตุดุม เป็นต้น ที่มีอายุร่วมสมัยกันแต่ สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู น่าจะแสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันของศาสนาทั้งสองในเขตพื้นที่ของสกลนครในราว พุทธศตวรรษที่ 16-17 ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถให้ข้อสันนิษฐานถึงที่มาของศาสนาทั้งสองได้ว่า ในขณะที่ศาสนาพุทธนั้นได้ตั้งหลักปักฐานกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ของจังหวัดสกลนครอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะในช่วง พุทธศตวรรษที่ 14-16 ในสมัยวัฒนธรรมแบบทวารวดีได้พบหลักฐานอยู่เป็นจำนวนมาก และจากการที่ได้พบ ศาสนาทั้งสองอยู่ร่วมสมัยเดียวกันนั้นอาจตั้งข้อสมมุติฐานได้ดังนี้ 1) ศาสนาทั้งสองได้มีการผสมผสานกันอย่ากลมกลืน หรือ 2) ศาสนาทั้งสองมิได้ผสมผสานกัน แต่แบ่งแยกกันนับถือโดยระดับหัวหน้า (ผู้ปกครอง) จะนับถือศาสนาฮินดูที่เอื้อต่อระบอบเทวราชาตามอย่างอาณาจักรเขมรโบราณ ในขณะที่ประชาชนทั่วไปยังคงนับถือ ศาสนาพุทธอันเป็นพื้นฐานตั้งเดิมของชุมชนต่อไป สำหรับข้อสมมุติฐานข้างต้นยังไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าข้อใดมีความเป็นไปได้มากกว่ากัน เนื่องจากไม่ได้มี การศึกษาอย่างจริงจัง จึงต้องรอผลการศึกษาวิจัยที่อาจมีในอนาคตมาเป็นเครื่องยืนยันความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง สรุป จารึกภาษาขอมที่พบในถ้ำแห่งนี้ถือว่าเป็นหลักฐานทางอักขระเก่าที่สุดของจังหวัดสกลนคร (ขณะที่จารึกอื่นๆ ที่พระธาตุเชิงชุม และพระธาตุดุม ไม่ได้ระบุปีศักราช ) จึงทำให้สามารถอนุมาน ว่าอิทธิพลยุคขอมเรืองอำนาจแผ่เข้ามาที่ดินแดนแห่งนี้ก่อนปี มหาศักราช 988 (พ.ศ. 1609 หรือ ค.ศ.1066) นับถึงปัจจุบัน ค.ศ.2017 เป็นเวลา 951 ปี ถ้าจะอ้างย้อนไปถึงยุคสมัยของพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 1 ซึ่งทรงอุปภัมภ์ศาสนาพุทธ ระหว่าง ค.ศ. 1002 - 1049 ก็มีความเป็นไปได้ว่าศาสนาพุทธในรูปแบบขอมเจริญรุ่งเรืองที่ดิน แดนสกลนครตั้งแต่พันปีที่แล้ว จึงพูดได้ว่าสกลนครมีความเป็นบ้านเป็นเมืองที่มีการปกครองภายใต้ระบอบพระราชอาณาจักร ราวพันปีที่แล้ว และเป็นที่มาของวลีคุ้นหูว่า "ขอมพันปี“[1]
- ความเป็นมา แต่เดิมเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๒ พระอาจารย์ทองคำได้ธุดงค์ผ่านมาปฏิบัติธรรมบริเวณซึ่งเป็นวัดในปัจจุบัน ขณะนั้นบริเวณนี้เป็นที่สาธารณะ พระอาจารย์ทองคำได้พำนักอยู่เพื่อปฏิบัติธรรมอีกประมาณ ๑ เดือน ก่อนเข้าพรรษา ชาวบ้านจึงมาช่วยกันสร้างกุฏิ เพื่อให้พระอาจารย์ทองคำได้ใช้เป็นที่พำนักในระหว่างอยู่จำพรรษา ด้วยท่านพระอาจารย์ทองคำท่านเป็นพระธุดงค์ จึงไม่จำพรรษาอยู่ในวัด หลังจากช่วงเข้าพรรษาผ่านพ้นไป พระอาจารย์ทองคำได้ธุดงค์ต่อไปที่อื่นทำให้บริเวณนี้ รกร้างอยู่ในระยะหนึ่ง เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ หลวงพ่อผัน ได้มาอยู่ปฏิบัติธรรม ได้ประมาณ ๔ – ๕ เดือน แล้วจึงธุดงค์ต่อไปในที่อื่น และเกือบทุกๆปีก็จะมีพระธุดงค์ผ่านมาอยู่ปฏิบัติธรรม ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ หลวงพ่อช้อน ได้มาอยู่ปฏิบัติธรรมที่นี่ แต่เนื่องจากเป็นสามเณรจึงอยู่ได้ไม่นาน ก็ย้ายออกไปทำให้บริเวณนี้รกร้างไปอีกระยะหนึ่ง จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๘ หลวงพ่อเบี้ยว ฐานวิโร เห็นว่าบริเวณนี้ เหมาะสมที่จะปฏิบัติธรรม จึงได้ชักชวนญาติโยม และชาวบ้าน โดยมี ผู้ใหญ่พร ไพคำนาม, นายบัวผัน ไพคำนาม, นายทา ไพคำนาม, นายมวย ไพเรืองโสม, นายซ้อน ไพเรืองโสม, มาช่วยกันสร้างกุฏิ แล้วจึงขยายออกมาเป็นวัด เมื่อวันอังคารที่ ๑๕ แรม ๒ ค่ำ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ จนกระทั่งถึง วันจันทร์ที่ ๒๕ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมตลอดมา ครั้งเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ พระครูภาวนาสกลธรรม (พระอธิการสุพัตร พุทธฺรกฺขิโต) ได้ทำการบูรณะพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรือง ขึ้นอีกครั้ง จวบจนถึงปัจจุบัน - ประวัติการสร้างพระธาตุคูณคำธรรมเจดีย์ (องค์เดิม) ก่อนที่จะมีการสร้างพระธาตุขึ้น มีตาปะขาวตนหนึ่งมานิมิตให้สร้างพระธาตุขึ้นไว้ ในวัดป่า-คูณคำวิปัสสนานี้ เพื่อให้บรรจุพระสารีริกธาตุ อัฐิธาตุของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เก็บบรรจุไว้ในพระธาตุ อัฐิธาตุหลวงปู่สอน บรรจุพระพุทธรูป ๘๔,๐๐๐ องค์ เท่ากับพระไตรปิฎกและหนังสือคำภีร์โบราณ บรรจุซากต้นคูณขาวโดยพระธาตุมีขนาดความสูง ๑๘ เมตร และมีขนาดความกว้างของฐานพระธาตุ ๓ เมตรมณฑล มีพระธาตุน้อย รอบ ทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งมีพระบรมธาตุเก็บบรรจุไว้ยอดฉัตรทำด้วยเงิน พระธาตุสร้างขึ้น วันพฤหัสบดี ที่ ๙ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ปีวอก พระธาตุคูณคำธรรมเจดีย์ สร้างจนถึง พ.ศ. ๒๕๓๖ แล้วเสร็จในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ กระนั้นทางวัดจึงได้กำหนดให้ เดือนเมษายน เป็นงานนมัสการพระธาตุคูณคำธรรมเจดีย์นี้ตลอดมา - ประวัติพระบรมสารีริกธาตุ (พระอุรังคธาตุเบื้องซ้าย) และการอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่พระธาตุคูณคำธรรมเจดีย์ ภายหลังที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปะเถระเจ้า ได้เป็นผู้เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าในส่วนต่างๆไว้ เพื่อมอบให้พระมหากษัตริย์ซึ่งมีพระนามว่า “พระเจ้าอโศกมหาราช” ในอนาคตกาล ครั้นมาถึงปี พ.ศ. ๒๑๘ ได้มีพระมหากษัตริย์ ปกครองประเทศอินเดียพระนามว่า “พระเจ้าอโศกมหาราช” ซึ่งพระองค์ทรงมีความเลื่อมใสศรัทธา ในพระพุทธศาสนา อันเนื่องมาจากทรงได้ฟังธรรมเทศนาจากสามเณร “นิคโรธ” ซึ่งได้สำเร็จเป็นสามเณรอรหันต์ โดยสามเณรนิคโรธเป็นศิษย์ของพระอรหันต์ชื่อว่า “พระโมทะคลิติสสะเถระเจ้า” ในขณะเดียวกันท่านก็เป็นผู้เก็บรักษาพระอุรังคธาตุเบื้องซ้ายสืบต่อจากพระมหากัสสปะเถระเจ้า ไว้ด้วย ในกาลนั้น พระโมทะคลิติสสะเถระเจ้า ได้มอบพระอุรังคธาตุเบื้องซ้ายให้แก่ “พระมหินทรา” ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่ออัญเชิญพระอุรังคธาตุเบื้องซ้าย พร้อมด้วยต้นพระศรี- มหาโพธิ์ ไปประดิษฐาน ณ เมือง “อนุราธาปุระ” (อดีตเมืองหลวง ประเทศศรีลังกา) กาลล่วงมาถึง ปี พ.ศ. ๒๔๔๗ พระอรหันต์ชื่อ “ พระญานิสรมหาเถระ” ซึ่งจำพรรษาอยู่แต่ในถ้ำและไม่รับตำแหน่งใดๆทางสงฆ์ ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของสมเด็จพระสังฆราช ดร.ธรรมเสน มหาเถโร ครั้งนั้นพระญานิสรมหาเถระ ได้เดินทางไปยังประเทศศรีลังกา เพื่อรับมอบพระอุรังคธาตุเบื้องซ้าย จากสมเด็จพระสังฆราชอุปมหาเสนมหาเถระเจ้า และรัฐบาลประเทศศรีลังกา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ พระญานิสรมหาเถระเจ้า ได้มอบพระอุรังคธาตุเบื้องซ้ายให้แก่ ลูกศิษย์ของท่าน คือ สมเด็จพระสังฆราช ดร. ธรรมเสน มหาเถโร เพื่อเก็บรักษาสืบไป จนกระทั่งเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ในระหว่างวันที่ ๔-๘ เดือนพฤษภาคม พระครูภานาสกลธรรม (หลวงปู่ขาว พุทฺธรกฺขิโต) เจ้าอาวาสวัดป่าคูณคำวิปัสสนา ได้เดินทางไปยังประเทศบังคลาเทศ เพื่อรับมอบพระอุรังคธาตุเบื้องซ้าย ในวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จาก ดร.ธรรมเสน มหาเถโร สมเด็จพระสังฆราชประเทศบังคลาเทศ หลังจากที่พระครูภาวนาสกลธรรม (หลวงปู่ขาว พุทฺธรกฺขิโต) ได้รับมอบ พระอุรังคธาตุ เบื้องซ้าย และเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยแล้ว ได้มีพิธีเฉลิมฉลองสมโภช พระบรมสารีริกธาตุ พระอุรังคธาตุเบื้องซ้าย ณ วัดป่าคูณคำวิปัสสนา ตั้งแต่วันที่ ๙ – ๑๘ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ และปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ปัจจุบัน พระครูภาวนาสกลธรรม (หลวงปู่ขาว พุทฺธรกฺขิโต )ได้จัดพิธีเฉลิมฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ พระอุรังคธาตุเบื้องซ้าย ในระหว่างวันที่ ๑ – ๓ เดือน เมษายน ประกอบกับการก่อสร้างพระธาตุคูณคำธรรมเจดีย์ (องค์บูรณะ) แล้วเสร็จ และน้อมถวายแด่ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก พระเดชพระคุณพระพรหมเวที เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม ในการนี้ พระครูภาวนาสกลธรรม (หลวงปู่ขาว พุทฺธรกฺขิโต) ได้รับความเมตตา จากสมเด็จพระสังฆราช ดร.ธรรมเสน มหาเถโร สมเด็จพระสังฆราชประเทศบังคลาเทศ เสด็จมาเป็นเกียรติร่วมงานฉลองสมโภชในครั้งนี้ด้วย ซึ่งถือเป็นเกียรติอันสูงสุดและเป็นประวัติศาสตร์ของทั้งสองประเทศระหว่างไทยกับบังคลาเทศ ในการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันในด้านพระพุทธศาสนา และเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงาม และสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ธำรงอยู่คู่อนุชนสืบไปตลอดกาลนาน - ระยะเวลาสืบทอด การเก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ พระอุรังคธาตุเบื้องซ้าย (จากผู้เก็บรักษา คนแรกจนมาประดิษฐาน ณ วัดป่าคูณคำวิปัสสนา) จากพระมหากัสสปะเถระเจ้า - พระโมทะคลิติสสะ –พระมหินทรา(พระราชโอรส พระเจ้าอโศกมหาราช ระยะเวลาเก็บรักษา ๒๑๘ ปี จากพระมหินทรา (พ.ศ. ๒๑๘ ) – พระญานิสรมหาเถระ (พ.ศ. ๒๔๔๗) ระยะเวลา เก็บรักษา ๒๒๒๙ ปี จากพระญานิสรมหาเถระ (พ.ศ. ๒๔๔๗) – ดร.ธรรมเสน มหาเถโร (พ.ศ. ๒๔๙๓) ระยะเวลา เก็บรักษา ๔๖ ปี จาก ดร.ธรรมเสน มหาเถโร ( พ.ศ. ๒๔๙๓) – พระครูภาวนาสกลธรรม (พระอธิการสุพัตร พุทฺธรกฺขิโต) หลวงปู่ขาว (พ.ศ. ๒๕๕๔) ระยะเวลาเก็บรักษา ๖๑ ปี[2]
เป็นแหลงท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ตั้งในเขตป่าชุมชนบ้านกุดแอด อยู่ห่างจากอำเภอกุดบากไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๕ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากบ้านกุดแฮดประมาณ ๗ กิโลเมตรลักษณะเป็นบริเวณแนวผาของเทือกเขาภูพาน หน้าผ้ามีความยาวประมาณ ๔๐๐ เมตร จุดที่เรียกว่าเหวหำหด จะมีชะง่อนหินที่แยกตัวจากหน้าผา และความลึกของหน้าผาประมาณ ๒๕๐ เมตร ประวัติ ในอดีตบริเวณหน้าผามักจะมีฝูงผึ้งมาทำรังอยู่หลายๆรัง ชาวบ้านกุดแฮดเรียกว่าผาผึ้ง ถ้าเราไปยืนหน้าผาจะสามารถมองไปไกล ๆ หมู่แมกไม้ธรรมชาติหลากหลายชนิดที่ขึ้นอยู่ในลักษณะสลับซับซ้อนบนยอดเขาหลาย ๆลูก แต่ถ้ามองลงไปข้างล่างในระยะใกล้จะเห็นสภาพพื้นที่หรือต้นไม้ที่อยู่ลึกลงไป และก็เกิดความรู้สึกหวาดเสียว หวาดกลัว เป็นคำกล่าวของคนอีสานทั่วไปว่า กลัวจนหำหด แต่จริง ๆแล้วมีเรื่องเล่ากันมาว่า มีผู้หญิงแม่ลูกอ่อนคนหนึ่ง สามีพามาถางป่าจุดป่าทำไร่พริกไร่ฝ้ายบนป่าโคก และวันหนึ่งสามีได้ลงไปทางลุ่มเหวเพื่อหาอาหารป่า ฝ่ายภรรยาก็ทำงานที่สวนรอ จนนานสามียังไม่กลับมาเลยอุ้มลูกน้อยชื่อว่า บักหำ ซึ่งมีอายุ ประมาณ ๑ ปี ไปตามหา มาถึงแนวผาผึ้งก็ไปยืนริมหน้าผา ลูกน้อยก็คาสะเอวอยู่ปากก็ตะโกนด้วยความ หวาดเสียว ลูกน้อยที่แม่อุ้มอยู่ก็หดตัวกอดแม่ไว้แน่นก็เลยเป็นที่เรียกกันต่อ ๆมาว่า เหวบักหำหด ต่อมาเรียก สั้นๆว่า เหวหำหด[3]
ผาถ้ำพวง หรือ ถ้ำพวง เป็นเงิบหินขนาดใหญ่ตั้งซอนกันอยู่ริมหน้าผาและระหว่างเงิบหิมมีช่องว่าง ชาวบ้านที่เดินป่า ไปเลี้ยงวัวควาย หาของป่า มักจะเข้าไปนอนพักผ่อน เนื่องจากอากาศเย็นสบายเพราะมีลมพัดอยู่ตลอดเวลา และหน้าฝนสามารถใช้หลบฝนได้หลายคน ตรงบริเวณหน้าผาจะมองเห็นยอดภู ซ้ายมือจะมองเห็นภูก่อ ภูมะแงว ตรงหน้าจะเป็นภูสูง ซึ่งเมื่อขึ้นไปบนภูสูงจะสามารถมองเห็นเขื่อยลำปาวได้ สมัยก่อนภายใต้ผาเงิบจะมีหินปูนลักษณะคล้ายเต้านม หรือ "พวงนม" ตามภาษาท้องถิ่น เป็นจุดๆ เรียงเหมือนกันและมีน้ำหยดตามหินย้อยเหล่านั้นตลอดเวลา ชาวบ้านจะเอาขวดไปรองดื่ม ต่อมาชาวบ้านเชื่อว่าจะมีเหล็กไหลและมีคนลอบไปขุดค้น อาจทำให้เกิดอาเพศจึงได้ถมหลุมที่ขุด จากนั้นประมาณปี 2527 อาจารย์จุฬา สหชัย และท่านพระครูอุดมพิริยกิจ เจ้าอาวาสวัดบ้านกุดแฮดและพระวิบูลย์ธรรมรส ได้นำพาชาวบ้านแบกขนวัสดุอุปกรณ์ขึ้นไปปั้นพระพุทธรูปและพระอัครสาวกเบื้องซ้ายขวาเพื่อให้คนสักการบูชา และทุกปีในวันวิสาขบูชาชาวบ้านกุดแฮดจะประกอบพิธีงานบุญสรงพระถ้ำและบวงสรวงบอกกล่าวเข้าป่าเชาเพื่อขอให้ฟ้าฝนตกูกต้องตามฤดู จนเป็นฮีตเดือนหกของไทกะเลิงมาจนถึงปัจจุบัน
“แก่งกะลังกะลาด” เป็นบริเวณทางน้ำไหลผ่านแผ่นหินทราย ในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก ในท้องที่บ้านกุดแฮด หมู่ที่ 4 ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร (เขตรอยต่อระหว่างอำเภอกุดบากกับอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร) ไหลลงสู่ลำห้วยน้ำท่วม ลำห้วยอีด่อน และไหลลงสู่เขื่อนน้ำอูน ในท้องที่อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร “กะลังกะลาด” เป็นภาษาถิ่นของชนเผ่ากะเลิงที่เรียกชื่อสถานที่ดังกล่าวมาตั้งแต่บรรพบุรุษ หมายถึง บริเวณที่น้ำไหลผ่านแผ่นหินทรายมีความลาดเอียงเฉลี่ยประมาณ 15-20 องศา โดยไหลผ่านก้อนหินทั้งก้อนใหญ่และเล็กซึ่งตั้งกระจายอยู่ทั่วบริเวณแผ่นหินที่น้ำไหลผ่าน มีพื้นที่เป็นบริเวณกว้างเฉลี่ยประมาณ 30 เมตร และยาวประมาณ 100 เมตร รวมเนื้อที่บริเวณแก่งกะลังกะลาด ประมาณ 4 ไร่ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าแก่งดังกล่าวเกิดขึ้นในปีใด เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2562 นายอำเภอกุดบากในขณะนั้น (นายปรีชา มณีสร้อย) ได้นำปลัดอำเภอกุดบาก พร้อมด้วยสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (อส.) สังกัดกองร้อยอาสารักษาดินแดน ที่ 8 อำเภอกุดบาก เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก กำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯลฯ ตำบลกุดบาก และชาวบ้านกุดแฮด ออกลาดตระเวนเพื่อสำรวจและดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติในเขตท้องที่ตามอำนาจหน้าที่ ได้สำรวจพบรอยเท้าสัตว์คล้ายรอยเท้าไดโนเสาร์ รอยเท้านก และรอยเท้าสัตว์อื่นเป็นจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วแผ่นหินทราย บริเวณแก่งกะลังกะลาด วันที่ 21 พฤษภาคม 2562 อำเภอกุดบากและอุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก ได้เชิญ ดร.วราวุธ สุธีธร นักธรณีวิทยา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ในขณะนั้น) พร้อมคณะ มาสำรวจและตรวจสอบข้อมูลทางธรณีวิทยาบริเวณแก่งกะลังกะลาด พบว่า รอยเท้าสัตว์และคลื่นน้ำบนแผ่นหินที่เกิดขึ้นบริเวณดังกล่าว ตำแหน่งที่พบรอย จัดอยู่ในหมวดหินพระวิหาร (PhraWihan Formation) กลุ่มหินโคราช ลักษณะทางกายภาพของหิน ประกอบด้วยหินทราย (Sandstones) สีขาวปนหลือง สีส้ม สีเทา เม็ดละเอียดถึงหยาบ นอกจากนี้ยังมีหินทรายแป้ง(Siltstones)หินโคลน (Mutdstones)ชั้นบางแทรกสลับบ้าง ในช่วงบนของลำดับชั้นหินมักมีกรวดของพวกควอรตช์ และหินเชิร์ทปน อาจพบหินกรวดมนได้บ้างแต่ไม่มากนัก สรุปผลการสำรวจเบื้องต้น จากร่องรอยที่พบ เป็นรอยที่มีลักษณะเป็นสามนิ้ว แต่รอยไม่ต่อเนื่องจึงไม่สามารถหาแนวทางเดินได้และบางรอยมีความไม่ชัดเจนเนื่องจากเกิดการกัดกร่อนพื้นผิวด้านบนของรอยจึงทำให้ส่วนที่เป็นรอยอุ้งตีนหายไปเหลือเพียงส่วนปลายนิ้วและเล็บ แต่จากรอยที่เห็นได้ชัดเจนว่ามีสามนิ้ว สามารถสรุปได้ว่าเป็นรอยของไดโนเสาร์กินเนื้อ กลุ่มเทอโรพอด (Theropod) เป็นไดโนเสาร์ที่มีความหลากหลายของรูปร่าง ตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าไก่ และใหญ่กว่าช้าง หรือราว 17 เมตร สามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เทอโรพอดขนาดใหญ่ (Carnosaur) และเทอโรพอดขนาดเล็ก (Coelurosaurs)เป็นพวกวิวัฒนาการจนตัวเล็กลง แต่ยังมีเขี้ยวเล็บแหลมคมตามแบบฉบับของเทอโรพอด และมีความว่องไวปราดเปรียว โดยส่วนใหญ่เทอโรพอดจะกินเนื้อเป็นอาหาร ดูได้จากลักษณะฟันของพวกมันที่มีฟันคม ขอบฟันเป็นหยักสำหรับตัด และฉีกชิ้นเนื้อ อีกทั้งยังเป็นไดโนเสาร์ที่เดินด้วย 2 ขาหลัง มีนิ้วตีนจำนวน 4 นิ้ว คล้ายไก่ในปัจจุบัน โดยนิ้วที่หนึ่งจะมีการลดขนาดจนเล็กคล้ายเดือยไก่ ทำให้รอยตีนที่พบส่วนใหญ่เป็นรอยที่มีเพียง 3 นิ้ว ต่อมาในห้วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2562 อำเภอกุดบาก และอุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก ได้ร่วมกับ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการนำของ ดร.สุรเวช สุธีธร อาจารย์ประจำภาควิชาและนักบรรพชีวิน นางสาวเบญจพร ฤทธิ์จันอัด และนางสาวฐิตาภา นามโคตร นักศึกษา ได้ทำการศึกษาวิจัย “รอยตีนของสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่พบในหมวดหินพระวิหาร ยุคครีเทเชียสตอนต้น (145.5+-4.0 ล้านปี) ที่พบบริเวณแก่งกะลังกะลาด ในท้องที่บ้านกุดแฮด หมู่ที่ 4 ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ผลการสำรวจ พบทางเดินของสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ จำนวน 14 ลาน รอยตีนกว่า 2,144 รอย รอยที่พบไม่เหมือนรอยตีนสัตว์หรือรอยตีนไดโนเสาร์ที่เคยพบมาก่อนในช่วงอายุเดียวกัน มีรอยที่เหมือนเดินด้วย 1 นิ้ว 2 นิ้ว และ 3 นิ้ว บางรอยคล้ายกับรอยลากขาที่เกิดจากการว่ายน้ำ และรอยตีนในสภาพดินตะกอน และดินโคลนที่มีน้ำท่วมขัง อนุมานได้ว่า สภาพดินบริเวณแก่งกะลังกะลาดในยุคครีเทเชียส มีสภาพคล้ายหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำในยุคบรรพกาล ปัจจุบันอำเภอกุดบากได้ร่วมกับอุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก พร้อมด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯลฯ เทศบาลตำบลกุดแฮด และชาวอำเภอกุดบาก พัฒนาแก่งกะลังกะลาด ให้เป็น “แหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา รอยสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์และแม่น้ำโบราณ 140 ล้านปี” เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติจุดชมวิวผาถ้ำพวง และเหวหำหด ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกัน[4][5]
เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริ ว่าควรพิจารณาวางโครงการ และก่อสร้างอ่างเก็บน้ำทางบริเวณต้นน้ำลำห้วยกระเฌอเพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรหมู่บ้านค้อน้อย และหมู่บ้านค้อใหญ่ในเขตตำบลกุดไห อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร พื้นที่ประมาณ ๕,๕๐๐ ไร่ ให้สามารถทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ตลอดจนมีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคของราษฎรในหมู่บ้านอย่างเพียงพอตลอดปี[6]
ศูนย์อินแปง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน ที่มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของสมาชิกอย่างต่อเนื่อง มีสมาชิกเครือข่าย ๘๔ หมู่บ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็น ชาวกะเลิงที่อยู่รอบๆ ภูพาน มีกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ชุมชน ได้แก่ กลุ่มเด็กฮักถิ่น และทำกิจกรรมการแปรรูปผลผลิต การรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้านการอนุรักษ์และการขยายพันธุ์พืช โดยมีพ่อเล็ก กุดวงศ์แก้ว เป็นแกนนำสำคัญของกลุ่ม ฯ อินแปง เกิดจากแนวคิดที่ว่า “การพัฒนาแบบเอาปัญญามาก่อนเงิน” โดยคนในชุมชนจะร่วมกันคิดแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานของทุนและทรัพยากรในชุมชนที่มีอยู่ อาทิ วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ดิน น้ำ ป่า ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น จากนั้นจึงร่วมกันกำหนดเป็นแผนการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารของชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการผลิตให้พออยู่พอกิน ถ้าเหลือจึงขายหรือแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งทำควบคู่ไปกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชุมชนจำนวน 132 ป่าพื้นที่รวมทั้งสิ้น 150,000 ไร่[7]
- ชุมชนบ้านกุดแฮด บ้านกุดแฮดสมัยก่อนที่นี่มีแรดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า “บ้านกุดแฮด” ตามภาษาพื้นบ้าน กุด หมายถึง สั้น ส่วนแฮด หมายถึง แรด ชาวบ้านกุดแฮด เป็นชาว “กะเลิง” ชนชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงมาอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ ภาษากะเลิง เป็นภาษาที่จัดใน ตระกูลไท เช่นเดียวกับภาษาผู้ไท กะเลิง ไม่มี ฟ ใช้ พ แทน เช่น ไพพ้า อาชีพ ชาวบ้านกุดแฮด คือ เกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น ทำสวน ทำนา และเลี้ยงสัตว์ ประเพณี วัฒนธรรม ที่สำคัญ ชาวบ้านกุดแฮด พิธีเลี้ยงผีหมอ หรือเลี้ยงผีหมอใหญ่กะเลิง พิธีเหย หรือไหว้ครูหมอเหยาจะจัดขึ้นทุกปี โดยจัดหลังจากเสร็จงานเลี้ยงปู่ตาและ พิธีเลี้ยงผีหมอ บ้านกุดแฮด ได้ยึด เอาประเพณีฮิต 12 คอง 14 มาเป็น สิ่งยึดเหนี่ยวใจและถือปฏิบัติเหมือน หมู่บ้านอื่น ๆ ในภาคอีสาน อาหารพื้นบ้าน ตามฤดูกาล เช่น ต้มไก่บ้านหรือไก่นึ่งสมุนไพร ปลานึ่งจิ้มแจ่ว แกงหน่อไม้ใส่ซี่โครงหมู ซุปมะเขือเทศใส่เห็ด และฟักทองบวช สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ศูนย์เรียนรู้การทอผ้าย้อมครามบ้านกุดแฮด เป็นแหล่งเรียนรู้และเก็บรวบรวมองค์ ความรู้ด้านการทอผ้าย้อมคราม มี นิทรรศการ ร้านค้าจำหน่ายสินค้าชุมชน เหวทำหด แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ในเขตชุมชนกุดแฮด สำนึกปฏิบัติธรรม ป่าสักวัดบ้านกุดแฮดหรือวัดป่าช้า ผลิตภัณฑ์เด่น บ้านกุดแฮด มีผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอ ผ้าไหมย้อม ครามหลากหลายรูปแบบทั้งเสื้อผ้า พื้นเมือง ซิ่นผ้าคราม ผ้าครามชิ้น ผ้าคลุมไหล่ ผ้าไหมชิ้น ซิ่นผ้าไหมชิ้น และผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น กระเป๋า ผ้าคราม น้ำหมากเม่า - บ้านหนองสะไน บ้านหนองสะใน เดิมมีคนพบ สะใน (เครื่องเป่าไล่ช้างทำมา จากเขาควาย) ในหนองน้ำ ซึ่งอยู่ทาง ทิศเหนือของหมู่บ้าน เลยตั้งชื่อ หนองน้ำว่า "หนองสะใน" เมื่อ การ ตั้งบ้านเรือนติดกับหนองน้ำ จึงตั้งชื่อ หมู่บ้านว่า "บ้านหนองสะไน ชาวบ้านหนองสไน เป็นชาว "กะเลิง" ชนชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มาอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง พื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบัน ภาษากะเลิง เป็นภาษาที่จัดในตระกูลไท เช่นเดียวกับภาษาผู้ไท กะเลิง ไม่มี ฟ ใช้ พ แทน เช่น ไพฟ้า อาชีพ ชาวบ้านหนองสะไน คือ ทำนา ทำสวน รับจ้าง ค้าขาย เลี้ยงสัตว์ ประเพณี วัฒนธรรม ชาวบ้านหนองสะในพากันถือประเพณีปฏิบัติ ฮีต 12 คอง 14 "ฮีตสิบสอง"หมายถึง จารีตประเพณีประจำสิบสองเดือน ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่ชาวบ้านจะได้มาร่วมชุมนุมและทำบุญในทุก ๆ เดือนของรอบปีและถือเป็นจรรยาของสังคม ผู้ที่ฝ่าฝืนก็จะเป็นผู้ที่ผิดฮีตหรือผิดจารีตนั่นเอง "คองสิบสี่" ที่เป็นดังแบบแผนหรือแนวทางดำเนินชีวิต แต่จะมุ่งเน้นไปทาง ศีลธรรม อาหารพื้นบ้าน บ้านหนองสะใน เป็นตามฤดูกาล เช่น ส้มตำ ไก่ย่างลาบ ต้ม ยำ ปลาทูทอด สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ บ้านหนองสะในมีภูถ้ำพระเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ บ้านหนองสะไน ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ ไม้พรรณนานาชนิด น้ำตก ถ้ำ แก่ง หน้าผา และเพิงหน้าผาที่มีการ จารึกภาษาขอม ผลิตภัณฑ์เด่น ผ้าย้อมครามซึ่งการทอผ้าย้อมครามมีวิธีการขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ การเลือกพื้นที่ปลูกคราม การดูแลรักษา การย้อมคราม และยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าย้อมครามอีกด้วย อ้างอิง
|