Share to:

 

อำเภอวาริชภูมิ

อำเภอวาริชภูมิ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Waritchaphum
วัดธาตุศรีมงคล
คำขวัญ: 
หวายแก้ววาริช แหล่งผลิตยางพารา งามตาผ้าไหม
สาวภูไทสวยล้ำ อุตสาหกรรมนมสด เรืองโรจน์วัฒนธรรม
แผนที่จังหวัดสกลนคร เน้นอำเภอวาริชภูมิ
แผนที่จังหวัดสกลนคร เน้นอำเภอวาริชภูมิ
พิกัด: 17°17′36″N 103°38′12″E / 17.29333°N 103.63667°E / 17.29333; 103.63667
ประเทศ ไทย
จังหวัดสกลนคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด476.125 ตร.กม. (183.833 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด52,633 คน
 • ความหนาแน่น110.55 คน/ตร.กม. (286.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 47150
รหัสภูมิศาสตร์4706
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอวาริชภูมิ ศูนย์ราชการอำเภอวาริชภูมิ หมู่ที่ 1 ตำบลวาริชภูมิ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร 47150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

วาริชภูมิ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสกลนคร โรงเรียนประจำอำเภอคือโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ

ประวัติ

เมื่อปี พ.ศ. 2387 ชาวภูไทเมืองกะป๋อง ( เมืองเซโปน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ) ประมาณ 400 ครัวเรือน โดยมีท้าวคำเขื่อนเป็นหัวหน้า ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้ามายังประเทศสยาม สาเหตุมาจากการเกลี้ยกล่อมจากทางการสยาม ต่อมาท้าวคำเขื่อนได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน ท้าวราชนิกูล บุตรของท้าวคำเขื่อนเป็นผู้นำสืบต่อในการอพยพครั้งนั้น ขบวนผู้อพยพได้เดินทาง พักแรม ผ่านเขตเมืองนครพนม สกลนคร ต่อมาได้พาครอบครัวและบ่าวไพร่อพยพเข้าสู่เมืองสกลนคร เจ้าเมืองและกรมการเมืองสกลนคร์ได้จัดสรรพื้นที่ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ชั่วคราว จนกระทั่งปี พ.ศ. 2390 ครอบครัวและบ่าวไพร่ของท้าวราชนิกุลอัตคัดที่ทำกิน จึงได้พาราษฎรย้ายออกจากเมืองสกลนคร เเละได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านหนองหอย ( อำเภอวาริชภูมิในปัจจุบัน ) อย่างไรก็ตามทางกรมการเมืองสกลนครได้มาเกลี้ยกล่อมให้ท้าวราชนิกูลพาราษฎรกลับไปอาศัยอยู่ท้องที่เดิมในเมืองสกลนคร ท้าวราชนิกุลจึงตอบตกลงยอมพาราษฎรกลับไปอาศัยอยู่ที่เดิม (ในเมืองสกลนคร) จนกระทั่งถึงปีพ.ศ. 2419 ท้าวราชนิกุลได้ขอยกบ้านหนองหอยขึ้นเป็นเมืองแต่กรมการเมืองสกลนครไม่ยอมเสนอขึ้นทูลเกล้า ท้าวราชนิกูลจึงให้ท้าวสุพรหม บุตรชายไปร้องเรียนต่อทางราชการ แต่ติดขัดที่กรมการเมืองสกลนครไม่ยื่นเรื่องดำเนินการขอยกบ้านหนองหอยให้เป็นเมือง ท้าวราชนิกูลกับท้าวสุพรหมจึงอพยพออกจากเมืองสกลนครกลับมาอยู่ที่บ้านหนองหอยตามเดิม ต่อมาในปี พ.ศ.2420 ท้าวราชนิกูลกับท้าวสุพรหม ได้ขอร้องให้พระพิทักษ์เขตขันธ์หรือพิทักษ์เขื่อนขันธ์ เจ้าเมืองหนองหานหรือเมืองหนองหานน้อย (อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี) เชื้อสายราชวงศ์เจ้าจารย์เเก้วเเห่งเมืองท่งศรีภูมิหรือสุวรรณภูมิ (อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน) ขอพระราชทานยกฐานะบ้านหนองหอยขึ้นเป็นเมือง เนื่องจากเห็นว่าเป็นทำเลที่ดี มี กุ้ง หอย ปู ปลา แหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ เจ้าเมืองหนองหานจึงมีใบบอก กราบบังคมทูลขอตั้งบ้านป่าเป้าเมืองไพรในแขวงเมืองหนองหาน (ไม่ได้ตั้งที่บ้านหนองหอย) เป็นเมืองวาริชภูมิ แล้วให้ท้าวสุพรหม เป็นพระสุรินทร์บริรักษ์ (สุพรหม) เป็นเจ้าเมืองวาริชภูมิท่านเเรกขึ้นตรงต่อเมืองหนองหาน เเต่ต่อมาชาวเมืองวาริชภูมิก็ไม่ได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านป่าเป้าเมืองไพรพื้นที่ที่เสนอที่ตั้งเมืองตามใบบอกหากแต่ยังคงอาศัยอยู่ที่บ้านหนองหอย แขวงเมืองสกลนครตามเดิม[1][2]

ในช่วงระยะแรกของเมืองวาริชภูมิ การทำราชการต่าง ๆ จะขึ้นกับเมืองหนองหาน แต่เกิดกรณีพิพาทเขตแดนระหว่างเมืองหนองหาน กับเมืองสกลนครอยู่บ่อยครั้ง สาเหตุเนื่องมาจากการที่ราษฎรเมืองวาริชภูมิไม่ไปอยู่ในท้องที่ตามตราภูมิเมืองนั้น ทำให้เกิดปัญหาเรื่องตัวเลือกระหว่างเมืองหนองหานและเมืองสกลนคร จนกระทั่งในที่สุด ปี พ.ศ. 2435 พลตรี พระเจ้าบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ มีคำสั่งให้โอนการทำราชการของเมืองวาริชภูมิไปขึ้นกับเมืองสกลนคร แต่ให้กรมการเมืองวาริชภูมิยังคงตำแหน่งเดิมทุกคน และในปี พ.ศ. 2441 มีพระราชโองการประกาศใช้ข้อบังคับท้องที่ ร.ศ.117 ให้ยกเลิกตำแหน่ง อุปฮาด ราชบุตร ราชวงษ์ ซึ่งเป็นตำแหน่งเดิมแบบอาณาจักรล้านช้างโบราณ มาเป็นตำแหน่งข้าราชการเช่นเดียวกับส่วนกลางทั่วประเทศ ในครั้งนั้น คณะกรมการเมืองวาริชภูมิ ประกอบด้วย พระสุรินทรบริรักษ์ ( สุพรม เหมะธุลิน ) ผู้ว่าราชการเมือง, หลวงสมัครวาริชกิจ ( หล้า ) ปลัดเมือง, หลวงสฤษฎ์วาริชการ ( พิมพ์ ) ศาลเมือง ( ยกกระบัตรเมือง ), ขุนสมานวาริชภูมิ ( คำตัน ) ศาลเมือง ( ยกกระบัตรเมือง ), ขุนราชมหาดไทย ( เคน ) มหาดไทย, ขุนบริบาล (วันทอง ) นครบาล, ขุนพรหมสุวรรณ ( เพชร ) คลังเมือง และขุนศรีสุริยวงศ์ ( บุตร ) โยธาเมือง[3]

เรียงลำดับการเปลี่ยนแปลงของเมืองวาริชภูมิได้ดังนี้

  • พ.ศ. 2430 มีการจัดตั้งเมืองวาริชภูมิขึ้นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2440 ปรับเปลี่ยนเมืองวาริชภูมิ เป็นอำเภอวาริชภูมิ ในปีเดียวกัน ได้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้เมือง จึงทำให้ผู้คนต่างแยกย้ายออกไปตั้งบ้านเรือนที่อื่น
  • พ.ศ. 2457 อำเภอวาริชภูมิ ถูกปรับเปลี่ยนเป็นตำบลวาริชภูมิ ขึ้นกับอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
  • พ.ศ. 2469 เปลี่ยนจากตำบลวาริชภูมิ เป็นกิ่งอำเภอวาริชภูมิ
  • พ.ศ. 2496 เปลี่ยนจากกิ่งอำเภอวาริชภูมิ เป็นอำเภอวาริชภูมิ จนถึงปัจจุบัน[4]

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอวาริชภูมิตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอวาริชภูมิแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 71 หมู่บ้าน ได้แก่

1. วาริชภูมิ (Waritchaphum) 20 หมู่บ้าน
2. ปลาโหล (Plalo) 16 หมู่บ้าน
3. หนองลาด (Nong Lat) 11 หมู่บ้าน
4. คำบ่อ (Kham Bo) 18 หมู่บ้าน
5. ค้อเขียว (Kho Khiao) 6 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอวาริชภูมิประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลวาริชภูมิ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลวาริชภูมิ
  • เทศบาลตำบลปลาโหล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปลาโหลทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลคำบ่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำบ่อทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหนองลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองลาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวาริชภูมิ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวาริชภูมิ (นอกเขตเทศบาลตำบลวาริชภูมิ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลค้อเขียว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลค้อเขียวทั้งตำบล

อ้างอิง

  1. http://husojournal.ksu.ac.th/manage/upload_file/6NlHoDQCci520131128223818.pdf[ลิงก์เสีย] มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ วารสารวิถีสังคมมนุษย์ ปีที่ 1 ฉบับพิเศษ เดือนมกราคม - มิถุนายน พ.ศ. 2556 : " ภูไทกะป๋อง " ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธ์ภูไทในลุ่มน้ำโขงตอนกลาง , ดร.สพสันติ์ เพชรคำ
  2. "ประวัติความเป็นมา อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร". สืบค้นเมื่อ 2023-05-27.
  3. https://www.facebook.com/KrmKarmeuxngSwangdaendin/posts/524117240978302กรมการเมืองสว่างแดนดิน พระสุรินทรบริรักษ์ , ธวัช ปุณโณทก เรียบเรียง
  4. http://phutaikapong.blogspot.com/p/blog-page_8.htmlการอพบพของกลุ่มไทดำ ไทกะป๋องวาริชภูมิ
Kembali kehalaman sebelumnya