Share to:

 

อำเภอท่าชนะ

อำเภอท่าชนะ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Tha Chana
คำขวัญ: 
หอยขาวอร่อยดี คันธุลีทุเรียนเด็ด หาดสำเร็จเที่ยวสบาย ท่ากระจายผ้าไหมงาม เลื่องลือนามระกำหวาน ไหว้อังคารพุทธทาส ชมธรรมชาติเขาประสงค์ ลืมไม่ลง...ท่าชนะ
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอท่าชนะ
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอท่าชนะ
พิกัด: 9°34′20″N 99°9′54″E / 9.57222°N 99.16500°E / 9.57222; 99.16500
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด687.4 ตร.กม. (265.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด54,601 คน
 • ความหนาแน่น79.43 คน/ตร.กม. (205.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 84170
รหัสภูมิศาสตร์8407
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอท่าชนะ หมู่ที่ 4 ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84170
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ท่าชนะ เป็นอำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นับเป็นประตูสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ประวัติ

มีหลักฐานตั้งแต่ ร.ศ. 123 (พ.ศ. 2447) ว่า พื้นที่อำเภอท่าชนะในปัจจุบันเดิมอยู่ในเขตพื้นที่ของ อำเภอประสงค์[1][2] ขึ้นอยู่กับเมืองหลังสวน สังกัดมณฑลชุมพร และใน ร.ศ. 125 ทางราชการได้ย้ายอำเภอประสงค์ เขตเมืองหลังสวน มาขึ้นกับเขตเมืองไชยา[3]

ต่อมา ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) เมื่อมีการปรับปรุงหัวเมืองและเทศาภิบาลทั้งหลาย อำเภอประสงค์ถูกยุบลงเป็น กิ่งอำเภอประสงค์[4] ให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอพุมเรียง (อำเภอไชยา) ภายหลังกิ่งอำเภอประสงค์ถูกยุบลงเหลือเพียงเป็นตำบลประสงค์ สังกัดกับอำเภอเมืองไชยา[5] เนื่องจากผู้คนพลเมืองน้อย การงานก็เบาบางลง ลู่ทางไปมาตรวจตราระหว่างกิ่งอำเภอประสงค์ และอำเภอเมืองไชยาสะดวกขึ้นกว่าแต่ก่อน

ในปี พ.ศ. 2490 ท้องที่อำเภอประสงค์เดิมได้ถูกจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภออีกครั้ง ในชื่อ "กิ่งอำเภอท่าชนะ"[6] โดยรวมพื้นที่ตำบลท่าชนะ ตำบลวัง ตำบลประสงค์ ตำบลสมอทอง และตำบลคันธุลี และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอไชยา และในอีก 8 ปีถัดมา ท้องที่ของกิ่งอำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา ก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอท่าชนะ[7] จนถึงปัจจุบัน

  • วันที่ 16 กันยายน 2449 ยกพื้นที่อำเภอประสงค์ แขวงเมืองหลังสวน มาขึ้นกับเขตเมืองไชยา[3]
  • วันที่ 2 พฤษภาคม 2452 ยุบอำเภอประสงค์ ลงเป็น กิ่งอำเภอประสงค์ และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอพุมเรียง (อำเภอไชยา)[4]
  • วันที่ 29 มิถุนายน 2462 ยุบกิ่งอำเภอประสงค์ และให้ไปขึ้นกับอำเภอเมืองไชยา[5]
  • วันที่ 30 กันยายน 2490 ตั้งตำบลสมอทอง แยกออกจากตำบลท่าชนะ และตำบลคันธุลี ตั้งตำบลวัง แยกออกจากตำบลตะกรบ และตำบลท่าชนะ (ในขณะนั้นอยู่ในการปกครองของอำเภอไชยา)[8]
  • วันที่ 9 ธันวาคม 2490 แยกพื้นที่ตำบลท่าชนะ ตำบลวัง ตำบลประสงค์ ตำบลสมอทอง และตำบลคันธุลี ของอำเภอไชยา มาจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอท่าชนะ[6] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอไชยา
  • วันที่ 5 มิถุนายน 2499 ยกฐานะกิ่งอำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา ขึ้นเป็น อำเภอท่าชนะ[7]
  • วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าชนะ ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าชนะ และตำบลสมอทอง[9]
  • วันที่ 27 กรกฎาคม 2508 เปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขท่าชนะ[10]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2531 ตั้งตำบลคลองพา แยกออกจากตำบลสมอทอง[11]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลท่าชนะ เป็นเทศบาลตำบลท่าชนะ[12] ด้วยผลของกฎหมาย

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอท่าชนะตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอท่าชนะแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล 82 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ท่าชนะ (Tha Chana) 10 หมู่บ้าน
2. สมอทอง (Samo Thong) 10 หมู่บ้าน
3. ประสงค์ (Prasong) 27 หมู่บ้าน
4. คันธุลี (Khan Thuli) 14 หมู่บ้าน
5. วัง (Wang) 8 หมู่บ้าน
6. คลองพา (Khlong Pha) 13 หมู่บ้าน
แผนที่
แผนที่

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอท่าชนะประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลท่าชนะ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าชนะและตำบลสมอทอง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชนะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าชนะ (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าชนะ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสมอทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสมอทอง (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าชนะ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประสงค์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคันธุลีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองพาทั้งตำบล

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง นายคลิ้ง นายอำเภอประสงค์ แขวงเมืองหลังสวนลาออก ให้หลวงพรหมสุภา นายอำเภอปะทิว เป็นนายอำเภอประสงค์ ให้นายสอนเป็นนายอำเภอปะทิว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (49): 905. March 5, 1904.
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เรื่อง ให้นายโพเป็นนายอำเภอพุนพิน ให้นายสอนเป็นนายอำเภอประสงค์ ให้พระเทพไชยบุรินทร์เป็นนายอำเภอท่าแซะ ให้นายเจริญเป็นนายอำเภอปทิว]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (8): 143. May 20, 1906.
  3. 3.0 3.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เรื่อง โอนอำเภอประสงค์จากเขตเมืองหลังสวนมาเป็นเขตเมืองไชยา รวมอยู่ในบ้านพุมเรียงและศาลพุมเรียง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (25): 626. September 16, 1906. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2020-10-11.
  4. 4.0 4.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบอำเภอประสงค์ แขวงเมืองไชยา ลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 137. May 2, 1909. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2020-10-11.
  5. 5.0 5.1 "ประกาศ เรื่อง ยุบกิ่งอำเภอประสงค์รวมกับอำเภอเมืองไชยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 36 (0 ก): 120. June 29, 1919. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2020-10-11.
  6. 6.0 6.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (60 ง): 3188–3193. December 9, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-11.
  7. 7.0 7.1 "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคำชะอี อำเภอย่านตาขาว อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอหนองบัว อำเภอวัฒนานคร อำเภอแสวงหา อำเภอท่าชนะ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอโนนสัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอคีรีมาศ อำเภอชนแดน อำเภอแม่แจ่ม อำเภอไทรน้อย และอำเภอบ้านแพง พ.ศ. ๒๔๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (46 ง): 657–661. June 5, 1956. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2020-10-11.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 2507–2533. September 30, 1947.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (75 ง): (ฉบับพิเศษ) 88-89. September 20, 1956.
  10. "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขท่าชนะ และชะอวด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (59 ง): 1929. July 27, 1965.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (143 ง): (ฉบับพิเศษ) 172-175. August 31, 1988.
  12. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-11.
Kembali kehalaman sebelumnya