มวยไชยามวยไชยา เป็นศิลปะมวยไทยประจำถิ่นอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีชื่อเสียงมากสมัยรัชกาลที่ 5 - 6 จนมีนักมวยจากไชยาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นมวยมีชื่อ ประวัติกำเนิดมวยไชยามีวัดเก่าแก่อรัญญิกชื่อวัดทุ่งจับช้าง เป็นวัดรกร้างอยู่ในป่าริมทางด่านเดิมที่จะไปอำเภอไชยา วัดนี้มีชื่อเสียงเพราะสมภารซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “พ่อท่านมา” เป็นชาวกรุงเทพฯได้หลบหนีไปอยู่เมืองไชยาด้วยเรื่องใดไม่ปรากฏ “พ่อท่านมา”ได้ฝึกสอนวิชามวยไทยแก่ชาวไชยาจนขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองมวย แม้ทุกวันนี้นักมวยที่ปรารถนาความสวัสดีมีชัย ต้องร่ายรำมวยเป็นการถวายคารวะหน้าที่บรรจุศพก่อนที่จะผ่านไป มวยสุราษฎร์ฯหรือมวยไชยาจึงมีชื่อเสียงตลอดมา มวยไทยไชยา จากหลักฐานและคำบอกเล่านั้นเริ่มต้นที่ พ่อท่านมา ไม่มีใครทราบว่าท่านมีชื่อจริงว่าอย่างไร ทราบแต่เพียงว่าท่านเป็น ครูมวยใหญ่ จากพระนคร บ้างก็ว่าท่านเป็น ขุนศึก แม่ทัพแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวเมืองจึงเรียกเพียงว่า พ่อท่านมา ท่านได้เดินทางมาที่เมืองไชยา และได้ถ่ายทอดวิชาการต่อสู้ไว้ให้แก่ชาวเมือง และศิษย์ที่ทำให้ มวยเมืองไชยา เป็นที่รู้จักมากที่สุดในยุค ร.5 คือ พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) ปรมาจารย์ เขตร ศรียาภัย เคยกล่าวไว้ว่า ท่าย่างสามขุม ของหลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) อาจารย์โรงเรียนสวนกุหลาบฯ พ.ศ. 2464 (ซึ่งเป็นศิษย์เอกของ ปรมาจารย์ พระไชยโชคชกชนะ (อ้น) เจ้ากรมทนายเลือกครูมวยและครูกระบี่กระบองผู้กระเดื่องนาม ในรัชสมัย ร.5) และปรมาจารย์ ขุนยี่สานสรรพยากร (ครูแสงดาบ) ครูมวยและครูกระบี่กระบอง ลือชื่อ ในสมัย ร.6 นั้นมีความกระชับรัดกุม ตรงตามแบบท่าย่างสามขุมของ ท่านมา (หลวงพ่อ) ครูมวยแห่งเมืองไชยา ท่านนับเป็นต้นสายของมวยไชยา มรดกอันล้ำค่าของคนไทย ศาลาเก้าห้องหลังจากที่กำเนิดมวยไชยาขึ้นแล้ว กิจการด้านนี้ก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับการชกมวยจึงเป็นกีฬาสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับเทศกาล, งานฉลองหรือสมโภชต่าง ๆ และมาเจริญสูงสุดครั้งหนึ่งคือสมัยศาลาเก้าห้อง ศาลาเก้าห้องนี้ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลพุมเรียง สร้างโดยพระยาวจีสัตยารักษ์ สร้างขึ้นเป็นสาธารณสมบัติศาลานี้สร้างขนานกับทางเดิน (ทางด่าน) มีเสาไม้ตำเสา 30 ต้น เสาด้านหน้าเป็นเหลี่ยม แถวกลางและแถวหลังเป็นเสากลม ระหว่างเสาสองแถวหลังยกเป็นพื้นปูกระดานสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร ส่วนระหว่างแถวหน้ากับแถวกลางเป็นพื้นดิน ยาวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ยาวประมาณ 13 วา 2 ศอก ส่วนกว้างประมาณ 3 วา หลังคาลิลา มุงสังกะสี มีบ่อน้ำทางทิศตะวันตก 1 บ่อ ปัจจุบันศาลาเก้าห้องเดิมได้ถูกรื้อถอนโดยนายจอน ศรียาภัย ลูกคนที่สามของพระยาวจีสัตยารักษ์ เมื่อออกจากราชการกรมราชทัณฑ์และกลับไปอยู่บ้านเดิมที่ไชยายังคงเหลือไว้แต่เพียงบ่อน้ำซึ่งแต่เดิมกรุด้วยไม้กระดาน และต่อมาราษฎรได้ช่วยกันสละทรัพย์หล่อซีเมนต์เสร็จ เมื่อปี 2471 และสร้างศาลาใหม่ขึ้นที่ด้านตะวันออกของศาลาเดิมแต่มีขนาดเล็กกว่ายังคงมีอยู่กระทั่งปัจจุบัน นอกจากจะใช้เป็นที่พักคนเดินทางแล้ว ศาลาเก้าห้องแห่งนี้ยังใช้เป็นที่สมโภชพระพุทธรูป เนื่องในงานแห่พระพุทธทางบกในเดือน 11 ของทุกปีประจำเมืองไชยาอีกด้วย และในงานแห่พระพุทธรูปทางบกและงานสมโภชนี้ ที่ขาดไม่ได้คือการชกมวยเป็นการสมโภชเป็นประจำทุกปีด้วย การชกมวยที่ศาลาเก้าห้องเมื่อถึงเทศกาลแห่พระบกประจำปี จะมีการแห่พระมาที่ศาลาเก้าห้องและทำการสมโภชที่นั่น ประชาชนทั่วไปรวมทั้งเจ้านายก็ไปพร้อมกันที่ศาลาเก้าห้องแห่งนี้ ในการนี้นักมวยของแต่ละแห่งก็จะเดินทางเพื่อจับคู่ชกกัน เมื่อการแห่พระพุทธรูปมาถึงศาลาเก้าห้องก็เริ่มพิธีสมโภช ครั้นเวลานักมวยจะไปชุมนุมกันหน้าศาลา โยมีพระยาไชยาเป็นประธาน การจับคู่มวยในสมัยนั้นไม่มีการชั่งน้ำหนักเพียงแต่ให้รูปร่างพอฟัดพอเหวี่ยงกันก็เป็นการใช้ได้ หรือถ้ารูปร่างต่างกันมาก ก็ต้องแล้วแต่ความสมัครใจของคู่ต่อสู้ เพราะคนสมัยก่อนไม่เหมือนกับคนสมัยนี้ บางคนโกรธกันก็ถือเอาโอกาสนี้มาต่อสู้กันตัวต่อตัวต่อหน้าประธาน การแต่งกายของนักมวย
กติกาสำหรับในการต่อสู้ใช้แม่ไม้มวยไทยได้ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น หมัด เท้า เข่า ศอกในการต่อสู้ใช้จำนวนยก 5 ยก และใช้ยกเวียน หมายความว่าวันนั้นจับมวยได้กี่คู่ (ส่วนใหญ่ 5 – 6 คู่) ก็จะชกกันคู่ละ หนึ่งยก โดยคู่ที่ 1 ชกยกที่ 1 ก็เข้าพุ่ม (ที่สำหรับพักนักมวย) คู่ที่ 2 ขึ้นชกยกที่ 1 และยกที่ 1 จนไปถึงคู่สุดท้าย คู่ที่ 1 จึงจะชกยกที่ 2 แล้วเวียนไปจนถึงคู่สุดท้าย คู่ที่ 1 จึงขึ้นชกยกที่ 3 การชกจะปฏิบัติเช่นนี้จนครบ 5 ยก แต่ถ้ามีคู่ใดแพ้ชนะก่อนกันก็ตัดคู่นั้นไป ส่วนที่เหลือก็จะเวียนไปดังที่กล่าวมาแล้ว กติกาการหมดยกมี 2 แบบคือ ก. แบบที่ 1 เมื่อมีฝ่ายใดเพลี่ยงพล้ำ ไม่สามารถป้องกันตัวได้ ก็ยกมือขอบอกเวลาหมดยก เพื่อเข้าพุ่มแก้ไขอาการที่เพลี่ยงพล้ำนั้น และคำว่า “ยก”ที่ใช้กันในทุกวันนี้ก็น่าจะมีความเป็นมาจากอาการที่ยกมือดังกล่าวแล้วก็อาจเป็นได้ ข. แบบที่ 2 ในขณะชกเขาจะใช้ลูกลอยเจาะก้นลอยน้ำแบบที่ใช้ในการชนไก่แต่เดิม เมื่อลูกลอยจมน้ำเจ้าหน้าที่ก็จะตีกลองบอกหมดยก เพื่อให้คู่ต่อสู้ได้เข้าพุ่มเพื่อแก้ไข ให้น้ำและแนะนำการแก้ลูกไม้มวยส่วนคู่ต่อไปก็จะขึ้นชกกันต่อไป สำหรับดนตรีที่ใช้มีปี่และกลองยาวประโคมก่อนและขณะทำการต่อสู้ ทุ่ม-ทับ-จับ-หัก ในมวยคาดเชือกทุ่ม ทับ จับ หัก ในมวยคาดเชือกนั้นเป็นกลมวยชั้นสูง ที่ผู้ฝึกจะต้องเรียนรู้พื้นฐาน การบริหารร่างกายเพื่อพาหุยุทธ์พร้อมฝึกฝนท่าย่างสามขุมตามแบบของแต่ละครู เรียก'ท่าครู'รวมทั้งแม่ไม้ต่าง ๆ เช่นการออกอาวุธ ป้องปัดปิดเปิด ป้องกัน ตอบโต้ให้เชี่ยวชาญดีแล้ว จึงจะสามารถแตกแม่ไม้กล ลูกไม้ กลรับ กลรุก ล่อหลอก หลบหลีก ทั้งยังต้องฝึกซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อให้ใช้ออกไป จึงจะเกิดความคม เด็ดขาด รุนแรง ท่วงท่าลีลางดงาม เข้มแข็งดังใจ เช่นท่าครูมวยไชยา(ท่าย่างสามขุมคลุมแดนยักษ์)นั้นได้ชื่อว่ามีความรัดกุมเฉียบคม จนสามารถชนะการแข่งหน้าพระที่นั่งสมัย ร.5 เมื่อคราวจัดให้มีงาน ณ ทุ่งพระเมรุ ป้อมเผด็จดัสกร กรุงเทพฯ คือ นายปล่อง จำนงทอง ที่สามารถใช้ 'ท่าเสือลากหาง' โจนเข้าจับ ทุ่มทับจับหักปรปักษ์จนมีชัย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น 'หมื่นมวยมีชื่อ' ท่าที่ใช้จับทุ่มรับการจู่โจมด้วย เตะ ถีบ เข่า อย่าง 'ถอนยวง' นั้น สามารถทุ่มโยนปรปักษ์ออกไป หรีบจับกดหัวให้ปักพื้นแล้วทับด้วยก้นหรือเข่าได้ หากเป็นการรุกด้วยหมัดนั้นให้แก้ด้วย 'ขุนยักษ์พานาง' หรือ 'ขุนยักษ์จับลิง' ศอกแก้ด้วย 'พระรามหักศร' และยังมีท่าอื่น ๆ อีกมาก ที่ครูบาอาจารย์แต่โบราณท่านมิได้กำหนดชื่อเอาไว้ ทั้งหมดนี้ผู้ใช้จำต้องรู้เคล็ดป้องปัดปิดเปิด และกลประกบประกับจับรั้ง เป็นท่าร่วมเพื่อเข้าจับหักด้วยมือ หรือเกี้ยวกวัดด้วยท่อนแขน ฯลฯ เวทีชกมวยการชกมวยไชยา ในยุคแรกชกที่ศาลาเก้าห้อง โดยที่ศาลาเก้าห้องมีบริเวณที่ชกมวยก็คือสนามหน้าศาลา จะมีเจ้าหน้าที่ปักหลักสี่หลักแล้วใช้เชือกป่านขนาดใหญ่ (เชือกพวน) ขึงกับหลักสามสี่สาย โดยในศาลาจะมีเจ้านาย และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆของเมืองไชยาจะพักอยู่ในศาลาเพื่อชมการชกมวยทุกครั้งไป เวทีมวยวัดพระบรมธาตุไชยาเมื่อการชกมวยที่ศาลาเก้าห้องต้องมีอันล้มเลิก เนื่องมาจากศาลากลางถูกย้ายไปอยู่ที่บ้านดอน พระยาไชยาก็ไปเป็นเจ้าเมืองที่บ้านดอนดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นรวมทั้งได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาไว้ที่อำเภอไชยาในปัจจุบันก็เกิดสนามมวยแห่งใหม่ขึ้นที่บริเวณสนามวัดพระบรมธาตุ เพราะในสมัยนั้นวัดพระบรมธาตุมีงานประจำปีในเดือน 6 ของทุกปี การจัดให้มีการชกมวยก็ขึ้นที่สนามแห่งนี้ด้วย โดยครั้งแรกชกบนลานดินเหมือนที่ศาลาเก้าห้อง ที่ตั้งสนามอยู่ระหว่างพระเวียนกับถนนที่ตัดผ่านหน้าวัด ซึ่งถนนที่ผ่านทุกวันนี้แต่สมัยนั้นยังไม่มีกำแพงแก้วเหมือนปัจจุบัน การชกและกติกาก็เหมือนที่ศาลาเก้าห้องทุกประการ จะต่างกันที่สนามวัดพระบรมธาตุมีการเก็บเงิน โดยใช้ปีกเหยี่ยว (ใบตาลโตนดผ่าซีกแล้วแล้วโน้มมาผูกติดกับก้านใบ) กั้นเป็นบริเวณสนามและเนื่องจากกีฬามวยเป็นที่สนใจของประชาชนโดยทั่วไป พระครุโสภณเจตสิการา (เอี่ยม) เห็นว่ามีหนทางที่จะเก็บเงินเป็นรายได้บำรุงวัด จึงดำริคิดสร้างเวทีมวยถาวรขึ้นที่สนามมวยแห่งนี้ โดยให้นายภักดิ์ ลำดับวงค์ เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง นายจอน แสงสิทธิ์ เป็นนายช่าง นายร่วง เชิงสมอ เป็นลูกมือช่าง และสร้างเสร็จในปี 2474 โดยท่านพระครูโสภณเจตสิการามเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ทั้งสิ้น ประมาณ 500 บาท เวที่ใหม่แห่งนี้ใช้ทางเหนือของสถานที่เดิมไปเล็กน้อย โดยเลื่อนใกล้ถนนเข้าไปอีก ลักษณะของเวที เป็นเสาปูนซีเมนต์เสริมเหล็กหน้า 8 นิ้ว จำนวน 4 ต้นกว้างและยาวด้านละ 4 วา เทคอนกรีตเท่าหน้าเสาทั้ง 4 ด้าน สูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร ตรงกลางถมดิน เสาสูง 6 ศอก หลังคามุงสังกะสี ไม้ที่ใช้เป็นไม้หลุมพอโดยตลอดเฉพาะเครื่องทำหลังคา สมัยเริ่มแรก
สมัยสิ้นสุดหลังจากพ้นยุคแรกมาการชกก็มีการเปลี่ยนแปลงจนเข้ารูปแบบของปัจจุบันทุกประการ แต่เมื่อสิ้นสมัยของพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) ท่านเจ้าคุณพุทธทาส (ในสมัยนั้น) ก็ให้ยกเลิกงานมหรสพและงานประจำปี คงรักษาไว้แต่พิธีทางศาสนา แต่ก็มีผู้คิดเปลี่ยนสถานที่ชกและสถานที่จัดงานไปไว้ที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอไชยา แต่จัดได้ไม่กี่ปีก็ต้องมีอันล้มเลิกการจัดงานนั้นไป ซึ่งหลังจากนั้นก็มีการชกมวยในงานต่างๆจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ นักมวยฝีมือเอกของไทยที่เคยผ่านการชกที่เวทีแห่งนี้มีหลายราย อาทิ จำเริญ ทรงกิตรัตน์, โกต๊อง แก้วอำไพ, กลยุทธ ลูกสุรินทร์, บุญธรรม แสงสุเทพ, ไสว แสงจันทร์ และ เชิด จุฑาเพชร การรื้อถอนเวที่แห่งนี้สาเหตุที่ต้องทำการรื้อถอนเวทีแห่งนี้ ก็เพื่อที่จะเตรียมสถานที่เพื่อรับเสด็จ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในคราวยกพระสุวรรณฉัตรพระบรมธาตุไชยา เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2525 โดยทำการรื้อถอนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2524 ผู้ควบคุมการรื้อถอนได้แก่ นายนุกูล บุญรักษา ครูใหญ่โรงเรียนวัดพระบรมธาตุ ซึ่งอดีตเคยเป็นนักมวยฝีมือดีที่เคยผ่านการชกที่เวทีแห่งนี้มาก่อน ท่านบอกว่าเสียดายของเก่าแต่จำเป็นที่ต้องรื้อถอน รางวัลในการชกสมัยนั้น เป็นการชกเพื่อสมโภชพระที่แห่ทางบกเป็นประจำทุกปี แต่ฝ่ายผู้จัดให้มีมวยในครั้งนั้นซึ่งทุกคนจะกล่าวเช่นเดียวกันว่าเงินรางวัลที่ได้จะได้จากพระยาไชยา เพราะในสมัยนั้นการชกมวยไม่มีการเก็บเงิน ดังนั้นรางวัลที่ได้จะมีไม่มากนัก คนละบาทสองบาทหรือมากกว่านั้นก็ต้องแล้วแต่ฝีมือหรือการต่อสู้แต่ละคู่หรือความพอใจของเจ้านาย แต่ส่วนใหญ่จะได้เท่ากัน ครั้นเมืองไชยาถูกรวมกับเมืองกาญจนดิษฐ์และย้ายศาลากลางไปไว้ที่บ้านดอน พระยาไชยาได้รับการโปรดเกล้าให้เป็นเจ้าเมืองที่บ้านดอน เมืองไชยาจึงไม่มีเจ้าเมืองตั้งแต่นั้นมา การชกมวยที่ศาลาเก้าห้องก็ต้องมีอันล้มเลิกไป แต่เนื่องจากไชยาเป็นเมืองมวย ก็ย่อมจะมีการชกมวยเกิดขึ้นที่แห่งใหม่ และสถานที่แห่งนั้นได้แก่สนามมวยวัดพระบรมธาตุไชยา กองมวยตั้งแต่ที่มีการชกมวยที่ศาลาเก้าห้องแล้วนั้นเมืองไชยาได้เกิดมีกองมวยที่สำคัญเกิดขึ้น 4 กอง คือกองมวยบ้านเวียง กองมวยปากท่อ กองมวยบ้านทุ่ง กองมวยพุมเรียง แต่ละกองจะมีนายกอง 1 คน ถ้าเป็นปัจจุบันก็ได้แก่หัวหน้าคณะมวย และนายกองมีหน้าที่รับผิดชอบนักมวยในกอง เพราะนักมวยในกองจะได้รับสิทธิ์พิเศษต่างๆตามความสำคัญ ดังนี้
จะเห็นได้ว่านักมวยมีค่าและมีความหมายมากในสมัยนั้น เป็นบุคคลที่มีเกียรติ ดังนั้นในการเข้ากองมวย นายกองจะเป็นผู้พิจารณาจากรูปร่างของผู้ที่มาสมัครว่าพอจะเป็นนักมวยได้หรือไม่ และก็มีมากเหมือนกันที่เข้ากองมวยโดยหวังสิทธิ์พิเศษ แต่มีข้อแม้ที่น่าสังเกตคือบุคคลที่จะเข้ากองมวยได้ต้องซ้อมจริง ใครหลบหลีกนายกองมีสิทธิ์คัดชื่อออกทันที การคัดชื่อออกทำให้เสียสิทธิ์ที่กล่าวมาแล้วนั้นด้วย ค่ายมวยที่สำคัญของไชยาและนักมวยเอกของค่าย
นอกจากคณะที่กล่าวมาแล้วก็มีคณะมวยอื่นอีก เช่น ชัยประดิษฐ์ ศ.ยอดใจเพชร แต่ในปัจจุบันนี้นักมวยที่ขึ้นชกที่เป็นนักมวยไชยาแล้วจะใช้คณะอื่นเกือบทั้งหมด เพราะในช่วงนี้ใครที่เคยชกมวยชนะสักครั้งหรือสองครั้งก็สามารถตั้งคณะมวยได้ ซึ่งเป็นการยากที่จะค้นคว้า จึงมีเพียงแต่เฉพาะค่ายมวยที่มีมาแต่เดิม และมีชื่อเสียงมาก่อนมวยไชยายุคปัจจุบัน หลังจากเวทีที่มวยวัดพระบรมธาตุสิ้นสุดลงวงการมวยไชยาก็เริ่มเสื่อมลงจนถึงทุกวันนี้ จนแทบได้กล่าวว่า มวยดังของไชยากำลังจะหมดไป เพราะขาดผู้สนับสนุนที่แท้จริง ทั้งๆที่คนไชยายังคงมีสายเลือดนักสู้อยู่เต็มตัว ความเป็นเมืองมวยกำลังสูญไปเพราะขาดผู้นำที่จริงจัง รวมทั้งปัญหาที่สำคัญที่ทำให้วงการมวยเสื่อมลงทุกวันนี้ที่เห็นได้เด่นชัดคือการพนันการต่อสู้ผลปรากฏจะอยู่ที่การพนันเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้อยู่ที่ฝีมือนักมวย มวยไชยาจึงเสื่อมถอยลง จึงมีผู้ปรารถนาที่จะปลุกวิญญาณของความเป็นนักสู้ของเมืองมวยในอดีตออกมาแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ เพื่อที่จะได้นำชื่อเสียงมาสู่เมืองมวยเช่นในอดีต เหมือนที่ “หมื่นมวยมีชื่อ” เคยทำไว้แต่ก่อน อดีตมวยฝีมือเยี่ยมเมืองไชยาอดีตมวยฝีมือเยี่ยมเมืองไชยา ที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่
นอกจากนักชกที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีนักมวยฝีมือเยี่ยมและได้รับการกล่าวขวัญถึงอีกหลายคน เช่น
นอกจากนั้นยังมี นายเนิ่น คุ้มรักษ์, นายเวียง, นายนิตย์, นายจอน, นายจัน, นายทอง, นายกล่ำ, คนตำบลบ้านเลม็ด ลูกศิษย์หมื่นมวยมีชื่อ นายเหื้อย, นายหยอย, มวยตำบลบ้านเวียง ลูกศิษย์ นายนุช เทพพิมล และนักมวยที่กล่าวถึงนี้เป็นนักมวยที่เคยเดินทางเข้าเมืองกรุงเพื่อเก็บเงินซื้อปืนให้กองเสือป่าและถ้าใครได้รับชัยชนะก็จะได้ “หน้าเสือ” เป็นเครื่องหมายเชิดชูเกียรติทุกคน ปัจจุบันมีนักชกที่มีสายเลือด “กัณหา” เต็มตัวได้แก่ จรรยา ลูกกัณหา ซึ่งเป็นหลานชาย นายคล่องและนายเต็ม และได้กลายมาเป็นนักมวยมีชื่อเสียงของพุมเรียงมาระยะหนึ่ง ครูมวยไชยาที่มีชื่อเสียงในยุคปัจจุบัน
นักมวยไชยาในยุคปัจจุบันหลังจากผ่านยุคยกเลิกการคาดเชือก นักมวยไชยาก็มีการขึ้นแข่งขันในเวทีต่างๆไม่มากนัก ทำให้คนในปัจจุบันมองว่า มวยไชยาเป็นเพียงมวยแสดง ใข้งานจริงไม่ได้ ในปัจจุบันก็มีนักมวยไชยา จากหลายๆสำนักขึ้นแข่งขันในรายการต่อสู้นอกเหนือจากเวทีมวยไทย เช่นการแข่งขัน MMA (Mixed Martial Art) รายการ Naksu, รายการ War in the cage, รายการ DARE, รายการ Cage War, รายการ Full Metal Dojo เป็นต้น
ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |