มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (อังกฤษ: Suratthani Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดการเรียนการสอนในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีจำนวนนักศึกษามากที่สุดหนึ่งใน 10 ของประเทศ และเป็นหนึ่งใน 4 มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ของภาคใต้ ประวัติในปี พ.ศ. 2516 ได้มีการจัดตั้ง "วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี" โดยเปิดสอนในสาขาวิชาครุศาสตร์ หลังจากนั้น พ.ศ. 2528 ได้เพิ่มการเรียนการสอนในสาขาอื่น ๆ นอกจากครุศาสตร์ และได้รวมกับกลุ่มวิทยาลัยครูทางภาคใต้ 5 แห่ง จัดตั้ง "สหวิทยาลัยทักษิณ" โดยมีสำนักงานของสหวิทยาลัยครูอยู่ที่วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี ต่อมา ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แทนชื่อ "วิทยาลัยครู" มีผลให้ "วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี" เปลี่ยนชื่อเป็น"สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี" และยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา และเคยมีโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน โดยเป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีเข้าด้วยกัน แต่มีการยกเลิกโครงการไป สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนาม “ราชภัฏ” ซึ่งหมายความว่าปราชญ์ของพระราชาและพระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้สถาบันราชภัฏได้อัญเชิญมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย มีลักษณะเป็นวงรีสองวงซ้อนกัน โดยวงรีวงนอกเป็นเส้นเดี่ยว ส่วนวงรีวงในเป็นเส้นคู่ ภายใต้วงรีด้านในมีตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็นอุหรือเลข ๙ รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่าทรงมีพระบรม เดชานุภาพในแผ่นดิน ระหว่างวงรีทั้งสองด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยมีรูปทรงอักษรเป็นแบบล้านนาและอักษรขอมว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษ รูปทรงเป็นแบบอักษรโรมัน แบบ Gothic หรือตัวอักษรแบบ Old English ความว่า Suratthani Rajabhat University ความหมายของชุดอักษรไทยและอังกฤษดังกล่าวแทนค่าถึงความรู้สึกในการสื่อสารร่วมสมัยและแสดงความสูงส่งแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ สีของตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมี 5 สี โดยมีความหมาย ดังนี้ สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งอยู่ในแหล่งธรรมชาติและมีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คณะมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย 9 คณะ มากกว่า 50 สาขาวิชา[2] คณะครุศาสตร์หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
คณะวิทยาการจัดการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)
หลักสูตรบัณชีบัณฑิต (บช.บ.)
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.)
คณะนิติศาสตร์หลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต (น.บ.)
คณะพยาบาลศาสตร์หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.)
บัณทิตวิทยาลัยหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.บัณฑิตวิชาชีพครู)
วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยววิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นคณะที่ 6 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เมื่อเดือนเมษายน 2548 ดำเนินการจัดการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษาภาคปกติและนักศึกษา ภาค กศ.บท. เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในท้องถิ่น ทั้งในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แขนงธุรกิจการบิน ให้แก่พนักงานของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่กรุงเทพมหานคร ตามข้อตกลงโครงการความร่วมมือทางวิชาการและเทคโนโลยีระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อีกด้วย หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุยหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (สาธิต มรส.) เป็นโรงเรียนหลักสูตร 3 ภาษาในบรรยากาศห้องเรียนแบบ Smart Classroom เริ่มเปิดรับสมัครนักเรียนรุ่นแรกในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ในปีการศึกษา 2567 และเปิดรับเพิ่มเติมในระดับชั้นปฐมวัย ในปีการศึกษา 2568 หอประชุมวชิราลงกรณหอประชุมดังกล่าวเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓ ซึ่งใช้เป็นที่จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้ทั้ง 5 แห่ง โดยหอประชุมดังกล่าวเป็นหอประชุมทรงศรีวิชัยประยุกต์โดดเด่น คงคุณค่าและความงดงามตามแบบสถาปัตยกรรมศรีวิชัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดความสูง ๒ ชั้น มีพื้นที่ใช้สอบประมาณ ๕,๐๐๐ คน นับเป็นหอประชุมที่มีพื้นที่ใช้สอยกว้างขวางที่สุดในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคใต้
มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้มีหนังสือถึงสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ กองกิจการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร วังศุโขทัย เพื่อขอให้นำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เรื่อง ขอพระราชทานกราบบังคมทูลเสร็จฯ พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ มาทรงเปิดหอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีตามวันและเวลาสุดแต่จะทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พร้อมทั้งขอพระราชทานนามหอประชุมดังกล่าวว่า “หอประชุมวชิราลงกรณ” ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ กองกิจการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีหนังสือถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี แจ้งว่าได้นำความกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงรับเชิญเสด็จฯ ไปในการนี้ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๗.๐๐ น. และพระราชทานนามหอประชุมดังกล่าวว่า “หอประชุมวชิราลงกรณ” ตามที่ขอรับพระมหากรุณาธิคุณ หน่วยงาน
ศูนย์
ฝ่าย/กอง
แหล่งข้อมูลอื่น
|