Share to:

 

อำเภอวัดเพลง

อำเภอวัดเพลง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Wat Phleng
โบสถ์ร้อยปี วัดพระหฤทัย
โบสถ์ร้อยปี วัดพระหฤทัย
คำขวัญ: 
ถิ่นเพลงปรบไก่ แควอ้อมใสไหลผ่าน ย่านผลไม้รสดี มากมีขนมโบราณ นมัสการเจ้าพ่อหลักหิน
งามศิลป์โบสถ์ร้อยปี
แผนที่จังหวัดราชบุรี เน้นอำเภอวัดเพลง
แผนที่จังหวัดราชบุรี เน้นอำเภอวัดเพลง
พิกัด: 13°27′14″N 99°53′14″E / 13.45389°N 99.88722°E / 13.45389; 99.88722
ประเทศ ไทย
จังหวัดราชบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด37.892 ตร.กม. (14.630 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด12,129 คน
 • ความหนาแน่น320.09 คน/ตร.กม. (829.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 70170
รหัสภูมิศาสตร์7009
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอวัดเพลง หมู่ที่ 5 ถนนราชบุรี-วัดเพลง ตำบลวัดเพลง จังหวัดราชบุรี 70170
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

วัดเพลง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดราชบุรี และเป็นอำเภอที่มีพื้นที่และจำนวนประชากรน้อยที่สุดในจังหวัดราชบุรีและในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีระยะเวลาการเป็นกิ่งอำเภอยาวนานถึง 48 ปี ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอในปี พ.ศ. 2457[1] ขึ้นตรงต่ออำเภอปากท่อของเมืองราชบุรี และยกฐานะเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2506[2]

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอวัดเพลงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

โบสถ์เก่าวัดเกาะศาลพระ
โรงพยาบาลวัดเพลง

ประวัติ

ตามจดหมายเหตุราชบุรี ท้องที่อำเภอวัดเพลงเดิมเป็น อำเภอท่านัด–วัดประดู่ และเมื่อย้ายมาตั้งที่ริมฝั่งแม่น้ำอ้อม เรียกว่า อำเภอแม่น้ำอ้อม ต่อมาเมื่อ ร.ศ. 128 ทางราชการเห็นว่าอำเภอในจังหวัดราชบุรีมีมากเกินสมควร จึงได้ตัดอำเภอแม่น้ำอ้อมไปขึ้นอยู่กับจังหวัดสมุทรสงคราม[3][4] แต่ในปีเดียวกันนั้นเองราษฎรอำเภอแม่น้ำอ้อมได้ร้องเรียนต่อมณฑลราชบุรีว่าการไปมาติดต่อกับสมุทรสงครามไม่สะดวก เพราะราษฎรไม่สันทัดทางเรือ ทำให้ได้รับอันตราย จึงขอให้โอนกลับมาจังหวัดราชบุรีตามเดิม[5] กระทรวงมหาดไทยจึงให้อำเภอแม่น้ำอ้อมมาตั้งเป็นอำเภอปากท่อ ย้ายที่ว่าการอำเภอแม่น้ำอ้อม จากตำบลวัดเพลง ไปตั้งที่ตำบลปากท่อ และเรียกชื่ออำเภอว่า อำเภอปากท่อ และที่ว่าการอำเภอเดิม ให้ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เรียกชื่อกิ่งอำเภอว่า "กิ่งอำเภอวัดเพลง"[1] ตั้งเป็นกิ่งอำเภอขึ้นแทนอำเภอแม่น้ำอ้อม และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอปากท่อ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2457 แต่ยังคงให้สถานีตำรวจภูธรไว้ตามเดิมด้วยเกรงว่าเหตุการณ์โจรผู้ร้ายจะกำเริบขึ้น กิ่งอำเภอวัดเพลงได้ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2506[2]

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอวัดเพลงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 3 ตำบล 28 หมู่บ้าน

1. เกาะศาลพระ (Ko San Phra) 10 หมู่บ้าน
2. จอมประทัด (Chom Prathat) 8 หมู่บ้าน
3. วัดเพลง (Wat Phleng) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอวัดเพลงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลวัดเพลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะศาลพระ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 9–10) และตำบลวัดเพลง (เฉพาะหมู่ที่ 2, 5 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3–4, 7)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะศาลพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะศาลพระ (เฉพาะหมู่ที่ 1–8 และบางส่วนของหมู่ที่ 9–10)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจอมประทัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจอมประทัดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดเพลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดเพลง (เฉพาะหมู่ที่ 6, 8–10 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3–4, 7)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอแลตั้งกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 2220. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2022-06-25. วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2457
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย อำเภอไทรโยค อำเภอหนองปรือ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอละหานทราย อำเภอกุยบุรี อำเภอตาพระยา อำเภอหนองไผ่ อำเภอนาเชือก อำเภอวัดเพลง อำเภอพนัสนิคม อำเภอภูกระดึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอท่าช้าง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านดุง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอกุดชุม พ.ศ. ๒๕๐๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (72 ก): 362–366. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2022-06-25. วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศยกเขตอำเภอแม่น้ำอ้อม อำเภอสี่หมื่น จากเมืองราชบุรีไปขึ้นเมืองสมุทรสงคราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 489. วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2454
  4. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเลิกอำเภอแม่น้ำอ้อม กับ อำเภอสี่หมื่น เมืองราชบุรีมาเป็นเขตเมือง สมุทรสงคราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 1073. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2022-06-25. วันที่ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2456
  5. "แจ้งความกระทรวงมุรธาธร เรื่อง เปลี่ยนอักษรเบื้องล่างในดวงตราตำแหน่งอำเภอแม่น้ำอ้อม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 1075–1076. วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2457
Kembali kehalaman sebelumnya