Share to:

 

อำเภอโพธาราม

อำเภอโพธาราม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Photharam
สถานีรถไฟโพธาราม
สถานีรถไฟโพธาราม
คำขวัญ: 
คนสวยโพธาราม แหล่งฟาร์มสุกร
หนังใหญ่วัดขนอน ที่นอนล้ำเลิศ
ถิ่นกำเนิดโคนม ชมค้างคาวร้อยล้าน
แผนที่จังหวัดราชบุรี เน้นอำเภอโพธาราม
แผนที่จังหวัดราชบุรี เน้นอำเภอโพธาราม
พิกัด: 13°41′30″N 99°51′12″E / 13.69167°N 99.85333°E / 13.69167; 99.85333
ประเทศ ไทย
จังหวัดราชบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด394.000 ตร.กม. (152.124 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด135,748 คน
 • ความหนาแน่น344.54 คน/ตร.กม. (892.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 70120
รหัสภูมิศาสตร์7007
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอโพธาราม ถนนหน้าอำเภอ ตำบลโพธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

โพธาราม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดราชบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอโพธารามมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

คำขวัญจังหวัด

ที่มาของคำขวัญจังหวัดราชบุรี นี้เริ่มใช้เมื่อจังหวัดราชบุรีเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 5 และงานมหกรรมของดีเมืองราชบุรี พ.ศ. 2532 ซึ่งในความหมายของคำขวัญนั้น มีที่จำเพาะถึงอำเภอโพธารามถึง 3 ท่อน และคำขวัญสามารถนำมากล่าวได้ดังนี้

  • คนสวยโพธาราม สันนิษฐานว่าคงมีที่มาจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในคราวเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสไทรโยคทางชลมารคครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2431 แล้วได้ประทับพักร้อนบนพลับพลาและเสด็จประพาสตลาดโพธาราม ซึ่งราษฎรทั้งชาวไทยพื้นถิ่น ไทยวน จีน มอญ และลาว เฝ้ารับเสด็จด้วยเครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับสวยงสมจนมีพระราชดำรัสชมว่า “คนโพธารามนี้สวย” หรืออีกนัยหนึ่งหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้อธิบายไว้ว่าเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินนำกองเสือป่าไปซ้อมรบที่ค่ายหลวงบ้านไร่ อำเภอโพธาราม ได้มีราษฎรชาวโพธารามรับเสด็จถวายการรับใช้อย่างใกล้ขิด จึงมีพระราชดำรัสชมว่า “คนสวยโพธารามสวยมีน้ำใจดี”
  • วัดขนอนหนังใหญ่ มีที่มาจากการที่หนังใหญ่วัดขนอน ตำบลสร้อยฟ้า นับเป็นหนังใหญ่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่ามีการสืบทอดกัน มายาวนานนับเป็นร้อยปีและมีการอนุรักษ์กันอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ตลอดจนเป็นหนังใหญ่ที่หลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่คณะในประเทศไทยที่ยังคงมีการสืบทอดอยู่ในปัจจุบัน
  • เพลินค้างคาวร้อยล้าน ค้างคาวเขาช่องพราน เวลาเย็นที่ค้างคาวจะบินออกจากถ้ำมาให้ชม นับจำนวนไม่ได้ ใช้เวลาบินออกจากถ้ำเป็นชั่วโมงกว่าจะหมด ประมาณกันว่ามีจำนวนเป็นร้อยล้านตัว

ประวัติ

โพธารามเป็นชุมชนเก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา[ต้องการอ้างอิง] ปรากฏหลักฐานเป็นเอกสารครั้งแรกอยู่ในนิราศทวายสมัยรัชกาลที่ 1[1] เดิมตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่ปากคลองบางโตนด ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลอง เรียกว่า "แขวง" ขึ้นอยู่กับจังหวัดราชบุรี ซึ่งยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน ต่อมา พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 114) ได้ย้ายที่ว่าการจากปากคลองบางโตนด มาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองทางด้านตะวันออกเยื้องกับวัดเฉลิมอาสน์ ซึ่งตำบลนั้นเรียกว่า "ตำบลโพธาราม" ต่อมาได้ย้ายที่ว่าการมาตั้งอยู่ที่ปัจจุบัน เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2495 เป็นต้นมา

เมื่อสมัยจังหวัดราชบุรียังมีฐานะการปกครองแบบมณฑล พระยาภักดีดินแดน (พลอย วงศาโรจน์) ท่านปลัดมณฑลราชบุรี ได้ดำเนินการปรับปรุงเขตและนามตำบลต่างๆ และเห็นว่าถิ่นนี้มีต้นโพธิ์และวัดวาอาราม ทางราชการจึงตั้งนามให้ใหม่ว่า "โพธาราม" อำเภอโพธาราม ได้มีนายเชื้อเป็นนายอำเภอ ต่อมาได้ยื่นขอลาออกและพระยาอมรินทรฦๅไชย (เทียน บุนนาค) ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีในขณะนั้น ได้แต่งตั้งขุนศรีสุรบรรณ์เป็นนายอำเภอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2446[2] ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอ 1 ใน 10 ของจังหวัดราชบุรี

  • วันที่ 8 พฤศจิกายน 2457 แยกพื้นที่บางส่วนของอำเภอโพธาราม และบางส่วนของอำเภอดำเนินสะดวก จัดตั้งขึ้นเป็น อำเภอลำพระยา[3] กำหนดให้ขึ้นการปกครองกับจังหวัดราชบุรี และกำหนดอักษรเบื้องล่างในดวงตราตำแหน่ง เป็น "อำเภอลำพระยา ร.บ."
  • วันที่ 19 กันยายน 2458 ประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลตำบลโพธาราม ในท้องที่ตำบลโพธาราม อำเภอโพธาราม มณฑลราชบุรี[4][5] เป็น สุขาภิบาลตำบลโพธาราม (สุขาภิบาลท้องที่โพธาราม)
  • วันที่ 14 มิถุนายน 2468 โอนพื้นที่ตำบลอิจาง และตำบลทำนบ อำเภอโพธาราม ไปขึ้นกับอำเภอหัวโพ[6]
  • วันที่ 2 สิงหาคม 2468 ยุบตำบลหนองแขม ไปรวมกับตำบลหนองโพ[7]
  • วันที่ 7 สิงหาคม 2475 ตั้งตำบลเตาปูน แยกออกจากตำบลเขาดิน[8]
  • วันที่ 10 ธันวาคม 2478 จัดตั้งสุขาภิบาลท้องที่โพธาราม ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองโพธาราม[9]
  • วันที่ 27 มีนาคม 2481 ยุบตำบลบ้านหลาย รวมเข้ากับตำบลคลองควาย และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลคลองควาย ยุบตำบลบางเลา รวมเข้ากับตำบลสร้อยฟ้า และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลสร้อยฟ้า ยุบตำบลคงคา รวมเข้ากับตำบลคลองตาคต และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลคลองตาคต ยุบตำบลบ้านใหม่ และตำบลบ้านไร่ รวมเข้ากับตำบลโพธาราม และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลโพธาราม ยุบตำบลสำมะถะ รวมเข้ากับตำบลบางโตนด และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลบางโตนด ยุบตำบลบางแขยง รวมเข้ากับตำบลคลองข่อย และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลคลองข่อย ยุบตำบลคลองมะขาม รวมเข้ากับตำบลเจ็ดเสมียน และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลเจ็ดเสมียน ยุบตำบลบางกะโด รวมเข้ากับตำบลบ้านสิงห์ และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลบ้านสิงห์ ยุบตำบลดีบอน และตำบลบ่อมะกรูด รวมเข้ากับตำบลบ้านฆ้อง และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลบ้านฆ้อง[10]
  • วันที่ 12 พฤศจิกายน 2483 ยุบตำบลกำแพง รวมเข้ากับตำบลบ้านสิงห์[11]
  • วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2486 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดราชบุรีกับจังหวัดกาญจนบุรี โดยโอนพื้นที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ไปขึ้นกับจังหวัดกาญจนบุรี เว้นแต่ท้องที่ตำบลบ้านม่วง ท้องที่ตำบลหนองอ้อ (เฉพาะหมู่ที่ 15-21) และท้องที่ตำบลนครชุมน์ (เฉพาะหมู่ที่ 1-13) ให้มาขึ้นกับอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี[12]
  • วันที่ 3 ธันวาคม 2489 โอนพื้นที่ตำบลบ้านม่วง ตำบลนครชุมน์ ของอำเภอโพธาราม ไปขึ้นกับอำเภอบ้านโป่ง และโอนพื้นที่หมู่ 1-6 (ในขณะนั้น) ของตำบลดอนกระเบื้อง ไปขึ้นกับตำบลหนองอ้อ อำเภอบ้านโป่ง[13]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลคลองข่อย แยกออกจากตำบลเจ็ดเสมียน ตั้งตำบลชำแระ แยกออกจากตำบลสร้อยฟ้า ตั้งตำบลดอนกระเบื้อง แยกออกจากตำบลหนองโพ[14]
  • วันที่ 21 มิถุนายน 2492 ตั้งตำบลเขาชะงุ้ม แยกออกจากตำบลเขาดิน[15]
  • วันที่ 14 เมษายน 2496 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลเขาดิน อำเภอโพธาราม เป็น ตำบลนางแก้ว[16]
  • วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2486 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองโพธาราม ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล[17] และเพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ ในท้องที่ตำบลหนองโพ[18]
  • วันที่ 11 เมษายน 2504 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลคลองควาย อำเภอโพธาราม เป็น ตำบลท่าชุมพล[19]
  • วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2506 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และจัดตั้งสุขาภิบาลหนองโพ ในท้องที่หมู่ 1-4 และ หมู่ที่ 7 ของตำบลหนองโพ[20]
  • วันที่ 29 ตุลาคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลเจ็ดเสมียน ในท้องที่หมู่ 1-3 และหมู่ที่ 6 ของตำบลเจ็ดเสมียน[21]
  • วันที่ 20 เมษายน 2514 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านเลือก ในท้องที่ทั้งหมดของตำบลบ้านเลือก[22]
  • วันที่ 22 พฤษภาคม 2517 จัดตั้งตำบลดอนกระเบื้อง ตำบลคลองตาคต ตำบลบ้านฆ้อง ตำบลบ้านสิงห์ ตำบลดอนทราย ตำบลคลองข่อย ตำบลสร้อยฟ้า ตำบลชำแระ ตำบลท่าชุมพล ตำบลบางโตนด ตำบลเตาปูน ตำบลนางแก้ว ตำบลธรรมเสน และตำบลเขาชะงุ้ม เป็นสภาตำบลดอนกระเบื้อง สภาตำบลคลองตาคต สภาตำบลบ้านฆ้อง สภาตำบลบ้านสิงห์ สภาตำบลดอนทราย สภาตำบลคลองข่อย สภาตำบลสร้อยฟ้า สภาตำบลชำแระ สภาตำบลท่าชุมพล สภาตำบลบางโตนด สภาตำบลเตาปูน สภาตำบลนางแก้ว สภาตำบลธรรมเสน และสภาตำบลเขาชะงุ้ม[23] ตามลำดับ
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2528 ตั้งตำบลหนองกวาง แยกออกจากตำบลเขาชะงุ้ม[24]
  • วันที่ 23 สิงหาคม 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลเขาขวาง ในท้องที่หมู่ 1-2 ตำบลเตาปูน หมู่ 2-9 ตำบลนางแก้ว หมู่ 5 ตำบลชำแระ และหมู่ 6 ตำบลเขาชะงุ้ม[25]
  • วันที่ 3 มีนาคม 2538 ยกฐานะจากสภาตำบลเขาชะงุ้ม (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลเขาขวาง) สภาตำบลหนองกวาง สภาตำบลบ้านฆ้อง และสภาตำบลบ้านสิงห์ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเขาชะงุ้ม องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกวาง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฆ้อง และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์[26] ตามลำดับ
  • วันที่ 30 มกราคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลชำแระ สภาตำบลเตาปูน (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลเขาขวาง) สภาตำบลธรรมเสน สภาตำบลคลองตาคต สภาตำบลดอนกระเบื้อง สภาตำบลท่าชุมพล และสภาตำบลดอนทราย เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลชำแระ องค์การบริหารส่วนตำบลเตาปูน องค์การบริหารส่วนตำบลธรรมเสน องค์การบริหารส่วนตำบลคลองตาคต องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกระเบื้อง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชุมพล และองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย[27] ตามลำดับ
  • วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลเจ็ดเสมียน (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลเจ็ดเสมียน) สภาตำบลนางแก้ว (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลเขาขวาง) สภาตำบลสร้อยฟ้า สภาตำบลคลองข่อย สภาตำบลบางโตนด และสภาตำบลหนองโพ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลหนองโพ) เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเจ็ดเสมียน องค์การบริหารส่วนตำบลนางแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยฟ้า องค์การบริหารส่วนตำบลคลองข่อย องค์การบริหารส่วนตำบลบางโตนด และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ[28] ตามลำดับ
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลหนองโพ สุขาภิบาลเจ็ดเสมียน สุขาภิบาลบ้านเลือก และสุขาภิบาลเขาขวาง เป็นเทศบาลตำบลหนองโพ เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน เทศบาลตำบลบ้านเลือก และเทศบาลตำบลเขาขวาง ตามลำดับ[29] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลเจ็ดเสมียน รวมกับเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน และยุบองค์การบริหารส่วนตำบลนางแก้ว รวมกับเทศบาลตำบลเขาขวาง[30] รวมทั้งแยกและกำหนดเขตหมู่บ้านใหม่ดังนี้
    • (1) แยกบ้านหนองมะค่า หมู่ที่ 8 ตำบลเขาชะงุ้ม และจัดตั้งเป็นหมู่ที่ 12 บ้านเขาหยอง
    • (2) แยกบ้านรางโพธิ์ หมู่ที่ 1 ตำบลดอนกระเบื้อง และจัดตั้งเป็นหมู่ที่ 6 บ้านร่มโพธิ์
    • (3) แยกบ้านกำแพงใต้ หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านสิงห์ และจัดตั้งเป็นหมู่ที่ 12 บ้านทุ่ง
  • วันที่ 8 มิถุนายน 2548 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ เป็น เทศบาลตำบลบ้านสิงห์[31]
  • วันที่ 19 ตุลาคม 2549 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฆ้อง เป็น เทศบาลตำบลบ้านฆ้อง[32]
  • วันที่ 24 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย เป็น เทศบาลตำบลดอนทราย[33]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองตาคต เป็น เทศบาลตำบลคลองตาคต[34]

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอโพธารามแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 19 ตำบล 156 หมู่บ้าน

1. โพธาราม (Photharam) -0
2. ดอนกระเบื้อง (Don Krabueang) 06 หมู่บ้าน
3. หนองโพ (Nong Pho) 10 หมู่บ้าน
4. บ้านเลือก (Ban Lueak) 09 หมู่บ้าน
5. คลองตาคต (Khlong Ta Khot) 11 หมู่บ้าน
6. บ้านฆ้อง (Ban Khong) 10 หมู่บ้าน
7. บ้านสิงห์ (Ban Sing) 12 หมู่บ้าน
8. ดอนทราย (Don sai) 09 หมู่บ้าน
9. เจ็ดเสมียน (Chet Samian) 06 หมู่บ้าน
10. คลองข่อย (Khlong Khoi) 08 หมู่บ้าน
11. ชำแระ (Chamrae) 07 หมู่บ้าน
12. สร้อยฟ้า (Soi Fa) 05 หมู่บ้าน
13. ท่าชุมพล (Tha Chumphon) 09 หมู่บ้าน
14. บางโตนด (Bang Tanot) 06 หมู่บ้าน
15. เตาปูน (Tao Pun) 09 หมู่บ้าน
16. นางแก้ว (Nang Kaeo) 09 หมู่บ้าน
17. ธรรมเสน (Thammasen) 11 หมู่บ้าน
18. เขาชะงุ้ม (Khao Cha-ngum) 12 หมู่บ้าน
19. หนองกวาง (Nong Kwang) 07 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอโพธารามประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 20 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองโพธาราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธารามทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหนองโพ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนตำบลหนองโพ
  • เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเจ็ดเสมียนทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านเลือก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเลือกทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเขาขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนางแก้วทั้งตำบล บางส่วนของตำบลชำแระ ตำบลเตาปูน และตำบลเขาชะงุ้ม
  • เทศบาลตำบลบ้านสิงห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านฆ้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านฆ้องทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลดอนทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนทรายทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลคลองตาคต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองตาคตทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกระเบื้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนกระเบื้องทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโพ (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองโพ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองข่อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองข่อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชำแระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชำแระ (นอกเขตเทศบาลตำบลเขาขวาง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยฟ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสร้อยฟ้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชุมพล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าชุมพลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางโตนด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางโตนดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเตาปูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเตาปูน (นอกเขตเทศบาลตำบลเขาขวาง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลธรรมเสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธรรมเสนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาชะงุ้ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาชะงุ้ม (นอกเขตเทศบาลตำบลเขาขวาง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกวางทั้งตำบล

สถานที่สำคัญ

สถานที่ทางศาสนา
  1. วัดขนอน เดิมชื่อวัด "กานอน" เป็นที่อนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมการแสดงหนังใหญ่ และได้รับรางวัลการขึ้นทะเบียนทางยูเนสโก เป็นมรดกทางวัฒนธรรมโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ACCU) คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของยูเนสโกประกาศให้ "การสืบทอดและฟื้นฟูหนังใหญ่วัดขนอน" ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 6 ชุมชนดีเด่นของโลกที่มีผลงานในการอนุรักษ์ฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรมเชิงนามธรรม (The safeguarding of Intagible Cultural Heritage : ICH) เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2550
  2. วัดถ้ำน้ำ มีจุดเด่นคือมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และเสาหินขนาดใหญ่ ภายในถ้ำมีน้ำไหลเวียนภายในถ้ำตลอดเวลา จึงเป็นที่มาของชื่อถ้ำ หินภายในถ้ำเป็นหินแกรนิตมีโพรงอากาศเป็นรอยหลุมอยู่ในเนื้อหินเกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม มีหินงอกหินย้อยที่งดงาม หากมองไปจะเห็นประกายระยิบระยับสวยงาม โดยเสาหิน ตั้งอยู่บริเวณกลางถ้ำ สันนิษฐานว่าเกิดจากการน้ำที่บนเพดานถ้ำหยดกลายเป็นเสาหินงอก หินย้อยขนาดใหญ่  ภายในถ้ำ ได้จัดทำเป็นทางเดินปูน สำหรับเดินชมความงามของถ้ำ จำลองคล้ายเมืองบาดาลพญานาค
  3. วัดคงคาราม เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อกรุงธนบุรี โดยบรรพบุรุษชาวมอญกลุ่มรามัญ 7 หัวเมืองพากันอพยพย้ายถิ่นโดยล่องตามแม่น้ำมาตั้งถิ่นฐานบริเวณริมแม่น้ำแม่กลองในเขตอำเภอโพธาราม ซึ่งต่อมาได้ขยายขนาดเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และได้มีการสร้างวัดขึ้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมของสงฆ์แบบรามัญนิกาย โดยชาวมอญรามัญที่เปลี่ยนถิ่นอาศัยมาตามลำน้ำแม่กลองได้ร่วมกันบูรณะปฏิสังขรณ์วัดคงคารามซึ่งมีมาก่อนแล้วนั้นขึ้นเป็นวัดกลาง เพื่อใช้เป็นศูนย์รวมในการร่วมทำสังฆกรรมของสงฆ์แบบรามัญนิกาย โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษามอญว่า “เกี้ยโต้” จิตรกรรมฝาผนังที่วัดคงคารามเป็สร้างขึ้นโดยพระยามอญ มีอายุกว่า ๒๐๐ ปี มีศิลปที่เป็นผลงานของชาวไทยเชื้อสายมอญ มีคุณค่าและควรอนุรักษ์ไว้ให้เยาวชนได้ศึกษา
  4. วัดเขาช่องพราน เล่าสืบต่อกันมาว่าพระรามัญญาธิบดีที่ 2 อดีตเจ้าอาวาสวัดคงคาราม เป็นผู้พบเขาช่องพรานและถ้ำในบริเวณนี้หลายแห่ง เห็นเป็นทำเลดีจึงได้ชักชวนชาวมอญมาตั้งรกรากทำมาหากินในท้องถิ่นนี้ และสร้างวัดขึ้นติดกับเขาทางด้านใต้ นอกจากนี้จะมีค้างคาวหนูจำนวนมหาศาลร้อยล้านตัว บินออกจากถ้ำเป็นสายควันดำโบกสะบัดเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหวไปมา เป็นเวลากว่า 1 ชม. เพื่อออกหากินและจะกลับมายังบริเวณถ้ำแห่งนี้อีกครั้งก่อนอรุณรุ่ง
สถานที่อื่น ๆ
  1. สถานีรถไฟโพธาราม เป็นสถานีรถไฟสายใต้ที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นสถานีรถไฟประจำอำเภอโพธาราม
  2. สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน ในเส้นทางรถไฟสายใต้ เขตเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สมัยอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2 เดือนเมษายน พ.ศ. 2310)

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. โคลงนิราศทวาย
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (4): 48. วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2446
  3. "แจ้งความกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ตั้งอำเภอลำพระยาในเมืองราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 1789. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-03. วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457
  4. "ประกาศ ใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลตำบลโพธาราม อำเภอโพธาราม เมืองราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ก): 239–241. วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2458
  5. "ประกาศ แก้อัตราเก็บเงินค่าภาษี ตึก บ้าน เรือน แพ เรือ โรง ร้าน และยานพาหนะ ในเขตสุขาภิบาลตำบลโพธาราม อำเภอโพธาราม เมืองราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ก): 241–243. วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2458
  6. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในตำบลอิจาง และตำบลทำนบ ท้องที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ซึ่งโอนไปขึ้นท้องที่อำเภอหัวโพ จังหวัดเดียวกัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 60–61. วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2468
  7. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในตำบลหนองแขม ท้องที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ซึ่งยุบไปรวมกับตำบลหนองโพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 90. วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2468
  8. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลเตาปูน ซึ่งแยกมาจากตำบลเขาดิน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ก): 255. วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2475
  9. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองโพธาราม จังหวัดราชบุรี พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ก): 1790–1793. วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 4308–4312. วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2481
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 2770–2772. วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483
  12. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดนครปฐม พุทธศักราช ๒๔๘๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (7 ก): 244–246. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (77 ง): 1910–1911. วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2489
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอต่าง ๆ จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (33 ง): 2697–2700. วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2492
  16. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๔๙๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (25 ก): 492–496. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2019-08-18. วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2496
  17. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองโพธาราม จังหวัดราชบุรี พุทธศักราช ๒๔๘๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (9 ก): 348–352. วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2501
  19. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๐๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (33 ก): 382–385. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2019-08-18. วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2504
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (17 ง): 442–443. วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (105 ง): 2448–2449. วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2506
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (42 ง): 1328–1329. วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2514
  23. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  24. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (152 ง): (ฉบับพิเศษ) 14-16. วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2528
  25. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเขาขวาง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (116 ง): (ฉบับพิเศษ) 22-23. วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2536
  26. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (ตอนพิเศษ 6 ง): 1–63. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-18. สืบค้นเมื่อ 2022-03-03. วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2538
  27. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2019-12-14. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  28. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  29. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-03 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  30. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 108 ง): 10–11. วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2547
  31. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-03. สืบค้นเมื่อ 2022-03-03. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2548
  32. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นเทศบาลตำบลบ้านฆ้อง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 123 (110 ง): 10. วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2549
  33. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ดอนทราย เป็น เทศบาลตำบล". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
  34. "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลคลองตาคด เป็น เทศบาลตำบลคลองตาคด". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555
Kembali kehalaman sebelumnya