Share to:

 

ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี

ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดให้บริการ
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งจังหวัดราชบุรี
จังหวัดนครปฐม
จังหวัดสุพรรณบุรี
ปลายทาง
จำนวนสถานี1
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟระหว่างเมือง
ระบบรถไฟชานเมือง
ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
เส้นทาง
ผู้ดำเนินงานการรถไฟแห่งประเทศไทย
ประวัติ
เปิดเมื่อ16 มิถุนายน พ.ศ. 2506; 61 ปีก่อน (2506-06-16)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง78 กิโลเมตร (48 ไมล์)
รางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in) มีเตอร์เกจ

ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี เป็นทางรถไฟสายหนึ่ง มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายเหนือและทางรถไฟสายใต้เข้าด้วยกัน โดยเริ่มสำรวจแนวทางการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2496 และเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2497 ต่อมาช่วงปี พ.ศ. 2501 - 2504 ทางรถไฟสายนี้ไม่ได้รับงบประมาณจึงหยุดการก่อสร้างชั่วคราว หลังจากนั้นเมื่อได้รับงบประมาณจึงทำการก่อสร้างต่อและเปิดเดินรถเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2506 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

ในอดีตทางรถไฟสายนี้มีสถานีรายทางมากถึง 11 สถานี (ไม่รวมชุมทางหนองปลาดุก) คือ สถานีรถไฟยางประสาท สถานีรถไฟดอนขุนวิเศษ สถานีรถไฟกำแพงแสน สถานีรถไฟหนองฟัก สถานีรถไฟทะเลบก สถานีรถไฟสะพังเขิน สถานีรถไฟศรีสำราญ สถานีรถไฟหนองผักชี สถานีรถไฟบ้านมะขามล้ม สถานีรถไฟสะแกย่างหมู และสถานีรถไฟสุพรรณบุรี ปัจจุบันทางรถไฟสายนี้ได้ยุบสถานีรายทางเหลือเพียงสถานีเดียว คือ สถานีสุพรรณบุรี ที่เหลือมีฐานะเป็นเพียงที่หยุดรถ และป้ายหยุดรถ ประกอบด้วย ป้ายหยุดรถไฟทุ่งบัว ที่หยุดรถไฟโรงเรียนการบิน ที่หยุดรถไฟศรีสำราญ ป้ายหยุดรถไฟดอนทอง และที่หยุดรถไฟมาลัยแมน ในเส้นทางนี้มีขบวนรถไฟเพียงวันละ 2 ขบวน คือ ขบวนรถชานเมืองที่ 355/356 กรุงเทพ-สุพรรณบุรี-กรุงเทพ[1]

หมายเหตุ : ขบวนรถชานเมืองที่ 355 - 356 วันจันทร์-วันเสาร์ มีเดินเฉพาะตอน กรุงเทพ-ชุมทางหนองปลาดุก วันอาทิตย์ มีเดินจาก กรุงเทพ-สุพรรณบุรี และวันจันทร์มีเดินจาก สุพรรณบุรี-กรุงเทพฯ วันอังคาร-เสาร์ มีเดินเฉพาะตอน ชุมทางหนองปลาดุก-กรุงเทพฯ

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ 2010-03-10.
Kembali kehalaman sebelumnya