Share to:

 

เลิศ หงษ์ภักดี

เลิศ หงษ์ภักดี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464)
เสียชีวิต5 มิถุนายน พ.ศ. 2534 (69 ปี)
คู่สมรสตรูจิตต์ หงษ์ภักดี

เลิศ หงษ์ภักดี (30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 – 5 มิถุนายน พ.ศ. 2534) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 2 สมัย อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี และผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา

ประวัติ

เลิศ หงษ์ภักดี เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464[1] จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์, ธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมรสกับนางตรูจิตต์ หงษ์ภักดี มีบุตรคือ ศุภฤกษ์ หงษ์ภักดี นายกิ่งเพชร หงษ์ภักดี ร้อยตรีหญิง ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ หงษ์ภักดี และ พ.ต.อ.ราชพร หงษ์ภักดี[2]

เลิศ หงษ์ภักดี รับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ในปี พ.ศ. 2519 เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ระหว่างปี พ.ศ. 2520 ถึงปี พ.ศ. 2524[3] และได้รับแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2524

หลังเกษียณอายุเลิศ หงษ์ภักดี ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมาครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 ในนามพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งยกทีม ร่วมกับสกุล ศรีพรหม และประทีป กรีฑาเวช ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 ก็ได้รับเลือกตั้งยกทีมในนามพรรคชาติไทยอีกสมัย ร่วมกับ สกุล ศรีพรหม ว่าที่ร้อยตรี วิชัย จิตรพิทักษ์เลิศ

ในปี พ.ศ. 2531 นายเลิศ ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคประชาชน โดยร่วมกับกลุ่มของนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์[4]

นายเลิศ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2534 และมีงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2536[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2529. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2529
  2. "เปิดทรัพย์สิน'ระนองรักษ์' หลังพ้นเก้าอี้'นายก อบจ.' ยากจนกว่าช่วงเป็นรัฐมนตรี". www.koratdaily.com.
  3. สารสนเทศท้องถิ่นนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
  5. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายเลิศ หงษ์ภักดี
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๖๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๓๐ ตุลาคม ๒๕๑๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๖, ๒๓ สิงหาคม ๒๕๑๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๐๗, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๒๔๔๘, ๒๙ สิงหาคม ๒๕๑๐
Kembali kehalaman sebelumnya