เหตุจลาจลต่อต้านมุสลิมในพม่า พ.ศ. 2556
เหตุจลาจลต่อต้านมุสลิมในพม่า พ.ศ. 2556 (2013 Burma anti-Muslim riots) เป็นลำดับของความขัดแย้งในหลายเมืองทางภาคกลางและภาคตะวันออกของพม่า โดยการเกิดขึ้นของขบวนการ 969 นำโดยพระสงฆ์นักชาตินิยม อู วีระธู หลายฝ่ายเชื่อว่าขบวนการ 969 มีส่วนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดกับมุสลิมในพม่า เหตุจลาจลในเดือนมีนาคมที่เมกติลาความตึงเครียดระหว่างชาวพุทธและมุสลิมทำให้เกิดความรุนแรงในเมกติลาเมื่อ 20 มีนาคม และต่อเนื่องไปจนถึง 22 ตุลาคมมีผู้ถูกฆ่า 40 คน บาดเจ็บ 61 คน ความรุนแรงเกิดขึ้นในวันที่ 20 มีนาคม หลังจากที่เจ้าของร้านทองที่เป็นมุสลิม ภรรยา และลูกจ้างสองคนที่เป็นมุสลิม ทำร้ายลูกค้าชาวพุทธและสามีระหว่างการโต้เถียงเกี่ยวกับเครื่องประดับทอง เหตุการณ์ได้รุนแรงขึ้นเมื่อพระสงฆ์ชาวพุทธได้แย่งจักรยานของเด็กขาวมุสลิมใกล้มัสยิดมาราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผา[1] ต่อมา กลุ่มผู้ชุมนุมชาวพุทธได้โจมตีโรงเรียนอิสลามมิงกาลาร์ ซาโยเน ทำให้นักเรียนเสียชีวิต 32 คน ครูเสียชีวิต 4 คน[2] ในวันที่ 25 มีนาคม การจลาจลที่มุ่งโจมตีบ้านและมัสยิดของมุสลิม เกิดขึ้นในเมืองโอเทโกเน ตัตโกเน และยาเมนทิน มีประชาชนประมาณ 9,000 คน ไร้ที่อยู่อาศัยจากเหตุการณ์นี้[3] ในเดือนเมษายน บีบีซีได้เผยแพร่วีดีโอแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนเฉยเมื่อฝูงชนทำลายบ้านเรือนและย่านธุรกิจ และมีภาพวีดีโอแสดงว่านักเรียนมุสลิมอย่างน้อยสองคนถูกฆ่าโดยฝูงชนที่มีพระสงฆ์รวมอยู่ด้วย ในวันที่ 21 พฤษภาคม มุสลิม 7 คน รวมทั้งเจ้าของร้านทองถูกตัดสินจำคุก 2- 28 ปี ในเดือนกรกฎาคม ศาลพม่าตัดสินจำคุกชาวพุทธ 25 คนถึง 15 ปีในข้อหาก่ออาชกรรมระหว่างเหตุจลาจล[4] การจลาจลเดือนเมษายนในโอกกันในวันที่ 30 เมษายน ชาวพุทธ 400 คนที่ติดอาวุธได้โจมตีมัสยิด บ้านและร้านค้ากว่า 100 หลังในโอกกัน มีผู้ถูกฆ่า 2 คน บาดเจ็บ 10 คน มีบ้าน 77 หลังถูกทำลายในหมู่บ้านใกล้เคียงที่ยาดานากน ปานิปิน ชอกเท และเทกน เหตุจลาจลนี้มีรายงานว่าเริ่มจาการที่หญิงมุสลิมขี่จักรยานชนพระสงฆ์[5] เหตุจลาจลในเดือนพฤษภาคมในลาชิโอในวันที่ 29 พฤษภาคม เกิดเหตุรุนแรงขึ้นในรัฐฉานที่เมืองลาชิโอใกล้กับชายแดนจีน หลังจากมีรายงานว่าชายมุสลิมอายุ 48 ปี ชื่น เน วินสาดน้ำมันใส่หญิงชาวพุทธระหว่างการโต้เถียงกันและจุดไฟใส่ เกิดการตอบโต้โดยฝูงชนชาวพุทธไปโจมตีมัสยิดและร้านค้าหลายแห่งเมื่อตำรวจปฏิเสธที่จะจับตัวเน วิน วันต่อมา มีการปะทะระหว่างชาวพุทธและมุสลิม มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 คน[6] เหตุจลาจลในเดือนสิงหาคมที่กันบาลูในวันที่ 24 สิงหาคม เกิดเหตุรุนแรงที่หมู่บ้านทันกัน ห่างจากกันบาลูไปทางใต้ 16 กม. อยู่ในเขตสะกายง์ หลังจากเกิดเหตุชายมุสลิม 3 คน ข่มขืนหญิงชาวพุทธ พระสงฆ์ได้กระตุ้นให้ชาวพุทธเกิดความโกรธแค้น เข้าไปเผาหมู่บ้านและร้านค้าของมุสลิม บ้าน 44 หลังและร้านค้า 15 หลังถูกทำลาย[7][8][9] เหตุจลาจลในเดือนตุลาคมทันด์เวระหว่าง 29 กันยายน ถึง 2 ตุลาคม ชาวพุทธในยะไข่ได้โจมตีหมู่บ้านชาวมุสลิมกาเมนในทันด์เว บ้านถูกเผาไป 70 – 80 หลัง มุสลิมเสียชีวิต 7 คน ชาวพุทธเสียชีวิต 2 คน ชาวมุสลิมกาเมน 500 คนไร้ที่อยู่อาศัย[10][11] การแพร่กระจายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 มุสลิมและชาวพุทธในพม่าที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยที่อินโดนีเซียปะทะกัน ชาวพุทธ 8 คนถูกฆ่า และบาดเจ็บ 15 คน[12] ศาลอินโดนีเซียสั่งจำคุกมุสลิมโรฮีนจา 14 คน เป็นเวลา 9 เดือน[13] ในเดือนพฤษภาคม มุสลิม 2 คนถูกจับกุมในการวางแผนวางระเบิดสถานทูตพม่าในจาการ์ตา[14] ในเดือนมิถุนายน มีเหตุชาวพุทธพม่าถูกฆาตกรรมในมาเลเซียที่ถูกเชื่อมโยงกับความตึงเครียดทางเชื้อชาติในพม่า[15] ในวันที่ 5 สิงหาคม เกิดระเบิดในย่านชาวพุทธเอกายานาในจาการ์ตาตะวันตกมีผู้บาดเจ็บ 3 คน[16] และทิ้งจดหมายไว้ว่าเป็นการทำเพื่อชาวโรฮีนจา[17] อ้างอิง
|