ความขัดแย้งในรัฐกะชีน เป็นหนึ่งในความขัดแย้งที่หลากหลายในสงครามกลางเมืองพม่า การสู้รบระหว่างกองทัพเอกราชกะชีนกับกองทัพพม่าเกิดขึ้นอีกครั้งใน พ.ศ. 2554 หลังจากที่สงบศึกไปแล้ว 17 ปี ความขัดแย้งในปัจจุบันทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคน มีผู้อพยพมากกว่าแสนคน และมีข้อกล่าวหาการใช้งานทุ่นระเบิด,[13] ทหารเด็ก,[13][14] การข่มขืนอย่างเป็นระบบ[13] และการทรมานจากทั้งสองฝ่าย[13][15]
ภูมิหลัง
ขบวนการเอกราชกะชีนก่อตั้งระหว่างการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เมื่อราว พ.ศ. 2473 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยในพม่า
ความขัดแย้งครั้งแรก พ.ศ. 2504–2537
ความขัดแย้งในรัฐกะชีนและชาวกะชีนในพื้นที่อื่น ๆ เกิดขึ้นตั้งแต่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ทหารกะชีนที่เคยมีความสำคัญในกองทัพพม่าได้ถอนตัวออกมาจากกองทัพพม่าหลัง พ.ศ. 2505 และจัดตั้งกองทัพเอกราชกะชีน ที่ควบคุมโดยองค์การเอกราชกะชีน ในช่วงนี้ รัฐกะชีนมีสถานะกึ่งเป็นอิสระจากรัฐบาลพม่า โดยมีรายได้หลักจากการค้าขายกับจีน หลังจากมีการเจรจาระหว่างกองทัพพม่ากับองค์การเอกราชกะชีน กองทัพเอกราชกะชีนได้ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับรัฐบาลพม่าเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 จากนั้นจึงไม่มีการสู้รบระหว่างกันอีกจนถึง พ.ศ. 2554
ความขัดแย้งครั้งที่สอง พ.ศ. 2554–ปัจจุบัน
การต่อสู้ระหว่างกองทัพเอกราชกะชีนและกองทัพพม่าเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เมื่อกองทัพรัฐบาลละเมิดข้อตกลงหยุดยิงและโจมตีที่ตั้งของกองทัพเอกราชกะชีนตามแนวแม่น้ำตาบีน ตลอดแนวแม่น้ำฝั่งตะวันออกในบะมอ รัฐกะชีนใกล้กับโครงการพลังงานน้ำของรัฐ[16] การสู้รบเกิดขึ้นทั้วรัฐกะชีนและทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐชาน[17]
ตามรายงานข่าวพบว่า ต้นเหตุของความขัดแย้งมาจากการที่รัฐบาลพยายามจะเข้ามาควบคุมพื้นที่ที่เคยควบคุมโดยกองทัพเอกราชกะชีนรวมทั้งพื้นที่ในรัฐกะชีนและรัฐชาน ที่อยู่ในโครงการพลังงานของรัฐบาลที่ได้รับการสันบสนุนจากรัฐบาลจีน[18] สถานการณ์ความขัดแย้งได้เกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2555[19] ใน พ.ศ. 2555 การต่อสู้อย่างรุนแรงเกิดขึ้นในเดือนมีนาคมตามถนนมยิจีนา-บะมอ ในเดือนเมษายนเกิดการต่อสู้แห่งปังวาในเมืองชี-บเวใกล้กับลูชาง[20][21] ในเดือนสิงหาคมที่พากันต์ ฝ่ายกบฏกล่าวอ้างว่าฆ่าทหารพม่าได้ 140 คน
การเจรจาสงบศึก
มีการเจรจาหลายครั้งระหว่างกองทัพเอกราชกะชีนและรัฐบาลพม่าตั้งแต่มีการสู้รบในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 มีต่างชาติเข้าไปสนับสนุนการเจรจาสงบศึกหลายครั้ง ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556 ประธานาธิบดีเต็ง เส่งได้ประกาศสงบศึกฝ่ายเดียวในสงครามระหว่างกองทัพเอกราชกะชีนกับรัฐบาลพม่า[22] โดยจะมีผลในวันรุ่งขึ้น แต่ก็มีการสู้รบประปรายหลังจากนั้น[23] ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ รัฐบาลพม่าและกองทัพเอกราชกะชีนพบปะกันในจีนและเจรจาเพื่อลดความตึงเครียดทางทหารในรัฐกะชีน แต่ก็มีการปะทะกันอีกหลังจากนั้น
การโจมตีทางอากาศ
ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556 รัฐบาลพม่ายืนยันว่ามีการโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มกบฏเมื่อไม่กี่วันมานี้เพื่อโจมตีกองทัพเอกราชกะชีน[24] ในวันที่ 3 มกราคม กองทัพเอกราชกะชีนประกาศว่าการโจมตีทางอากาศเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่หกแล้วในไลง์ซา และรัฐบาลพม่าได้ใช้อาวุธเคมี
ผู้เสียชีวิต
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 กองทัพพม่ายอมรับว่ามีทหารราว 300 คนเสียชีวิตตั้งแต่เริ่มการปะทะ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 กองทัพเอกราชกะชีนยอมรับว่ามีทหารฝ่ายตนเสียชีวิต 700 คน[25]
พลเรือนและผู้อพยพ
มีพลเรือนถูกสังหารระหว่างความขัดแย้ง[26] บางส่วนได้อพยพข้ามพรมแดนไปเป็นผู้ลี้ภัยในจีน และถูกรัฐบาลจีนผลักดันกลับมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 แม้ว่าจะยังมีการสู้รบกันอยู่ และยังมีปัญหาการใช้ทหารเด็กของฝ่ายกบฏ
อ้างอิง
- ↑ "Myanmar Signs Historic Cease-Fire Deal With Eight Ethnic Armies". Radio Free Asia. 15 October 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2016. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
- ↑ Kumbun, Joe (2 January 2018). "Analysis: KIO Kicks Off New Year with New Leadership". The Irrawaddy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2018. สืบค้นเมื่อ 14 March 2018.
- ↑ Nickerson, James (2 December 2018). "The Kachin IDP crisis: Myanmar's other humanitarian disaster". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2018. สืบค้นเมื่อ 3 December 2018.
- ↑ 4.0 4.1 Branigan, Tania (17 January 2013). "Aung San Suu Kyi calls for ceasefire in Burma's Kachin region". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
- ↑ "Kachin Independence Organization (KIO) | Myanmar Peace Monitor". mmpeacemonitor.org (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Myanmar Peace Monitor. 6 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
- ↑ "Armed ethnic groups | Myanmar Peace Monitor". www.mmpeacemonitor.org (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Myanmar Peace Monitor. 10 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
- ↑ "I Want to Stress That We Are Not the Enemy". 12 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2015. สืบค้นเมื่อ 28 September 2015.
- ↑ "All Burma Students' Democratic Front (ABSDF) | Myanmar Peace Monitor". mmpeacemonitor.org (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Myanmar Peace Monitor. 6 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
- ↑ "Government of Myanmar (Burma) - KIO". ucdp.uu.se. Uppsala Conflict Data Program. สืบค้นเมื่อ 20 September 2020.
- ↑ "Myanmar Soldiers Sentenced for Killing 3 Civilians in Kachin". The New York Times. Associated Press. 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
- ↑ "EU: Democracy fails to bring peace in Kachin". The Myanmar Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
- ↑ "Kachin rebels say 23 cadets killed by Myanmar army shell". Reuters. 19 November 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 "Untold Miseries" (PDF). Human Rights Watch. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 19 February 2015.
- ↑ "No end in sight amid season of slaughter | Bangkok Post: news". Bangkok Post. 23 December 2012. สืบค้นเมื่อ 19 February 2015.
- ↑ "Barriers to Reform in Myanmar: Displacement of Civilians in Kachin State" (PDF). Oxmofm.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 February 2013. สืบค้นเมื่อ 19 February 2015.
- ↑ More war than peace in Myanmar, By Bertil Lintner, Asian Times, December 18, 2012
- ↑ Burma army buildup near Laiza suggests push for KIO capital, April 10, 2012, Kachin News, http://www.kachinnews.com/news/2269-burma-army-buildup-near-laiza-suggests-push-for-kio-capital.html เก็บถาวร 2014-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Kachin army ambush leaves 30 dead, By DVB Published: 8 July 2011, http://www.dvb.no/news/kachin-army-ambush-leaves-30-dead/16494 เก็บถาวร 2015-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Suu Kyi 'should' help with Kachin , The Australian, January 05, 2013 8:34PM , http://www.theaustralian.com.au/news/breaking-news/suu-kyi-should-help-with-kachin/story-fn3dxix6-1226548136647
- ↑ KIO tightens grip on former NDA-K stronghold Pangwa, Kachin News, April 30, 2012, http://www.kachinnews.com/news/2285-kio-tightens-grip-on-former-nda-k-stronghold-pangwa.html เก็บถาวร 2012-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Siege on Pangwa, Conflict and Human Rights Abuses in Burma, U.S. Campaign for Burma, Apr 30 2012, https://conflictsinburma.crowdmap.com/reports/view/821 เก็บถาวร 2015-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Free Radio Asia, Kachin Ceasefire Ignored
2013-01-19, http://www.rfa.org/english/news/burma/kachin-01192013175226.html
- ↑ New York Times, A Cease-Fire With Rebels in Myanmar Doesn’t Hold, Thomas Fuller, January 19, 2013, http://www.nytimes.com/2013/01/20/world/asia/cease-fire-in-myanmar-with-kachin-rebels-fails-to-take-hold.html?_r=0
- ↑ "Burma Admits Air Strikes Targeted Kachin Rebels". Voice of America. 2 January 2013. สืบค้นเมื่อ 3 January 2013.
- ↑ 31 dead in new clashes with Kachin: Myanmar paper, May 5, 2012, http://dailytimes.com.pk/default.asp?page=2012\05\05\story_5-5-2012_pg14_7[ลิงก์เสีย]
- ↑ Oxford Monitor of Forced Migration, Vol.2, No. 2, Nov. 2012, Barriers to Reform in Myanmar: Displacement of Civilians in Kachin State
Corey Pattison, http://oxmofm.com/wp-content/uploads/2012/11/Pattison-FINAL.pdf เก็บถาวร 2013-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน