Share to:

 

การสังหารหมู่ที่ดีแบยี่น

การสังหารหมู่ดีแบยี่น พ.ศ. 2546
สถานที่ชานเมืองดีแบยี่น, เขตซะไกง์, ประเทศพม่า
พิกัด22°28′00″N 95°09′00″E / 22.46667°N 95.15000°E / 22.46667; 95.15000
วันที่30 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 (2003-05-30)
20:00 น. (เวลามาตรฐานเมียนมาร์)
เป้าหมายขบวนพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD)
ประเภทการสังหารหมู่
ตาย70-282 คน
ผู้ก่อเหตุม็อบที่สนับสนุนรัฐบาล

การสังหารหมู่ดีแบยี่น (พม่า: ဒီပဲယင်း လူသတ်မှု) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 ที่ดีแบยี่น เมืองในเขตซะไกง์ ประเทศพม่า ในเหตุการณ์นี้ ประชาชนที่เกี่ยวข้องกับสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยถูกฆ่าโดยฝูงชนที่รัฐบาลสนับสนุนไป 70 คน[1][2][3] คีนหญุ่น อดีตนายกรัฐมนตรีของพม่าได้ให้สัมภาษณ์ในภายหลังถึงเหตุการณ์นี้เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2012 ว่า ได้มีการรักษาความปลอดภัยให้กับอองซานซูจีระหว่างที่เกิดการสังหารหมู่ โดยได้ให้คนของเขาเคลื่อนย้ายเธอไปไว้ในที่ที่ปลอดภัย[4]

จากเหตุการณ์นี้ ศูนย์ทรัพยากรทางกฎหมายแห่งเอเชียได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวเมื่อ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2003 พบหลักฐานว่า มีการเคลื่อนย้ายฝูงชนมากกว่า 5000 คนเข้าไปยังที่เกิดเหตุเพื่อโจมตี ผู้โจมตีได้ติดอาวุธและเข้าไปอย่างมียุทธวิธี ก่อนที่กลุ่มดังกล่าวจะเข้าไปถึง ผู้ปกครองในท้องถิ่นได้สั่งให้ประชาชนในหมู่บ้านข้างเคียงให้อยู่แต่ในบ้าน มีการค้นหาและจับกุมผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์นี้อย่างเป็นระบบ ศูนย์ทรัพยากรทางกฎหมายแห่งเอเชียได้แสดงความเห็นว่าการสังหารหมู่ดีแบยี่นเป็นการโจมตีอย่างเป็นระบบต่อพลเรือน และเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

อ้างอิง

  1. Zarni Mann (31 May 2013). "A Decade Later, Victims Still Seeking Depayin Massacre Justice". The Irrawaddy. สืบค้นเมื่อ 1 June 2013.
  2. "Police file whitewashes Depayin massacre". Democratic Voice Of Burma. 30 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-22. สืบค้นเมื่อ 1 June 2013.
  3. "Depayin and The Driver". Democratic Voice Of Burma. 12 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 1 June 2013.
  4. "Myanmar EX-PM claims he saved suu kyi's life". Bangkok Post. 8 April 2012. สืบค้นเมื่อ 7 April 2012.
Kembali kehalaman sebelumnya