Share to:

 

แอนเตรแอส เครสเตินเซิน

แอนเตรแอส เครสเตินเซิน
เครสเตินเซินขณะเล่นให้กับเชลซีใน ค.ศ. 2019
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม แอนเตรแอส เปิตเกอร์ เครสเตินเซิน[1]
วันเกิด (1996-04-10) 10 เมษายน ค.ศ. 1996 (28 ปี)[2]
สถานที่เกิด ลีเลอเริด เดนมาร์ก[3]
ส่วนสูง 1.88 เมตร (6 ฟุต 2 นิ้ว)[4]
ตำแหน่ง กองหลังตัวกลาง
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
บาร์เซโลนา
หมายเลข 15
สโมสรเยาวชน
2000–2004 Skjold Birkerød
2004–2012 เปรินปือ
2012–2015 เชลซี
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2013–2022 เชลซี 161 (2)
2015–2017โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค (ยืมตัว) 62 (5)
2022– บาร์เซโลนา 5 (0)
ทีมชาติ
2011–2012 เดนมาร์ก อายุไม่เกิน 16 ปี 2 (0)
2011–2012 เดนมาร์ก อายุไม่เกิน 17 ปี 18 (5)
2013 เดนมาร์ก อายุไม่เกิน 19 ปี 2 (0)
2013–2015 เดนมาร์ก อายุไม่เกิน 21 ปี 21 (1)
2015– เดนมาร์ก 59 (2)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2022 (UTC)
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2022 (UTC)

แอนเตรแอส เปิตเกอร์ เครสเตินเซิน (เดนมาร์ก: Andreas Bødtker Christensen; เกิด 10 เมษายน ค.ศ. 1996) เป็นนักฟุตบอลชาวเดนมาร์ก ปัจจุบันลงเล่นตำแหน่งเซ็นเตอร์แบ็กให้กับบาร์เซโลนา สโมสรในลาลิกา และทีมชาติเดนมาร์ก

เขาเริ่มต้นอาชีพกับทีมเยาวชนของเปรินปือ ก่อนที่จะย้ายไปเชลซีในวัย 15 ปีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 เขาลงเล่นฟุตบอลอาชีพนัดแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 และในช่วงระหว่าง ค.ศ. 2015–2017 เขาถูกปล่อยยืมตัวให้กับโบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัคในบุนเดิสลีกาซึ่งเขาได้ลงเล่น 82 นัดและทำ 7 ประตู เขากลับมายังเชลซีและช่วยให้ทีมชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาลีกในฤดูกาล 2018–19 และในฤดูกาล 2020–21 เขาช่วยให้ทีมชนะเลิศสามรายการทั้งยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และชิงแชมป์สโมสรโลก เขาหมดสัญญากับเชลซีแล้วจึงย้ายร่วมทีมบาร์เซโลนา ในปี ค.ศ. 2022

เครสเตินเซินลงเล่นทีมชาติชุดใหญ่ครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2015 เขายังเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่แข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย และในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 เขาช่วยให้ทีมผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศก่อนแพ้ต่ออังกฤษ

สโมสรอาชีพ

เชลซี

ชีวิตช่วงแรก

เครสเตินเซิน ขณะลงเล่นให้กับเชลซี ในปี ค.ศ. 2013

เครสเตินเซิน เกิดใน Lillerød เทศบาลเมือง Allerød[5] เขาเป็นลูกชายของสเตน เครสเตินเซิน ผู้รักษาประตูของ Brøndby IF เขาเริ่มต้นอาชีพกับ Skjold Birkerød แล้วจึงย้ายร่วมทีม Brøndby เขาใช้เวลาแปดปีที่นี่ เขาได้รับความสนใจจากสโมสรชั้นนำในยุโรป ทั้งอาร์เซนอล เชลซี แมนเชสเตอร์ซิตี ไบเอิร์นมิวนิก ก่อนที่เครสเตินเซิน จะเซ็นสัญญากับเชลซีแบบไร้ค่าตัว ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 ในช่วงที่ใกล้จะสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมของอังแดร วีลัช-โบอัช เครสเตินเซิน กล่าวว่า: “ผมเลือกเชลซีเพราะพวกเขาเล่นฟุตบอลในแบบที่ผมชอบ”[6]

เครสเตินเซิน เป็นส่วนหนึ่งของทีมชุดใหญ่ครั้งแรกในเกมสุดท้ายของฤดูกาล ฤดูกาล 2012–13 ในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 แต่ไม่ได้ลงเล่น ซึ่งจบลงด้วยการเอาขนะเอฟเวอร์ตัน 2–1 ซึ่งเป็นนัดสุดท้ายในผู้จัดการทีมเชลซีของราฟาเอล เบนิเตซ[7] เขายังเป็นส่วนหนึ่งของทีมชุดใหญ่ในการเดินทางไปสหรัฐ เพื่ออุ่นเครื่องในช่วงก่อนเริ่มฤดูกาล 2013–14 และหลังจากนั้นก็ได้เซ็นสัญญาระดับอาชีพกับสโมสร[8]

ฤดูกาล 2014–15

เขาลงเล่นระดับอาชีพของเขาครั้งแรกในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ในเกมที่ออกไปเยือนชรูส์บรีทาวน์ ช่วยให้เชลซีเอาชนะ 2–1 ในฟุตบอลลีกคัพ รอบที่สี่ โดยได้ลงเล่นครบ 90 นาทีในตำแหน่งแบ็กขวา[9] เครสเตินเซิน ได้ลงเล่นในระดับอาชีพอีกครั้งเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2015 ในนัดที่แพ้ต่อแบรดฟอร์ดซิตี สโมสรในดิวิชันสาม ในเอฟเอคัพ รอบสี่[10]

แม้ว่าเครสเตินเซินจะไม่ได้ลงเล่นในลีกคัพอีกเลย แต่เชลซีก็ชนะเลิศรายการนี้หลังเอาชนะทอตนัมฮอตสเปอร์ 2–0 ในรอบชิงชนะเลิศ ฌูแซ มารียู ผู้จัดการทีมเชลซีในขณะนั้นได้ถูกถามว่าใครคือผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดชิงชนะเลิศ เขาตอบว่า "ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดคือ แอนเตรแอส เครสเตินเซิน ที่เล่นได้ดีในเกมกับชรูว์สบิวรีมากกว่า จอห์น เทร์รี (ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดชิงชนะเลิศศ) เพราะเราคือทีม ผมภูมิใจในตัวเขา"[11]

ในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 2015 เครสเตินเซิน ลงเล่นให้กับเชลซีรุ่นอายุไม่เกิน 19 ปีในรอบชิงชนะเลิศยูฟ่ายูธลีก พบกับชัคตาร์ดอแนตสก์ ที่นียง แม้ว่าเขาจะสกัดบอลเข้าประตูตัวเองในช่วงครึ่งแรก แต่เชลซีก็ยังเอาชนะได้ด้วยคะแนน 3–2[12] เขาลงเล่นในพรีเมียร์ลีกครั้งแรกในวันที่ 24 พฤษภาคม ในนัดเหย้าที่เอาชนะซันเดอร์แลนด์ 3–1 แทนที่ของจอห์น โอบี มิเกล ในนาทีที่ 78[13] แม้ว่าเครสเตินเซินจะลงเล่นเพียงนัดเดียวตลอดทั้งฤดูกาล แต่มารียูระบุว่าเขาจะได้รับเหรียญจำลองจากสโมสรสำหรับผลงานของเขาในฤดูกาลนี้[14]

โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค (ยืมตัว)

ในงันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 เครสเตินเซิน ย้ายร่วมทีมโบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค ด้วยสัญญายืมตัวเป็นเวลาสองปี[15][16] เขาลงเล่นนัดแรกในวันที่ 10 สิงหาคม ในนัดที่พบกับซังต์ เพาลี ในรอบแรกของเดเอ็ฟเบ-โพคาล ซึ่งช่วยให้ทีมเอาชนะ 4–1[17] 5 วันหลังจากนั้น เครสเตินเซิน ได้ลงเล่นในบุนเดิสลีกาเป็นนัดแรก ในนัดที่แพ้ต่อโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 4–0 ที่เว็สท์ฟาเลินชตาดีอ็อน[18] ในวันที่ 1 ตุลาคม เขายังได้ลงเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกในรอบแบ่งกลุ่มนัดเหย้ากับแมนเชสเตอร์ซิตี โดยได้ลงเล่นเป็นตัวจริงตลอดทั้งนัดซึ่งทีมแพ้ไปด้วยคะแนน 1–2[19] เขาทำประตูแรกของเขาในระดับอาชีพได้เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 ในนัดที่เอาชนะแวร์เดอร์เบรเมิน 5–1 ที่โบรุสซีอา-พาร์ค[20]

หลังฤดูกาลแรกที่น่าประทับใจ เครสเตินเซิน ได้รับการออกเสียงรับเลือกให้เป็นนักเตะยอดเยี่ยมประจำฤดูกาล แทนที่ตำแหน่งเดิมของกรานิต จากา กัปตันของทีม[21] เมินเชินกลัทบัค ได้พยายามหลายครั้งในการพยายามนำตัวเขาเข้าสู่ทีมเป็นการถาวรในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 2016 โดยมีรายงานว่าเชลซีปฏิเสธการเสนอราคา 14.25 ล้านปอนด์จากกลัทบัค[22]

ในยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2016–17 ในนัดที่สองของรอบ 32 ทีมสุดท้าย เครสเตินเซิน ทำประตูชัยช่วยให้ทีมเอาชนะฟีออเรนตีนา 4–2 ทำให้ทีมผ่านเข้ารอบด้วยผลรวมสองนัด 4–3[23] เขาทำประตูได้อีกครั้งในรอบถัดไปนัดที่สองซึ่งเป็นนัดเหย้าพบกับชัลเคอ 04 แต่แพ้ไปด้วยกฎประตูทีมเยือนหลังจากเสมอกัน 3–3[24]

กลับสู่เชลซี

ฤดูกาล 2017–18

เครสเตินเซิน ขณะลงเล่นให้กับเชลซีในปี ค.ศ. 2017

ในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2017 เครสเตินเซิน ลงเล่นให้กับเชลซีเป็นครั้งแรก หลังจากกลับจาการยืมตัวสองปีที่เยอรมนี หลังถูกเปลี่ยนตัวลงมาแทนเฌเรมิเอ โบกา เพื่อมาลงเล่นในตำแหน่งของแกรี เคฮิลล์ กัปตันของทีมที่ถูกไล่ออก ในนัดแรกของพรีเมียร์ลีกที่เชลซีแพ้ต่อเบิร์นลีย์ 3–2[25] แปดวันหลังจากนั้น เขาได้ลงเล่นเป็นตัวจริงในพรีเมียร์ลีกครั้งแรกในนัดที่เอาชนะทอตนัมฮอตสเปอร์ 2–1 ที่เวมบลีย์[26] ในวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 2018 เครสเตินเซิน ได้ต่อสัญญาฉบับใหม่เป็นเวลาสีปีครึ่งกับเชลซีซึ่งจะสิ้นสุดในฤดูร้อนปี ค.ศ. 2022 เขาสร้างผลงานให้เป็นที่ยอมรับในทีมชุดใหญ่[27] โดยลงเล่น 40 นัดให้กับสิงโตน้ำเงินครามในฤดูกาล 2017–18 รวมทั้งลงเล่น 3 นัดซึ่งช่วยให้ชนะเลิศเอฟเอคัพ อย่างไรก็ตาม เขาได้รับบาดเจ็บทำให้ไม่ได้มีส่วนร่วมในรอบชิงชนะเลิศ[28] ก่อนที่ฤดูกาลจะสิ้นสุด เขาได้รับรางวัลผู้เล่นเยาวชนยอดเยี่ยมของสโมสร[29]

ฤดูกาล 2018–19

เมารีซีโอ ซาร์รี ผู้จัดการทีมคนใหม่ มักเลือกที่จะจับคู่เซ็นเตอร์แบ็กเป็นดาวิด ลุยซ์ และอันโทนีโอ รือดีเกอร์ ทำให้ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 เครสเตินเซิน ได้ลงเล่นเพียง 15 นัดตลอดทั้งฤดูกาล และได้ลงเล่นในลีก 2 นัดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เขาไม่ต้องการออกจากสโมสร[30] แต่ก็ยังได้โอกาสลงเล่นตลอดทั้งนัดในรอบชิงชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาลีก กับอาร์เซนอล ที่ประเทศอาเซอร์ไบจาน เครสเตินเซิน ช่วยให้ทีมเอาชนะ 4–1 ทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นคนแรกที่ชนะเลิศทั้งยูฟ่ายูธลีก และยูฟ่ายูโรปาลีก

ฤดูกาล 2019–20

หลังเชลซีชนะเลิศแชมเปียนส์ลีก ทำให้พวกเขาได้ลงเล่นยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2019 ในวันที่ 14 สิงหาคม โดยเครสเตินเซินได้ลงเล่นเป็นตัวจริง ซึ่งเชลซีแพ้การดวลลูกโทษต่อลิเวอร์พูล 7–6 หลังเสมอกันใน 120 นาที[31]เขาได้ลงเล่น 28 นัดในทุกรายการ รวมถึงในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2020 โดยเครสเตินเซินลงเล่นเป็นตัวสำรองในนาทีที่ 35 แทนที่เซซาร์ อัซปิลิกูเอตา แต่เชลซีแพ้ให้กับอาร์เซนอล 2–1 ที่เวมบลีย์[32]

ฤดูกาล 2020–21

ในวันที่ 29 พฤศภาคม ค.ศ. 2021 เครสเตินเซิน ได้ลงเล่นในรอบชิงชนะเลิศ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก กับแมนเชสเตอร์ซิตี ที่โปร์ตู หลังถูกเปลี่ยนตัวลงมาแทนชียากู ซิลวา ซึ่งได้รับบาดเจ็บในนาทีที่ 39 เขาช่วยให้ทีมชนะเลิศด้วยผลคะแนน 1–0 นับเป็นการชนะเลิศรายการนี้ครั้งแรกของเขา[33]

ฤดูกาล 2021–22

หลังเชลซีชนะเลิศแชมเปียนส์ลีก ทำให้ได้สิทธิ์แข่งขันยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2021 กับบิยาร์เรอัล ในวันที่ 11 สิงหาคม ซึ่งเครสเตินเซินได้ลงเล่นเป็นตัวสำรองหลังเปลี่ยนตัวลงมาแทนกูร์ต ซูมา ในนาทีที่ 66 ช่วยให้ทีมเอาชนะในช่วงดวลลูกโทษ 6–5 หลังเสมอกันใน 120 นาที 1–1[34] ในวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2021 เครสเตินเซิน ทำประตูแรกให้กับเชลซีได้ในนัดที่เอาชนะมัลเมอ เอฟเอฟ 4–0 ที่สแตมฟอร์ดบริดจ์ ในรอบแบ่งกลุ่มของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก[35]

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 เชลซี ได้ลงแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2021 ที่ประเทศกาตาร์ เขาได้ลงเล่นเป็นตัวจริงทั้งสองนัดที่เชลซีแข่งขัน รวมถึงรอบชิงชนะเลิศกับปัลเมย์รัส ช่วยให้ทีมเอาชนะ 2–1 นับเป็นการชนะเลิศชิงแชมป์สโมสรโลกเป็นครั้งแรกของเชลซี และเครสเตินเซิน[36]

บาร์เซโลนา

หลังสัญญากับเชลซีสิ้นสุดลง ในวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 2022 เครสเตินเซิน ได้ย้ายร่วมทีมบาร์เซโลนา ด้วยสัญญาสี่ปี โดยมีค่าฉีกสัญญา 500 ล้านยูโร[37] ในวันที่ 13 สิงหาคม เขาลงเล่นนัดแรกให้กับสโมสรตั้งแต่นัดแรกของฤดูกาลลาลิกา ซึ่งเสมอกับราโยบาเยกาโน 0–0 โดยลงเล่นในตำแหน่งเซ็นเตอร์แบ็กคู่กับเอริก การ์ซิอา[38]

ระดับทีมชาติ

ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2015 เครสเตินเซิน ได้ประเดิมสนามกับทีมชาติเดนมาร์กชุดใหญ่ครั้งแรก ในเกมกระชับมิตรที่เอาชนะมอนเตเนโกร ที่สนามกีฬาวีบอร์ก หลังถูกเปลี่ยนตัวลงมาแทนพีแยร์-เอมิล ฮอยปีแยร์ในนาทีที่ 69[39] ในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 2016 เครสเตินเซินได้ลงเล่นเป็นตัวจริงนัดแรก และยังลงเล่นจนครบ 90 นาทีในเกมกระชับมิตรที่เอาชนะสาธารณรัฐไอซ์แลนด์ 2–1 เอ็มซีเอชอารีนา[40]

เครสเตินเซิน ได้ลงเล่นหกนัดในฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก ซึ่งช่วยให้เดนมาร์กผ่านเข้ารอบ รวมถึงในวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 ซึ่งเขาทำประตูแรกให้กับทีมชาติของเขาได้ในนัดที่สองของรอบเพลย์-ออฟเพื่อตัดสินหาทีมเดียวที่จะผ่านเข้ารอบสุดท้าย เป็นประตูตีเสมอสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ก่อนที่เดนมาร์กจะแซงเอาชนะ 5–1[41] ออเก ฮาราได ได้เรียกเขาให้เป็นส่วนหนึ่งของทีมในรอบสุดท้าย ที่ประเทศรัสเซีย[42] เขาลงเล่นร่วมกับซีโมน แคร์ ในตำแหน่งเซ็นเตอร์แบ็ก แต่ได้เล่นในตำแหน่งกองกลางตัวรับในเกมสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่มกับฝรั่งเศส[43] รวมถึงในรอบ 16 ทีมสุดท้ายกับโครเอเชีย เพื่อต่อสู้กับความแข็งแกร่งของคู่แข่งในจุดนี้ เดนมาร์กขึ้นนำตั้งแต่นาทีแรกของนัด แต่ในนาทีที่สี่ ซีโมน แคร์ ได้สกัดบอลมาโดนตัวเขากระดอนไปหามาริออ มันจูกิชทำประตูตีเสมอได้ซึ่งนำไปสู่ชัยชนะของโครเอเชียในช่วงดวลลูกโทษ[44]

เครสเตินเซิน เป็นหนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญของเดนมาร์ก ระหว่างฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 ซึ่งพวกเขาประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเขาได้ลงเล่นครบทั้งหกนัด[45] ในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2021 เครสเตินเซิน ทำประตูจากระยะไกลได้ในนัดที่เอาชนะรัสเซีย 4–1 ซึ่งช่วยให้เดนมาร์กผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกของการแข่งขัน[46] หลังจากพวกเขาเอาชนะทั้งเวลส์ และสาธารณรัฐเช็กได้สำเร็จ เดนมาร์ก ได้พ่ายแพ้ในรอบรองชนะเลิศต่ออังกฤษ ในช่วงต่อเวลาพิเศษ 2–1 ที่สนามกีฬาเวมบลีย์[47]

ในวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 ได้มีการประกาศว่า เครสเตินเซิน ได้รับเลือกจากคัสเปอร์ ยูลมันให้เป็น 1 ใน 26 นักเตะของทีมชาติเดนมาร์กสำหรับลงแข่งขันในฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์[48][49]

เกียรติประวัติ

เชลซี (เยาวชน)

เชลซี

ส่วนบุคคล

อ้างอิง

  1. "Updated squads for 2017/18 Premier League confirmed". Premier League. 2 February 2018. สืบค้นเมื่อ 10 February 2018.
  2. "แอนเตรแอส เครสเตินเซิน". Barry Hugman's Footballers. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2018.
  3. Heneage, Kristan (21 April 2016). "Andreas Christensen: Chelsea's thriving loanee who's attracting Bayern and Barça". FourFourTwo. สืบค้นเมื่อ 26 August 2018.
  4. "Andreas Christensen: Overview". Premier League. สืบค้นเมื่อ 26 August 2018.
  5. Heneage, Kristan (21 April 2016). "Andreas Christensen: Chelsea's thriving loanee who's attracting Bayern and Barça". FourFourTwo. สืบค้นเมื่อ 26 August 2018.
  6. "Chelsea complete signing of 15-year-old Brondby defender Andreas Christensen on a free transfer". Goal.com. 7 February 2012. สืบค้นเมื่อ 7 February 2012.
  7. Phillips, Owen (15 May 2013). "Chelsea 2–1 Everton". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 28 October 2014.
  8. "Christensen Chelsea Profile". Chelsea F.C. 7 February 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2014. สืบค้นเมื่อ 7 February 2012.
  9. Chowdhury, Saj (28 October 2014). "Shrewsbury 1–2 Chelsea". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 28 October 2014.
  10. Emons, Michael (24 January 2015). "Chelsea 2–4 Bradford". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 24 January 2015.
  11. "Matic's kit, phone calls, but no party: Chelsea's cup celebrations". BBC Sport. 1 March 2015. สืบค้นเมื่อ 2 March 2015.
  12. "Brown inspires Chelsea to Youth League glory". 13 April 2015.
  13. Winton, Richard (24 May 2015). "Chelsea 3–1 Sunderland". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 24 May 2015.
  14. "Every Chelsea player to get a Premier League medal says Jose Mourinho". ESPN. 15 May 2015. สืบค้นเมื่อ 26 August 2018.
  15. "German loan for Christensen". Chelsea F.C. 10 July 2015.
  16. "Borussia bring in Chelsea's Andreas Christensen on loan". Borussia Mönchengladbach. 10 July 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-12. สืบค้นเมื่อ 10 July 2015.
  17. "St. Pauli vs. Borussia M'gladbach 1–4", Soccerway, 10 August 2015
  18. "Borussia Dortmund vs. Borussia M'gladbach 4–0", Soccerway, 15 August 2015
  19. #15 Andreas Chirstensen transfermarkt สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2022
  20. "Mönchengladbach delight at dismantling Bremen". Bundesliga. 5 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-15. สืบค้นเมื่อ 29 December 2017.
  21. "Chelsea prodigy Andreas Christensen wins Borussia Monchegladbach player of the year ahead of Arsenal's Granit Xhaka". Metro. 13 June 2016. สืบค้นเมื่อ 16 June 2016.
  22. "Chelsea reject Borussia Monchengladbach bid for Andreas Christensen – Sky sources". Sky Sports. 19 July 2016.
  23. "Fiorentina 2–4 Borussia Mönchengladbach". BBC Sport. 23 February 2017. สืบค้นเมื่อ 29 December 2017.
  24. "Borussia Monchengladbach 2 Schalke 2 (3-3 agg, Schalke win on away goals): Bentaleb penalty sends visitors through". FourFourTwo. 16 March 2017. สืบค้นเมื่อ 29 December 2017.
  25. "Chelsea 2–3 Burnley". BBC Sport. 12 August 2017.
  26. "Tottenham Hotspur 1–2 Chelsea". BBC Sport. 20 August 2017.
  27. "Christensen commits". Chelsea F.C. 9 January 2018. สืบค้นเมื่อ 9 January 2018.
  28. "Revealed: Why Andreas Christensen was not in Chelsea's squad for FA Cup victory over Man United". football.london. 20 May 2018. สืบค้นเมื่อ 21 May 2018.
  29. "Christensen: Great to play on the big stage". Chelsea F.C. 15 May 2018. สืบค้นเมื่อ 21 May 2018.
  30. Burton, Chris (18 February 2019). "Christensen had 'doubts' but never considered leaving Chelsea". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 26 February 2019.
  31. 0–0Liverpool 2-2 Chelsea (5-4 on pens): Uefa Super Cup player ratings เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2019 โดย Marcus Christenson สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2022
  32. FA Cup final match report: Chelsea 1 Arsenal 2 chelseafc.com เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม ค.ศ. 2020 สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2022
  33. "Man. City 0-1 Chelsea: Havertz gives Blues second Champions League triumph". UEFA. 29 May 2021. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
  34. Chelsea-Villarreal | UEFA Super Cup 2020/21 uefa.com สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2022
  35. "'Proud Moment' - Andreas Christensen Reflects On Scoring First Chelsea Goal". Sports Illustrated. 22 October 2021. สืบค้นเมื่อ 23 November 2021.
  36. Christensen: Ten years a Blue and targeting gold badge on shirt 08 February 2022 Chelseafc.com สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022
  37. "Christensen, second signing for FC Barcelona" (ภาษาอังกฤษ). FC Barcelona. 4 July 2022. สืบค้นเมื่อ 4 July 2022.
  38. "Barcelona frustrated by Rayo Vallecano as Lewandowski & Raphinha's La Liga debuts spoiled" (ภาษาอังกฤษ). 13 August 2022. สืบค้นเมื่อ 16 August 2022.
  39. Olsen, Allan (8 June 2015). "Pierre-Emile er vores panzerwagen!" [Pierre-Emile is our tank!]. Ekstra Bladet (ภาษาเดนมาร์ก). Copenhagn. สืบค้นเมื่อ 8 June 2015.
  40. "Denmark vs. Iceland (2 : 1)". OneFootball. 25 มีนาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2016.
  41. Hafez, Shamoon (14 November 2017). "Republic of Ireland 1–5 Denmark". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 14 November 2017.
  42. "World Cup 2018: Nicklas Bendtner left out of Denmark squad because of injury". BBC Sport. 3 June 2018. สืบค้นเมื่อ 26 February 2019.
  43. Wallace, Sam (26 June 2018). "Andreas Christensen gives next Chelsea manager food for thought with commanding midfield display". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 26 February 2019.
  44. Watson, Jack (1 July 2018). "Croatia vs Denmark, World Cup 2018: Andreas Christensen falls flat on his face in midfield audition – scouting report". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-27. สืบค้นเมื่อ 26 February 2019.
  45. "UEFA Euro 2020 Player Statistics: Andreas Christensen". UEFA.com. สืบค้นเมื่อ 10 July 2021.
  46. "Russia 1-4 Denmark: Dazzling Danes storm into last 16". UEFA.com. 21 June 2021. สืบค้นเมื่อ 10 July 2021.
  47. "England beat Denmark in extra time to set up Euro 2020 final with Italy". The Guardian. 7 July 2021. สืบค้นเมื่อ 10 July 2021.
  48. Denmark World Cup 2022 squad list, fixtures and latest odds telegraph.co.uk เขียนโดย Ewan Somerville เขียนและสืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022
  49. Christensen in Denmark World Cup squad FCBarcelona.com 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022
  50. Reid, Jamie (6 May 2014). "Chelsea seal Youth Cup glory after thriller at the Bridge". The Football Association. สืบค้นเมื่อ 26 August 2018.
  51. "Brown inspires Chelsea to Youth League glory". UEFA. 13 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2017.
  52. McNulty, Phil (29 May 2021). "Manchester City 0–1 Chelsea". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 15 February 2022.
  53. Bevan, Chris (29 May 2019). "Chelsea 4–1 Arsenal". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 29 May 2019.
  54. Sterling, Mark (11 August 2021). "Chelsea 1–1 Villarreal". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 15 February 2022.
  55. "Chelsea 2–1 Palmeiras". BBC Sport. 12 February 2022. สืบค้นเมื่อ 15 February 2022.
  56. McNulty, Phil (1 August 2020). "Arsenal 2–1 Chelsea". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 1 August 2020.
  57. McNulty, Phil (24 February 2019). "Chelsea 0–0 Manchester City". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  58. DFA: AC Snuppede Årets Talent (Danish), Accessed 22 March 2016
  59. DFA: Dansk Fodbold Award (Danish) เก็บถาวร 2018-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Accessed 22 March 2016
  60. |Andreas Christensen vinder hæder i Gladbach (Danish), Accessed 13 June 2016
  61. "Annual awards 2018 – Kante is no.1". Chelsea F.C. 10 May 2018. สืบค้นเมื่อ 26 August 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya