โตโยต้า พริอุส
โตโยต้า พริอุส (อังกฤษ: Toyota Prius) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ของค่ายรถยนต์โตโยต้า เป็นรถรุ่นแรกของโลกที่นำระบบเครื่องยนต์ไฮบริดมาใช้ในเชิงพาณิชย์ (รถยนต์ไฮบริด คือ รถยนต์ที่ใช้ระบบไฟฟ้าแบตเตอรี่มาช่วยในการขับเคลื่อนในบางสถานการณ์ ทำให้รถยนต์ที่ใช้ระบบไฮบริดประหยัดน้ำมันได้ประมาณ 30-50%) เริ่มการผลิตครั้งแรกใน พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน
หลักการการตั้งชื่อคำว่าพริอุส (Prius) ในภาษาละตินมีความหวายว่า "ที่หนึ่ง", "ดั้งเดิม", "สุดยอด" หรือ "ไปก่อนใคร"[1] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 โตโยต้าสหรัฐอเมริกาได้มีการถามประชาชนชาวสหรัฐฯ ว่าควรเรียกพริอุสที่มีหลายคัน (พหูพจน์) ว่าอย่างไร ซึ่งตัวเลือกที่มีก็คือ Prien, Prii, Prium, Prius, หรือคำว่า Priuses[2][3] โดยโตโยต้าสหรัฐฯ ได้ข้อสรุปและประกาศในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ว่าคำที่ได้คือคำว่า "Prii" ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ได้รับเลือกที่มากที่สุดและกำหนดให้เป็นพหูพจน์ใหม่อย่างเป็นทางการในสหรัฐอเมริกา[4] ในภาษาละติน คำว่า prius เป็นเอกพจน์เพศกลางของรูปแบบการเปรียบเทียบ (prior, prior, prius) ของคำคุณศัพท์ที่มีการเปรียบเทียบและการเปรียบเทียบขั้นสูงสุด (การเปรียบเทียบขั้นสูงสุดเป็น primus, prima, primum) เช่นเดียวกับคำที่เป็นกลางทั้งหมด พหูพจน์ของภาษาละตินคือ priora แต่ชื่อนั้นได้ใช้ไปแล้วโดยรถยนต์รุ่นลาด้า พรีออร่า ใน พ.ศ. 2550 แต่ถึงแม้ว่าคำพหูพจน์อย่างเป็นทางการที่ใช้โดยโตโยต้าสหรัฐเป็นคำว่า "Prii" แต่คำว่า "Priuses" ก็ยังมีการใช้กันอย่างกว้างขวางอยู่[5] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 โตโยต้าสหรัฐฯ เริ่มมีการขยายการใช้ชื่อพริอุสออกไปยังรถรุ่นอื่น ๆ นั่นคือ พริอุสรุ่นปกติจะเป็นพริอุส ลิฟต์แบ็ก, พริอุส วี (หรือในประเทศญี่ปุ่นจะใช้เป็นชื่อโตโยต้า พริอุส อัลฟา (อังกฤษ: Prius α), ในยุโรปจะใช้ชื่อว่าพริอุส พลัส (อังกฤษ: Prius +)) , พริอุส ปลั๊กอิน ไฮบริด และพริอุส ซี (ใช้ชื่อโตโยต้า อควาในประเทศญี่ปุ่น)[6][7] โฉมที่ 1 (XW10; พ.ศ. 2540–2546)พริอุสรุ่นแรก เปิดตัวในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 มีตัวถังแบบเดียว คือ ซีดาน 4 ประตู ในช่วงก่อน พ.ศ. 2544 พริอุสใช้รหัส NHW10 มีขายเฉพาะในประเทศจีน เท่านั้น ยกเว้นบริษัทนำเข้าอิสระในประเทศต่างๆ จำนำรถมือหนึ่ง และ รถมือสองที่ถูกใช้แล้ว ส่งออกมายังประเทศตนเองบ้างเล็กน้อย หลังจากนั้น พริอุสเปลี่ยนไปใช้รหัสตัวถัง NHW11 โตโยต้าได้ส่งออกไปขายนอกประเทศจีนโดยตรง พริอุสจะใช้เกียร์อัตโนมัติ CVT เป็นมาตรฐาน มีอัตราการใช้น้ำมันที่ประหยัดมาก (17.5 - 17.9 กม./ลิตร ในการวิ่งปกติ) และได้รับการตัดสินจากองค์กร CARB (California Air Resources Board) ให้เป็นรถยนต์มลพิษต่ำพิเศษ (Super Ultra Low Emission Vehicle) โฉมที่ 2 (XW20; พ.ศ. 2546–2552)พริอุสรุ่นที่ 2 ใช้รหัส NHW20 ได้เปลี่ยนมาผลิตตัวถังแบบแฮทช์แบ็ก 5 ประตู (ท้ายกุด ไม่มีกระโปรงสั้น คล้าย ฮอนด้า แจ๊ซ, โตโยต้า ยาริส ฯลฯ) พริอุสได้รับออกแบบให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ประหยัดน้ำมันมากขึ้น (19.2 - 20.4 กม./ลิตร ในการวิ่งปกติ) ด้านความปลอดภัย มีองค์กรต่างๆ ได้ไปทำการทดสอบการชน กับรถพริอุส โดยมีผลการทดสอบอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีในรุ่นที่มีถุงลมนิรภัย Airbags รอบคัน แต่รุ่นที่ไม่มีถุงลมนิรภัย Airbags ในด้านข้าง มีผลการทดสอบที่ค่อนข้างไม่น่าพอใจ โฉมที่ 3 (XW30; พ.ศ. 2552–2558)โตโยต้า พริอุสรุ่นที่ 3 ใช้รหัส ZVW30 ใช้ตัวถังแบบลิฟต์แบ็ก 5 ประตูเช่นเดียวกับรุ่นก่อนหน้า เปิดตัวที่งานแสดงรถยนต์อเมริกาเหนือเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 เป็นรุ่นปี 2010[8] ตั้งแต่เปิดตัวเมื่อ พ.ศ. 2552 มีการผลิตพรีอุสรุ่นนี้ไปแล้วกว่า 1,688,000 คันทั่วโลก[9] โตโยต้า พริอุส รุ่นนี้มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานของตัวรถเพียง 0.25 และมีครีบหลังใต้ท้องรถช่วยให้รถทรงตัวได้ที่ความเร็วสูง ระบบขับเคลื่อนZVW30รุ่นนี้มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร เครื่องยนต์เบนซินสี่สูบเรียง (รุ่นก่อน 1.5 ลิตร) มีแรงม้า 73 kW; 99 PS (98 hp) รวมกับพลังจากมอเตอร์ไฟฟ้า 20 kW; 27 PS (27 hp) ได้แรงม้ารวมเป็น 100 kW (134 hp) (รุ่นก่อน 110 hp) ซึ่งเครื่องยนต์ที่ใหญ่ขึ้นนี้ทำให้แรงบิดเพิ่มขึ้น รอบต่อนาที (rpm) ต่ำลง ทำให้ประหยัดน้ำมันเมื่อขับขี่บนทางหลวง นอกจากนี้ยังมีปั๊มน้ำไฟฟ้าทำให้เครื่องยนต์ของพรีอุสไม่จำเป็นต้องมีสายพานยิ่งทำให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น[10] ส่วนมอเตอร์ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบไฮบริดก็เล็กลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น[11] โตโยต้าประเมินว่าอินเวอร์เตอร์ มอเตอร์ และเพลาส่งกำลังแบบใหม่จะเบาลง 20 เปอร์เซ็นต์ และมีแบตเตอรีนิกเกิลไฮไดรด์ 1.3 กิโลวัตต์ติดตั้งที่ใต้ท้องรถ ZVW35: รุ่นปลั๊กอินตัวต้นแบบของโตโยต้า พรีอุส ปลั๊กอิน ไฮบริดได้ถูกแสดงในงานแสดงรถยนต์โตเกียวประจำปี 2009 งานแสดงรถยนต์แฟรงก์เฟิร์ตประจำปี 2009 และงานแสดงรถยนต์ลอสแอนเจลิสประจำปี 2009 ในจำนวนจำกัดสำหรับโปรแกรมสาธิตตัวต้นแบบนี้ ตัวต้นแบบนี้พัฒนามาจากตัวไฮบริดรุ่นที่สามและมาพร้อมกับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนขนาด 5.2 กิโลวัตต์[12][13] สามารถขับด้วยระบบไฟฟ้าล้วนได้ 21 กิโลเมตร (13 ไมล์)[14] โปรแกรมสาธิตพรีอุส ปลั๊กอิน ไฮบริดได้ผลิตพรีอุสที่เป็นตัวทดลองกว่า 600 คันเริ่มผลิตตั้งแต่ พ.ศ. 2552 สำหรับการทดสอบในประเทศญี่ปุ่น ยุโรป แคนาดา จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหรัฐอเมริกา[15][16][17] ส่วนพรีอุส ปลั๊กอิน ไฮบริดรุ่นผลิตจริงได้เปิดตัวที่งานแสดงรถยนต์แฟรงก์เฟิร์ตประจำปี 2011 จากการทดสอบด้วยโปรแกรมสาธิตได้ทำให้พรีอุส ปลั๊กอิน ไฮบริดมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นด้วยขนาดแบตเตอรี่ที่เล็กลงเป็น 4.4 กิโลวัตต์ แต่ได้ระยะทางขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าล้วนได้ 23 กิโลเมตร (14.3 ไมล์)[18] พรีอุส ปลั๊กอิน ไฮบริดเริ่มต้นจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 สหรัฐอเมริกาเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ และตลาดยุโรปเมื่อเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน[19][20][21] การตลาดในประเทศไทยโตโยต้า พรีอุสรุ่นที่สามได้เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยเป็นการนำเข้าสิ้นส่วนมาประกอบในประเทศ (CDK) เป็นรถโตโยต้าไฮบริดรุ่นที่สองหลังจากโตโยต้า คัมรี่ ไฮบริด โดยพรีอุสมีรุ่นย่อยแบ่งออกเป็น 2 รุ่น คือ Top Grade ราคา 1,260,000 บาท และ Standard Grade 1,190,000 บาท โดยทุกรุ่นมีระบบสัญญาณไฟเบรกกระพริบเมื่อเบรกกะทันหัน ระบบควบคุมการทรงตัว (VSC) ระบบกระจายแรงเบรก (EBD) ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี (TRC) ระบบป้องกันล้อล็อก (ABS) และถุงลมนิรภัย 7 จุดในทุกรุ่นย่อย ต่อมาในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555 โตโยต้าได้เปิดตัวพรีอุสรุ่นปรับโฉมในประเทศไทย โดยมีการเปลี่ยนแปลงการออกแบบด้านหน้าของตัวรถใหม่ มีรุ่นย่อยทั้งหมด 3 รุ่น คือรุ่น Standard 1,199,000 บาท, รุ่น Top 1,299,000 บาท และรุ่น Top Option 1,369,000 บาท โดยรุ่น Top Option จะมีระบบระบายอากาศอัตโนมัติด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Ventilation System) ประกาศยกเลิกผลิตพรีอุสประสบปัญหาเรื่องยอดขายและภาษีในประเทศไทยในวันที่ 18 กันยายน 2558 โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยแจ้งหยุดผลิตโตโยต้า พรีอุสหลังจากที่มีปัญหาเกี่ยวกับยอดขายที่ไม่เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้และปัญหาเกี่ยวกับภาษีนำเข้า โดยโตโยต้าได้เผชิญกับข้อพิพาททางกฎหมายเกี่ยวกับการนำเข้าชิ้นส่วนประกอบพรีอุส ทางโตโยต้าเองได้ออกมาชี้แจงว่าบริษัทไม่ได้นำเข้ารถยนต์พริอุสเข้ามาทั้งคันตามที่ถูกพาดพิง และได้ชี้แจงอีกว่าการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ทุกชิ้นได้มีการแสดงเอกสารอย่างถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย รวมถึงได้รับอนุมัติการนำเข้าและตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นที่เรียบร้อย ต่อมาวันที่ 15 ก.ย.65 ศาลฎีกาภาษีอากรกลางนัดอ่านคำพิพากษาชั้นฎีกา คดีข้อพิพาทการจัดเก็บภาษีนำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่พรีอุสโดยมีโจทก์ (ผู้ฟ้อง) คือ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และมีจำเลย (ผู้ถูกฟ้อง) คือกรมศุลกากร โจทก์ร้องขอให้ศาลภาษีอากรเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน อ้างว่าตนเสียภาษีถูกต้องครบถ้วนแล้ว ในชั้นศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากร ตุลาการในคดีมีเห็นว่า ชิ้นส่วนรถยนต์ที่โจทก์นำเข้าเมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้ว จะมีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญของพรีอุสและสามารถนำไปประกอบเป็นรถยนต์โตโยต้า พรีอุสได้ทันที จึงต้องจัดให้อยู่ในประเภท “ชิ้นส่วนที่สมบูรณ์หรือสำเร็จแล้ว” พิกัด 8703.23.51 (ตามช่วงที่นำเข้า) ซึ่งต้องจ่ายภาษีในอัตรา 80% เช่นนี้จึงไม่เข้ากรณีที่จะได้รับการลดอัตราภาษีตาม JTEPA วันที่ 19 กันยายน 2565 นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตามที่ศาลมีคำพิพากษาให้บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ต้องชำระค่าภาษีอากรต่อกรมศุลกากรราว 1 หมื่นล้านบาท ภายใน 1 เดือน หลังจากวันที่มีคำพิพากษานั้น ล่าสุด ทางบริษัทได้ประสานงานเข้ามาแล้ว ซึ่งตามคำพิพากษาบริษัทต้องจ่ายทั้งหมดนั้น เป็นการรวมทั้งภาษีส่วนที่ขาด พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ส่วนกรณีหากเอกชนไม่สามารถจ่ายได้ในคราวเดียวนั้น ก็ต้องทำเรื่องขอผ่อนชำระเข้ามา แต่ทางกรมไม่สามารถไปผ่อนปรนให้ก่อนได้ โฉมที่ 4 (XW50; พ.ศ. 2558–2565)โตโยต้า พริอุส รุ่นที่ 4 ได้เปิดตัวครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ที่เมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจำหน่ายครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ตามด้วยประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 และเดือนกุมภาพันธ์ในยุโรป โดยโตโยต้าคาดหวังไว้ว่าจะขายโตโยต้า พริอุส รุ่นที่ 4 นี้ได้ 12,000 คันต่อเดือนและ 300,000 ถึง 350,000 คันต่อปีในประเทศญี่ปุ่น โตโยต้า พริอุส รุ่นที่ 4 ถูกพัฒนาขึ้นบนแพลทฟอร์มใหม่ที่มีชื่อว่า Toyota New Global Architecture (TNGA) ซึ่งออกแบบให้มีจุดศุนย์ถ่วงต่ำลงกว่าเดิมและทำให้โครงสร้างของรถแข็งแกร่งขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงช่วงล่างใหม่ ทำให้โตโยต้า พริอุส รุ่นนี้มีการขับขี่ที่คล่องตัวมากขึ้น ส่วนภายนอกนั้นมีการออกแบบใหม่เพื่อปรับปรุงหลักอากาศพลศาสตร์ให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการทำการตกแต่งภายในให้มีพื้นที่กว้างขวางมากขึ้น โดยตัวถังภายนอกมีความยาวเพิ่มขึ้น 61 มิลลิเมตร กว้างขึ้น 15 มิลลิเมตร ขณะที่ความสูงลดลง 20 มิลลิเมตร เมื่อเทียบกับโฉมที่ 3 โฉมที่ 5 (XW60; พ.ศ. 2566–ปัจจุบัน)
โตโยต้า พริอุส รุ่นที่ห้าเปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[24] สำหรับตลาดในประเทศญี่ปุ่นมีเครื่องยนต์สองตัวเลือก ตัวเลือกแรกเป็นเครื่องยนต์ไฮบริดขนาด 1.8 ลิตร (2ZR-FXE) และ 2.0 ลิตร (M20A-FXS) ซึ่งมีกำลัง 103 kW (138 hp; 140 PS) และ 144 หรือ 146 kW (193 หรือ 196 hp; 196 หรือ 199 PS) ตามลำดับ พริอุสที่ใช้เครื่องยนต์ไฮบริดจะมาพร้อมกับระบบขับเคลื่อนสี่ล้ออี-โฟร์ ตัวเลือกเครื่องยนต์ที่สองเป็นเครื่องยนต์ M20A-FXS ขนาด 2.0 ลิตรที่มีมอเตอร์และแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนทำงานร่วมกันซึ่งสามารถผลิตกำลังรวมกันได้ 164 kW (220 hp; 223 PS)[25] การออกแบบพริอุสรุ่นใหม่นี้มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานมากกว่ารุ่นเก่าเป็น 0.27 โดยออกแบบพื้นที่ด้านหน้าของตัวรถให้ต่ำลงและเพิ่มพื้นที่ของห้องโดยสารให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม[26] ในทวีปยุโรปเริ่มมีการส่งมอบพริอุสในช่วงไตรมาสแรกของ พ.ศ. 2566[27] โดยมีเพียงเครื่องยนต์ปลั๊กอินไฮบริดเท่านั้น[28] พริอุสรุ่นนี้จะไม่ทำการตลาดในประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักรเหมือนรุ่นที่แล้วเพราะว่ายอดขายของรุ่นที่แล้วนั้นตกต่ำ แต่จะมีโตโยต้า โคโรลล่า แฮทช์แบ็ก ไฮบริดมาทำตลาดแทน[29]
การตลาดประเทศญี่ปุ่นในประเทศญี่ปุ่นเริ่มมีการขายเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566 มีรุ่นย่อยทั้งหมดคือรุ่น X, U, G, และ Z;[30] โดยสองรุ่นแรกใช้เครื่องยนต์ 2ZR-FXE และสองรุ่นหลังใช้เครื่องยนต์ M20A-FXS [31] ประเทศสหรัฐอเมริกาในสหรัฐอเมริกา โตโยต้า พริอุสมีสามรุ่นย่อยให้เลือก: LE, XLE, และรุ่ย Limited โดยรุ่นย่อยทั้งหมดมาพร้อมกับเครื่องยนต์ M20A-FXS ส่วนระบบขับเคลื่อนสี่ล้อเป็นตัวเลือกที่สามารถเลือกติดตั้งได้[32] ประเทศแคนาดาตลาดแคนาดาจะมีพริอุสให้เลือกเพียงสองรุ่นย่อย นั่นคือรุ่น XLE และรุ่น Limited ซึ่งทั้งคู่มาพร้องกับเครื่องยนต์ M20A-FXS และมีระบบขับเคลื่อนสี่ล้อติดตั้งพร้อมไว้แล้ว[33] ประเทศไทยในไทย โตโยต้า พริอุส ประกาศพร้อมจำหน่ายโดย Sakura Auto ผู้นำเข้ารถยนต์อิสระในประเทศไทย กับรุ่น HEV Fastback ไฮบริดใหม่ล่าสุด ที่มีการออกแบบใหม่ และประหยัดน้ำมันมากขึ้น พร้อมราคาจำหน่าย 2,190,000 บาท รายการอ้างอิง
|