โตโยต้า วีออส
โตโยต้า วีออส (อังกฤษ: Toyota Vios , Yaris Sedan ) เป็นรถรุ่นตระกูลที่โตโยต้า ออกแบบมาเพื่อมาแทนที่รถรุ่นโซลูน่า (Soluna) เริ่มผลิตรุ่นแรกใน พ.ศ. 2545 โดยจัดเป็นรถขนาดเล็กมาก (Subcompact Car) โดยทั่วไปจะนิยมนำรถวีออสไปใช้งานเป็นรถยนต์ส่วนตัวและเชิงพาณิชย์(บางบริษัท) แต่มีการนำไปใช้เป็นรถแท็กซี่ในบางประเทศ เช่นในอินโดนีเซีย จะมีรถวีออสสำหรับทำเป็นแท็กซี่จำหน่ายในชื่อ "โตโยต้า ลิโม่" (ต่างจากในประเทศไทย ที่รถโตโยต้า ลิโม่ คือรุ่นโคโรลล่าที่มีการตัด Option ต่างๆ ออก เพื่อให้รถมีราคาถูก เหมาะกับการซื้อไปเป็นแท็กซี่เช่า) และมีการนำไปปรับแต่งและใช้เป็นรถแข่ง วีออส เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับรถยนต์หลายรุ่น ที่สำคัญๆ คือ ฮอนด้า ซิตี้, เชฟโรเลต อาวีโอ ด้วยความที่ถูกออกแบบมาให้เป็นรถส่วนบุคคลขนาดเล็กราคาถูก โตโยต้า วีออส โฉมแรกนี้ ผลิตในประเทศไทยที่ โรงงานโตโยต้าเกตเวย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โรงงาน TMP ในประเทศฟิลิปปินส์ และ TFTM ในประเทศจีน โดยส่งออกไปขายยัง อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บรูไน, สิงคโปร์ และไต้หวัน โดยรถวีออสโฉมที่ 1 ในประเทศเหล่านี้จะใช้เครื่องยนต์ 1NZ-FE ความจุ 1.5 ลิตร สำหรับรถวีออสโฉมนี้ในประเทศฟิลิปปินส์จะใช้เครื่องยนต์ 2NZ-FE ความจุ 1.3 ลิตร ส่วนรถวีออสโฉมนี้ในประเทศจีนจะใช้เครื่องยนต์แบบ 8A-FE / 2SZ-FE โดยโฉมแรกนี้ เริ่มขายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2546 มีตัวถังแบบเดียว คือ แบบซีดาน 4 ประตู โดยในระยะแรกในประเทศไทยจะจำหน่ายในชื่อ โตโยต้า โซลูน่า วีออส (Toyota Soluna Vios) เพื่อแสดงว่าเป็นโฉมใหม่ของโตโยต้า โซลูน่า และยังได้บริตนีย์ สเปียส์มาเป็นพรีเซ็นเตอร์แต่ต่อมาจึงได้ยกเลิกชื่อโซลูน่า เพื่อทำการตลาดในชื่อรุ่นชื่อใหม่ คือ "วีออส" รุ่นย่อยในประเทศไทยได้แก่ 1.5 S, 1.5 E และ 1.5 J
ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์มาตรฐานเล็กน้อยในรุ่น 1.5 J โดยมีการเปลี่ยนกระจกมองข้างและมือจับประตูด้านนอกเป็นสีเดียวกับตัวรถ โดยกระจกมองข้างยังคงปรับด้วยมือ ส่วนภายในมีการเปลี่ยนกระจกหน้าต่างจากแบบมือหมุนทั้ง 4 บาน เป็นแบบไฟฟ้าทั้ง 4 บาน พร้อมระบบเลื่อนขึ้นและลงด้านคนขับแบบอัตโนมัติ ส่วนอุปกรณ์มาตรฐานอื่นๆยังเหมือนเดิม และเมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 ได้มีการปรับโฉม (Minor Change) วีออส เทอร์โบโตโยต้า วีออส โฉมแรกนี้ เคยมีการผลิตและจำหน่ายรุ่นพิเศษ คือโตโยต้า วีออส เทอร์โบ (อังกฤษ: Toyota Vios Turbo) โดยมีการจัดทำรถรุ่นนี้ขึ้นในจำนวน 600 คัน และจำหน่ายเฉพาะในประเทศไทย โดยรุ่นพิเศษนี้ ยังคงเป็นเครื่องยนต์ 1.5 ลิตรแบบเดิม แต่มีการติดตั้งเทอร์โบ และระบบอินเตอร์คูลเลอร์โดยสำนักแต่งรถ TRD หรือ Toyota Racing Development ในรหัสใหม่ 1NZ-FE Turbo ซึ่งเป็นสำนักแต่งรถที่ขึ้นกับโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่นโดยตรง ทำให้มีแรงม้าเพิ่มขึ้นเป็น 143 แรงม้า นอกจากนี้ยังได้เพิ่มอุปกรณ์ตกแต่งตัวรถ ทำให้ดูแตกต่างไปจากรุ่นปกติ รายละเอียดทางเทคนิค
รุ่นที่ 2 (XP90: พ.ศ. 2550-2555)โฉมที่สองของวีออสเปิดตัวครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ในปี 2549 โดยใช้ชื่อว่า "โตโยต้า เบลต้า" และเปิดตัวในตลาดอเมริกาเหนือ, ตะวันออกกลาง, อเมริกาใต้, ลาตินอเมริกา, ออสเตรเลีย ช่วงต้นปี 2550 โดยใช้ชื่อ "โตโยต้า ยาริส ซีดาน" ส่วนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ชื่อว่า "โตโยต้า วีออส" เปิดตัวในประเทศไทยครั้งแรกวันที่ 8 และ 9 มีนาคม พ.ศ. 2550 ที่สยามพารากอน ในวงการรถมือสองของไทยจะเรียกโฉมนี้ว่า "โฉมเห็บหมา" เนื่องจากลักษณะตัวรถคล้ายกับเห็บเพศเมีย หรือเห็บกระดุมที่เกาะอยู่บนตัวสุนัข นอกเหนือจากการใช้เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลแล้ว ยังมีการนำไปปรับแต่งและใช้เป็นรถแข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแข่งขัน โตโยต้า วีออส วันเมคเรซ ซึ่งเป็นการแข่งรถในประเทศไทยที่ทางโตโยต้าจัดขึ้น การแข่งรถมี 2 รุ่นได้แก่ Toyota Vios One Make Race Class C Toyota Vios One Make Race Lady Cup นักแข่งดาราในนามของ Toyota Team Star. (2010 - 2012) รุ่น Vios One Make Race Class C อธิกิตติ์ พริ้งพร้อม , วริษฐ์ ทิพโกมุท , ศิริศิลป์ โชติวิจิตร (กวาง เอบีนอร์มอล) , รุ่น Vios One Make Race Lady Cup ชัชฎาภรณ์ ธนันทา , สุคนธวา เกิดนิมิตร , เฟี้ยวฟ้าว สุดสวิงริงโก้ , ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ , นาตาลี เดวิส , แอริณ ยุกตะทัต , อารยา เอ ฮาร์เก็ต ในปี 2550 - 2551 ในเมืองไทยมีการแบ่งการผลิตวีออสออกเป็น 3 รุ่นมาตรฐาน ได้แก่
และเพิ่ม 3 รุ่นพิเศษ ได้แก่
ความปลอดภัยระบบป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ระบบเบรก ABS (Anti-lock Braking System) แบบ 4 channel 4 Sensor ป้องกันล้อล็อกขณะเบรกกะทันหัน หรือเบรกบนถนนลื่น ระบบกระจายแรงเบรก EBD (Electronic Brake-Force Distribution) จะช่วยกระจายแรงดันน้ำมันเบรกโดยการแปรผันตามน้ำหนักที่กดลงในแต่ละล้อและควบคุมแรงเบรกขณะเข้าโค้งอย่างอิสระ ช่วยเสริมประสิทธิภาพการเบรกให้มีความสมดุล ป้องกันการไถลของล้อขณะเข้าโค้งและเหยียบเบรกกะทันหัน ในกรณีบรรทุกเต็มพิกัด ระบบ EBD จะเพิ่มแรงดันน้ำมันเบรกที่ล้อคู่หลังขณะบรรทุก และ ควบคุมแรงเบรกของล้อทั้งหมดขณะเข้าโค้งเพื่อเสริมประสิทธิภาพการหยุดให้สูงที่สุด ระบบเสริมแรงเบรก BA (Brake Assist) ในกรณีเบรกแบบกะทันหัน ระบบ BA จะช่วยเพิ่มแรงเบรกในระบบ โดยคอมพิวเตอร์จะอ่านค่าจากการเหยียบของผู้ขับว่ามีแรงกระทำมากและนานเท่าไร ช่วยเสริมการหยุดรถได้ในระยะที่สั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบปกป้องเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โครงสร้างตัวถังนิรภัย GOA พัฒนาการล่าสุดของโครงสร้างตัวถังนิรภัย GOA ที่ให้ความปลอดภัยมาตรฐานระดับโลกด้วยโครงสร้างห้องโดยสารที่แข็งแกร่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับแรงกระแทกจากการชน ให้ถ่ายเทไปสู่ส่วนต่างๆ ของตัวถัง เพื่อให้ลดความเสียหายห้องโดยสารน้อยที่สุด โดยระบบดูดซับแรงกระแทกที่สามารถดูดซับแรงกระแทกลดความรุนแรงจากการชนด้วยการกระจายแรงสู่ตัวถัง พร้อมคานนิรภัยด้านหน้าและด้านข้างเพิ่มความแข็งแกร่ง และความปลอดภัยให้กับห้องโดยสารเมื่อเกิดการชน ระบบลดแรงกระแทกศีรษะด้านข้าง ออกแบบเพื่อช่วยลดแรงกระแทกที่ศีรษะของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ถุงลมนิรภัยคู่หน้า SRS ปกป้องทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ช่วยลดการบาดเจ็บของศีรษะและหน้าอก จากแรงปะทะซึ่งเกิดจากการชนด้านหน้า (ในรุ่น E Safety, G, G-Limited, S-Limited) เข็มขัดนิรภัยคู่หน้าพร้อมระบบกลไกดึงกลับ และผ่อนแรงดึงอัตโนมัติ (Pretensioner & Force Limiter) ช่วยรั้งร่างกายผู้ขับขี่และผู้โดยสารให้แนบกับเบาะเมื่อเกิดการชน ป้องกันการบาดเจ็บจากแรงกระแทก เบาะนั่งคู่หน้าแบบ WIL Concept ป้องกันการบาดเจ็บของกระดูกต้นคอเมื่อเกิดการชนจากด้านหลัง
ส่วนรุ่น G / G Limited / S Limited ยังคงสเปคเดิมทุกประการเหมือนปี 2007
ในปี 2553 ในเมืองไทยมีการปรับโฉม 3 รุ่นมาตรฐาน โดยองค์ประกอบภายนอกทุกรุ่นได้เปลื่ยนแปลงกระจังหน้า ล้ออัลลอยลายใหม่ 12 ก้าน (ในรุ่นที่ใช้ล้ออัลลอย) และชุดไฟท้าย รวมถึงออกแบบมือจับฝากระโปรงท้ายใหม่ ส่วนภายในห้องโดยสารการเปลี่ยนแปลงคือ
ต่อมาในช่วงปลายปี 2555 ต้นปี 2556 ได้มีการปรับอุปกรณ์อีกครั้ง โดยให้มีแอร์แบคคู่หน้าในทุกรุ่นย่อย ไฟหน้ารมดำในทุกรุ่นย่อย กลับมาใช้พวงมาลัยทรงเดียวกับปี 2007 (แต่รุ่น G และ G Ltd. ยังคงสเปคเดิมคือพวงมาลัยทรงสปอร์ต) และสำหรับรุ่นที่มีล้อแม็ก จะเป็นแม็กอัลลอย 12 ก้านขนาด 15 นิ้ว (ลายเดียวกับปี 2553) รมดำให้ความสปอร์ตมากขึ้น
ใช้เกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ (รหัสเกียร์ C150) อัตราทด 1)3.545 2)1.904 3)1.310 4)0.969 5)0.815 R)3.250 เฟืองท้าย 4.058 ยกอัตราทดมาจากเกียร์รหัส C52 ที่ใช้กับเครื่อง 4a-fe & 5a-fe ใส่กับเฟืองท้าย AE101 อัตราทด 4.058 เกียร์อัตโนมัติ ลูกเดียวกับ Corolla Altis ในรุ่น 1.8 ในโฉม ZZE122R และ ZZE142R (รหัสเกียร์ U341E) ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ Super ECT โดยมีการพัฒนาจากวีออสโฉมปี 2545 - 2550 คือ
มีระบบ Hill Sensing Control สำหรับการปีนป่ายขึ้นที่สูงและลงทางลาดชันได้อย่างไร้กังวล ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อหามุมองศาของการปีนป่ายที่สูงและลงทางชัน ระบบคอมพิวเตอร์จะป้องกันไม่ให้เปลี่ยนไปที่เกียร์สูงสุดโดยไม่จำเป็น หรือไม่ลดลงไปเกียร์ต่ำสุดเพื่อป้องกันการลื่นไถลของล้อกรณีปีนป่ายที่สูงและไม่ลาดชันจนเกินไป และในขาลง ก็จะคงที่ไว้ที่เกียร์สามเพื่อการขับขี่ที่มั่นคง และเบรกอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเรียนรู้การขับขี่ในแต่ละสภาพถนน เพื่อปรับเปลื่ยนจังหวะเกียร์ให้ขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อัตราทด เกียร์ 1 2.847 เกียร์ 2 1.552 เกียร์ 3 1.000 เกียร์ 4 0.700 เกียร์ R 2.343 อัตราทดเฟืองท้าย 4.237 ในวีออสโฉมปี 2550 - 2556 ทุกรุ่น จะมีระบบ
รายละเอียดทางเทคนิค
รุ่นที่ 3 (XP150: พ.ศ. 2556-2565)โฉมที่ 3 ของวีออสเปิดตัวครั้งแรกของโลกที่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556 โดยมีสโลแกนว่า Have It All โดยรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจากรุ่นที่ 2 แต่ยังคงใช้เครื่องยนต์ 1 NZ-FE 1.5 ลิตร 109 แรงม้า และแรงบิด 14.4 กก./ม. เหมือนรุ่นแรก พร้อมทั้งมีพรีเซนเตอร์คนใหม่ จิรายุ ตั้งศรีสุข และ จรินทร์พร จุนเกียรติ มีให้เลือกทั้งหมด 7 สีซึ่งได้แก่ 1. สีขาว 2. สีเบจ 3. สีเงิน 4. สีดำ 5. สีน้ำตาล 6. สีเทา 7. สีแดง โดยมีให้เลือก 4 รุ่นดังนี้ รุ่น J
(เฉพาะรุ่น S และ G จะได้กระจกบังลมหน้ากันเสียงรบกวน Acoustic Glass )
เพิ่มไฟเลี้ยวที่กรอบกระจกมองข้าง และ กระจกมองข้างสามารถพับเก็บด้วยไฟฟ้า
รุ่น TRD Sportivo IV แต่เปลื่ยนล้ออัลลอย 15 นิ้วลายใหม่ ไฟหน้าโปรเจกต์เตอร์รมดำ กระจังหน้าสีดำ สติ๊กเกอร์ด้านข้างลายใหม่ ไฟเดย์ไทม์รันนิ่งไลท์ฝังในสเกิร์ตหน้าใต้ไฟตัดหมอก พร้อมชุดสเกิร์ตและสปอยเลอร์ TRD แบบใหม่รอบคัน เบาะนั่งโดยสารปักเย็บลายใหม่พร้อมสลักตัวอักษร TRD จอเครื่องเสียงแบบใหม่หลักการทำงานคล้าย Ui ของ ANDROID ขนาด 7 นิ้วพร้อมกล้องมองหลังรองรับ Dolby Digital CD DVD การฟังเพลงผ่าน Bluetooth การโทรศัพท์และยังรองรับการสั่งงานด้วยเสียง (รุ่น TRD Sportivo V นี้ ไม่มี ระบบ ABS ป้องกันล้อล็อกและดิสเบรกหลังยังเป็นดรัมเบรกเพราะพื้นฐานมาจากตัว J )
ราคาอย่างเป็นทางการของโตโยต้า วีออส ปี 2556 - 2558
ทุกแบบใช้เครื่องยนต์ 1NZ-FE 1.5 ลิตร 109 แรงม้า และแรงบิด 14.4 กก./ม. เหมือนวีออสโฉมปี 2550 - 2556 โดยมีการปรับเปลื่ยนคือ
และยังคงใช้ชุดเกียร์อัตโนมัติแบบร่องหยัก รหัสเกียร์ U341E เหมือนโฉมที่แล้ว ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ Super ECT มีระบบ Hill Sensing Control สำหรับการปีนป่ายขึ้นที่สูงและลงทางลาดชันได้อย่างไร้กังวล ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อหามุมองศาของการปีนป่ายที่สูงและลงทางชัน โดยคอมพิวเตอร์จะป้องกันไม่ให้เปลี่ยนไปที่เกียร์สูงสุดโดยไม่จำเป็น หรือไม่ลดลงไปเกียร์ต่ำสุดเพื่อป้องกันการลื่นไถลของล้อกรณีปีนป่ายที่สูงและไม่ลาดชันจนเกินไป และในขาลง ก็จะคงที่ไว้ที่เกียร์สามเพื่อการขับขี่ที่มั่นคง และเบรกอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเรียนรู้การขับขี่ในแต่ละสภาพถนน เพื่อปรับเปลื่ยนจังหวะเกียร์ให้ขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ความปลอดภัยระบบป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ระบบเบรก ABS (Anti-lock Braking System) แบบ 4 channel 4 Sensor ป้องกันล้อล็อกขณะเบรกกะทันหัน หรือเบรกบนถนนลื่น ระบบกระจายแรงเบรก EBD (Electronic Brake-Force Distribution) จะช่วยกระจายแรงดันน้ำมันเบรกโดยการแปรผันตามน้ำหนักที่กดลงในแต่ละล้อและควบคุมแรงเบรกขณะเข้าโค้งอย่างอิสระ ช่วยเสริมประสิทธิภาพการเบรกให้มีความสมดุล ป้องกันการไถลของล้อขณะเข้าโค้งและเหยียบเบรกกะทันหัน ในกรณีบรรทุกเต็มพิกัด ระบบ EBD จะเพิ่มแรงดันน้ำมันเบรกที่ล้อคู่หลังขณะบรรทุก และ ควบคุมแรงเบรกของล้อทั้งหมดขณะเข้าโค้งเพื่อเสริมประสิทธิภาพการหยุดให้สูงที่สุด ระบบเสริมแรงเบรก BA (Brake Assist) ในกรณีเบรกแบบกะทันหัน ระบบ BA จะช่วยเพิ่มแรงเบรกในระบบ โดยคอมพิวเตอร์จะอ่านค่าจากการเหยียบของผู้ขับว่ามีแรงกระทำมากและนานเท่าไร ช่วยเสริมการหยุดรถได้ในระยะที่สั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงสร้างตัวถังนิรภัย GOA พัฒนาการล่าสุดของโครงสร้างตัวถังนิรภัย GOA ที่ให้ความปลอดภัยมาตรฐานระดับโลกด้วยโครงสร้างห้องโดยสารที่แข็งแกร่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับแรงกระแทกจากการชน ให้ถ่ายเทไปสู่ส่วนต่างๆของตัวถัง เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อห้องโดยสารน้อยที่สุด โดยระบบดูดซับแรงกระแทกที่สามารถดูดซับแรงกระแทกลดความรุนแรงจากการชนด้วยการกระจายแรงสู่ตัวถัง พร้อมคานนิรภัยด้านหน้าและด้านข้างเพิ่มความแข็งแกร่ง และความปลอดภัยให้กับห้องโดยสารเมื่อเกิดการชน ระบบลดแรงกระแทกศีรษะด้านข้าง ออกแบบเพื่อช่วยลดแรงกระแทกที่ศีรษะของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ถุงลมนิรภัยคู่หน้า SRS AIRBAG 2 ตำแหน่งปกป้องทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ช่วยลดการบาดเจ็บของศีรษะและหน้าอก จากแรงปะทะซึ่งเกิดจากการชนด้านหน้า เข็มขัดนิรภัยคู่หน้าพร้อมระบบกลไกดึงกลับ และผ่อนแรงดึงอัตโนมัติ (Pretensioner & Force Limiter) ช่วยรั้งร่างกายผู้ขับขี่และผู้โดยสารให้แนบกับเบาะเมื่อเกิดการชน ป้องกันการบาดเจ็บจากแรงกระแทก เบาะนั่งคู่หน้าแบบ WIL Concept ป้องกันการบาดเจ็บของกระดูกต้นคอเมื่อเกิดการชนจากด้านหลัง (โฉมปี 2013 1NZ-FE ไม่มีระบบการทรงตัว VSC ทุกรุ่น ใน ปี 2013 ) (เฉพาะโฉมเครื่อง 2NR-FBE ในปี 2559 ได้ระบบการทรงตัว VSC ทุกรุ่นในปี 2016) รายละเอียดทางเทคนิค
ในปี พ.ศ. 2559 ได้มีการออกตัวถัง MY2016 เปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ใหม่ รหัส 2NR-FBE พร้อมเกียร์ CVT และยกระดับความปลอดภัยมากขึ้น สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนไปใช้เครื่องใหม่เนื่องจากเทคโนโลยีของ 1NZ-FE เก่าแล้วทำให้เกิดการปล่อยไอเสียเยอะกว่าและอัตราการประหยัดน้ำมันแย่กว่าเดิม Toyota จึงได้วิจัยเครื่องใหม่ มีชื่อว่า 2NR-FBE เครื่องนี้มีความจุ 1496cc จับคู่กับเกียร์อัตราทดแปรผันเป็น CVT 7 สปีดแล้วซึ่งการวิจัยเครื่องนี้เน้นการเร่งอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและประหยัดน้ำมันได้อีก 70% จากเครื่อง 1NZ-FE ที่เป็นเทคโนโลยีเก่าเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด รายละเอียดทางเทคนิค
วีออส ปี 2559 ได้มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น 2NR-FBE และอิงออปชั่นจากตอนเปิดตัวปี 2556 และภายในทุกรุ่นเปลี่ยนแค่ฐานเกียร์ใหม่แบบ +/- โดยยังคงรูปแบบร่องหยัก (Gate Type) พร้อม Shift Lock เหมือนเดิม โดยมีราคาเปลี่ยนแปลงดังนี้
โดยรุ่นย่อยใหม่ 1.5 Exclusive CVT โดยพื้นฐานมาจากรุ่น E มีอุปกรณ์ที่แตกต่างดังนี้ ภายนอก
ภายในห้องโดยสาร
วีออส โฉมปี 2559 ที่ใช้เครื่องยนต์ 2NR-FBE มีระบบความปลอดภัยในทุกรุ่นย่อยเป็นอุปกรณ์มาตรฐานจากโรงงาน เช่น ระบบ ABS, EBD, BA, VSC พร้อมสวิตช์ เปิด - ปิด การทำงาน อยู่บริเวณฝั่งคนขับ, ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี TRC และถุงลมนิรภัยคู่หน้า โตโยต้าได้ยกเลิกเกียร์ธรรมดาในวีออส ทำให้รุ่นย่อย 1.5 E M/T และ 1.5 J M/T ถูกยกเลิกไปในช่วงของการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ ซึ่งนั่นแสดงว่าโตโยต้าไม่มีรถยนต์นั่งขนาดเล็กเกียร์ธรรมดาในไทยในช่วงเวลานี้ เพราะ โตโยต้า ยาริส เครื่องยนต์ 1.2 ลิตรก็เปิดตัวด้วยเกียร์อัตโนมัติ CVT ทั้งหมด เหลือเพียงรถยนต์นั่งขนาดกลางอย่าง "โคโรลล่า อัลติส ไมเนอร์เชนจ์" รุ่นย่อย J M/T ในราคา 799,000 เพียงตัวเลือกเดียวเท่านั้น รุ่นปรับปรุงปี 2560รุ่นปรับปรุงปี 2560 ของโตโยต้า วีออส เปิดตัวเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560 ตามหลังประเทศจีน โดยมีกระจังหน้าแบบใหม่ที่เหมือนโตโยต้า วีออส โฉมจีน และโตโยต้า คัมรี่โฉม XV60 ที่เปิดตัวไปก่อนหน้า ใช้เครื่องยนต์ 2NR-FBE เหมือนรุ่นปรับโฉมปี 2559 และมีระบบความปลอดภัย เช่น กระจกมองข้างปรับและพับเก็บด้วยไฟฟ้าพร้อมไฟเลี้ยว, ABS, EBD, BA, VSC พร้อมสวิตช์ เปิด - ปิด การทำงาน อยู่บริเวณฝั่งคนขับ, ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี TRC และถุงลมนิรภัยคู่หน้า ในทุกรุ่นย่อย ซึ่งตั้งแต่รุ่น E ขึ้นไปจะมีไฟตัดหมอกหน้าและเซนเซอร์กะระยะด้านท้ายเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน และตั้งแต่รุ่น G ขึ้นไปจะมีจอสัมผัสขนาด 7 นิ้วเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน มีราคาเปลี่ยนแปลงดังนี้
จนถึงทุกวันนี้ทำยอดขายที่เริ่มจะน้อยลง เนื่องจาก โตโยต้า ยาริส เอทีฟ มียอดขายสูงกว่า Toyota ส่ง Vios MY2019 “ Super SPEC ” ด้วยการเปลื่ยนชื่อรุ่นย่อยเช่น Entry, Mid และ High พร้อมกับปรับอุปกรณ์มากขึ้นเช่น กล้องติดหน้ารถยนต์,ไฟตัดหมอกหน้าแบบ LED,รุ่น Mid เพิ่มออฟชั่นให้กับรุ่น High เช่น ไฟหน้า LED,หน้าจอสัมผัส 7 นิ้ว และอื่นๆ ที่เพิ่มเข้ามา อีกทั้ง ยกเลิกทำตลาดรุ่นย่อย 1.5 E CVT และ ภายในห้องโดยสารสีเบจ
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปใน VIOS MY2019
รุ่นที่ 4 (AC100; พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน)
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2565 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงข่าวเปิดตัวรถยนต์ โตโยต้า วีออส รุ่นที่สี่ในชื่อ ออล นิว โตโยต้า ยาริส เอทีฟ (All-new Toyota Yaris Ativ) ที่ TOYOTA ALIVE บางนา กม.3 โดยได้ทำโครงสร้างตัวถังใหม่ ภายใต้แพลตฟอร์ม Daihatsu New Global Architecture (DNGA) จากความร่วมมือของทั้งโตโยต้า และไดฮัทสุ[4] และออกแบบสไตล์ ”Fastback style” ส่งผลให้ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานอากาศต่ำเพียง 0.284 ทุกรุ่นของรุ่นนี้ จะมาพร้อมกับ Push start, ชุดไฟหน้า Full LED, ล้ออัลลอยด์ Two tone ขนาด 16 นิ้ว, พวงมาลัยปรับได้ 4 ทิศทาง พร้อมปุ่มเลือกโหมดการขับขี่ ECO / Normal / Power บนพวงมาลัย และวิทยุหน้าจอสัมผัส พร้อมรองรับ Apple CarPlay และ Android Auto ในแง่ความปลอดภัย ทุกรุ่น จะมาพร้อมกับอุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน แต่ในรุ่น Smart ขึ้นไป จะมี Toyota Safety Sense 2.5+ มาให้ด้วย ส่วนในรุ่น PREMIUM ขึ้นไป จะมาพร้อมกับระบบห้ามล้อแบบดิสเบรก ทั้ง 4 ล้อ ซึ่งในประเทศไทย จะมาพร้อมกับสเปคพิเศษ เช่น ไฟสร้างบรรยากาศภายในห้องโดยสาร 64 เฉดสี , เบาะหนังสีแดง , ชิ้นส่วนตกแต่งภายนอกสีเทาเมทัลลิก และลำโพงระดับ Premium จาก Pioneer จำนวน 6 ตำแหน่ง ส่วนเครื่องยนต์ ในประเทศไทย จะใช้ เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบแถวเรียง DOHC 16 วาล์ว ขนาด 1.2 ลิตร Dual VVT-iE รหัส 3NR-VE กำลังสูงสุด 94 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 110 นิวตัน-เมตร พร้อมเกียร์อัตโนมัติ Super CVT-i และระบบล็อกเกียร์ 7 จังหวะ โดยในการเปิดตัวในประเทศไทยนี้ มีเป้าหมายการขายที่ 3,500 คันต่อเดือน โดยการทำตลาดนั้น ได้นำคุณ กันต์พิมุกต์ ภูวกุล หรือแบมแบม อดีต K-POP จากวง GOT7 มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ภายใต้สโลแกน Our Beloved นี่แหละ...รถของเรา[5] หลังจากนั้น บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้เผยยอดจองรถคันนี้ โดยใน 12 วันนับตั้งแต่วันที่เปิดตัว มียอดจองมากกว่า 8,000 คัน[6] และใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันที่เปิดตัว มียอดจองมากกว่า 21,300 คัน[7] รุ่นย่อย
ราคายังไม่รวมชุดอุปกรณ์ตกแต่งมาตรฐาน LUSSO (ลูสโซ่) , CHIARO (เคียโร่) และ PRESTO (เพรสโต้) มีทั้งหมด 7 สี คือสีเงิน Metal Stream , สีเทา Urban Metal , สีแดง Red Mica Metallic , สีดำ Attitude Black Mica , สีขาว Super White , สีส้ม Spicy Scarlet และสีขาวมุก Platinum White Pearl สีส้ม Spicy Scarlet และสีขาวมุก Platinum White Pearl เป็นสีพิเศษ , สีขาว Super White จะมีในรุ่น SPORT และ SMART , สีขาวมุก Platinum White Pearl จะมีในรุ่น PREMIUM และ PREMIUM LUXURY[5] การยุติจำหน่าย โตโยต้า วีออส ในประเทศไทยหลังการเปิดตัวรถยนต์ โตโยต้า ยาริส เอทีฟ รุ่นใหม่ (All-new Toyota Yaris Ativ) ทางบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ประกาศการยุติสายพานการผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กในกลุ่ม 4 ประตู (ซีดาน) ในรุ่น โตโยต้า วีออส (Toyota Vios) ในโรงงานประกอบรถยนต์ของ โตโยต้า ในตลอดระยะเวลา 19 ปี เนื่องจากโตโยต้า วีออส และ โตโยต้า ยาริส เอทีฟ เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม 4 ประตูซีดานเช่นเดียวกัน และในด้านภาษีสรรพสามิต โตโยต้า ยาริส เอทีฟ จะมีอัตราเสียภาษีสรรพสามิต น้อยกว่า โตโยต้า วีออส ถึง 8 เปอร์เซ็นต์[8][9] เปิดตัวชุดอุปกรณ์ตกแต่งพิเศษ Toyota Yaris ATIV MODELLISTAในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ได้เปิดตัวชุดอุปกรณ์ตกแต่งพิเศษ MODELLISTA x ASAVA โดยมีแนวคิดในการพัฒนาชุดอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ จะเน้นที่ความพรีเมี่ยม มีสไตล์ ทันสมัย หรูหรา โดย MODELLISTA เลือกที่จะทำงานร่วมกับ ASAVA ในกิจกรรมความร่วมมือพิเศษในครั้งนี้ โดยในรุ่นนี้ จะมาพร้อมกับชุดแต่งสเกิร์ตกันชนหน้า – สเกิร์ตกันชนหลัง – ชุดสเกิร์ตข้าง – สปอยเลอร์หลัง - ล้ออัลลอย 17 นิ้ว พร้อมยางขนาด 205/50 R17 และสัญลักษณ์ MODELLISTA ท้ายรถ สามารถติดตั้งได้กับ โตโยต้า ยาริส เอทีฟ ทุกรุ่นย่อย[10] เปิดตัวชุดอุปกรณ์ตกแต่งพิเศษ Toyota Yaris ATIV Nightshade Editionในวันที่ 24 ตุลาคม 2567 ได้เปิดตัว Yaris ATIV NIGHTSHADE 2024 ราคา 699,000 บาท Toyota ยิ้มเป็นรถยนต์ซีดานยอดนิยม ยอดขายไม่ต่ำกว่า 242,000 คัน นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด หรือ Toyota กล่าวว่า Yaris ATIV ถือเป็นรถยนต์ซีดานยอดนิยม ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้าชาวไทยมาโดยตลอด ด้วยยอดขายสะสมตั้งแต่เปิดตัวที่กว่า 242,000 คัน (ข้อมูลตั้งแต่ปี 60 – ก.ย.67) และถือเป็นยอดขายสูงสุดอันดับหนึ่งรถยนต์กลุ่มอีโคคาร์ ปี 66 กว่า 58,000 คัน (ข้อมูลยอดขายเดือนม.ค.-ธ.ค. 66) ล่าสุดเราจึงขอแนะนำ Yaris ATIV NIGHTSHADE รุ่นพิเศษ Special Edition เพื่อเพิ่มตัวเลือกสำหรับลูกค้าที่ชื่นชอบในความพรีเมียมและสปอร์ต กับการออกแบบใหม่สไตล์ Premium & Sporty โดยมีรายละเอียดดังนี้ สิ่งที่รุ่นพิเศษ Special Edition NIGHTSHADE เพิ่มจากรุ่น 1.2 Premium CVT
เปิดตลาดต่างประเทศสปป.ลาวในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นประเทศที่สองต่อจากประเทศไทย ที่ได้เปิดตัว โตโยต้า ยาริส เอทีฟ ในฐานะรุ่นเปลี่ยนโฉม (Full-model Change) ของ โตโยต้า วีออส โดยตัวแทนจำหน่ายและให้บริการหลังการขาย โตโยต้าลาวธานี ขุมพลังสเปกลาวต่างจากไทย ตรงที่ลาวได้เครื่องยนต์ใหญ่กว่าไทยและยังยกมาจาก โตโยต้า วีออส เจนเนอเรชั่นที่แล้วแต่มีการพัฒนาใหม่ คือใช้เครื่องยนต์เบนซิน 1.3 ลิตร Dual VVT-i รหัส 1NR-VE 98 แรงม้าที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิด 122 นิวตันเมตรที่ 4,200 รอบ/นาที, ระบบช่วงล่างด้านหน้า แม็คเฟอร์สันสตรัทพร้อมเหล็กกันโคลง ด้านหลังแบบทอร์ชั่นบีมและคอยล์สปริง พร้อมเหล็กกันโคลง โดยรุ่นที่ขายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะทำตลาดอยู่ 2 รุ่น คือรุ่น 1.3 E จะเป็นรุ่นเกียร์ธรรมดา 5 สปีด ซึ่งจะเป็นรุ่นเริ่มต้นและรุ่น 1.3G จะเป็นรุ่นท็อปเกียร์อัตโนมัติ 7 สปีด Super CVT-i ที่จะมีโหมดการขับขี่ ECO / Normal / Power บนพวงมาลัย และแพคเกจช่วยเหลือผู้ขับขี่ Toyota Safety Sense เต็มระบบมาให้[11] กลุ่มประเทศ GCC (คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ)ในเวอร์ชันตะวันออกกลาง (มีทั้งประเทศ บาห์เรน, ซาอุดีอาระเบีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) โดยสเปคในแต่ละประเทศ จะมีอุปกรณ์ระบบความปลอดภัยที่แตกต่างกันในแต่ละรุ่นย่อย ในเครื่องยนต์ ที่ทำตลาดในซาอุดีอาระเบีย จะได้เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ ขนาด 1.3 ลิตร รหัส 1NR-VE กำลังสูงสุดที่ 97 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 122 นิวตันเมตร พร้อมกับเกียร์อัตโนมัติ CVT โดยนำเข้าจากประเทศ ไทย ส่วนเครื่องยนต์ ที่ทำตลาดในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ บาห์เรน จะได้เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ ขนาด 1.5 ลิตร รหัส 2NR-VE กำลังสูงสุดที่ 104 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 136 นิวตันเมตร พร้อมกับเกียร์อัตโนมัติ CVT โดยนำเข้าจากประเทศ อินโดนีเซีย โดยสเปคบาห์เรน มี 2 รุ่น คือ 1.5 Mid กับ 1.5 High, สเปคสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มี 2 รุ่น คือ 1.5 E และ 1.5 G และ สเปคซาอุดีอาระเบีย มี 3 รุ่น คือ 1.3 Y, 1.3 Y Plus และ 1.3 YX[12] อินโดนีเซียในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้เปิดตัวในฐานะรุ่นเปลี่ยนโฉม (Full Model change) ของ โตโยต้า วีออส ในวันที่ 12 ตุลาคม 2565 โดยนำเข้าจากประเทศไทยเข้ามา ซึ่งอินโดนีเซียเป็นประเทศแห่งที่ 3 ของเอเชีย ที่ได้สัมผัส Toyota Yaris Ativ รุ่นล่าสุด หลังการเปิดตัวที่ไทยและลาว โดยบางออพชั่นจะเหนือกว่าไทย เช่นล้ออัลลอยขนาด 17 นิ้ว และเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบขนาด 1.5 ลิตร รหัส 2NR-VE ที่ให้กำลังสูงสุดที่ 104 แรงม้า และให้แรงบิดสูงสุด 136 นิวตันเมตร มาพร้อมกับเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และเกียร์อัตโนมัติ CVT ในรุ่นท็อปจะมีแพคเกจช่วยเหลือผู้ขับขี่ Toyota Safety Sense มาให้ โดยการทำตลาด จะมี 3 รุ่นให้เลือก คือ 1.5 E MT, 1.5 G CVT และ 1.5 G TSS CVT[13] กัมพูชาในราชอาณาจักรกัมพูชา ได้เปิดตัวในฐานะรุ่นเปลี่ยนโฉม (Full Model change) ของ โตโยต้า วีออส โดยตัวแทนจำหน่ายและให้บริการหลังการขาย ในวันที่ 7 ตุลาคม 2565 โดยนำเข้าจากประเทศไทยเข้ามา เหมือนกับลาวและอินโดนีเซีย ซึ่งกัมพูชาเป็นประเทศแห่งที่ 4 ของเอเชีย ตรงที่กัมพูชาได้เครื่องยนต์ใหญ่กว่าไทยและยังยกมาจาก Toyota Vios เจนเนอเรชันที่แล้ว คือใช้เครื่องยนต์เบนซิน 1.3 ลิตร Dual VVT-I รหัส 1NR-VE 96 แรงม้าที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิด 122 นิวตันเมตรที่ 4,200 รอบ/นาที พร้อมกับเกียร์อัตโนมัติ CVT ซึ่งจะมีกำลังน้อยกว่าสเปคลาวเล็กน้อย โหมดการขับขี่ ECO / Normal / Power บนพวงมาลัย ระบบช่วงล่างด้านหน้า แม็คเฟอร์สันสตรัทพร้อมเหล็กกันโคลง ด้านหลังแบบทอร์ชั่นบีมและคอยล์สปริง พร้อมเหล็กกันโคลง โดยรุ่นที่ขายในราชอาณาจักรกัมพูชา จะมีเพียงรุ่นเดียวและสเปคเหมือนสเปคของประเทศลาว คือรุ่น 1.3 High ทุกประการ[14] บรูไนในบรูไน (เนอการาบรูไนดารุสซาลาม) ได้เปิดตัวในฐานะรุ่นเปลี่ยนโฉม (Full Model change) ของ โตโยต้า วีออส ในวันที่ 18 ธันวาคม 2565 มาเลเซียในมาเลเซีย ได้เปิดตัวในฐานะรุ่นเปลี่ยนโฉม (Full Model change) ของ โตโยต้า วีออส ในวันที่ 20 มีนาคม 2566 ละตินอเมริกา (LATAM)คอสตาริกาในประเทศสาธารณรัฐ คอสตาริกา ได้เปิดตัวในฐานะรุ่นเปลี่ยนโฉม (Full Model change) ของ โตโยต้า ยาริส ซีดาน ในวันที่ 10 ตุลาคม 2565 มาพร้อม เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบขนาด 1.5 ลิตร รหัส 2NR-VE ที่ให้กำลังสูงสุดที่ 104 แรงม้า และให้แรงบิดสูงสุด 136 นิวตันเมตร มาพร้อมกับเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และเกียร์อัตโนมัติ CVT และ 3 รุ่นให้เลือก ทั้ง New Line และ Highline[15] เม็กซิโกในเวอร์ชันสหรัฐ เม็กซิโก ได้เปิดตัวในฐานะรุ่นเปลี่ยนโฉม (Full Model change) ของ โตโยต้า ยาริส ซีดาน ในวันที่ 12 ตุลาคม 2565 มาพร้อม เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบขนาด 1.5 ลิตร รหัส 2NR-VE ที่ให้กำลังสูงสุดที่ 104 แรงม้า และให้แรงบิดสูงสุด 136 นิวตันเมตร เหมือนกับสเปคคอสตาริกา มาพร้อมกับเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และเกียร์อัตโนมัติ CVT และ 5 รุ่นให้เลือก ทั้ง Base, S และ S Hi[16] เปรูในประเทศสาธารณรัฐ เปรู ได้เปิดตัวในฐานะรุ่นเปลี่ยนโฉม (Full Model change) ของ โตโยต้า ยาริส ซีดาน ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 มาพร้อม เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบขนาด 1.3 ลิตร รหัส 1NR-VE ที่ให้กำลังสูงสุดที่ 94 แรงม้า และให้แรงบิดสูงสุด 113 นิวตันเมตร (11.5 กิโลกรัม-เมตร) นำเข้าจากประเทศไทย มาพร้อมกับเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และเกียร์อัตโนมัติ CVT 7 จังหวะ และ 5 รุ่นให้เลือก ทั้ง Base และ GLi มาพร้อมรุ่น GLP (ติดตั้งแก๊ส LPG และ CNG) มีเฉพาะเกียร์ธรรมดาเท่านั้น อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|