Share to:

 

นาดิยะฮ์ มุรอด

นาดิยะฮ์ มุรอด
มุรอดใน ค.ศ. 2018
เกิดนาดิยะฮ์ มุรอด บาซี ฏอฮา
ค.ศ. 1993 (อายุ 31–32 ปี)
กูจู, ประเทศอิรัก
สัญชาติธงของประเทศอิรัก อิรัก
ผลงานเด่น
คู่สมรสAbid Shamdeen
รางวัล

นาดิยะฮ์ มุรอด บาซี ฏอฮา (อาหรับ: نادية مراد باسي طه; เกิด ค.ศ. 1993)[1] เป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนยาซีดีชาวอิรัก[2][3][4][5]ที่อาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนี[3] ใน ค.ศ. 2014 เธอถูกลักพาตัวจากกูจู และถูกคุมตัวโดยรัฐอิสลามเป็นเวลาสามเดือน[6]

มุรอดเป็นผู้ก่อตั้ง Nadia's Initiative องค์กรที่มีเป้าหมาย "ช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กที่ตกเป็นเหยื่อของการสังหารหมู่ อาชญากรรมที่โหดร้าย และการค้ามนุษย์เพื่อรักษาและสร้างชีวิตกับสังคมใหม่"[7]

ใน ค.ศ. 2018 เธอและเดนิส มูเควกีร่วมกันรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพสำหรับ "ความพยายามในการหยุดการใช้ความรุนแรงทางเพศในฐานะอาวุธสงครามและความขัดแย้งทางทหาร"[8] เธอยังเป็นชาวอิรักและผู้นับถือยาซีดีคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล[9]

ปัจจุบัน เธอเป็นผู้สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเลขาธิการสหประชาชาติ[10]

อ้างอิง

  1. By Editorial Staff (20 August 2018). "Iraqi Yazidi human rights activist Nadia Murad gets married". Kurd Net - Ekurd.net Daily News. สืบค้นเมื่อ 29 September 2020.
  2. Murad, Nadia; Krajeski, Jenna (7 November 2017). The Last Girl: My Story of Captivity and My Fight Against the Islamic State (ภาษาอังกฤษ). Little, Brown Book Group. ISBN 9780349009766.
  3. 3.0 3.1 Siddique, Haroon; Maclean, Ruth (5 October 2018). "Nobel peace prize 2018 won by Denis Mukwege and Nadia Murad – as it happened". The Guardian.
  4. "Nobel Peace Prize awarded to Denis Mukwege and Nadia Murad". Deutsche Welle. 5 October 2018. สืบค้นเมื่อ 2 September 2021.
  5. "Nadia Murad: One woman's fight against 'Islamic State'". Deutsche Welle. 10 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2 September 2021.
  6. Westcott, Lucy (19 March 2016). "ISIS sex slavery survivor on a mission to save Yazidi women and girls". Newsweek. สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.
  7. "Nadia Murad". Forbes. สืบค้นเมื่อ 5 October 2018.
  8. "Announcement" (PDF). The Nobel Peace Prize. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-05. สืบค้นเมื่อ 2021-11-24.
  9. "Nobel Peace Prize winner Nadia Murad". BBC News. 5 October 2018.
  10. "Nadia-Murad-Basee-Taha". SDG Advocates (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Nadia Murad

Kembali kehalaman sebelumnya